พบผลลัพธ์ทั้งหมด 876 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 417/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นการประเมินราคาศุลกากรและพิกัดอัตราภาษีที่ถูกต้องตามราคาตลาดและข้อเท็จจริง
การขัดผิวหรือทำกระจกให้ใส อันจะพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่70.06 นั้น ไม่จำต้องกระทำด้วยกรรมวิธีทางเครื่องมือกลแต่เพียงอย่างเดียว การผลิตกระจกโดยใช้กรรมวิธีชั้นสูงที่ทำให้ผิวหน้ากระจกราบเรียบ เป็นเงาใสโดยไม่ต้องใช้เครื่องมือกลเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวซ้ำอีกก็คือเป็นการทำให้กระจกได้รับการตกแต่งโดยขัดผิวหรือทำให้ใสแล้ว การวินิจฉัยปัญหาพิกัดอัตราศุลกากรที่โต้แย้งในคดี จะต้องใช้บทกฎหมายที่มีผลบังคับอยู่ขณะที่มีการนำเข้า ความเห็นของเจ้าหน้าที่หรือคำอธิบายของสภาความร่วมมือทางศุลกากร เป็นเพียงแนวทางของการวินิจฉัยปัญหาเท่านั้น ไม่เป็นข้อลบล้างบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ ราคาสินค้าที่นำเข้า จะต้องประเมินจากราคาขายส่งเงินสด(ไม่รวมอากรขาเข้า) หรือจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุน ณ เวลาและที่นำของเข้า ส่วนราคาที่กองวิเคราะห์ราคาได้กำหนดเป็นรายเฉลี่ยสำหรับกระจกพิพาทไว้นั้น เป็นเพียงแนวทางปฏิบัติอย่างกว้าง ๆ ในการประเมินราคาเพื่อเรียกเก็บภาษีมิได้เป็นข้อตายตัวว่าสินค้าจะต้องเป็นราคาดังกล่าวเสมอไป และการที่โจทก์เคยยื่นบัญชีราคาสินค้าต่อจำเลยไว้ และไม่มีการแจ้งถึงการเปลี่ยนแปลงราคาจะถือเอาว่าราคาสินค้ามีราคาเดิมตลอดมาก็ไม่ได้เพราะไม่มีบทกฎหมายบัญญัติให้โจทก์ต้องปฏิบัติเช่นนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 417/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาศุลกากรและประเภทพิกัดสินค้ากระจก การพิจารณาราคาแท้จริงและราคาประเมิน
สินค้าที่จัดอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 70.05 และประเภทที่ 70.06 ท้ายพระราชกฤษฎีกาพิกัดอัตราภาษีศุลกากรพ.ศ. 2503 นั้น แม้สินค้าทั้งสองประเภทจะเป็นกระจกที่มีกรรมวิธีใด ๆ ที่ผลิตขึ้นหรือทำขึ้น และไม่ว่าจะเป็นสีหรือไม่ก็ตาม ต่างก็เป็นแก้วอันเป็นวัตถุดิบเช่นเดียวกันข้อแตกต่างอยู่ที่ว่าสินค้าตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 70.05 เป็นแก้วที่ยังมิได้ตกแต่งส่วนสินค้าตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 70.06 เป็นแก้วที่ได้ขัดผิดแล้วประการหนึ่ง หรือทำให้ใสแล้วอีกประการหนึ่ง ทั้งนี้จะต้องมิได้มีการทำให้แก้วนั้นมีคุณสมบัติหรือมีประโยชน์ในลักษณะการใช้สอยดีขึ้นมากไปกว่าการขัดผิดหรือทำให้ใส กรรมวิธีในการผลิตกระจกพิพาทจะต้องเป็นไปตามแบบแผนผัง กล่าวคือ การทำให้ผิดกระจกมีความมันและใสด้วยวิธีไฟร์โพลิช จะประกอบด้วยตัวทำความเย็นสองหน่วย ที่เรียกว่าเมนคูลเลอร์และเบบี้คูลเลอร์ เริ่มต้นด้วยการนำวัตถุดิบเป็นแถบน้ำแก้วหลอมเหลวอุณหภูมิ 800 เซลเซียส จากเตาหลอมผ่อนครอบบาร์ เพื่อดึงขึ้นในแนวตั้งแผ่นกระจกจะเริ่มแข็งตัว และผ่านเมนคูลเลอร์จนถึงเบบี้คูลเลอร์ เพื่อให้อุณหภูมิของแผ่นกระจกลดลงตามลำดับ จากนั้นจึงถึงช่วงของไฟร์โพลิช โดยใช้แก๊สเป็นเชื้อเพลิงผสมกับอากาศที่ได้สัดส่วนแล้วพ่นไฟดังกล่าวให้เปลวไฟอยู่ห่างแผ่นกระจกประมาณ 1 นิ้วเปลวไฟดังกล่าวจะเป็นตัวทำให้ผิดหน้าของกระจกราบเรียบและเป็นเงาใส ซึ่งการผลิตด้วยวิธีนี้ถือว่าเป็นการขัดผิวกระจกและทำให้ใสโดยสมบูรณ์แล้ว ไม่จำต้องใช้เครื่องมือกลเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวซ้ำอีก ดังนั้นวิธีไฟร์โพลิชดังกล่าวจึงถือว่าเป็นการทำให้กระจกซีท ได้รับการตกแต่ง โดยขัดผิวและทำให้ใสแล้ว หาใช่เป็นกระบวนการผลิตกระจกธรรมดาตามปกติไม่ เพราะหากไม่ผ่านกระบวนการของไฟร์โพลิชก็คงเป็นกระจกธรรมดากระจกพิพาทจึงจัดเข้าในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 70.06 ส่วนที่จำเลยโต้แย้งว่า การวินิจฉัยว่าแผ่นกระจกพิพาทจัดอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทใด จะต้องถือตามคำอธิบาย พิกัดอัตราศุลกากรของสภาความร่วมมือทางศุลกากรกรุงบรัสเซลส์ประเทศเบลเยี่ยม ตามความเห็นของนายเอชอาซากุระ ผู้อำนวยการพิกัดศุลกากรของสภาซี.ซี.ซี. ที่ระบุว่ากระจกพิพาทจัดอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากร ประเภทที่ 70.05 นั้น การวินิจฉัยปัญหาพิกัดอัตราศุลกากรที่โต้แย้งในคดีจะต้องอาศัยบทกฎหมายที่มีผลใช้บังคับในขณะที่มีการนำเข้า ซึ่งในขณะนั้นได้แก่พระราชกฤษฎีกาพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 ความเห็นของเจ้าหน้าที่หรือคำอธิบายพิกัดอัตราศุลกากรของสภาความร่วมมือทางศุลกากรมิใช่กฎหมาย เป็นเพียงแนวทางของการวินิจฉัยปัญหาเท่านั้น ไม่เป็นข้อลบล้างบทกฎหมายดังกล่าว มูลค่าของสินค้าที่นำเข้ามีราคาเป็นจำนวนใดจะต้องพิจารณาจากพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469มาตรา 2 ที่นิยามคำว่า "ราคา" หรือ "ราคาอันแท้จริง ในท้องตลาด" ว่า "ราคาขายส่งเงินสด (ในส่วนของขาเข้า ไม่รวมค่าอากร) ซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุน ณ เวลา และที่นำของเข้า หรือส่งของออกแล้วแต่กรณีโดยไม่มีหักทอน หรือลดหย่อนราคาแต่อย่างใด"ดังนั้น ที่กองวิเคราะห์ราคาได้กำหนดราคาในท้องตลาดเป็นรายเฉลี่ยสำหรับกระจกพิพาทไว้ จึงเป็นแนวทางปฏิบัติอย่างกว้าง ๆ ในการประเมินราคาเพื่อเรียกเก็บภาษีมิได้เป็นข้อตายตัวว่าจะต้องเป็นราคาดังกล่าวในขณะมีผู้นำเข้าเสมอไป แต่ได้กำหนดขึ้นเพื่อทราบราคาอันแท้จริงในท้องตลาดในเบื้องแรกว่ามีราคาใด ราคาที่ระบุไว้ในใบขนสินค้าขาเข้า ซึ่งนำเข้าระหว่างวันที่ 21 มกราคม 2528 ถึงวันที่ 6 กรกฎาคม 2528เป็นราคาเดียวกับที่โจทก์ได้แจ้งไว้ในใบกำกับสินค้าในขณะที่โจทก์ส่งกระจกพิพาทลงเรือ ทั้งนี้ในทางปฏิบัติผู้ขายในต่างประเภทจะส่งบัญชีราคาสินค้ามาให้โจทก์ตามที่ขอทราบราคาไป เมื่อโจทก์พอใจราคาแล้วก็จะสั่งซื้อ และดำเนินการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตให้แก่ผู้ขายหลังจากโจทก์ได้รับสินค้าแล้วจะชำระราคาให้แก่ผู้ขายหลังจากโจทก์ได้รับสินค้ารับสินค้าแล้วจะชำระราคาให้แก่ผู้ขายโดยผ่านทางธนาคาร จึงเชื่อได้ว่าโจทก์ได้สั่งซื้อกระจกพิพาทในราคาดังกล่าวจริง ไม่มีข้อที่จะโต้แย้ง หรือมีเหตุสงสัยว่าเอกสารดังกล่าวทำขึ้นไม่ตรงกับความเป็นจริงเพราะมีผู้เกี่ยวข้องและประโยชน์ได้เสียอีกหลายฝ่ายอาทิผู้รับขนทางทะเล และธนาคารตัวแทนทั้งฝ่ายผู้ขายและฝ่ายผู้ซื้อ ทั้งนี้ราคาสินค้าตามที่ระบุไว้ในใบกำกับสินค้าตัวแลกเงิน และใบเสร็จรับเงินแล้วแต่ละกรณี จะเป็นข้อสำคัญที่ยันผู้เกี่ยวข้องดังกล่าวมิให้โต้เถียงในเรื่องราคา เป็นเรื่องอย่างอื่น ดังนั้น จึงเชื่อได้ว่าราคาสินค้า ที่โจทก์ได้สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าเป็นราคาที่แท้จริง และถูกต้องกว่าราคาที่กองวิเคราะห์ราคาได้พิจารณา และกำหนดเป็นราคาประเมินไว้ ส่วนข้อที่ว่าโจทก์ได้เสนอบัญชีราคาสินค้าให้จำเลยพิจารณาราคาไว้ตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2527 แต่โจทก์นำสินค้ากระจกพิพาทเข้าภายหลังอีกประมาณ 1 ปีต่อมาราคาย่อมจะเปลี่ยนแปลงได้ตามภาวะของตลาด การที่โจทก์ไม่เสนอราคาที่เปลี่ยนแปลงต่อจำเลยก็ไม่เป็นข้อผูกมัดว่าโจทก์จะต้องปฏิบัติเช่นนั้นและราคาจะต้องตายตัวในราคานั้น เพราะไม่มีบทกฎหมายบัญญัติให้โจทก์ต้องปฏิบัติดังกล่าวการยื่นบัญชีราคาสินค้าไว้ต่อจำเลยเพื่อให้พิจารณาเป็นการอำนวยความสะดวก หรือให้ข้อมูลแก่จำเลยล่วงหน้าที่โจทก์จะได้รับประโยชน์โดยตรงจากการดำเนินพิธีการทางศุลกากร ในการนำเข้าให้เป็นไปโดยรวดเร็วส่วนเหตุที่สินค้ากระจกพิพาทมีราคาต่ำลงนั้น ก็ได้ความว่ากรรมวิธีการผลิตกระจกต้องใช้น้ำมันดิบเป็นเชื้อเพลิงในระหว่าง ปี 2524 ถึง 2528 ราคาน้ำมันดิบลดลงถึงร้อยละ 30 ส่งผลให้ค่าระวางเรือลดลงในอัตราประมาณร้อยละ 30 ถึง ร้อยละ 40 รวมถึงวิธีการบรรจุสินค้าที่โจทก์อาจเลือกเพื่อประหยัดต้นทุนได้หลายวิธี ราคากระจกในท้องตลาดทั่วไปจึงลดลงได้และเมื่อพิจารณาประกอบถึงการชำระราคาสินค้าให้แก่ผู้ขายในต่างประเทศที่มีวิธีการชำระเงินผ่านธนาคารในรูปของการขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต และอยู่ในความควบคุมและกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นกรณีของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา หรือจำนวนเงินที่จะต้องจ่ายชำระเป็นราคาสินค้า ข้อเท็จจริงเหล่านี้ฟังได้ว่า โจทก์สำแดงราคาสินค้าที่นำเข้าถูกต้องแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 417/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิกัดอัตราศุลกากรสำหรับกระจก และการประเมินราคาศุลกากรที่ถูกต้องตามกฎหมาย
สินค้าที่จัดอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 70.05 และประเภทที่ 70.06 ท้าย พ.ร.ก.พิกัดอัตราภาษีศุลกากร พ.ศ.2503 นั้น แม้สินค้าทั้งสองประเภทจะเป็นกระจกที่มีกรรมวิธีใด ๆ ที่ผลิตขึ้นหรือทำขึ้น และไม่ว่าจะเป็นสีหรือไม่ก็ตาม ต่างก็เป็นแก้วอันเป็นวัตถุดิบเช่นเดียวกัน ข้อแตกต่างอยู่ที่ว่าสินค้าตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 70.05 เป็นแก้วที่ยังมิได้ตกแต่งส่วนสินค้าตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 70.06 เป็นแก้วที่ได้ขัดผิวแล้วประการหนึ่ง หรือทำให้ใสแล้วอีกประการหนึ่ง ทั้งนี้จะต้องมิได้มีการทำให้แก้วนั้นมีคุณสมบัติหรือมีประโยชน์ในลักษณะการใช้สอยดีขึ้นมากไปกว่าการขัดผิวหรือทำให้ใส กรรมวิธีในการผลิตกระจกพิพาทจะต้องเป็นไปตามแบบแผนผัง กล่าวคือ การทำให้ผิวกระจกมีความมันและใสด้วยวิธีไฟร์โพลิชจะประกอบด้วยตัวทำความเย็นสองหน่วย ที่เรียกว่าเมนคูลเลอร์ และเบบี้คูลเลอร์ เริ่มต้นด้วยการนำวัตถุดิบเป็นแถบน้ำแก้วหลอมเหลวอุณหภูมิ 800 เซลเซียสจากเตาหลอมผ่านดรอบาร์เพื่อดึงขึ้นในแนวตั้งแผ่นกระจกจะเริ่มแข็งตัว และผ่านเมนคูลเลอร์จนถึงเบบี้คูลเลอร์เพื่อให้อุณหภูมิของแผ่นกระจกลดลงตามลำดับ จากนั้นจึงถึงช่วงของไฟร์โพลิช โดยใช้แก๊สเป็นเชื้อเพลิงผสมกับอากาศที่ได้สัดส่วน แล้วพ่นไฟดังกล่าวให้เปลวไฟอยู่ห่างแผ่นกระจกประมาณ 1 นิ้ว เปลวไฟดังกล่าวจะเป็นตัวทำให้ผิวหน้าของกระจกราบเรียบและเป็นเงาใส ซึ่งการผลิตด้วยวิธีนี้ถือว่าเป็นการขัดผิวกระจกและทำให้ใสโดยสมบูรณ์แล้ว ไม่จำต้องใช้เครื่องมือกลเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวซ้ำอีก ดังนั้นวิธีไฟร์โพลิชดังกล่าว จึงถือว่าเป็นการทำให้กระจกชีทได้รับการตกแต่ง โดยขัดผิวและทำให้ใสแล้ว หาใช่เป็นกระบวนการผลิตกระจกธรรมดาตามปกติไม่ เพราะหากไม่ผ่านกระบวนการของไฟร์โพลิชก็คงเป็นกระจกธรรมดา กระจกพิพาทจึงจัดเข้าในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 70.06
ส่วนที่จำเลยโต้แย้งว่า การวินิจฉัยว่าแผ่นกระจกพิพาทจัดอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทใด จะต้องถือตามคำอธิบายพิกัดอัตราศุลกากรของสภาความร่วมมือทางศุลกากร กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม ตามความเห็นของ นายเอช อาซากุระ ผู้อำนวยการพิกัดศุลกากรของสภา ซี.ซี.ซี. ที่ระบุว่ากระจกพิพาทจัดอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากร ประเภทที่ 70.05 นั้น การวินิจฉัยปัญหาพิกัดอัตราศุลกากรที่โต้แย้งในคดีจะต้องอาศัยบทกฎหมายที่มีผลใช้บังคับในขณะที่มีการนำเข้า ซึ่งในขณะนั้นได้แก่ พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2503 ความเห็นของเจ้าหน้าที่หรือคำอธิบายพิกัดอัตราศุลกากรของสภาความร่วมมือทางศุลกากรมิใช่กฎหมาย เป็นเพียงแนวทางของการวินิจฉัยปัญหาเท่านั้น ไม่เป็นข้อลบล้างบทกฎหมายดังกล่าว
มูลค่าของสินค้าที่นำเข้ามีราคาเป็นจำนวนใด จะต้องพิจารณาจาก พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 2 ที่นิยามคำว่า "ราคา" หรือ"ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด" ว่า "ราคาขายส่งเงินสด (ในส่วนของขาเข้าไม่รวมค่าอากร) ซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้ โดยไม่ขาดทุน ณเวลา และที่นำของเข้า หรือส่งของออก แล้วแต่กรณีโดยไม่มีหักทอน หรือลดหย่อนราคาแต่อย่างใด" ดังนั้น ที่กองวิเคราะห์ราคาได้กำหนดราคาในท้องตลาดเป็นรายเฉลี่ยสำหรับกระจกพิพาทไว้ จึงเป็นแนวทางปฏิบัติอย่างกว้าง ๆ ในการประเมินราคาเพื่อเรียกเก็บภาษี มิได้เป็นข้อตายตัวว่าจะต้องเป็นราคาดังกล่าวในขณะมีผู้นำเข้าเสมอไป แต่ได้กำหนดขึ้นเพื่อทราบราคาอันแท้จริงในท้องตลาดในเบื้องแรกว่ามีราคาใด
ราคาที่ระบุไว้ในใบขนสินค้าขาเข้า ซึ่งนำเข้าระหว่างวันที่21 มกราคม 2528 ถึงวันที่ 6 กรกฎาคม 2528 เป็นราคาเดียวกับที่โจทก์ได้แจ้งไว้ในใบกำกับสินค้าในขณะที่โจทก์ส่งกระจกพิพาทลงเรือ ทั้งนี้ในทางปฏิบัติผู้ขายในต่างประเทศจะส่งบัญชีราคาสินค้ามาให้โจทก์ตามที่ขอทราบราคาไป เมื่อโจทก์พอใจราคาแล้วก็จะสั่งซื้อและดำเนินการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตให้แก่ผู้ขาย หลังจากโจทก์ได้รับสินค้าแล้วจะชำระราคาให้แก่ผู้ขาย หลังจากโจทก์ได้รับสินค้าแล้วจะชำระราคาให้แก่ผู้ขายโดยผ่านทางธนาคาร จึงเชื่อได้ว่าโจทก์ได้สั่งซื้อกระจกพิพาทในราคาดังกล่าวจริง ไม่มีข้อที่จะโต้แย้งหรือมีเหตุสงสัยว่าเอกสารดังกล่าวทำขึ้นไม่ตรงกับความเป็นจริง เพราะมีผู้เกี่ยวข้องและประโยชน์ได้เสียอีกหลายฝ่าย อาทิผู้รับขนทางทะเล และธนาคารตัวแทนทั้งฝ่ายผู้ขายและฝ่ายผู้ซื้อ ทั้งนี้ราคาสินค้าตามที่ระบุไว้ในใบกำกับสินค้า ตั๋วแลกเงิน และใบเสร็จรับเงินแล้วแต่ละกรณี จะเป็นข้อสำคัญที่ยันผู้เกี่ยวข้องดังกล่าวมิให้โต้เถียงในเรื่องราคาเป็นอย่างอื่น ดังนั้น จึงเชื่อได้ว่าราคาสินค้าที่โจทก์ได้สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าเป็นราคาที่แท้จริง และถูกต้องกว่าราคาที่กองวิเคราะห์ราคาได้พิจารณา และกำหนดเป็นราคาประเมินไว้
ส่วนข้อที่ว่าโจทก์ได้เสนอบัญชีราคาสินค้าให้จำเลยพิจารณาราคาไว้ตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2527 แต่โจทก์นำสินค้ากระจกพิพาทเข้าภายหลังอีกประมาณ 1 ปีต่อมา ราคาย่อมจะเปลี่ยนแปลงได้ตามภาวะของตลาด การที่โจทก์ไม่เสนอราคาที่เปลี่ยนแปลงต่อจำเลยก็ไม่เป็นข้อผูกมัดว่า โจทก์จะต้องปฏิบัติเช่นนั้นและราคาจะต้องตายตัวในราคานั้น เพราะไม่มีบทกฎหมายบัญญัติให้โจทก์ต้องปฏิบัติดังกล่าว การยื่นบัญชีราคาสินค้าไว้ต่อจำเลยเพื่อให้พิจารณา เป็นการอำนวยความสะดวก หรือให้ข้อมูลแก่จำเลยล่วงหน้า ที่โจทก์จะได้รับประโยชน์โดยตรงจากการดำเนินพิธีการทางศุลกากร ในการนำเข้าให้เป็นไปโดยรวดเร็วส่วนเหตุที่สินค้ากระจกพิพาทมีราคาต่ำลงนั้น ก็ได้ความว่ากรรมวิธีการผลิตกระจกต้องใช้น้ำมันดิบเป็นเชื้อเพลิงในระหว่าง ปี 2524 ถึง 2528 ราคาน้ำมันดิบลดลงถึงร้อยละ 30 ส่งผลให้ค่าระวางเรือลดลงในอัตราประมาณร้อยละ 30 ถึงร้อยละ 40 รวมถึงวิธีการบรรจุสินค้าที่โจทก์อาจเลือกเพื่อประหยัดต้นทุนได้หลายวิธีราคากระจกในท้องตลาดทั่วไปจึงลดลงได้และเมื่อพิจารณาประกอบถึงการชำระราคาสินค้าให้แก่ผู้ขายในต่างประเทศ ที่มีวิธีการชำระเงินผ่านธนาคารในรูปของการขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต และอยู่ในความควบคุมและกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นกรณีของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา หรือจำนวนเงินที่จะต้องจ่ายชำระเป็นราคาสินค้า ข้อเท็จจริงเหล่านี้ฟังได้ว่า โจทก์สำแดงราคาสินค้าที่นำเข้าถูกต้องแล้ว
ส่วนที่จำเลยโต้แย้งว่า การวินิจฉัยว่าแผ่นกระจกพิพาทจัดอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทใด จะต้องถือตามคำอธิบายพิกัดอัตราศุลกากรของสภาความร่วมมือทางศุลกากร กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม ตามความเห็นของ นายเอช อาซากุระ ผู้อำนวยการพิกัดศุลกากรของสภา ซี.ซี.ซี. ที่ระบุว่ากระจกพิพาทจัดอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากร ประเภทที่ 70.05 นั้น การวินิจฉัยปัญหาพิกัดอัตราศุลกากรที่โต้แย้งในคดีจะต้องอาศัยบทกฎหมายที่มีผลใช้บังคับในขณะที่มีการนำเข้า ซึ่งในขณะนั้นได้แก่ พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2503 ความเห็นของเจ้าหน้าที่หรือคำอธิบายพิกัดอัตราศุลกากรของสภาความร่วมมือทางศุลกากรมิใช่กฎหมาย เป็นเพียงแนวทางของการวินิจฉัยปัญหาเท่านั้น ไม่เป็นข้อลบล้างบทกฎหมายดังกล่าว
มูลค่าของสินค้าที่นำเข้ามีราคาเป็นจำนวนใด จะต้องพิจารณาจาก พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 2 ที่นิยามคำว่า "ราคา" หรือ"ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด" ว่า "ราคาขายส่งเงินสด (ในส่วนของขาเข้าไม่รวมค่าอากร) ซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้ โดยไม่ขาดทุน ณเวลา และที่นำของเข้า หรือส่งของออก แล้วแต่กรณีโดยไม่มีหักทอน หรือลดหย่อนราคาแต่อย่างใด" ดังนั้น ที่กองวิเคราะห์ราคาได้กำหนดราคาในท้องตลาดเป็นรายเฉลี่ยสำหรับกระจกพิพาทไว้ จึงเป็นแนวทางปฏิบัติอย่างกว้าง ๆ ในการประเมินราคาเพื่อเรียกเก็บภาษี มิได้เป็นข้อตายตัวว่าจะต้องเป็นราคาดังกล่าวในขณะมีผู้นำเข้าเสมอไป แต่ได้กำหนดขึ้นเพื่อทราบราคาอันแท้จริงในท้องตลาดในเบื้องแรกว่ามีราคาใด
ราคาที่ระบุไว้ในใบขนสินค้าขาเข้า ซึ่งนำเข้าระหว่างวันที่21 มกราคม 2528 ถึงวันที่ 6 กรกฎาคม 2528 เป็นราคาเดียวกับที่โจทก์ได้แจ้งไว้ในใบกำกับสินค้าในขณะที่โจทก์ส่งกระจกพิพาทลงเรือ ทั้งนี้ในทางปฏิบัติผู้ขายในต่างประเทศจะส่งบัญชีราคาสินค้ามาให้โจทก์ตามที่ขอทราบราคาไป เมื่อโจทก์พอใจราคาแล้วก็จะสั่งซื้อและดำเนินการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตให้แก่ผู้ขาย หลังจากโจทก์ได้รับสินค้าแล้วจะชำระราคาให้แก่ผู้ขาย หลังจากโจทก์ได้รับสินค้าแล้วจะชำระราคาให้แก่ผู้ขายโดยผ่านทางธนาคาร จึงเชื่อได้ว่าโจทก์ได้สั่งซื้อกระจกพิพาทในราคาดังกล่าวจริง ไม่มีข้อที่จะโต้แย้งหรือมีเหตุสงสัยว่าเอกสารดังกล่าวทำขึ้นไม่ตรงกับความเป็นจริง เพราะมีผู้เกี่ยวข้องและประโยชน์ได้เสียอีกหลายฝ่าย อาทิผู้รับขนทางทะเล และธนาคารตัวแทนทั้งฝ่ายผู้ขายและฝ่ายผู้ซื้อ ทั้งนี้ราคาสินค้าตามที่ระบุไว้ในใบกำกับสินค้า ตั๋วแลกเงิน และใบเสร็จรับเงินแล้วแต่ละกรณี จะเป็นข้อสำคัญที่ยันผู้เกี่ยวข้องดังกล่าวมิให้โต้เถียงในเรื่องราคาเป็นอย่างอื่น ดังนั้น จึงเชื่อได้ว่าราคาสินค้าที่โจทก์ได้สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าเป็นราคาที่แท้จริง และถูกต้องกว่าราคาที่กองวิเคราะห์ราคาได้พิจารณา และกำหนดเป็นราคาประเมินไว้
ส่วนข้อที่ว่าโจทก์ได้เสนอบัญชีราคาสินค้าให้จำเลยพิจารณาราคาไว้ตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2527 แต่โจทก์นำสินค้ากระจกพิพาทเข้าภายหลังอีกประมาณ 1 ปีต่อมา ราคาย่อมจะเปลี่ยนแปลงได้ตามภาวะของตลาด การที่โจทก์ไม่เสนอราคาที่เปลี่ยนแปลงต่อจำเลยก็ไม่เป็นข้อผูกมัดว่า โจทก์จะต้องปฏิบัติเช่นนั้นและราคาจะต้องตายตัวในราคานั้น เพราะไม่มีบทกฎหมายบัญญัติให้โจทก์ต้องปฏิบัติดังกล่าว การยื่นบัญชีราคาสินค้าไว้ต่อจำเลยเพื่อให้พิจารณา เป็นการอำนวยความสะดวก หรือให้ข้อมูลแก่จำเลยล่วงหน้า ที่โจทก์จะได้รับประโยชน์โดยตรงจากการดำเนินพิธีการทางศุลกากร ในการนำเข้าให้เป็นไปโดยรวดเร็วส่วนเหตุที่สินค้ากระจกพิพาทมีราคาต่ำลงนั้น ก็ได้ความว่ากรรมวิธีการผลิตกระจกต้องใช้น้ำมันดิบเป็นเชื้อเพลิงในระหว่าง ปี 2524 ถึง 2528 ราคาน้ำมันดิบลดลงถึงร้อยละ 30 ส่งผลให้ค่าระวางเรือลดลงในอัตราประมาณร้อยละ 30 ถึงร้อยละ 40 รวมถึงวิธีการบรรจุสินค้าที่โจทก์อาจเลือกเพื่อประหยัดต้นทุนได้หลายวิธีราคากระจกในท้องตลาดทั่วไปจึงลดลงได้และเมื่อพิจารณาประกอบถึงการชำระราคาสินค้าให้แก่ผู้ขายในต่างประเทศ ที่มีวิธีการชำระเงินผ่านธนาคารในรูปของการขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต และอยู่ในความควบคุมและกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นกรณีของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา หรือจำนวนเงินที่จะต้องจ่ายชำระเป็นราคาสินค้า ข้อเท็จจริงเหล่านี้ฟังได้ว่า โจทก์สำแดงราคาสินค้าที่นำเข้าถูกต้องแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 402/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากรถชน, การระบุชื่อจำเลยผิดพลาดไม่ทำให้ฟ้องเสีย, และการพิสูจน์การครอบครองทรัพย์สิน
ฟ้องโจทก์ระบุชื่อจำเลยที่ 2 ผิดไป แต่รายละเอียดที่บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นเจ้าของผู้ครอบครองรถยนต์บรรทุกที่ทำละเมิดและข้อเท็จจริงในทางนำสืบก็รับฟังได้เช่นนั้น เมื่อบรรยายฟ้องไว้ถูกต้องแต่ระบุชื่อผิดไปจึงไม่ทำให้ฟ้องโจทก์เสียไปหรือเป็นการฟ้องผิดคน แม้พยานจำเลยที่ 1 คือจำเลยที่ 2 จะเบิกความยอมรับว่าเป็นเจ้าของรถยนต์บรรทุกที่ทำละเมิดแต่ผู้เดียวก็ตามแต่ก็ต้องพิจารณาพยานอื่นประกอบด้วย เมื่อได้ความว่าจำเลยที่ 1 ก็เป็นเจ้าของรถยนต์บรรทุกคันดังกล่าวเช่นเดียวกัน จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ด้วย โจทก์บรรยายฟ้องว่ารถของโจทก์บรรทุกน้ำปลาเพื่อไปส่งลูกค้าเมื่อรถโจทก์ถูกชน รถโจทก์เสียหายหลายประการรวมทั้งน้ำปลาขวดน้ำปลาและลังบรรจุน้ำปลาแตกหักเสียหาย ถือว่าพอเข้าใจแล้วว่าน้ำปลาและลังซึ่งอยู่ในครอบครองของโจทก์เสียหายเนื่องจากการกระทำละเมิดของลูกจ้างจำเลย ฟ้องโจทก์ส่วนนี้จึงไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 402/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากรถยนต์ที่เช่าซื้อร่วมกัน และการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากความเสียหายของสินค้าที่บรรทุก
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของรถยนต์บรรทุกคันที่เกิดเหตุชนกับรถของโจทก์ การส่งหมายนัดให้แก่จำเลยที่ 2 ที่บ้านเลขที่ 24 หมู่ที่ 11 ตำบลเขาสวนกวางอำเภอเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น ไม่พบจำเลยที่ 2 คงพบแต่ภรรยาจำเลยที่ 2 แจ้งว่าจำเลยที่ 2 ชื่อนายประกิตศิริโคจรสมบัติไม่ใช่ประจำ ศิริโคจรสมบัติ ตามที่ปรากฏในฟ้องและหมายนัดต่อมาจำเลยที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ปรากฏว่านายประกิตอยู่ที่บ้านเลขที่ 24 หมู่ที่ 4 ตำบลเขาสวนกวางอำเภอเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น และนายประกิต กับจำเลยที่ 1ได้ร่วมกันเช่าซื้อรถยนต์บรรทุกคันดังกล่าว ถือได้ว่าโจทก์บรรยายฟ้องตรงตามทางพิจารณา คงระบุชื่อผิดจากนายประกิตเป็นนายประจำไป ผู้รับผิดที่แท้จริงคือเจ้าของรถยนต์บรรทุก แม้โจทก์จะไม่ได้แก้ชื่อให้ถูกต้อง แต่ในฟ้องก็บรรยายให้เจ้าของรถยนต์บรรทุกรับผิดอยู่แล้ว นายประกิตเจ้าของรถยนต์บรรทุกที่แท้จริงต้องรับผิดต่อโจทก์ โจทก์บรรยายฟ้องว่า รถของโจทก์บรรทุกน้ำปลาเพื่อไปส่งลูกค้า ลูกจ้างของจำเลยขับรถชนรถโจทก์โดยละเมิด เมื่อรถโจทก์ถูกชน รถโจทก์เสียหายหลายประการ รวมทั้งน้ำปลา ขวดน้ำปลาและลังบรรจุน้ำปลาแตกหักเสียหาย ฟ้องโจทก์พอเข้าใจแล้วว่าน้ำปลาและลังซึ่งอยู่ในความครอบครองของโจทก์เสียหายเนื่องจากการกระทำละเมิดของลูกจ้างจำเลย ส่วนโจทก์จะได้รับชดใช้ค่าเสียหายในฐานะใดเป็นเรื่องรายละเอียดที่โจทก์จะนำสืบได้ในชั้นพิจารณาฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 378/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่ยังไม่เกิดขึ้น ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
จำเลยออกเช็คแล้วนำมาขายลดแก่โจทก์ ในตอนออกเช็คจึงไม่มีหนี้แก่โจทก์ จำเลยเพิ่งเป็นหนี้โจทก์เมื่อขายลดเช็คกันแล้วการออกเช็คจึงมิใช่เพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่แต่อย่างใด จำเลยจึงไม่มีความผิด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 378/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกเช็คเพื่อซื้อขายลด ไม่ถือเป็นหนี้เดิม การออกเช็คจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
การออกเช็คที่จะต้องรับผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 นั้น ต้องเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริง จำเลยออกเช็คนำมาขายลดแก่โจทก์จำเลยเพิ่งเป็นหนี้โจทก์เมื่อได้ ขายลดเช็คกันแล้ว การออกเช็คจึงมิใช่เพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่ แต่อย่างใด การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 284/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานจากการติดตามทรัพย์ของกลางและการเชื่อมโยงจากคำรับสารภาพของผู้ต้องหาเพื่อพิสูจน์ความผิดฐานลักทรัพย์และรับของโจร
จสต.สัมพันธ์ พยานโจทก์ แม้จะไม่ได้รู้เห็นในขณะเกิดเหตุแต่ก็ได้มีการสืบสวนและติดตามทรัพย์ของกลางตลอดมา เบื้องต้นเมื่อทราบว่าจำเลยที่ 2 ลักรถจักรยานยนต์ก็ได้ติดตามตัวจำเลยที่ 2 และทราบว่าจำเลยที่ 2 ได้ลักรถจักรยานยนต์แล้วไปขายให้แก่จำเลยที่ 3จึงติดตามไปพบจำเลยที่ 3 ได้ทราบว่าได้ขายให้จำเลยที่ 1 จึงได้ติดตามไปที่ร้านจำเลยที่ 1 ได้พบรถจักรยานยนต์ที่จำเลยที่ 2ลักมาโดยจำเลยที่ 1 ได้เปลี่ยนแปลงสภาพให้ผิดไปจากเดิมแล้วการติดตามทรัพย์ของกลางรายนี้ของ จ.ส.ต.สัมพันธ์มาจากเหตุคำรับของจำเลยแต่ละคน แต่ผลสุดท้ายก็สามารถติดตามทรัพย์ของกลางได้แสดงให้เห็นว่าจำเลยแต่ละคนได้เกี่ยวข้องกับทรัพย์ของกลาง จนเจ้าพนักงานตำรวจติดตามยึดคืนมาได้ พฤติการณ์ดังกล่าวแม้จะไม่มีประจักษ์พยานรู้เห็นขณะเกิดเหตุ ก็ยังถือไม่ได้ว่าพยานโจทก์มีแต่คำรับสารภาพชั้นจับกุมหรือชั้นสอบสวนแต่อย่างเดียว เพราะยังมีคำเบิกความของ จ.ส.ต.สัมพันธ์มาประกอบคำรับสารภาพของจำเลยแต่ละคนอีกด้วย จึงเป็นพยานหลักฐานเพียงพอให้รับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1และที่ 3 รับของโจร จำเลยที่ 2 ลักทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 248/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดี และการรับฟังพยานเอกสารที่มิได้ชำระค่าธรรมเนียม ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าถูกต้อง
ในชั้นที่โจทก์ยื่นฟ้อง โจทก์ได้ส่งสำเนาใบมอบอำนาจเป็นเอกสารท้ายฟ้องฉบับหนึ่ง ก่อนลงมือสืบพยานโจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องว่าสำเนาใบมอบอำนาจที่โจทก์ส่งท้ายฟ้องนั้นโจทก์ส่งผิดไป ขอส่งฉบับใหม่ตามเอกสารหมาย ป.จ.1 ศาลชั้นต้นอนุญาต ชั้นสืบพยานโจทก์ก็นำสืบว่าโจทก์มอบให้ ธ.ฟ้องคดีตามใบมอบอำนาจเอกสารหมาย ป.จ.1 ซึ่งจำเลยไม่ได้นำสืบหักล้างต้องฟังว่าโจทก์มอบอำนาจให้นายธ.ฟ้องคดีตามใบมอบอำนาจเอกสารหมาย ป.จ.1 มาตั้งแต่ต้นจำเลยจะอ้างเอาใบมอบอำนาจที่โจทก์ส่งผิดมาโดยโจทก์แก้ไขแล้วมาเป็นเหตุให้ฟังว่า ธ. ไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์นั้นเป็นการไม่ชอบ คำอ้างเอกสารเป็นค่าธรรมเนียมอื่น ๆ เมื่อโจทก์มิได้จงใจจะไม่ชำระค่าธรรมเนียมก็ไม่มีบทกฎหมายจะให้ถือว่าโจทก์จะไม่ประสงค์อ้างเอกสารเป็นพยานตามบทบัญญัติใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2)บัญญัติไว้แต่เพียงว่าห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่คู่ความมิได้แสดงความจำนงที่จะอ้างอิงเท่านั้นทั้งยังยกเว้นด้วยว่า ถ้าเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีแม้จะฝ่าฝืนบทบัญญัติอนุมาตรานี้ก็ให้อำนาจศาลที่จะรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้การที่ศาลรับฟังพยานเอกสารดังกล่าวโดยที่เป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี จึงไม่เป็นเรื่องที่ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 248/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องและอำนาจฟ้อง: ศาลรับฟังใบมอบอำนาจที่แก้ไขแล้วได้ แม้มีเอกสารเดิมที่ผิดพลาด
ในชั้นที่โจทก์ยื่นฟ้อง โจทก์ได้ส่งสำเนาใบมอบอำนาจเป็นเอกสารท้ายฟ้องฉบับหนึ่ง ก่อนลงมือสืบพยาน โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องว่าสำเนาใบมอบอำนาจที่โจทก์ส่งท้ายฟ้องนั้นโจทก์ส่งผิดไป ขอส่งฉบับใหม่ตามเอกสารหมายป.จ.1 ศาลชั้นต้นอนุญาต ชั้นสืบพยานโจทก์ก็นำสืบว่าโจทก์มอบให้ ธ.ฟ้องคดีตามใบมอบอำนาจเอกสารหมาย ป.จ.1 ซึ่งจำเลยไม่ได้นำสืบหักล้าง ต้องฟังว่าโจทก์มอบอำนาจให้นาย ธ.ฟ้องคดีตามใบมอบอำนาจเอกสารหมาย ป.จ.1 มาตั้งแต่ต้นจำเลยจะอ้างเอาใบมอบอำนาจที่โจทก์ส่งผิดมาโดยโจทก์แก้ไขแล้วมาเป็นเหตุให้ฟังว่า ธ.ไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์นั้นเป็นการไม่ชอบ
ค่าอ้างเอกสารเป็นค่าธรรมเนียมอื่น ๆ เมื่อโจทก์มิได้จงใจจะไม่ชำระค่าธรรมเนียมก็ไม่มีบทกฎหมายจะให้ถือว่าโจทก์จะไม่ประสงค์อ้างเอกสารเป็นพยาน ตามบทบัญญัติใน ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2) บัญญัติไว้แต่เพียงว่าห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่คู่ความมิได้แสดงความจำนงที่จะอ้างอิงเท่านั้นทั้งยังยกเว้นด้วยว่า ถ้าเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีแม้จะฝ่าฝืนบทบัญญัติอนุมาตรานี้ก็ให้อำนาจศาลที่จะรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้การที่ศาลรับฟังพยานเอกสารดังกล่าวโดยที่เป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี จึงไม่เป็นเรื่องที่ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่ไม่ชอบ
ค่าอ้างเอกสารเป็นค่าธรรมเนียมอื่น ๆ เมื่อโจทก์มิได้จงใจจะไม่ชำระค่าธรรมเนียมก็ไม่มีบทกฎหมายจะให้ถือว่าโจทก์จะไม่ประสงค์อ้างเอกสารเป็นพยาน ตามบทบัญญัติใน ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2) บัญญัติไว้แต่เพียงว่าห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่คู่ความมิได้แสดงความจำนงที่จะอ้างอิงเท่านั้นทั้งยังยกเว้นด้วยว่า ถ้าเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีแม้จะฝ่าฝืนบทบัญญัติอนุมาตรานี้ก็ให้อำนาจศาลที่จะรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้การที่ศาลรับฟังพยานเอกสารดังกล่าวโดยที่เป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี จึงไม่เป็นเรื่องที่ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่ไม่ชอบ