พบผลลัพธ์ทั้งหมด 264 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1689/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับแก้บทความผิดและโทษจำคุกโดยศาลอุทธรณ์ การรับฎีกาที่ไม่ชอบของศาลชั้นต้น
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 278 วรรคหนึ่ง, 365 (1) ประกอบมาตรา 362 และมาตรา 364 การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานบุกรุกโดยใช้กำลังประทุษร้ายตาม ป.อ. มาตรา 365 (1) ประกอบมาตรา 362 และมาตรา 364 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 จำคุก 1 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานกระทำอนาจารแก่บุคคลอายุกว่าสิบห้าปี ตาม ป.อ. มาตรา 278 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 จำคุก 2 ปี เป็นกรณีที่ทั้งสองศาลต่างวางบทความผิดแก่จำเลยทั้งมาตรา 278 วรรคหนึ่ง และมาตรา 365 (1) ประกอบมาตรา 362 และมาตรา 364 ซึ่งเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทอยู่แล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ปรับบทกฎหมายตามมาตรา 278 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นบทหนักที่สุดที่ใช้ลงโทษจำเลยให้ถูกต้องดังกล่าว ถือไม่ได้ว่าเป็นการแก้ไขบท แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 จะแก้ไขโทษเพิ่มขึ้นตามบทหนักที่ใช้ลงโทษแก่จำเลย ก็เป็นเพียงการแก้ไขเล็กน้อยและลงโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ดังนี้ ฎีกาของจำเลยที่ขอให้ลงโทษจำเลยสถานเบาและรอการลงโทษจำคุกนั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาลอุทธรณ์ภาค 4 ซึ่งเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จำเลยย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองว่า ข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดและอนุญาตให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 การที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องขออนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงว่า สั่งในฎีกา แล้วมีคำสั่งในคำฟ้องฎีกาของจำเลยว่า เป็นกรณีแก้ไขมากและเพิ่มเติมโทษจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 ให้รับฎีกาของจำเลย จึงเป็นการสั่งคดีโดยผิดหลงและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ถือว่าไม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาคดี ศาลฎีกามีอำนาจที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยโดยให้เพิกถอนคำสั่งและการดำเนินการดังกล่าวของศาลชั้นต้นที่ไม่ชอบเสียได้และสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 745/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาโทษจำคุกหลังรับสารภาพ และดุลพินิจศาลในการรอการลงโทษ
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง มิได้ถือเอาอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายบัญญัติเป็นข้อสำคัญแต่ถือเอาอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปเป็นเกณฑ์ กล่าวคือในความผิดฐานใดที่มีอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป หรือความผิดที่มีโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือโทษประหารชีวิตสถานเดียว แม้จำเลยให้การรับสารภาพ กฎหมายก็บังคับให้ศาลต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงจึงจะพิพากษาลงโทษจำเลยได้ คดีนี้เมื่อข้อหาความผิดตามที่โจทก์ฟ้องมีอัตราโทษอย่างสูงจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีหกเดือนถึงสิบปีหกเดือน ถึงแม้โทษจำคุกสิบปีหกเดือนนี้จะเป็นโทษที่หนักกว่าโทษจำคุกห้าปีแต่ก็เป็นอัตราโทษอย่างสูง ส่วนอัตราโทษอย่างต่ำในความผิดฐานนี้ให้จำคุกตั้งแต่หนึ่งปีหกเดือนขึ้นไป ซึ่งศาลอาจลงโทษจำคุกจำเลยต่ำกว่าโทษจำคุกสิบปีหกเดือนลงมาจนถึงจำคุกหนึ่งปีหกเดือนก็ได้ การที่ศาลชั้นต้นวางโทษจำคุกจำเลย 6 ปี แล้วลดโทษให้กึ่งหนึ่งเนื่องจากจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง จึงพิพากษาลงโทษจำคุก 3 ปี โดยไม่ได้สืบพยานโจทก์ประกอบคำให้การรับสารภาพของจำเลยนั้น ย่อมชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ส่วนที่จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษนั้น แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งไม่รับฎีกาข้อนี้ของจำเลยเนื่องจากเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่เมื่อศาลฎีกาได้รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลยข้ออื่นในปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจที่จะพิจารณาด้วยว่าโทษที่ศาลอุทธรณ์ลงโทษแก่จำเลยนั้นเหมาะสมหรือไม่ เพียงใด และมีเหตุรอการลงโทษให้แก่จำเลยหรือไม่
ส่วนที่จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษนั้น แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งไม่รับฎีกาข้อนี้ของจำเลยเนื่องจากเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่เมื่อศาลฎีกาได้รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลยข้ออื่นในปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจที่จะพิจารณาด้วยว่าโทษที่ศาลอุทธรณ์ลงโทษแก่จำเลยนั้นเหมาะสมหรือไม่ เพียงใด และมีเหตุรอการลงโทษให้แก่จำเลยหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4754-4755/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ร่วมกันฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน, ความผิดฐานช่วยเหลือผู้อื่น, อัตราดอกเบี้ยค่าสินไหมทดแทน
ความผิดฐานร่วมกันช่วยเหลือผู้อื่นซึ่งเป็นผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดเพื่อมิให้ถูกจับกุม ตาม ป.อ. มาตรา 189 นั้น ข้อเท็จจริงตามทางนำสืบของโจทก์และโจทก์ร่วมคงได้ความเพียงว่า ขณะที่จำเลยที่ 6 โทรศัพท์ให้ ช. ขับรถของ ญ. ซึ่งเป็นผู้ร่วมกระทำความผิดไปส่งที่จังหวัดหนองคาย ญ. ได้หลบหนีไปที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวแล้ว โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 6 ช่วยเหลือในการหลบหนีดังกล่าวแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยที่ 6 จึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 189 แม้ความผิดฐานดังกล่าวจะต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษายกฟ้องในความผิดฐานนี้ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4293/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษคดีขับรถในขณะเมาสุราฯ จำเลยฎีกาว่าต้องลงโทษฐานประมาท แต่ศาลฎีกาเห็นว่าบทขับรถเมาฯ โทษหนักกว่า
ในขณะที่จำเลยกระทำความผิดคดีนี้ ความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตาม ป.อ. มาตรา 291 มีระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปีและปรับไม่เกินสองแสนบาท ส่วนความผิดฐานขับรถในขณะเมาสุราเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 160 ตรี วรรคสี่ มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบปีและปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสองแสนบาท แม้บทกฎหมายที่ระวางโทษในความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวมีระวางโทษจำคุกขั้นสูงเท่ากัน คือ จำคุกไม่เกินสิบปีแต่ความผิดฐานขับรถในขณะเมาสุราเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายซึ่งต้องด้วยบทกำหนดโทษตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก ฯ มาตรา 160 ตรี วรรคสี่ มีระวางโทษจำคุกขั้นต่ำสามปีด้วย ความผิดดังกล่าวจึงมีโทษหนักกว่าความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตาม ป.อ. มาตรา 291 จึงต้องลงโทษจำเลยฐานขับรถในขณะเมาสุราเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก ฯ มาตรา 160 ตรี วรรคสี่ ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90
เมื่อคดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 291 พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 (2) (4), 157, 160 ตรี การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 291 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 จำคุก 2 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่าให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก ฯ มาตรา 42 (2), 160 ตรี วรรคสี่ ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 จำคุก 3 ปี อันเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่ได้แก้ไขบทมาตราแห่งความผิดเพียงแต่ปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้องเท่านั้นจึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อยและลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปีต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
เมื่อคดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 291 พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 (2) (4), 157, 160 ตรี การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 291 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 จำคุก 2 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่าให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก ฯ มาตรา 42 (2), 160 ตรี วรรคสี่ ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 จำคุก 3 ปี อันเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่ได้แก้ไขบทมาตราแห่งความผิดเพียงแต่ปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้องเท่านั้นจึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อยและลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปีต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3844/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกานี้พิพากษาแก้โทษจำคุกและยืนยันความผิดฐานร่วมกันปล้นทรัพย์ ทำร้ายร่างกาย และข่มขืนกระทำชำเรา
ความผิดฐานร่วมกันมีอาวุธปืนที่เป็นของผู้อื่นโดยไม่ได้รับใบอนุญาต และฐานร่วมกันพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะ โดยไม่ได้รับใบอนุญาต ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นและคงลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละไม่เกินห้าปี จึงต้องห้ามคู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง จำเลยฎีกาว่า พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมายังรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยร่วมกันกระทำความผิดตามฟ้องนั้น เป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 5 อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว การที่จำเลยยื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลฎีกาเพื่อให้รับฎีกาของจำเลยในปัญหาข้อเท็จจริงนี้ไว้พิจารณา แล้วศาลชั้นต้นมีคำสั่งตามคำร้องขออนุญาตยื่นฎีกาจำเลยดังกล่าวเสียเองจึงไม่ถูกต้อง ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นสั่งว่า คดีไม่ต้องห้ามฎีกาและมีคำสั่งตามคำร้องขอรับรองฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงว่าส่งศาลฎีกานั้นเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรเพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเสียและมีคำสั่งเสียใหม่ให้ถูกต้องโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่ง
แม้คำร้องของจำเลยในทำนองว่าฎีกาของจำเลยมีข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาอันสำคัญอันควรแก่การพิจารณาก็ตาม ก็ไม่มีบทกฎหมายใดให้อำนาจแก่ศาลฎีกาที่จะก้าวล่วงมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยไว้พิจารณาได้ จึงให้ยกคำร้อง และเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ยื่นคำขอให้ผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณาลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค 5 อนุญาตให้ฎีกาหรืออัยการสูงสุดลงลายมือชื่อรับรองให้ฎีกา ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 221 ดังนั้นศาลฎีกาจึงไม่รับฎีกาของจำเลยที่ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวไว้พิจารณา
แม้คำร้องของจำเลยในทำนองว่าฎีกาของจำเลยมีข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาอันสำคัญอันควรแก่การพิจารณาก็ตาม ก็ไม่มีบทกฎหมายใดให้อำนาจแก่ศาลฎีกาที่จะก้าวล่วงมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยไว้พิจารณาได้ จึงให้ยกคำร้อง และเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ยื่นคำขอให้ผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณาลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค 5 อนุญาตให้ฎีกาหรืออัยการสูงสุดลงลายมือชื่อรับรองให้ฎีกา ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 221 ดังนั้นศาลฎีกาจึงไม่รับฎีกาของจำเลยที่ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวไว้พิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6098/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้วรรคความผิดและโทษในคดีอาญา และข้อจำกัดในการฎีกาปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสาม (เดิม) จำคุก 25 ปี จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคหนึ่ง (เดิม) จำคุก 2 ปี เป็นการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้วรรคของความผิดในบทมาตราเดียวกัน ไม่ถือเป็นการแก้บทความผิด แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 จะแก้โทษด้วยก็เป็นการแก้ไขเล็กน้อย และคงให้ลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่าพยานหลักฐานโจทก์ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายโดยใช้อาวุธมีดขู่บังคับขณะกระทำชำเราเท่ากับศาลอุทธรณ์ภาค 2 ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยไม่มีอาวุธมีดในขณะกระทำชำเราผู้เสียหาย โจทก์ฎีกาว่า ขณะกระทำชำเราผู้เสียหาย จำเลยถืออาวุธมีดอยู่ในมือย่อมทำให้ผู้เสียหายเกิดความกลัว ฎีกาของโจทก์จึงเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 2 อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1194/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานหลักฐานไม่เพียงพอ ชี้ว่าจำเลยกระทำความผิดจริง ศาลฎีกายกฟ้องและยกคำขอชดใช้ค่าเสียหาย
ความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากผู้ดูแลเพื่อการอนาจาร ตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยในความผิดฐานนี้จึงเป็นการขัดต่อบทกฎหมายดังกล่าว อย่างไรก็ตามเมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยพยานหลักฐานโจทก์แล้วเห็นว่ายังมีข้อสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้กระทำความผิดฐานกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 หรือไม่ และยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้แก่จำเลย ศาลฎีกาก็ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จำเลยในข้อหาความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากผู้ดูแลเพื่อการอนาจารด้วยเพราะเป็นข้อเท็จจริงอันเดียวเกี่ยวพันกัน ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215 และ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5201/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริง - คำรับสารภาพ - ข้ออุทธรณ์ใหม่ - การรับฟังพยานหลักฐาน
คดีต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง จำเลยฎีกาว่า พนักงานสอบสวนกระทำการไม่สุจริต สมคบกับผู้เสียหายที่ 1 บิดเบือน ปรุงแต่งข้อเท็จจริงทำให้คำให้การของผู้เสียหายทั้งสองสอดคล้องกัน ปรักปรำใส่ร้ายจำเลยโดยมีมูลเหตุจูงใจและผลประโยชน์ร่วมกัน เป็นการสอบสวนไม่ชอบ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยยกขึ้นอ้าง จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพและโจทก์ไม่ต้องสืบพยานประกอบคำรับสารภาพ ศาลรับฟังข้อเท็จจริงได้ว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้องตามคำรับสารภาพ จำเลยอุทธรณ์ว่าไม่ได้กระทำความผิด เป็นข้อเท็จจริงที่เพิ่งยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์และขัดแย้งกับคำให้การรับสารภาพของจำเลย จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพและโจทก์ไม่ต้องสืบพยานประกอบคำรับสารภาพ ศาลรับฟังข้อเท็จจริงได้ว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้องตามคำรับสารภาพ จำเลยอุทธรณ์ว่าไม่ได้กระทำความผิด เป็นข้อเท็จจริงที่เพิ่งยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์และขัดแย้งกับคำให้การรับสารภาพของจำเลย จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5178/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม เหตุมิได้ขออนุญาตฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และศาลฎีกามีอำนาจแก้โทษ
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตาม ป.อ. มาตรา 291 จำคุก 4 ปี และให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ร่วมที่ 1 และที่ 3 กับผู้ร้องที่ 2 และที่ 4 ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืน และยังคงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี คดีส่วนอาญาจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาว่า เหตุคดีนี้เกิดจากความประมาทของ ภ. ผู้เสียหายและ ก. ผู้ตายที่ขับรถจักรยานยนต์โดยประมาทไม่เว้นระยะห่างให้มากพอที่จะหยุดรถได้ทัน ทำให้รถจักรยานยนต์ทั้งสองคันชนท้ายรถบรรทุกพ่วงที่จำเลยขับจนเป็นเหตุให้ ฐ. และ ก. ถึงแก่ความตาย ภ. ได้รับอันตรายสาหัส ย. ได้รับอันตรายแก่กาย จำเลยจึงไม่มีความผิดตามฟ้อง เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 4 จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และฎีกาของจำเลยที่ขอให้รอการลงโทษนั้น เป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษหรือการลงโทษของศาลอุทธรณ์ภาค 4 อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเช่นกัน เมื่อจำเลยมิได้ขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค 4 อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง หรืออัยการสูงสุดลงลายมือชื่อรับรองในฎีกาว่ามีเหตุอันสมควรที่ศาลสูงสุดจะได้วินิจฉัยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 ฎีกาของจำเลยในคดีส่วนอาญาจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง สำหรับฎีกาของจำเลยในคดีส่วนแพ่งที่จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ร่วมที่ 1 และที่ 3 กับผู้ร้องที่ 2 และที่ 4 นั้น เมื่อคดีส่วนอาญาต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และจำเลยไม่ได้ยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกาต่อศาลฎีกาในคดีส่วนแพ่ง จึงต้องห้ามฎีกาในคดีส่วนแพ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 247 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15แม้คดีจะต้องห้ามฎีกาดังกล่าวมาข้างต้น เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว และศาลฎีกาเห็นว่าพฤติการณ์ที่ปรากฏในคดี โทษที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 กำหนดยังไม่เหมาะสมแก่รูปคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจเปลี่ยนแปลงดุลพินิจในการลงโทษที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 กำหนดไว้โดยการรอการลงโทษจำคุกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3761/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวความผิดหลายบท วัตถุระเบิด - การแก้ไขโทษ ศาลอุทธรณ์ - ห้ามฎีกา
แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่าในวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุตามฟ้องจำเลยกับพวกร่วมกันกระทำความผิดต่อกฎหมายหลายกรรมต่างกันโดยบรรยายฟ้องเป็นข้อ 1 (ก) ว่า จำเลยกับพวกร่วมกันทำวัตถุระเบิดที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ ข้อ 1 (ข) ว่า จำเลยกับพวกร่วมกันมีวัตถุระเบิดที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบครอง และข้อ 1 (ค) ว่า จำเลยกับพวกร่วมกันใช้วัตถุระเบิดที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้พยายามฆ่าผู้อื่นก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาการกระทำของจำเลยในความผิดทั้งสามฐานนี้ เห็นได้ว่าเป็นเจตนาอันเดียวกันคือต้องการใช้วัตถุระเบิดในการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 288 ประกอบมาตรา 81 ซึ่งโดยสภาพแห่งการกระทำความผิดฐานร่วมกันใช้วัตถุระเบิด พยายามฆ่าผู้อื่น จำเลยกับพวกก็ต้องร่วมกันมีวัตถุระเบิดไว้ในครอบครองเสียก่อน ทั้งวัตถุระเบิดที่จำเลยกับพวกร่วมกันมีไว้ในครอบครองกับวัตถุระเบิดที่จำเลยกับพวกร่วมกันทำยังเป็นวัตถุระเบิดลูกเดียวกันและกระทำคราวเดียวกัน นอกจากนี้ความผิดทั้งสามฐานดังกล่าวกฎหมายบัญญัติบทความผิดและบทลงโทษไว้ในมาตราเดียวกันตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 78 จึงเห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายได้ว่ามีความประสงค์ให้ความผิดทั้งสามฐานนี้เป็นกรรมเดียวกัน
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตาม ป.อ. มาตรา 91 ต่อมาศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่า การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียว เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 78 วรรคสี่ ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 อันเป็นการแก้ไขเล็กน้อย คดีจึงต้องห้ามโจทก์มิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตาม ป.อ. มาตรา 91 ต่อมาศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่า การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียว เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 78 วรรคสี่ ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 อันเป็นการแก้ไขเล็กน้อย คดีจึงต้องห้ามโจทก์มิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง