พบผลลัพธ์ทั้งหมด 876 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2905/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนขายที่ดินทำให้สิทธิความเป็นเจ้าของสิ้นสุด การครอบครองหลังการขายเป็นเพียงการครอบครองแทน หากต้องการเปลี่ยนเป็นครอบครองเพื่อตนเอง ต้องแจ้งเจ้าของ
การที่ผู้ร้องโอนขายที่ดินให้ ว. เป็นการสละกรรมสิทธิ์และสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท ทำให้ ว.เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์และสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท แม้ผู้ร้องจะยังอาศัยหรือให้ผู้อื่นอยู่อาศัยในที่ดินพิพาทต่อไป ก็เป็นเพียงอาศัยสิทธิของ ว. การครอบครองของผู้ร้องหลังจากขายที่ดินพิพาทเป็นการครอบครองแทน ว.เมื่อ ว.โอนที่ดินพิพาทให้ผู้อื่นถือว่าผู้ร้องยังครอบครองแทนเจ้าของผู้มีกรรมสิทธิ์ ถ้าผู้ร้องจะเปลี่ยนลักษณะการครอบครองมาเป็นของผู้ร้อง ต้องบอกกล่าวไปยังเจ้าของที่ดินว่าไม่ครอบครองแทน แต่ผู้ร้องมิได้กระทำเช่นนั้น ทั้งผู้ร้องมิได้อาศัยอำนาจอื่นใดว่าครอบครองเพื่อผู้ร้องเอง ผู้ร้องจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2844/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพยายามรับของโจร: รถจักรยานยนต์ที่ถูกยึดจากคดีอื่น ไม่ถือเป็นทรัพย์ที่ได้จากการกระทำผิด
การที่เจ้าพนักงานตำรวจยึดรถจักรยานยนต์คันที่คนร้ายลักไปจากผู้เสียหายในคืนเกิดเหตุเป็นของกลาง เนื่องจากคนร้ายขับรถจักรยานยนต์คันดังกล่าวไปชนคนได้รับบาดเจ็บแล้วทิ้งรถจักรยานยนต์คันดังกล่าวไว้ตรงจุดชนนั้น เป็นการที่รถจักรยานยนต์ของกลางได้เข้ามาอยู่ในความยึดถือของเจ้าพนักงานตามอำนาจที่กฎหมายให้ไว้ในคดีที่เกิดขึ้นภายหลังโดยยังไม่ได้เข้ามาอยู่ในความครอบครองของผู้เสียหายและยังไม่ได้เข้ามาอยู่ในความยึดถือของเจ้าพนักงานตำรวจในคดีที่มีการลักทรัพย์รถจักรยานยนต์ จึงยังถือไม่ได้ว่าขณะที่เจ้าพนักงานตำรวจยึดรถจักรยานยนต์ของกลางไว้นั้น รถจักรยานยนต์ของกลางพ้นสภาพจากทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำผิด เพราะเจ้าพนักงานตำรวจที่ยึดไว้ไม่รู้ว่าเป็นทรัพย์ที่ถูกลักมาขณะยึด การที่จำเลยมาติดต่อ ช.ให้นำเงินไปไถ่ในวันรุ่งขึ้นนั้น เป็นการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ซึ่งในขณะนั้นอยู่ในสภาพที่ถูกยึดมาเพียงแต่การช่วยจำหน่ายของจำเลยไม่สามารถที่จะบรรลุผลได้อย่างแน่แท้ เพราะขณะที่จำเลยช่วยจำหน่ายทรัพยนั้น รถจักรยานยนต์ของกลางอยู่ในความยึดถือของพนักงานตำรวจที่ยึดไว้ในคดีอื่นการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานพยายามรับของโจรที่ไม่สามารถบรรลุผลได้อย่างแน่แท้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357 วรรคแรก ประกอบมาตรา 81
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2844/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยายามรับของโจร: แม้ไม่สำเร็จก็มีความผิด หากแสดงเจตนาช่วยจำหน่ายทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำผิด
รถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายถูกคนร้ายลักไป ต่อมาในคืนเกิดเหตุเจ้าพนักงานตำรวจยึดรถจักรยานยนต์ไว้เป็นของกลาง เนื่องจากคนร้ายขับไปชนคนได้รับบาดเจ็บ การที่รถจักรยานยนต์ได้เข้ามาอยู่ในความยึดถือของเจ้าพนักงานตามอำนาจที่กฎหมายให้ไว้ในคดีที่เกิดขึ้นภายหลังโดยไม่ได้เข้ามาอยู่ในความครอบครองของผู้เสียหายและไม่ได้เข้ามาอยู่ในความยึดถือของเจ้าพนักงานตำรวจในคดีที่มีการลักรถจักรยานยนต์ยังถือไม่ได้ว่าขณะที่เจ้าพนักงานตำรวจยึดรถจักรยานยนต์ไว้นั้น รถจักรยานยนต์พ้นสภาพจากทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำผิด เพราะเจ้าพนักงานตำรวจที่ยึดไว้ก็ไม่รู้ว่าเป็นทรัพย์ที่ถูกลักมา การที่จำเลยติดต่อ ช. ผู้รับฝากรถจักรยานยนต์ไว้ในคืนเกิดเหตุให้นำเงินไปไถ่ในวันรุ่งขึ้น เป็นการช่วยจำหน่ายรถจักรยานยนต์ซึ่งในขณะนั้นยังเป็นทรัพย์ที่อยู่ในสภาพที่ถูกลักมาแต่การช่วยจำหน่ายของจำเลยไม่สามารถที่จะบรรลุผลได้อย่างแน่แท้เพราะรถจักรยานยนต์ยังอยู่ในความยึดถือของเจ้าพนักงานตำรวจที่ยึดไว้ในคดีอื่น จำเลยไม่อาจช่วยให้มีการไถ่ถอนตามที่ได้เจตนาจะให้เกิดผลได้เลย จึงเป็นความผิดฐานพยายามรับของโจรที่ไม่สามารถบรรลุผลได้อย่างแน่แท้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357 วรรคแรกประกอบมาตรา 81
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2844/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รับของโจร: การติดต่อไถ่รถจักรยานยนต์ที่ถูกลักมา แม้จะไถ่ไม่ได้ ก็เป็นความผิดพยายามกระทำความผิด
รถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายถูกคนร้ายลักไป และได้ถูกเจ้าพนักงานอำเภอยึดไว้เป็นของกลางในคืนที่รถจักรยานยนต์หายเนื่องจากคนร้ายขับรถจักรยานยนต์ไปชนคนได้รับบาดเจ็บแล้วทิ้งไว้โดยเจ้าพนักงานตำรวจไม่รู้ว่าเป็นทรัพย์ที่ถูกลักมาดังนี้จึงถือไม่ได้ว่ารถจักรยานยนต์ของกลางพ้นสภาพจากทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำผิด การที่จำเลยไปติดต่อ ช. ให้นำเงินไปไถ่ในวันรุ่งขึ้นนั้น เข้าลักษณะเป็นการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ซึ่งยังเป็นทรัพย์ที่อยู่ในสภาพที่ถูกลักมา โดยรู้ว่าทรัพย์นั้นเป็นของร้าย จึงเป็นความผิดฐานรับของโจร แต่เนื่องจากการช่วยจำหน่ายของจำเลยนั้นไม่มีทางที่จะบรรลุผลได้อย่างแน่แท้การกระทำของจำเลยจึงเป็นการพยายามกระทำความผิดฐานรับของโจรที่ไม่สามารถบรรลุผลได้อย่างแน่แท้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2826/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยกรณีเกษียณอายุ: คำสั่งธนาคารกำหนดนิยามค่าชดเชยต่างจากประกาศกระทรวงฯ จึงเป็นสิทธิที่ลูกจ้างได้รับ
หลักเกณฑ์การจ่ายค่าชดเชยตามคำสั่งของจำเลย เรื่อง กำหนดระยะเวลาจ้างตลอดจนกำหนดการจ่ายค่าชดเชยและเงินทดแทนให้แก่พนักงานนั้น รวมถึงกรณีลาออก ทุพพลภาพ และถึงแก่กรรมด้วย ซึ่งแตกต่างจากค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน เงินดังกล่าวจึงเป็นเงินประเภทอื่นมิใช่ค่าชดเชย ดังนั้นเมื่อโจทก์เกษียณอายุโดยมิได้กระทำความผิดจำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2826/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยเกษียณอายุ: คำสั่งภายในองค์กรต่างจากประกาศกระทรวงฯ ถือเป็นเงินประเภทอื่น ต้องจ่ายตามกฎหมายแรงงาน
หลักเกณฑ์การจ่ายค่าชดเชยตามคำสั่งของนายจ้างที่ให้จ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างรวมถึงกรณีลาออก ทุพพลภาพ และถึงแก่กรรมด้วยนั้น แตกต่างจากค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน จึงเป็นเงินประเภทอื่นมิใช่ค่าชดเชย ดังนั้นเมื่อลูกจ้างเกษียณอายุนายจ้างจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างเท่ากับอัตราค่าจ้างสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2803/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องอาญา: ผู้เสียหายต้องเป็นผู้ได้รับความเสียหายโดยตรงจากการกระทำผิด การแจ้งความเท็จไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ลดลง
คดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 6 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ปรับจำเลย 3,000 บาท อีกสถานหนึ่ง และรอการลงโทษไว้มีกำหนด 1 ปี นั้น เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท แม้ศาลอุทธรณ์จะลงโทษปรับจำเลยด้วยแต่ให้รอการลงโทษจำคุกไว้ โทษที่จำเลยได้รับตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงต่ำกว่าโทษที่จำเลยจะต้องรับตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงมิใช่กรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 คำฟ้องของโจทก์บรรยายว่า จำเลยได้แจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่า โฉนดที่ดินที่โจทก์ฟ้องเป็นของจำเลยได้หายไปจากบ้านพักพนักงานสอบสวนจึงได้จดข้อความตามที่จำเลยแจ้งลงในสมุดรายงานประจำวันอันเป็นเอกสารราชการ ซึ่งความที่จำเลยแจ้งต่อพนักงานสอบสวนดังกล่าวเป็นความเท็จ ดังนี้ เห็นได้ว่า การกระทำตามที่บรรยายฟ้องมานั้นจำเลยกระทำต่อเจ้าพนักงานมิได้กระทำต่อโจทก์และข้อความเท็จที่จำเลยแจ้งให้พนักงานสอบสวนจดบันทึกลงในสมุดรายงานประจำวันที่เป็นเอกสารราชการนั้น แม้จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 137 และมาตรา 267 ก็ตาม แต่ข้อความเท็จที่จำเลยแจ้งนั้นมิได้มีการกล่าวอ้างถึงการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดที่เป็นของโจทก์ความที่ปรากฏว่าเป็นเท็จก็ดี สมุดรายงานที่เจ้าพนักงานจดบันทึกไว้มีข้อความเป็นเท็จก็ดี มิได้ทำให้สิทธิของโจทก์เกี่ยวกับการมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินในโฉนดต้องถูกเปลี่ยนแปลงหรือกระทบกระเทือนต่อการที่โจทก์มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามโฉนดดังกล่าวในทางที่ทำให้สิทธิที่มีอยู่ลดน้อยถอยลงแต่ประการใด ในการกระทำความผิดของจำเลยในส่วนนี้โจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหาย แม้จะได้ความต่อมาว่า จำเลยได้นำหลักฐานการแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานตำรวจไปดำเนินการต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อขอใบแทนโฉนดแล้วนำไปขายให้บุคคลอื่น อันเป็นการกระทำที่เกิดความเสียหายให้แก่โจทก์ก็ตาม แต่การกระทำของจำเลยในส่วนนี้ที่กระทำต่อมาหลังจากการกระทำความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานตำรวจและให้เจ้าพนักงานตำรวจจดข้อความเท็จลงในเอกสารราชการสำเร็จแล้วนั้น เป็นการกระทำอีกส่วนหนึ่งต่างหากจากการกระทำที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลย จึงนำเอาการกระทำส่วนนี้มาเป็นข้อพิจารณาว่าโจทก์เสียหายในส่วนของการกระทำตามฟ้องไม่ได้เมื่อโจทก์มิใช่ผู้เสียหายสำหรับการกระทำที่เป็นความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2803/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายในความผิดแจ้งความเท็จ แม้มีการกระทำต่อเนื่องทำให้เกิดความเสียหายภายหลัง ศาลพิพากษายกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 6 เดือน ศาลอุทธรณ์แก้เป็นว่า ให้ปรับจำเลย 3,000 บาท อีกสถานหนึ่ง และรอการลงโทษไว้มีกำหนด 1 ปี เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท แม้ศาลอุทธรณ์จะลงโทษปรับจำเลยด้วยแต่ให้รอการลงโทษจำคุกไว้ โทษที่จำเลยได้รับตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงต่ำกว่าโทษที่จำเลยจะต้องรับตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น มิใช่ศาลอุทธรณ์พิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 219 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานแจ้งความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานและแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 และมาตรา 267 แต่การกระทำของจำเลยที่โจทก์บรรยายไว้ครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 นั้น ก็เฉพาะการกระทำในส่วนที่อ้างว่าจำเลยแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานตำรวจและที่ให้เจ้าพนักงานตำรวจจดข้อความอันเป็นเท็จลงในสมุดรายงานประจำวันอันเป็นเอกสารราชการเท่านั้น ส่วนการที่โจทก์กล่าวไว้ในคำฟ้องว่าต่อมาจำเลยนำสำเนารายงานประจำวันไปขอออกใบแทนโฉนดที่ดินแล้วนำไปจดทะเบียนให้แก่ผู้มีชื่อนั้น โจทก์มิได้บรรยายการกระทำและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ตามที่ต้องกล่าวตามมาตรา158(5) จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยสำหรับการกระทำในส่วนนี้ด้วย ดังนั้นในการวินิจฉัยข้อกฎหมายว่าโจทก์จะเป็นผู้เสียหายหรือไม่จึงต้องพิจารณาเฉพาะการกระทำที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยคือการที่จำเลยนำข้อความอันเป็นเท็จไปแจ้งต่อเจ้าพนักงานตำรวจว่าโฉนดที่ดินของจำเลยหาย เพื่อให้เจ้าพนักงานตำรวจจดบันทึกไว้ในสมุดรายงานประจำวันอันเป็นเอกสารราชการ การกระทำตามฟ้องที่จำเลยนำข้อความอันเป็นเท็จไปแจ้งต่อเจ้าพนักงานตำรวจว่าโฉนดที่ดินของจำเลยหาย เป็นการกระทำต่อเจ้าพนักงานมิได้กระทำต่อโจทก์และข้อความเท็จที่จำเลยแจ้งให้ร้อยตำรวจโทพ.จดบันทึกลงในสมุดรายงานประจำวันที่เป็นเอกสารราชการนั้น แม้จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137และมาตรา 267 ก็ตาม แต่ข้อความเท็จที่จำเลยแจ้งนั้น มิได้มีการกล่าวอ้างถึงการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดที่เป็นของโจทก์ ความที่ปรากฏว่าเป็นเท็จก็ดี สมุดรายงานที่เจ้าพนักงานจดบันทึกไว้มีข้อความเป็นเท็จก็ดีมิได้ทำให้สิทธิของโจทก์เกี่ยวกับการมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินในโฉนดต้องถูกเปลี่ยนแปลงหรือกระทบกระเทือนต่อการที่โจทก์มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินในทางที่ทำให้สิทธิที่มีอยู่ลดน้อยถอยลงในการกระทำความผิดของจำเลยในส่วนนี้โจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหายแม้จะได้ความต่อมาว่า จำเลยได้นำหลักฐานการแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานตำรวจไปดำเนินการต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อขอใบแทนโฉนดแล้วนำไปขายให้บุคคลอื่นอันเป็นการกระทำที่เกิดความเสียหายให้แก่โจทก์ก็ตาม แต่การกระทำของจำเลยในส่วนนี้ที่กระทำต่อมาหลังจากการกระทำความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานตำรวจและให้เจ้าพนักงานตำรวจจดข้อความเท็จลงในเอกสารราชการสำเร็จแล้วนั้น เป็นการกระทำอีกส่วนหนึ่งต่างหากจากการกระทำที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษ จึงนำเอาการกระทำส่วนนี้มาเป็นข้อพิจารณาว่าโจทก์เสียหายในส่วนของการกระทำตามฟ้องไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2685/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดค่าปรับในสัญญาประกันภัยเนื่องจากจำเลยพยายามติดตามตัวผู้ต้องหา แม้จะล่าช้า
หลังจากผิดสัญญาประกัน จำเลยนายประกันได้พยายามสืบหาผู้ต้องหาและได้จ้างผู้อื่นช่วยสืบหาจนได้ตัวผู้ต้องหาส่งให้แก่โจทก์ดำเนินคดี แม้จะใช้เวลาเกือบ 2 ปี ความเสียหายของโจทก์ก็มีน้อยกว่าที่โจทก์ดำเนินการเอง สมควรลดค่าปรับให้แก่จำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2650/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีแรงงาน: เหตุสุดวิสัย-การไต่สวน-สิทธิในการให้การ
คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยได้อ้างถึงข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุและความจำเป็นที่มิได้ยื่นคำให้การและมาศาลในวันนัดพิจารณาว่า เนื่องจากไม่ทราบว่าถูกฟ้องและไม่ทราบวันนัดเนื่องจากจำเลยไปรักษาพยาบาลมารดาอยู่ต่างจังหวัด ในระหว่างวันที่ถูกฟ้องถึงวันที่ศาลชี้ขาดตัดสินคดีและมีการส่งคำบังคับ เพิ่งมาทราบเรื่องที่ถูกฟ้องและบังคับคดีหลังจากจำเลยออกโรงพยาบาลและกลับมาพักฟื้นอยู่ที่บ้าน ดังนี้ ถ้าข้อเท็จจริงเป็นดังที่จำเลยอ้างแล้วจำเลยก็ย่อมไม่สามารถมาแถลงให้ศาลแรงงานกลางทราบถึงความจำเป็นที่ไม่อาจมาศาลได้ภายในกำหนด 7 วัน ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 41 ได้กรณีเช่นนี้ต้องนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208มาใช้บังคับแก่การพิจารณาคดีโดย อนุโลมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31ศาลแรงงานกลางต้องไต่สวนคำร้อง ของ จำเลยและมีคำสั่งตามรูปคดีต่อไป