คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อุดม เฟื่องฟุ้ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 876 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3866/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างก่อนมีผลบังคับใช้ พ.ร.บ.รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ โจทก์มีอำนาจฟ้องโดยไม่ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนในกฎหมายใหม่
จำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจได้เลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2533 ก่อนที่พระราชบัญญัติ พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 จะมีผลใช้บังคับสิทธิและหน้าที่ที่จะพึงมีตามกฎหมายในการเลิกจ้างโจทก์รวมทั้งการดำเนินการตามสิทธิที่จะเกิดขึ้นจากการเลิกจ้างนั้น จะต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่เลิกจ้าง จึงนำพระราชบัญญัติ พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 มาใช้บังคับแก่กรณีของโจทก์ไม่ได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลแรงงานได้โดยไม่ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนหรือวิธีการอย่างใดก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3866/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างก่อนมีผลบังคับใช้ พ.ร.บ.รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ การพิจารณาตามกฎหมายในขณะนั้น และอำนาจฟ้อง
จำเลยเลิกจ้างโจทก์ก่อนที่ พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์พ.ศ. 2534 จะมีผลใช้บังคับ สิทธิและหน้าที่ที่จะพึงมีตามกฎหมายในการเลิกจ้างโจทก์รวมทั้งการดำเนินการตามสิทธิที่จะเกิดขึ้นจากการเลิกจ้างจึงต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่มีการเลิกจ้าง จะนำ พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์พ.ศ. 2534 มาใช้บังคับแก่กรณีของโจทก์ไม่ได้ เมื่อสิทธิต่าง ๆ ที่โจทก์เรียกร้องนั้น ตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเลิกจ้างไม่มีบทบัญญัติให้โจทก์จะต้องร้องทุกข์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือต้องปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการที่กำหนดไว้แต่อย่างใด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลแรงงานได้โดยไม่ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนหรือวิธีการอย่างใดก่อน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3866/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างก่อนมี พ.ร.บ.รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์: สิทธิฟ้องคดีและการใช้บทกฎหมาย
จำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2533 ก่อนที่พระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 จะมีผลใช้บังคับ สิทธิและหน้าที่อันจะพึงมีตามกฎหมายในการเลิกจ้างโจทก์รวมทั้งการดำเนินการตามสิทธิที่จะเกิดขึ้นจากการเลิกจ้างดังกล่าว จะต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะมีการเลิกจ้าง จะนำพระราชบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับแก่กรณีของโจทก์ไม่ได้ สิทธิต่าง ๆ ที่โจทก์ฟ้องเรียก ไม่มีกฎหมายที่ใช้อยู่ขณะนั้นบัญญัติให้โจทก์ต้องร้องทุกข์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือต้องปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการที่กำหนดไว้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลแรงงานโดยไม่ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนหรือวิธีการอย่างใดก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3860/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าสินไหมทดแทนจากละเมิด: การขาดประโยชน์จากการใช้แรงงานในอุตสาหกรรม
จำเลยขับรถยนต์โดยประมาทชน ก. พนักงานของโจทก์ได้รับบาดเจ็บต้องหยุดงานเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลรวม 17 วัน โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างได้จ่ายเงินเดือนให้ในระหว่างหยุดงาน 17 วัน เป็นเงิน8,257 บาท ก. เป็นพนักงานมีหน้าที่จะต้องประกอบการงานในอุตสาหกรรมให้แก่โจทก์เป็นประจำ จึงมีความผูกพันตามกฎหมายที่จะต้องทำการงานให้เป็นคุณแก่โจทก์ การละเมิดของจำเลยเป็นเหตุให้ก. ไม่สามารถประกอบการงานให้โจทก์ได้ตามปกติเป็นเหตุให้โจทก์ขาดประโยชน์จากการงานของ ก. โจทก์ย่อมได้รับความเสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 445 ชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยในส่วนนี้ การไฟฟ้านครหลวงโจทก์ประกอบกิจการจำหน่ายกระแสไฟฟ้าเพื่อหากำไร และเป็นกิจการขนาดใหญ่ที่ต้องใช้แรงงานและทุนมาก จึงเป็นอุตสาหกรรมตามความหมายที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 445

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3852/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุเลิกจ้างต้องตรงกับที่ระบุในคำสั่ง หากไม่ตรง จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชย
เหตุที่จำเลยถือเป็นข้ออ้างในการเลิกจ้างโจทก์ปรากฏตามคำสั่งของโจทก์เรื่องเลิกจ้างพนักงานแล้ว การที่จำเลยอ้างเหตุต่าง ๆ ที่มิได้ระบุไว้ในคำสั่งเลิกจ้างนั้นมาในคำให้การ จึงมิใช่เหตุที่จำเลยจะนำมาใช้อ้างในการเลิกจ้างโจทก์ได้ ข้ออ้างตามคำให้การของจำเลยดังกล่าวจึงไม่เป็นสาระแก่คดี ชอบที่ศาลจะไม่รับวินิจฉัยให้ และเมื่อเหตุที่จำเลยอ้างในคำสั่งเลิกจ้างนั้น มิใช่เหตุที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3852/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุเลิกจ้างต้องตรงกับที่ระบุในคำสั่ง หากไม่ตรง นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย
เหตุที่จำเลยถือเป็นข้ออ้างในการเลิกจ้างโจทก์ปรากฏ ตามคำสั่งของโจทก์เรื่องเลิกจ้างพนักงานแล้ว การที่จำเลย อ้างเหตุต่าง ๆ ที่มิได้ระบุไว้ในคำสั่งเลิกจ้างนั้นมาใน คำให้การ จึงมิใช่เหตุที่จำเลยจะนำมาใช้อ้างในการเลิกจ้าง โจทก์ได้ ข้ออ้างตามคำให้การของจำเลยดังกล่าวจึงไม่เป็น สาระแก่คดี ชอบที่ศาลจะไม่รับวินิจฉัยให้ และเมื่อเหตุที่ จำเลยอ้างในคำสั่งเลิกจ้างนั้น มิใช่เหตุที่จำเลยจะ เลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3501/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงานในการสั่งคืนงานกรณีเลิกจ้างไม่เป็นธรรม แม้เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 49 ให้อำนาจศาลแรงงานใช้ดุลพินิจพิพากษาให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานได้ หากเห็นว่าการเลิกจ้างลูกจ้างผู้นั้นไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้างไม่จำต้องอาศัยบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534อีก แม้โจทก์เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจก็มีอำนาจฟ้องนายจ้างในข้อหาเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมได้โดยไม่ต้องดำเนินการตามมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติพนักงาน-รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 ก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3501/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พนักงานรัฐวิสาหกิจฟ้องเลิกจ้างไม่เป็นธรรมต่อศาลแรงงานได้ โดยไม่ต้องผ่านขั้นตอนใน พ.ร.บ.รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
พนักงานรัฐวิสาหกิจมีอำนาจฟ้องรัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นนายจ้างต่อศาลแรงงานในข้อหาเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 49 ได้โดยไม่ต้องดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534เสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3501/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: ศาลแรงงานมีอำนาจพิจารณา แม้เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ
โจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหาเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49ตามบทบัญญัติดังกล่าวให้อำนาจศาลแรงงานใช้ดุลพินิจพิพากษาให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานได้อยู่แล้วหากเห็นว่าการเลิกจ้างลูกจ้างผู้นั้นไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง หาจำเป็นต้องอาศัยบทบัญญัติพ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 อีกไม่ ฟ้องของโจทก์จึงมิใช่ฟ้องที่อ้างสิทธิตาม พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯแม้โจทก์เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ โจทก์ก็ไม่ต้องดำเนินการตามมาตรา 18 แห่ง พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ แต่ประการใดโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3501/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเลิกจ้างไม่เป็นธรรม: ลูกจ้างรัฐวิสาหกิจไม่ต้องรอขั้นตอน พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 49 ให้อำนาจศาลแรงงานใช้ดุลพินิจพิพากษาให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานได้ หากเห็นว่าการเลิกจ้างลูกจ้างผู้นั้นไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้างไม่จำต้องอาศัยบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 อีก แม้โจทก์เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจก็มีอำนาจฟ้องนายจ้างในข้อหาเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมได้โดยไม่ต้องดำเนินการตามมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 ก่อน
of 88