คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 218 วรรคหนึ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 264 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5844/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพรากผู้เยาว์จากผู้ปกครอง และความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา
ตาม ป.อ. มาตรา 318 คำว่า ผู้ปกครองหมายถึงผู้มีฐานะทางกฎหมายเกี่ยวพันกับผู้เยาว์ เช่น บิดามารดา ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง ส่วนผู้ดูแลหมายถึงผู้ควบคุม ระวังรักษาผู้เยาว์โดยข้อเท็จจริง เช่น ครูอาจารย์ นายจ้าง เป็นต้น เมื่อผู้เสียหายที่ 1 เป็นนายจ้างประกอบกับผู้เสียหายทั้งสองเบิกความได้ความว่า บิดามารดาผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เยาว์ มอบให้ผู้เสียหายที่ 1 ปกครองดูแลผู้เสียหายที่ 2 ด้วย โดยผู้เสียหายที่ 1 ให้ผู้เสียหายที่ 2 พักอยู่ที่ร้านอาหารดังกล่าว ดังนี้ผู้เสียหายที่ 1 จึงเป็นผู้ปกครองและผู้ดูแลผู้เสียหายที่ 2 ในฐานะนายจ้างโดยได้รับมอบหมายจากบิดามารดาผู้เสียหายที่ 2 ด้วย การกระทำของจำเลยกับพวกเป็นการรบกวนสิทธิหรือแยกสิทธิในการควบคุมดูแลผู้เสียหายที่ 2 โดยปราศจากเหตุอันสมควร จึงเป็นการร่วมกันพรากผู้เสียหายที่ 2 ไปจากความดูแลของผู้เสียหายที่ 1 อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 318 วรรคสาม
ความผิดฐานร่วมกันพรากผู้เสียหายที่ 2 ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ฎีกาของจำเลยในข้อนี้เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาลอุทธรณ์ภาค 7 เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก
ส่วนความผิดฐานร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราหญิงซึ่งมิใช่ภริยาของตนอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงนั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ลงโทษจำคุกจำเลยในอัตราขั้นต่ำสำหรับความผิดฐานนี้ตามกฎหมายแล้ว แม้จำเลยกระทำความผิดในขณะที่มีอายุ 19 ปีเศษ แต่รู้ผิดชอบแล้วและลักษณะการกระทำความผิดไม่เห็นสมควรลดมาตราส่วนโทษให้ ตาม ป.อ. มาตรา 76

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5426/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโทษฐานความผิดหลายกรรม และข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ความผิดฐานร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขัง ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าเป็นการกระทำกรรมเดียวกับความผิดฐานร่วมกันกระทำชำเราเด็กหญิงอายุไม่เกินสิบห้าปีอันมีลักษณะเป็นการโทรมเด็กหญิง จึงให้ลงโทษฐานร่วมกันกระทำชำเราเด็กหญิงอายุไม่เกินสิบห้าปีอันมีลักษณะเป็นการโทรมเด็กหญิง ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาแก้เป็นว่า ความผิดฐานร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังกับความผิดฐานร่วมกันกระทำชำเราเด็กหญิงอายุไม่เกินสิบห้าปีอันมีลักษณะเป็นการโทรมเด็กหญิงนั้น เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ต้องลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตาม ป.อ. มาตรา 91 แต่โจทก์มิได้ยื่นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 8 จึงมิอาจกำหนดโทษสำหรับความผิดฐานร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขัง อันเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยได้ ดังนี้ถือว่าศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาแก้ไขเล็กน้อย และลงโทษจำคุกจำเลย ในความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังไม่เกินห้าปี เมื่อจำเลยฎีกาว่า จำเลยมิได้กระทำความผิดฐานนี้ตามฟ้อง ฎีกาของจำเลยในส่วนนี้จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4239/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องได้รับอนุญาตจากผู้พิพากษาที่ลงชื่อในคำพิพากษาตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองคนละ 8 เดือน จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง การที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า พยานโจทก์เบิกความไม่อยู่กับร่องกับรอยปรักปรำจำเลยทั้งสองไม่น่าเชื่อถือ พยานจำเลยทั้งสองน่าเชื่อถือมากกว่า จำเลยทั้งสองไม่ได้ทำผิดตามฟ้อง หากเห็นว่าจำเลยทั้งสองกระทำผิดขอให้ลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษให้จำเลยทั้งสองด้วยนั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้จำเลยทั้งสองฎีกาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว เว้นแต่ถ้าผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์พิเคราะห์เห็นว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดและอนุญาตให้ฎีกาหรืออธิบดีกรมอัยการลงลายมือชื่อรับรองในฎีกาว่ามีเหตุอันควรที่ศาลสูงสุดจะได้วินิจฉัย ก็ให้รับฎีกานั้นไว้พิจาณาต่อไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 ซึ่งขั้นตอนในการที่จะปฏิบัติเข้าข้อยกเว้นดังกล่าว มิได้บัญญัติวางหลักเกณฑ์ไว้โดยเฉพาะใน ป.วิ.อ. จึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคท้าย มาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม ป.วิ.อ. มาตรา 15 กล่าวคือจำเลยทั้งสองต้องยื่นคำร้องถึงผู้พิพากษาที่จำเลยทั้งสองประสงค์จะขออนุญาตฎีกา พร้อมกับคำฟ้องฎีกาต่อศาลชั้นต้น เพื่อให้ศาลชั้นต้นส่งคำร้องพร้อมด้วยสำนวนความไปยังผู้พิพากษาดังกล่าวเพื่อพิจารณาอนุญาตให้จำเลยทั้งสองฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ แต่ตามคำร้องของจำเลยทั้งสองคงเพียงขอให้ผู้พิพากษาสองคนที่ลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นคือ บ. และ ธ. อนุญาตให้จำเลยทั้งสองฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง โดยมิได้ระบุถึงผู้พิพากษาคนอื่นที่ลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ดังนี้ เมื่อผู้พิพากษาทั้งสองคนที่ลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยทั้งสองฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงแล้วก็ชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยทั้งสอง แต่กลับส่งคำร้องไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 2 การที่ ช. ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ที่ลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยทั้งสองฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงโดยลำพัง จึงหามีผลให้เข้าข้อยกเว้นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 อันจะส่งผลตามกฎหมายให้จำเลยทั้งสองฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ไม่ เพราะมิได้ต้องด้วยความประสงค์ของจำเลยทั้งสอง และมิได้ผ่านหลักเกณฑ์ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้รับฎีกาของจำเลยทั้งสองจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3499/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทลงโทษตามมาตรา 269/7, การแก้ไขโทษจำคุกโดยศาลอุทธรณ์ และอำนาจศาลฎีกาในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย
ศาลอุทธรณ์ภาค 5 แก้ไขเฉพาะโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานร่วมกันใช้และฐานร่วมกันนำเข้าบัตรอิเล็กทรอนิกส์ปลอมจากกระทงละ 2 ปี และ 4 ปี เป็นกระทงละ 1 ปี และ 3 ปี ตามลำดับ อันเป็นการแก้ไขเล็กน้อย เมื่อแต่ละกระทงยังคงลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ไม่เกินห้าปี จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันปลอม นำเข้า และใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ปลอมที่ผู้ออกได้ออกให้แก่ผู้มีสิทธิใช้ เพื่อใช้ประโยชน์ในการชำระค่าสินค้า ค่าบริการหรือหนี้อย่างอื่นแทนการชำระด้วยเงินสด อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 269/7 ซึ่งบัญญัติให้ผู้กระทำต้องระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในความผิดดังกล่าวกึ่งหนึ่ง เมื่อจำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ร่วมกับพวกกระทำความผิดตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว แต่ศาลชั้นต้นมิได้ปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ตามบทบัญญัติดังกล่าวและศาลอุทธรณ์ภาค 5 มิได้แก้ไขให้ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย และแก้ไขโดยปรับบทให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แต่โจทก์มิได้ฎีกาในข้อนี้ ศาลฎีกาจึงไม่อาจวางโทษจำคุกให้หนักขึ้นตามบทบัญญัติของกฎหมายที่แก้ไขดังกล่าวได้ เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 1 และเนื่องจากเป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ที่มิได้ฎีกาด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 และมาตรา 213 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1133/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดมาตราส่วนโทษโดยคำนึงถึงความรู้สึกผิดชอบของจำเลย แม้ข้อหาบางส่วนต้องห้ามฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาได้
การใช้ดุลพินิจลดมาตราส่วนโทษโดยคำนึงถึงความรู้สึกผิดชอบของจำเลยที่ 3 เป็นข้อเท็จจริงอันเดียวเกี่ยวพันกัน เมื่อศาลฎีกาลดมาตราส่วนโทษให้จำเลยที่ 3 ในความผิดฐานที่ไม่ต้องห้ามฎีกาแล้ว ก็มีอำนาจลดมาตราส่วนโทษในความผิดฐานที่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 389/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัย กรณีศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษลดลงเล็กน้อย โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี
ความผิดฐานร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงและฐานร่วมกันพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เฉพาะโทษโดยลดมาตราส่วนโทษให้ตาม ป.อ. มาตรา 76 แม้จะยกฟ้องความผิดฐานอื่นซึ่งเป็นบทเบากว่าและศาลชั้นต้นพิพากษาว่าเป็นความผิดกรรมเดียวกันกับความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวด้วย ก็เป็นการแก้ไขเล็กน้อย เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 ลงโทษจำคุกจำเลยแต่ละกระทงไม่เกินห้าปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาให้ลดมาตราส่วนโทษให้กึ่งหนึ่งนั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาลอุทธรณ์ภาค 1 เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 387/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นข้อเท็จจริงใหม่เกี่ยวกับความผิดฐานหมิ่นประมาท เนื่องจากเป็นการโต้แย้งดุลพินิจศาลอุทธรณ์
คดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยที่ 1 มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 328 ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่าจำเลยแถลงข่าวเพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินอยู่ในทำนองคลองธรรมและเป็นไปในทางสุจริต มีความชอบธรรมที่จะเปิดเผยให้ประชาชนทราบถึงข้อเท็จจริงเพื่อป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม ตลอดจนแสดงความคิดเห็นติชมด้วยความเป็นธรรม อันเป็นวิสัยหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยไม่มีอคติใดๆ กับโจทก์ จึงมิใช่เป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ตาม ป.อ. มาตรา 329 นั้น ฎีกาของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเป็นการประสงค์ให้ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงใหม่ เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทโจทก์ ซึ่งเท่ากับเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ที่ฟังว่าการแถลงข่าวของจำเลยที่ 1 ว่าโจทก์ได้รับผลประโยชน์จำนวนมากจากโครงการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซี.ดี.เอ็ม.เอ ทั้งๆ ที่จำเลยที่ 1 ทราบดีว่าการแถลงข่าวเช่นนั้นเป็นเรื่องไม่จริง โจทก์จะได้รับความเสียหายถือว่าเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงมิใช่ปัญหาข้อกฎหมาย ซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10984/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดระยะเวลายื่นฎีกาและการพิจารณาคดีถึงที่สุด แม้มีการถอนอุทธรณ์คำสั่ง
คดีที่ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยยื่นฎีกาพ้นกำหนดระยะเวลาฎีกาแล้ว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลย แม้ต่อมาจำเลยจะยื่นคำร้องและอุทธรณ์คำสั่งเกี่ยวเนื่องกับคำสั่งไม่รับฎีกา และศาลอุทธรณ์มีคำสั่งรับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยไว้พิจารณาก็ตามแต่ในที่สุดศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยถอนอุทธรณ์คำสั่งได้ จึงไม่มีการรับฎีกาของจำเลย ต้องถือว่าคดีถึงที่สุดเมื่อระยะเวลายื่นฎีกาได้สิ้นสุดลงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟังเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2548 ครบกำหนดยื่นฎีกาวันที่ 3 กรกฎาคม 2548 ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์ระยะเวลายื่นฎีกาจึงสิ้นสุดลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2548 อันเป็นวันที่เริ่มทำการใหม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/8 คดีจึงถึงที่สุดวันที่ 4 กรกฎาคม 2548

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10984/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดคดีอาญาเนื่องจากพ้นกำหนดฎีกาและการถอนอุทธรณ์คำสั่ง ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าคดีถึงที่สุด
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน จำคุกกระทงละ 4 ปี รวมจำคุก 8 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน โดยลงโทษจำคุกกระทงละไม่เกินห้าปี คดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยยื่นฎีกาพ้นกำหนดระยะเวลาฎีกาแล้ว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลย แม้ต่อมาจำเลยจะยื่นคำร้องและอุทธรณ์คำสั่งเกี่ยวเนื่องกับคำสั่งไม่รับฎีกา และศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่งรับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยไว้พิจารณาก็ตาม แต่ในที่สุดศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยถอนอุทธรณ์คำสั่งได้ จึงไม่มีการรับฎีกาของจำเลย ต้องถือว่าคดีถึงที่สุดเมื่อระยะเวลายื่นฎีกาได้สิ้นสุดลงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 คดีนี้ศาลจังหวัดสีคิ้วอ่านคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ให้จำเลยฟังเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2548 ครบกำหนดยื่นฎีกาวันที่ 3 กรกฎาคม 2548 ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์ระยะเวลายื่นฎีกาจึงสิ้นสุดลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2548 อันเป็นวันที่เริ่มทำการใหม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/8 คดีจึงถึงที่สุดวันที่ 4 กรกฎาคม 2548

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9283/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานประกอบกิจการสถานพยาบาล, วิชาชีพเวชกรรม, และโรคศิลปะ เป็นความผิดคนละกรรม, ศาลลงโทษตามบทมาตราที่ถูกต้องได้
สถานพยาบาลตามมาตรา 4 แห่งพ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2541 หมายความว่า สถานที่ซึ่งจัดไว้เพื่อการประกอบโรคศิลปะตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะหรือการประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเวชกรรม ดังนั้น การที่จำเลยประกอบกิจการสถานพยาบาลโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจึงเป็นการกระทำด้วยเจตนาจัดสถานที่เพื่อการตรวจรักษาโรคโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ต่างจากการประกอบวิชาชีพเวชกรรมโดยมิได้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมหรือประกอบโรคศิลปะโดยมิได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต ที่จำเลยมีเจตนาตรวจรักษาโรคให้สตรี ตรวจภายใน หรือทำแท้ง การกระทำของจำเลยในความผิดฐานประกอบกิจการสถานพยาบาลโดยไม่ได้รับใบอนุญาต จึงเป็นความผิดคนละกรรมกับความผิดฐานประกอบวิชาชีพเวชกรรมโดยมิได้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและความผิดฐานประกอบโรคศิลปะโดยมิได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต
เมื่อพิจารณาใจความที่ศาลบันทึกคำฟ้องด้วยวาจาประกอบกับบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาที่โจทก์ส่งต่อศาลแล้วได้ความว่า จำเลยประกอบกิจการสถานพยาบาลโดยใช้บ้านพักของจำเลยเป็นสถานให้บริการทำแท้งโดยไม่ได้รับใบอนุญาต อันเป็นความผิดตามพ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2541 มาตรา 57 มิใช่มาตรา 47 ที่โจทก์ระบุมาในคำขอท้ายฟ้อง เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ตามคำให้การรับสารภาพของจำเลยว่า จำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง กรณีเป็นเรื่องโจทก์อ้างบทมาตราผิด ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ตามป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานประกอบกิจการสถานพยาบาลโดยไม่ได้รับใบอนุญาต จำคุก 2 ปี ฐานประกอบวิชาชีพเวชกรรมโดยมิได้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม จำคุก 2 ปี ฐานประกอบโรคศิลปะ โดยมิได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต จำคุก 6 เดือน รวมจำคุก 4 ปี 6 เดือน ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 2 ปี 3 เดือน ริบของกลาง ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาแก้เป็นว่า ความผิดฐานประกอบกิจการสถานพยาบาลโดยไม่ได้รับใบอนุญาต จำคุก 1 ปี ความผิดฐานประกอบวิชาชีพเวชกรรมโดยมิได้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและความผิดฐานประกอบโรคศิลปะโดยมิได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท แต่ละบทมีอัตราโทษเท่ากัน ให้ลงโทษฐานประกอบโรคศิลปะ โดยมิได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตจำคุก 6 เดือน รวมจำคุก 1 ปี 6 เดือน ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 9 เดือน ไม่ริบบัตรประจำตัวประชาชนลูกค้า บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า บัตรประจำตัวนักศึกษาวิทยาลัยราชภัฏเลย และให้คืนแก่เจ้าของ เป็นการแก้ไขเล็กน้อยและยังคงลงโทษจำคุกกระทงละไม่เกิน 5 ปี จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง จำเลยฎีกาขอให้รอการลงโทษเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการลงโทษ ซึ่งเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว
of 27