คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 218 วรรคหนึ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 264 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11473/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำหน่ายยาเสพติด: ความรับผิดของผู้เกี่ยวข้องเมื่อไม่มีส่วนร่วมในการจำหน่ายโดยตรง
แม้ความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่สายลับจะต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง แต่เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยที่ 1 ซื้อเมทแอมเฟตามีนมาจากจำเลยที่ 2 และที่ 3 แล้วจึงนำไปจำหน่ายให้แก่สายลับ โดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่มีส่วนร่วมรู้เห็นด้วย ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาจึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญ ศาลฎีกาไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 2 และที่ 3 ฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง, 192 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 215, 225
ความผิดฐานมีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ไว้ในครอบครองเพื่อขายและเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง, 62 วรรคหนึ่ง, 89, 106 ทวิ เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท แต่ละบทมีโทษเท่ากัน ให้ลงโทษฐานมีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ไว้ในครอบครองเพื่อขายตาม ป.อ. มาตรา 90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8620/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำกัดสิทธิฎีกาในคดีเยาวชน และการบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่กำหนดระยะเวลาฝึกอบรมที่ไม่ชัดเจน
คดีนี้ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 288, 80 ประกอบมาตรา 83, 358, 371 พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 7, 8 ทวิ วรรคหนึ่ง, 72 วรรคสาม, 72 ทวิ วรรคสอง เรียงกระทงลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 91 รวมจำคุก 5 ปี 12 เดือน เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปควบคุมเพื่อฝึกอบรมที่ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต 2 (จังหวัดราชบุรี) มีกำหนดขั้นต่ำ 3 ปี ขั้นสูง 4 ปี หากอายุเกิน 24 ปีบริบูรณ์ ให้ส่งไปจำคุกตามระยะเวลาที่เหลือ ซึ่งการเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวไปฝึกอบรมและจากนั้นส่งตัวไปจำคุกยังเรือนจำเช่นนี้เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนต้องถือว่าศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยเกิน 5 ปี ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายืน จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 183
ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปควบคุมเพื่อฝึกอบรมมีกำหนดขั้นต่ำ 3 ปี ขั้นสูง 4 ปี หากอายุเกิน 24 ปีบริบูรณ์ ให้ส่งไปจำคุกตามระยะเวลาที่เหลือโดยไม่ได้ระบุว่า คือกำหนดระยะเวลาขั้นต่ำหรือขั้นสูงนั้น เป็นการไม่ชัดแจ้ง จึงกำหนดให้เป็นส่งตัวจำเลยไปจำคุกตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 142 วรรคท้าย จนครบกำหนดระยะเวลาขั้นต่ำที่เหลืออยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16107-16108/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาห้าม โจทก์อุทธรณ์ข้อเท็จจริง คดีอาญา ใช้อาวุธปืนฆ่า-พยายามฆ่า ศาลอุทธรณ์แก้ไขฐานความผิดเล็กน้อย
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 78 วรรคสาม ป.อ. มาตรา 289 (4) และมาตรา 289 (4) ประกอบมาตรา 80 วางโทษประหารชีวิต ลดโทษให้จำเลยที่ 2 หนึ่งในสาม คงจำคุกจำเลยที่ 2 ตลอดชีวิต ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 78 วรรคหนึ่ง วรรคสาม ป.อ. มาตรา 288 และมาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 โดยวางโทษจำเลยทั้งสองคงเดิมตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาแก้จากความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้ตายและพยายามฆ่าผู้เสียหายโดยไตร่ตรองไว้ก่อนตาม ป.อ. มาตรา 289 (4) และมาตรา 289 (4) ประกอบมาตรา 80 มาเป็นความผิดฐานร่วมกันใช้อาวุธปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ในการกระทำความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้ตายและพยายามฆ่าผู้เสียหายตาม ป.อ. มาตรา 288 และมาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 และยังคงลงโทษประหารชีวิตจำเลยที่ 1 กับจำคุกจำเลยที่ 2 ตลอดชีวิต เป็นการแก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองเกินห้าปี จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคสอง
โจทก์ฎีกาว่า พยานหลักฐานของโจทก์มีน้ำหนักรับฟังว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันวางแผนไตร่ตรองที่จะใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายและผู้เสียหายมาก่อนนั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 9 จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของโจทก์จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10758/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์คำสั่งแก้ฟ้องและเหตุอันควรในการแก้ไขฟ้องอาญา
ป.วิ.อ. มาตรา 196 บัญญัติห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาจนกว่าจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งในประเด็นสำคัญและมีอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นด้วย โดยมิได้บัญญัติให้คู่ความต้องโต้แย้งไว้ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 226 ฉะนั้น เมื่อจำเลยอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยจึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องได้แม้จะมิได้โต้แย้งไว้ก็ตาม ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 เห็นว่าอุทธรณ์ของจำเลยเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 และไม่รับวินิจฉัยนั้นไม่ชอบ
ป.วิ.อ. มาตรา 163 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า เมื่อมีเหตุอันควร โจทก์มีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลขอแก้หรือเพิ่มเติมฟ้องก่อนมีคำพิพากษาศาลชั้นต้น ตามคำร้องขอแก้ฟ้องของโจทก์อ้างเหตุว่าคำฟ้องของโจทก์ผิดพลาดในรายละเอียดปลีกย่อยเล็กน้อยในการพิมพ์ ขอแก้คำฟ้องจาก ร่วมกันลักเอารถจักรยานยนต์ เป็น ร่วมกันลักเอารถยนต์ ดังนี้ เหตุที่โจทก์อ้างมานั้นถือได้ว่าเป็นเหตุอันควรอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องได้เนื่องจากเกิดจากการพิมพ์ผิดพลาด และการที่โจทก์ขอแก้ฟ้องดังกล่าวเป็นการแก้ไขรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทำความผิดซึ่งต้องแถลงในฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 ฉะนั้นจึงไม่ถือว่าทำให้จำเลยเสียเปรียบตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 164 และมิใช่เป็นการแก้ฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่สมบูรณ์ให้เป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายหรือสมบูรณ์ดังที่จำเลยฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5559/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีฉ้อโกง: ผู้เสียหายคือใคร และศาลฎีกาสามารถรับฟังข้อเท็จจริงใหม่จากพยานหลักฐานได้
คดีนี้จำเลยที่ 1 ยื่นฎีกาเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2553 ต่อมาวันที่ 20 พฤศจิกายน 2555 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยที่ 1 ในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งจำเลยที่ 1 อาจฎีกาเป็นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นต่อศาลฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 224 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 แม้ศาลชั้นต้นมิได้แจ้งคำสั่งไม่รับฎีกาในข้อดังกล่าวให้จำเลยที่ 1 ทราบ ซึ่งเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาแก้ไขเล็กน้อยและยังคงให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ไม่เกินห้าปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 จำเลยที่ 1ฎีกาในข้อที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกาว่า พยานหลักฐานของโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดตามฟ้อง เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 4 อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกาจำเลยที่ 1 ในข้อนี้ และเมื่อฎีกาของจำเลยที่ 1 ในข้อนี้ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามที่วินิจฉัยมาแล้ว จึงไม่เป็นการจำเป็นที่ศาลฎีกาจะสั่งให้ส่งสำนวนคืนศาลชั้นต้นเพื่อแจ้งคำสั่งไม่รับฎีกาในข้อดังกล่าวให้จำเลยที่ 1 ทราบ
แม้ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายตามฎีกาของจำเลยที่ 1 ศาลฎีกาจะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 222 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 4 ฟังข้อเท็จจริงว่า ป. เป็นผู้เสียหายคดีนี้ก็ตาม แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ยังฟังข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า จำเลยที่ 1 ชักชวน ป. กรรมการผู้จัดการบริษัท ป. ให้ลงทุนซื้อเบี้ยเลี้ยงทหารเรือ กองการบินทหารเรือ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี โดยบอกว่าจะได้รับผลตอบแทนเป็นเงินอัตราร้อยละ 5 ต่อเดือนของเงินที่นำไปลงทุน ต่อมา ป. สั่งจ่ายเช็คของบริษัท ป. ให้แก่จำเลยที่ 1 ไป 16 ฉบับ รวมเป็นเงิน 11,537,000 บาท และได้รับเงินจากจำเลยที่ 1 คืนมารวม 3,132,000 บาท ดังนี้การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ฟังข้อเท็จจริงว่า ป. เป็นผู้เสียหาย จึงขัดกับข้อเท็จจริงเรื่องพฤติการณ์ในการกระทำความผิดที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 รับฟังเป็นยุติอันเป็นการผิดไปจากพยานหลักฐานในสำนวน ซึ่งศาลฎีกาสามารถฟังข้อเท็จจริงใหม่แทนข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 รับฟังมาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (3) (ก) ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ได้ความจากคำเบิกความของ ป. ว่า เมื่อเดือนกรกฎาคม 2546 จำเลยทั้งสองไปหา ป. ที่สถานีบริการน้ำมันของบริษัทโจทก์ร่วม ชักชวนให้เอาเงินไปลงทุนซื้อเบี้ยเลี้ยงทหารเรือ ที่กองการบินทหารเรือ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ซึ่งจะได้รับผลตอบแทนเป็นเงินอัตราร้อยละ 5 ต่อเดือนของเงินที่นำไปลงทุน หลังจากนั้น ป. ได้สั่งจ่ายเช็คซึ่งเป็นเช็คของโจทก์ร่วมให้จำเลยทั้งสองรวม 16 ฉบับ เพื่อนำไปร่วมลงทุนซื้อเบี้ยเลี้ยงทหารเรือ โดยมีการหักค่าตอบแทนไว้ก่อน ซึ่งจำเลยที่ 1 ก็เบิกความเจือสมว่า ได้ชักชวน ป. ให้ลงทุนซื้อเบี้ยเลี้ยงทหารเรือ โดย ป. สั่งจ่ายเช็คของโจทก์ร่วมให้จำเลยที่ 1 เป็นเงินลงทุน เมื่อได้รับเช็คดังกล่าวแล้ว จำเลยที่ 1 ก็จะนำไปเรียกเก็บเงิน เห็นว่า ป. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ร่วม การที่จำเลยที่ 1 ไปหลอกลวง ป. จน ป. หลงเชื่อและสั่งจ่ายเช็คของโจทก์ร่วมให้จำเลยที่ 1 ไป เท่ากับเป็นการหลอกลวงโจทก์ร่วมด้วยเพราะการไปหลอกลวงนิติบุคคลย่อมต้องหลอกลวงผู้แทนนิติบุคคล ทั้งจำเลยที่ 1 ย่อมไม่สนใจว่าจะหลอกลวง ป. ในฐานะส่วนตัวหรือในฐานะผู้ทำการแทนโจทก์ร่วม ขอให้ได้รับเงินมาจากการหลอกลวงเท่านั้น และจำเลยที่ 1 ได้เงินมาจากการนำเช็คของโจทก์ร่วมทุกฉบับไปเรียกเก็บเงิน เงินที่จำเลยที่ 1 รับไปย่อมเป็นเงินของโจทก์ร่วมทั้งสิ้น พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวย่อมถือได้ว่าเป็นการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหลอกลวงโจทก์ร่วมด้วย โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหาย เมื่อได้ความจากคำเบิกความของพันตำรวจตรี ต. พนักงานสอบสวน ประกอบรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีเอกสารหมาย จ.5 ว่า ป. กรรมการผู้จัดการของบริษัท ป. มาแจ้งความร้องทุกข์และมอบคดีให้ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสอง โดยกล่าวหาว่าบุคคลทั้งสองร่วมกันฉ้อโกง โดย ป. ได้ลงลายมือชื่อพร้อมประทับตราของบริษัท ป. ไว้ในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีดังกล่าว ดังนี้ ป. จึงร้องทุกข์ในฐานะผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท ป. อันเป็นการกระทำแทนบริษัท ป. การร้องทุกข์จึงชอบด้วยกฎหมาย พนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 121 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง และเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหาย การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ยกคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ของโจทก์ร่วม และยกคำขอให้จำเลยที่ 1 คืนเงิน 8,405,000 บาท จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้โจทก์ร่วมจะไม่ได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขเสียได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5216/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโทษจำคุกเป็นกักขังและการห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการลงโทษ
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 1 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นลงโทษกักขังจำเลยแทนโทษจำคุก มีกำหนด 1 เดือน จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้ไขเล็กน้อย คดีจึงต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาขอให้รอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยนั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการลงโทษของศาลอุทธรณ์ภาค 2 เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4827/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนด หากพ้นกำหนดคำสั่งรับฎีกาเป็นโมฆะ
ขั้นตอนในการขออนุญาตฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 มิได้มีบัญญัติไว้โดยเฉพาะใน ป.วิ.อ. จึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคท้าย มาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม ป.วิ.อ. มาตรา 15 กล่าวคือ จำเลยต้องยื่นคำร้องพร้อมคำฟ้องฎีกาต่อศาลชั้นต้นขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค 4 อนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงภายในกำหนดเวลายื่นฎีกา แต่จำเลยยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2555 พ้นกำหนดเวลายื่นฎีกาซึ่งครบกำหนดวันที่ 27 ธันวาคม 2554 การยื่นคำร้องดังกล่าวของจำเลยจึงเป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงเป็นการไม่ชอบ ไม่มีผลทำให้ฎีกาของจำเลยขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 คำสั่งของศาลชั้นต้นที่รับฎีกาของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. อันว่าด้วยฎีกา ศาลฎีกายกขึ้นอ้างได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3880/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดหลายกรรม: ก่อการร้าย, พยายามฆ่า, อั้งยี่, ซ่องโจร, พาอาวุธ, และการปรับบทลงโทษ
ความผิดฐานพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น และคงลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปี จึงต้องห้ามคู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
ความผิดฐานร่วมกันก่อการร้าย ฐานร่วมกันกระทำการอันเป็นส่วนหนึ่งของแผน ฐานเป็นอั้งยี่ และฐานเป็นซ่องโจร ย่อมเป็นความผิดสำเร็จแล้วตั้งแต่มีการสมคบวางแผนเพื่อกระทำการอันเป็นความผิด แม้ยังมิได้มีการกระทำการตามที่ได้สมคบกันก็ตาม จึงเป็นการกระทำความผิดกรรมหนึ่ง ต่อมาจำเลยกระทำความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ฐานมีอาวุธปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบครอง และฐานใช้อาวุธปืนดังกล่าวในการกระทำความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าเจ้าพนักงานจึงเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาว่าการกระทำความผิดทุกฐานดังกล่าวเป็นการกระทำกรรมเดียวนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ปัญหาว่าจำเลยกระทำความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรมนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1722/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงหลังศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษเล็กน้อยจากความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงที่มีลักษณะเป็นการโทรม เป็นความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงทั่วไป
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสาม (เดิม) ลงโทษจำคุก 25 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคแรก (เดิม) ลงโทษจำคุก 1 ปี 8 เดือน จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้จากความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปีอันมีลักษณะเป็นการโทรมเด็กหญิง เป็นความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปี ซึ่งไม่มีลักษณะเป็นการโทรมเด็กหญิง จึงเป็นการแก้ฐานความผิดเดิมโดยไม่ประกอบด้วยเหตุฉกรรจ์ ความผิดทั้งสองวรรคเป็นความผิดในมาตราเดียวกัน และต่างก็เป็นความผิดอันยอมความไม่ได้ ไม่ถือเป็นการแก้บท แม้จะแก้โทษด้วย ก็เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาเพียงแต่แก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี คดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22843/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเรื่องอำนาจสอบสวน-ฟ้อง เนื่องจากเป็นข้อโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ตัดสินแล้ว
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยปรับบทกฎหมายให้ถูกต้อง เป็นการแก้ไขเล็กน้อยและยังคงให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 กระทงละไม่เกินห้าปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 2 ฎีกาในปัญหาเรื่องอำนาจสอบสวนและอำนาจฟ้องของโจทก์ โดยอ้างว่า คดีนี้เหตุเกิดที่ร้านบ้านนาการเกษตร อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก และที่บริษัท อ. อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี ซึ่งมูลคดีเกิดในเขตอำนาจสอบสวนของพนักงานสอบสวนสถานีตำราจภูธรบ้านนา ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบ แต่ไม่มีการจับกุมแจ้งข้อหาแก่บริษัท อ. ทั้งที่ทำการของบริษัทดังกล่าวไม่ใช่ตัวแทนหรือสาขาของจำเลยที่ 1 เมื่อฟ้องว่าจำเลยทั้งสองผลิตจึงต้องให้พนักงานสอบสวนที่อยู่ในเขตภูมิลำเนาของจำเลยทั้งสองรับผิดชอบ คือสถานีตำรวจนครบาลตลิ่งชัน ดังนั้น พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรลาดหลุมแก้ว จึงไม่ใช่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ไม่มีอำนาจสอบสวนและโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั้น เป็นฎีกาโต้แย้งข้อวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ในปัญหาข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้ผลิตปุ๋ย ณ สถานที่ตั้งหรือสถานที่แบ่งบรรจุ ส่วนเรื่องอำนาจสอบสวนและอำนาจฟ้องของโจทก์เป็นเพียงผลสรุปแห่งข้อโต้แย้งในปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวเท่านั้น จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
of 27