คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อุดม เฟื่องฟุ้ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 876 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 248/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องและอำนาจฟ้อง: ศาลรับฟังใบมอบอำนาจที่แก้ไขแล้วได้ แม้มีเอกสารเดิมที่ผิดพลาด
ในชั้นที่โจทก์ยื่นฟ้อง โจทก์ได้ส่งสำเนาใบมอบอำนาจเป็นเอกสารท้ายฟ้องฉบับหนึ่ง ก่อนลงมือสืบพยาน โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องว่าสำเนาใบมอบอำนาจที่โจทก์ส่งท้ายฟ้องนั้นโจทก์ส่งผิดไป ขอส่งฉบับใหม่ตามเอกสารหมายป.จ.1 ศาลชั้นต้นอนุญาต ชั้นสืบพยานโจทก์ก็นำสืบว่าโจทก์มอบให้ ธ.ฟ้องคดีตามใบมอบอำนาจเอกสารหมาย ป.จ.1 ซึ่งจำเลยไม่ได้นำสืบหักล้าง ต้องฟังว่าโจทก์มอบอำนาจให้นาย ธ.ฟ้องคดีตามใบมอบอำนาจเอกสารหมาย ป.จ.1 มาตั้งแต่ต้นจำเลยจะอ้างเอาใบมอบอำนาจที่โจทก์ส่งผิดมาโดยโจทก์แก้ไขแล้วมาเป็นเหตุให้ฟังว่า ธ.ไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์นั้นเป็นการไม่ชอบ
ค่าอ้างเอกสารเป็นค่าธรรมเนียมอื่น ๆ เมื่อโจทก์มิได้จงใจจะไม่ชำระค่าธรรมเนียมก็ไม่มีบทกฎหมายจะให้ถือว่าโจทก์จะไม่ประสงค์อ้างเอกสารเป็นพยาน ตามบทบัญญัติใน ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2) บัญญัติไว้แต่เพียงว่าห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่คู่ความมิได้แสดงความจำนงที่จะอ้างอิงเท่านั้นทั้งยังยกเว้นด้วยว่า ถ้าเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีแม้จะฝ่าฝืนบทบัญญัติอนุมาตรานี้ก็ให้อำนาจศาลที่จะรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้การที่ศาลรับฟังพยานเอกสารดังกล่าวโดยที่เป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี จึงไม่เป็นเรื่องที่ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่ไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 202/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาโทษจำคุกโดยไม่สืบพยาน เมื่อจำเลยรับสารภาพ และโทษไม่มีอัตราขั้นต่ำ
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176 วรรคแรกถือเอาอัตราโทษอย่างต่ำตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป หรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น เป็นเกณฑ์ที่ศาลจะต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงจึงจะพิพากษาลงโทษจำเลยได้ คดีนี้มีอัตราโทษอย่างสูงจำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน 20,000 บาท โดยไม่มีอัตราโทษอย่างต่ำ การที่ศาลลงโทษจำคุก 6 ปี ลดแล้วเหลือ 3 ปี เป็นกรณีที่ศาลใช้ดุลพินิจในการกำหนดโทษที่จำเลยจะต้องรับ มิใช่เป็นโทษที่กฎหมายกำหนดว่าจำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ศาลจึงพิพากษาลงโทษจำเลยได้โดยไม่ต้องสืบพยานโจทก์ ศาลลงโทษจำคุกจำเลย 3 ปี ไม่เข้าหลักเกณฑ์จะรอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 160/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของรถไม่ต้องรับผิดหากการละเมิดเกิดจากลูกจ้างของบุตร
โจทก์บรรยายฟ้องด้วยว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรถยนต์บรรทุกการที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าจำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าของรถยนต์บรรทุกจะต้องร่วมรับผิดกับผู้กระทำละเมิดจากการขับรถยนต์คันดังกล่าวโดยประมาทด้วย พิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิดชดใช้ค่าเสียหายไม่เป็นการพิพากษานอกเหนือไปจากคำฟ้อง จำเลยที่ 1 มอบรถยนต์บรรทุกดังกล่าวให้แก่ ช. บุตรจำเลยไปครอบครองใช้สอย จ. ลูกจ้าง ช. ขับรถยนต์บรรทุกดังกล่าวโดยประมาทชนกระบือแล้วเลยไปชนรถจักรยานยนต์ของโจทก์ที่โจทก์ขับสวนมา การละเมิดเกิดจากการกระทำของลูกจ้างบุตรจำเลยที่ 1จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 160/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของเจ้าของรถต่อการละเมิดของลูกจ้าง: เจ้าของรถไม่ต้องรับผิดหากการละเมิดเกิดจากลูกจ้าง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุ การที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าจำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าของรถยนต์จะต้องรับผิดร่วมกับผู้กระทำละเมิดจากการขับรถยนต์คันดังกล่าวโดยประมาทด้วย จึงไม่เป็นการพิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์นอกเหนือไปจากคำฟ้องแต่ประการใด แต่เมื่อการละเมิดเกิดจากการกระทำของลูกจ้าง ช. บุตรจำเลยที่ 1จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ และจำเลยที่ 2ผู้รับประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 ย่อมไม่ต้องรับผิดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4007/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คดีลักทรัพย์และรับของโจร: ข้อจำกัดการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง และการระบุข้อเท็จจริงที่ชัดเจนในอุทธรณ์
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์สร้อยข้อมือและผ้าโสร่งไหม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 หรือขอให้ลงโทษจำเลยฐานรับของโจรผ้าโสร่งไหมตามมาตรา 357 มิได้ขอให้ลงโทษจำเลยฐานรับของโจรสร้อยข้อมือด้วย ดังนั้น ความผิดฐานลักทรัพย์สร้อยข้อมือ ซึ่งมีอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 6,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา193 ทวิ การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยข้อเท็จจริงในความผิดฐานลักทรัพย์สร้อยข้อมือจึงเป็นการไม่ชอบ ส่วนที่ขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์ตาม มาตรา 334 หรือรับของโจรตามมาตรา 357 เฉพาะเรื่องผ้าโสร่งไหมนั้นก็เป็นการกระทำคนละกรรมความผิดกัน ความผิดตามมาตรา 334 ในส่วนนี้จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามที่กล่าวข้างต้นเช่นกัน ฉะนั้นในส่วนที่เกี่ยวกับผ้าโสร่งไหมโจทก์และโจทก์ร่วมคงอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้เฉพาะในความผิดฐานรับของโจรตามมาตรา 357 เท่านั้น ในคำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์และโจทก์ร่วมทั้งสองฉบับ คงอุทธรณ์แต่เฉพาะในข้อเท็จจริงที่ว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาฟังได้ว่าผ้าโสร่งไหมเป็นของโจทก์ร่วมเท่านั้น ไม่มีคำฟ้องอุทธรณ์ส่วนใดที่ได้แสดงให้เห็นว่าพยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วมที่นำสืบมาจะมีข้อเท็จจริงที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยได้กระทำผิดฐานรับของโจรอันเป็นความผิดที่โจทก์และโจทก์ร่วมอุทธรณ์ได้ คำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์และโจทก์ร่วมจึงมิได้ระบุข้อเท็จจริงโดยย่อพอที่จะอ้างอิงให้เห็นได้ว่าจำเลยกระทำผิดตามที่ขอให้ลงโทษมาในคำขอท้ายอุทธรณ์เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3999/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินเจตนาการกระทำ: จากพยายามฆ่าเป็นทำร้ายร่างกาย เนื่องจากพฤติการณ์แสดงเจตนาให้หยุดการกระทำมากกว่ามุ่งหวังเอาชีวิต
บันทึกการจับกุมที่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจลงชื่อ 16 คนแม้ว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ลงชื่อในบันทึกการจับกุมทั้งหมดจะไปร่วมจับกุมด้วยหรือไม่ แต่เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ 2 คนร่วมทำการจับคนร้ายจริง แม้บันทึกบางส่วนจะไม่เป็นจริงก็ไม่ทำให้พยานหลักฐานโจทก์เสียไป จำเลยเข้าแย่งกระเป๋าจากผู้เสียหาย นาย อ.ซึ่งนั่งติดกับผู้เสียหายได้ช่วยเหลือผู้เสียหาย ในขณะที่มีการแย่งกระเป๋ากันอยู่ จำเลยก็อยู่ใกล้นาย อ.ทั้งมือจำเลยก็ไม่มีอะไรขัดขวางไม่ให้เคลื่อนไหว จำเลยย่อมมีโอกาสยิง นาย อ. ตรงส่วนใดของร่างกายก็ได้การที่จำเลยยิงที่มือนาย อ. เป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่าประสงค์จะให้นาย อ. ปล่อยกระเป๋า มิใช่ประสงค์จะฆ่านาย อ. จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 296 เท่านั้น โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 289,339,340 ตรี ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 296 ซึ่งเป็นความผิดตามที่รวมอยู่ในการกระทำข้อหาพยายามฆ่า ศาลมีอำนาจลงโทษตามความผิดฐานทำร้ายร่างกายได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3999/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพยายามฆ่า vs. ทำร้ายร่างกาย: ศาลลงโทษตามความผิดที่รวมอยู่ด้วยได้
บันทึกการจับกุมที่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจลงชื่อ 16 คน แม้ว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ลงชื่อในบันทึกการจับกุมทั้งหมดจะไปร่วมจับกุมด้วยหรือไม่แต่เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ 2 คน ร่วมทำการจับคนร้ายจริง แม้บันทึกบางส่วนจะไม่เป็นจริง ก็ไม่ทำให้พยานหลักฐานโจทก์เสียไป
จำเลยเข้าแย่งกระเป๋าจากผู้เสียหาย นาย อ.ซึ่งนั่งติดกับผู้เสียหายได้ช่วยเหลือผู้เสียหาย ในขณะที่มีการแย่งกระเป๋ากันอยู่ จำเลยก็อยู่ใกล้นาย อ.ทั้งมือจำเลยก็ไม่มีอะไรขัดขวางไม่ให้เคลื่อนไหว จำเลยย่อมมีโอกาสยิง นาย อ.ตรงส่วนใดของร่างกายก็ได้ การที่จำเลยยิงที่มือนาย อ.เป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่าประสงค์จะให้นาย อ.ปล่อยกระเป๋า มิใช่ประสงค์จะฆ่านาย อ. จำเลยจึงมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 296 เท่านั้น
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 289, 339, 340 ตรีทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายตาม ป.อ.มาตรา 296ซึ่งเป็นความผิดที่รวมอยู่ในการกระทำข้อหาพยายามฆ่า ศาลมีอำนาจลงโทษตามความผิดฐานทำร้ายร่างกายได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3986/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงต่างกรรม: การหลอกลวงต่อเนื่องสร้างความเสียหายแยกส่วน
จำเลยกับพวกใช้หลักฐานปลอมหลอกลวงโจทก์ร่วม โดยอ้างว่า ว.ขอเอาประกันชีวิตต่อบริษัทโจทก์ร่วม ซึ่งความจริง ว. ตัวจริงได้ถึงแก่ความตายไปแล้ว โจทก์ร่วมหลงเชื่อจึงออกกรมธรรม์ประกันชีวิตอันเป็นเอกสารสิทธิให้ การกระทำของจำเลยมีความผิดฐานฉ้อโกงเสร็จเด็ดขาดกรรมหนึ่งแล้ว ต่อมาจำเลยกับพวกได้สร้างสถานการณ์ว่าว. ผู้เอาประกันได้รับอุบัติเหตุถึงแก่ความตาย เพื่อหลอกลวงโจทก์ร่วม จนโจทก์ร่วมหลงเชื่อจึงจ่ายเงินตามที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ให้กับพวกของจำเลย แม้การกระทำครั้งหลังนี้จำเลยได้นำเอาผลของการกระทำครั้งก่อนมาเป็นส่วนประกอบ แต่การกระทำของจำเลยมีเจตนาจะทำให้ผลของการหลอกลวงทั้งสองครั้งเกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วมแต่ละส่วนกัน การกระทำของจำเลยครั้งหลังนี้จึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงต่างกรรมกับการกระทำครั้งแรก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3935/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาศุลกากรที่อ้างอิงราคาผู้นำเข้าอื่นต้องเป็นสินค้าประเภทเดียวกัน ช่วงเวลาใกล้เคียง และพิกัดเดียวกัน มิฉะนั้นถือเป็นราคาไม่แท้จริง
โจทก์มิได้อุทธรณ์การประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีดังกล่าวตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 มาตรา 7(1),8 โจทก์มิได้กล่าวในคำฟ้องว่า การที่เจ้าพนักงานของกรมศุลกากรจำเลยตรวจสอบราคาสินค้าของโจทก์แล้วสั่งให้โจทก์เพิ่มราคา มิใช่เป็นการประเมินภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร เมื่อโจทก์ยกข้อนี้ขึ้นอุทธรณ์ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลภาษีอากรกลางศาลฎีกาไม่เห็นสมควรวินิจฉัยให้ จำเลยประเมินราคาสินค้าที่โจทก์นำเข้าโดยเปรียบเทียบกับราคาสินค้าของผู้นำเข้ารายอื่น แต่สินค้าของผู้นำเข้ารายอื่นนั้นเป็นของคนละประเภทต่างพิกัดประเภทย่อยกับสินค้าของโจทก์ และระยะเวลาที่นำของเข้าก็แตกต่างกันมาก ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในความหมายของคำว่า "ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด" ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 2 วรรคสิบสอง ราคาของที่เจ้าพนักงานของจำเลยประเมินเพิ่มขึ้นจึงไม่อาจถือว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดการประเมินจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3866/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างก่อนมีผลบังคับใช้ พ.ร.บ.รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ โจทก์มีอำนาจฟ้องโดยไม่ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนในกฎหมายใหม่
จำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจได้เลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2533 ก่อนที่พระราชบัญญัติ พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 จะมีผลใช้บังคับสิทธิและหน้าที่ที่จะพึงมีตามกฎหมายในการเลิกจ้างโจทก์รวมทั้งการดำเนินการตามสิทธิที่จะเกิดขึ้นจากการเลิกจ้างนั้น จะต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่เลิกจ้าง จึงนำพระราชบัญญัติ พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 มาใช้บังคับแก่กรณีของโจทก์ไม่ได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลแรงงานได้โดยไม่ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนหรือวิธีการอย่างใดก่อน
of 88