พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3647/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีป่าไม้ จำเลยกระทำความผิดฐานแปรรูปและมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครอง แต่ไม้ดังกล่าวไม่ใช่ไม้หวงห้าม จึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้
โจทก์บรรยายฟ้องข้อ 2 ก. และ ข. ว่าจำเลยมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองจำนวน 2,488 ท่อน ปริมาตรรวม 24.58 ลูกบาศก์เมตร เป็นสองกระทงความผิด โดยตามฟ้องข้อ 2 ก. ยังบรรยายอีกว่า นอกจากจำเลยทำการแปรรูปไม้แล้วยังมีไม้แปรรูปจำนวนเดียวกันตามคำฟ้องข้อ 2 ข. อยู่อีกจำนวน 2,488 ท่อน ปริมาตรรวม 24.58 ลูกบาศก์เมตร เพื่อต้องการแยกการกระทำความผิดของจำเลยให้ชัดแจ้ง และบรรยายองค์ประกอบความผิดของแต่ละฐานความผิดให้ครบถ้วน คือ ฐานแปรรูปไม้ และมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ดังนั้น แม้ไม้ดังกล่าวจะเป็นจำนวนเดียวกันก็ตาม โจทก์ก็จะต้องบรรยายฟ้องให้มีรายละเอียดต่าง ๆ ของจำนวนไม้ท่อน และปริมาตรของไม้แปรรูป เพื่อให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) มิใช่เป็นการบรรยายฟ้องซ้ำซ้อนแต่อย่างใด ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 50 บัญญัติว่า "บทบัญญัติแห่งมาตรา 48 มิให้ใช้บังคับในกรณีดังต่อไปนี้ (1)...(2)...(3)...(4) การแปรรูปไม้หรือมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองที่มิใช่ไม้หวงห้าม" การแปรรูปไม้และการมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองอันจะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 48 วรรคหนึ่ง จึงต้องเป็นการกระทำต่อไม้หวงห้ามตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 7 วรรคหนึ่ง ซึ่งในกรณีที่เป็นไม้ที่ขึ้นในป่านั้น ไม้ชนิดใดจะเป็นไม้หวงห้ามประเภทใดจะต้องกำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา คดีนี้โจทก์บรรยายมาในฟ้องว่าภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ จำเลยทำการแปรรูปไม้และมีไม้แปรรูปชนิดอื่น ซึ่งมิใช่ไม้หวงห้ามประเภท ก. และประเภท ข. ตาม พ.ร.ฎ.กำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ. 2530 จำนวน 2,488 ท่อน รวมคำนวณปริมาตรไม้ได้ 24.58 ลูกบาศก์เมตร และไม้แปรรูปที่เป็นสิ่งประดิษฐ์ บานประตู 5 บาน วงกบหน้าต่าง 10 วง และบานหน้าต่าง 6 บาน ซึ่งเป็นไม้แปรรูปชนิดอื่นเป็นจำนวนเกินสองลูกบาศก์เมตรไว้ในความครอบครองของจำเลย ตามฟ้องโจทก์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าไม้ที่จำเลยแปรรูปและมีไว้ในครอบครองนั้นมิใช่ไม้หวงห้าม การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิด ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 48 วรรคหนึ่ง, 73 วรรคสอง (2)
พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 50 บัญญัติว่า "บทบัญญัติแห่งมาตรา 48 มิให้ใช้บังคับในกรณีดังต่อไปนี้ (1)...(2)...(3)...(4) การแปรรูปไม้หรือมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองที่มิใช่ไม้หวงห้าม" การแปรรูปไม้และการมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองอันจะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 48 วรรคหนึ่ง จึงต้องเป็นการกระทำต่อไม้หวงห้ามตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 7 วรรคหนึ่ง ซึ่งในกรณีที่เป็นไม้ที่ขึ้นในป่านั้น ไม้ชนิดใดจะเป็นไม้หวงห้ามประเภทใดจะต้องกำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา คดีนี้โจทก์บรรยายมาในฟ้องว่าภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ จำเลยทำการแปรรูปไม้และมีไม้แปรรูปชนิดอื่น ซึ่งมิใช่ไม้หวงห้ามประเภท ก. และประเภท ข. ตาม พ.ร.ฎ.กำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ. 2530 จำนวน 2,488 ท่อน รวมคำนวณปริมาตรไม้ได้ 24.58 ลูกบาศก์เมตร และไม้แปรรูปที่เป็นสิ่งประดิษฐ์ บานประตู 5 บาน วงกบหน้าต่าง 10 วง และบานหน้าต่าง 6 บาน ซึ่งเป็นไม้แปรรูปชนิดอื่นเป็นจำนวนเกินสองลูกบาศก์เมตรไว้ในความครอบครองของจำเลย ตามฟ้องโจทก์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าไม้ที่จำเลยแปรรูปและมีไว้ในครอบครองนั้นมิใช่ไม้หวงห้าม การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิด ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 48 วรรคหนึ่ง, 73 วรรคสอง (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1132/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ไม้แปรรูปหวงห้าม การพิสูจน์ไม้เก่าที่เคยเป็นสิ่งปลูกสร้าง และการรอการลงโทษ
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง เป็นเรื่องที่กฎหมายกําหนดให้เป็นดุลพินิจของศาลที่จะพิพากษาไปโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไป มิได้หมายความว่าเมื่อจําเลยให้การรับสารภาพแล้วจะต้องพิพากษาลงโทษจําเลยเสมอไป คดีอาญาไม่ว่าจําเลยจะให้การเช่นใด ก็เป็นเรื่องที่จะต้องพิจารณาเสมอว่าจําเลยได้กระทำความผิดจริงหรือไม่ ถ้าศาลเห็นว่าจําเลยมิได้กระทำความผิดหรือการกระทำของจําเลยไม่เป็นความผิด ศาลย่อมพิพากษายกฟ้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง หรือหากศาลเห็นว่าสมควรให้มีการสืบพยานหลักฐานก่อนมีคําพิพากษาก็เป็นอำนาจของศาลที่จะมีคำสั่งเช่นนั้นได้ ประกอบขณะคดีนี้ขึ้นสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 8 มีการประกาศใช้ พ.ร.บ.ป่าไม้ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2562 มาตรา 4 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 106/2557 และให้ใช้ข้อความใหม่แทน ซึ่งตามบทบัญญัติมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 (ที่แก้ไขใหม่) มีผลต่อการวินิจฉัยของศาลว่า ไม้ของกลางยังคงเป็นไม้หวงห้ามหรือไม่ ซึ่งหากไม่เป็นไม้หวงห้าม การกระทำของจําเลยก็ย่อมไม่เป็นความผิดอีกต่อไป ศาลอุทธรณ์ภาค 8 จึงมีอำนาจที่สั่งให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนพยานโจทก์และพยานจําเลยในประเด็นว่าไม้ของกลางเป็นไม้หวงห้ามหรือไม่ ได้ตาม ป.วิ.อ มาตรา 208 (1) ทั้ง พ.ร.บ.คุมประพฤติ พ.ศ. 2559 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้อำนาจศาลที่จะนําข้อเท็จจริงที่ปรากฏในรายงานการสืบเสาะและพินิจจำเลยที่พนักงานคุมประพฤติส่งศาลมาประกอบการพิจารณาพิพากษาหรือเพื่อประกอบดุลพินิจในการกำหนดโทษที่จะลงแก่จําเลย การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 สั่งให้ศาลชั้นต้นทำการสืบเสาะและพินิจจําเลยก่อนมีคําพิพากษา และพิจารณารายงานการสืบเสาะและพินิจแล้วเห็นว่าข้อเท็จจริงไม่แน่ชัดว่าไม้ของกลางยังเป็นไม้หวงห้ามต่อไปหรือไม่ จึงมีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นสืบพยานเพิ่มเติมในประเด็นถึงแหล่งที่มาของไม้ของกลาง แล้วนําข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากการสืบพยานหลักฐานของโจทก์และจําเลยมาเป็นพยานหลักฐานในการวินิจฉัยคดี จึงไม่ขัดต่อ ป.วิ.อ. และ พ.ร.บ.คุมประพฤติ พ.ศ. 2559 ดังกล่าว
คดีนี้ โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยฐานมีไม้จําปา ไม้ตาเสือและไม้หยีแปรรูปอันเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. เกินกว่า 0.20 ลูกบาศก์เมตร ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และมีคําขอให้ลงโทษจําเลยตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 48, 73 จําเลยต่อสู้ว่าไม้แปรรูปของกลางส่วนที่เป็นไม้ใหม่เป็นไม้ที่ตัดมาจากที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 ข ส่วนที่เป็นไม้เก่าได้มาจากการรื้อบ้านหลังเก่าที่ปลูกสร้างมาประมาณ 30 ปี เมื่อจําเลยให้การต่อสู้ดังกล่าว จําเลยจึงต้องนําสืบให้เห็นว่าไม้แปรรูปของกลางที่เป็นไม้ใหม่ ไม่ใช่ไม้หวงห้ามจึงจะเข้าข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 50 (4) ส่วนไม้ของกลางที่เป็นไม้เก่าไม่ใช่ไม้แปรรูปตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 4 (4) ซึ่งในประเด็นไม้แปรรูปที่เป็นไม้ใหม่นั้น จําเลยและ อ. ซึ่งอ้างว่าเป็นผู้ขายไม้แปรรูปของกลางให้แก่จําเลยเบิกความแต่เพียงลอย ๆ ว่า ไม้แปรรูปของกลางตัดมาจากที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินซึ่งมีหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินแบบ ส.ป.ก. 4-01 ข โดยไม่มีข้อเท็จจริงใดมานําสืบสนับสนุนให้เห็นเช่นนั้น ทั้งภาพถ่ายที่จําเลยอ้างไม่ปรากฏตอไม้ที่จะบ่งชี้ถึงที่มาของไม้แปรรูปของกลาง และบางภาพปรากฏว่าเป็นต้นไม้ที่ถูกโค่นใหม่ ยังไม่มีการแปรรูปใด ๆ ทำให้เชื่อได้ว่ามีการโค่นต้นไม้ดังกล่าวภายหลังจากจําเลยถูกดำเนินคดีนี้แล้ว จึงยังฟังไม่ได้ว่าไม้แปรรูปของกลางที่เป็นไม้ใหม่ได้มาจากไม้ที่ปลูกขึ้นในที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 ข ดังนั้น จึงต้องฟังว่าจําเลยมีไม้แปรรูปหวงห้ามไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต สำหรับไม้ของกลางที่เป็นไม้เก่าเป็นไม้ที่รื้อมาจากบ้านหลังเก่าของจําเลย ซึ่งตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 4 (4) วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 31/2559 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ บัญญัติว่า "ไม้ที่อยู่ในสภาพเป็นสิ่งปลูกสร้างหรืออยู่ในสภาพเป็นเครื่องใช้ ทั้งนี้ ตลอดเวลาที่อยู่ในสภาพเช่นนั้น รวมทั้งไม้ที่เคยอยู่ในสภาพดังกล่าว และผู้ครอบครองพิสูจน์ได้ว่าได้เคยมีสภาพเช่นนั้นมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีสำหรับไม้อื่นที่มิใช่ไม้สัก และไม่น้อยกว่าสิบปีสำหรับไม้สัก มิให้ถือว่าเป็นไม้แปรรูป" ความในวรรคนี้มีความหมายว่า ไม้ที่มิให้ถือว่าเป็นไม้แปรรูปนั้นแยกได้เป็นสองอย่าง คือ ไม้ที่อยู่ในสภาพเป็นสิ่งปลูกสร้างหรืออยู่ในสภาพเป็นเครื่องใช้ ทั้งนี้ ตลอดเวลาที่อยู่ในสภาพเช่นนั้นอย่างหนึ่ง กับไม้ที่เคยอยู่ในสภาพดังกล่าว คือเคยเป็นสิ่งปลูกสร้างหรือเคยเป็นเครื่องใช้มาแล้วและผู้ครอบครองพิสูจน์ได้ว่าเคยมีสภาพเช่นนั้นมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีสำหรับไม้อื่นที่ไม่ใช้ไม้สัก และสิบปีสำหรับไม้สักอีกอย่างหนึ่ง ตามความในกฎหมายดังกล่าว ผู้ครอบครองจะต้องพิสูจน์แต่เฉพาะกรณีที่ไม้นั้นมิได้อยู่ในสภาพเป็นสิ่งปลูกสร้างหรือมิได้อยู่ในสภาพเป็นเครื่องใช้แต่กล่าวอ้างว่าเคยมีสภาพเช่นนั้นมาแล้วเท่านั้น ข้อความที่ว่า "รวมทั้งไม้ที่เคยอยู่ในสภาพดังกล่าว และผู้ครอบครองพิสูจน์ได้ว่าเคยมีสภาพเช่นนั้นมาแล้ว" ย่อมแสดงชัดว่าในปัจจุบันไม้มิได้อยู่ในสภาพเช่นนั้นแล้ว โดยมีระยะเวลาไม่น้อยกว่าที่กฎหมายกำหนด คือ ห้าปีสำหรับไม้อื่นที่ไม่ใช่ไม้สัก และสิบปีสำหรับไม้สัก ดังนั้นไม้ของกลางที่เป็นไม้เก่านี้เป็นไม้ที่เคยอยู่ในสภาพสิ่งปลูกสร้างมาก่อน จึงมิใช่ไม้แปรรูปตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 4 (4) การที่จําเลยมีไม้ของกลางในส่วนที่เป็นไม้เก่าไว้ในครอบครองจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 48, 73 เมื่อไม้ของกลางที่อยู่ในความครอบครองของจําเลยมีทั้งไม้แปรรูปที่เป็นไม้หวงห้าม กับไม้ที่มีไว้ในครอบครองได้โดยไม่เป็นความผิด ซึ่งในส่วนของไม้แปรรูปของกลางที่เป็นไม้หวงห้ามนั้น เมื่อพิจารณาจากภาพถ่ายที่โจทก์นําสืบมีจำนวนค่อนข้างมาก จําเลยเองก็ให้การไว้ในรายงานการสืบเสาะและพินิจจําเลยว่า ร. ไม่ทราบชื่อสกุล นําไม้จําปาแปรรูปจำนวน 50 แผ่น ไม้ตาเสือแปรรูปจำนวน 20 แผ่น และไม้หยีแปรรูปจำนวน 20 แผ่น มาขายให้แก่จําเลย ไม้แปรรูปของกลางที่เป็นไม้ใหม่จึงย่อมต้องมีปริมาตรเกินกว่า 0.20 ลูกบาศก์เมตร แต่เมื่อไม่ได้ความชัดว่าปริมาตรเกิน 2 ลูกบาศก์เมตร หรือไม่ ก็ต้องฟังในทางที่เป็นคุณแก่จําเลยว่า จําเลยมีไม้หวงห้ามแปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตไม่เกิน 2 ลูกบาศก์เมตร
คดีนี้ โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยฐานมีไม้จําปา ไม้ตาเสือและไม้หยีแปรรูปอันเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. เกินกว่า 0.20 ลูกบาศก์เมตร ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และมีคําขอให้ลงโทษจําเลยตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 48, 73 จําเลยต่อสู้ว่าไม้แปรรูปของกลางส่วนที่เป็นไม้ใหม่เป็นไม้ที่ตัดมาจากที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 ข ส่วนที่เป็นไม้เก่าได้มาจากการรื้อบ้านหลังเก่าที่ปลูกสร้างมาประมาณ 30 ปี เมื่อจําเลยให้การต่อสู้ดังกล่าว จําเลยจึงต้องนําสืบให้เห็นว่าไม้แปรรูปของกลางที่เป็นไม้ใหม่ ไม่ใช่ไม้หวงห้ามจึงจะเข้าข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 50 (4) ส่วนไม้ของกลางที่เป็นไม้เก่าไม่ใช่ไม้แปรรูปตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 4 (4) ซึ่งในประเด็นไม้แปรรูปที่เป็นไม้ใหม่นั้น จําเลยและ อ. ซึ่งอ้างว่าเป็นผู้ขายไม้แปรรูปของกลางให้แก่จําเลยเบิกความแต่เพียงลอย ๆ ว่า ไม้แปรรูปของกลางตัดมาจากที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินซึ่งมีหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินแบบ ส.ป.ก. 4-01 ข โดยไม่มีข้อเท็จจริงใดมานําสืบสนับสนุนให้เห็นเช่นนั้น ทั้งภาพถ่ายที่จําเลยอ้างไม่ปรากฏตอไม้ที่จะบ่งชี้ถึงที่มาของไม้แปรรูปของกลาง และบางภาพปรากฏว่าเป็นต้นไม้ที่ถูกโค่นใหม่ ยังไม่มีการแปรรูปใด ๆ ทำให้เชื่อได้ว่ามีการโค่นต้นไม้ดังกล่าวภายหลังจากจําเลยถูกดำเนินคดีนี้แล้ว จึงยังฟังไม่ได้ว่าไม้แปรรูปของกลางที่เป็นไม้ใหม่ได้มาจากไม้ที่ปลูกขึ้นในที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 ข ดังนั้น จึงต้องฟังว่าจําเลยมีไม้แปรรูปหวงห้ามไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต สำหรับไม้ของกลางที่เป็นไม้เก่าเป็นไม้ที่รื้อมาจากบ้านหลังเก่าของจําเลย ซึ่งตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 4 (4) วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 31/2559 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ บัญญัติว่า "ไม้ที่อยู่ในสภาพเป็นสิ่งปลูกสร้างหรืออยู่ในสภาพเป็นเครื่องใช้ ทั้งนี้ ตลอดเวลาที่อยู่ในสภาพเช่นนั้น รวมทั้งไม้ที่เคยอยู่ในสภาพดังกล่าว และผู้ครอบครองพิสูจน์ได้ว่าได้เคยมีสภาพเช่นนั้นมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีสำหรับไม้อื่นที่มิใช่ไม้สัก และไม่น้อยกว่าสิบปีสำหรับไม้สัก มิให้ถือว่าเป็นไม้แปรรูป" ความในวรรคนี้มีความหมายว่า ไม้ที่มิให้ถือว่าเป็นไม้แปรรูปนั้นแยกได้เป็นสองอย่าง คือ ไม้ที่อยู่ในสภาพเป็นสิ่งปลูกสร้างหรืออยู่ในสภาพเป็นเครื่องใช้ ทั้งนี้ ตลอดเวลาที่อยู่ในสภาพเช่นนั้นอย่างหนึ่ง กับไม้ที่เคยอยู่ในสภาพดังกล่าว คือเคยเป็นสิ่งปลูกสร้างหรือเคยเป็นเครื่องใช้มาแล้วและผู้ครอบครองพิสูจน์ได้ว่าเคยมีสภาพเช่นนั้นมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีสำหรับไม้อื่นที่ไม่ใช้ไม้สัก และสิบปีสำหรับไม้สักอีกอย่างหนึ่ง ตามความในกฎหมายดังกล่าว ผู้ครอบครองจะต้องพิสูจน์แต่เฉพาะกรณีที่ไม้นั้นมิได้อยู่ในสภาพเป็นสิ่งปลูกสร้างหรือมิได้อยู่ในสภาพเป็นเครื่องใช้แต่กล่าวอ้างว่าเคยมีสภาพเช่นนั้นมาแล้วเท่านั้น ข้อความที่ว่า "รวมทั้งไม้ที่เคยอยู่ในสภาพดังกล่าว และผู้ครอบครองพิสูจน์ได้ว่าเคยมีสภาพเช่นนั้นมาแล้ว" ย่อมแสดงชัดว่าในปัจจุบันไม้มิได้อยู่ในสภาพเช่นนั้นแล้ว โดยมีระยะเวลาไม่น้อยกว่าที่กฎหมายกำหนด คือ ห้าปีสำหรับไม้อื่นที่ไม่ใช่ไม้สัก และสิบปีสำหรับไม้สัก ดังนั้นไม้ของกลางที่เป็นไม้เก่านี้เป็นไม้ที่เคยอยู่ในสภาพสิ่งปลูกสร้างมาก่อน จึงมิใช่ไม้แปรรูปตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 4 (4) การที่จําเลยมีไม้ของกลางในส่วนที่เป็นไม้เก่าไว้ในครอบครองจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 48, 73 เมื่อไม้ของกลางที่อยู่ในความครอบครองของจําเลยมีทั้งไม้แปรรูปที่เป็นไม้หวงห้าม กับไม้ที่มีไว้ในครอบครองได้โดยไม่เป็นความผิด ซึ่งในส่วนของไม้แปรรูปของกลางที่เป็นไม้หวงห้ามนั้น เมื่อพิจารณาจากภาพถ่ายที่โจทก์นําสืบมีจำนวนค่อนข้างมาก จําเลยเองก็ให้การไว้ในรายงานการสืบเสาะและพินิจจําเลยว่า ร. ไม่ทราบชื่อสกุล นําไม้จําปาแปรรูปจำนวน 50 แผ่น ไม้ตาเสือแปรรูปจำนวน 20 แผ่น และไม้หยีแปรรูปจำนวน 20 แผ่น มาขายให้แก่จําเลย ไม้แปรรูปของกลางที่เป็นไม้ใหม่จึงย่อมต้องมีปริมาตรเกินกว่า 0.20 ลูกบาศก์เมตร แต่เมื่อไม่ได้ความชัดว่าปริมาตรเกิน 2 ลูกบาศก์เมตร หรือไม่ ก็ต้องฟังในทางที่เป็นคุณแก่จําเลยว่า จําเลยมีไม้หวงห้ามแปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตไม่เกิน 2 ลูกบาศก์เมตร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1971/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำผิดพ.ร.บ.ป่าไม้ ศาลลงโทษได้แม้โจทก์มิได้อ้างบทลงโทษโดยตรง
โจทก์บรรยายฟ้องมาแจ้งชัดแล้วว่าจำเลยทั้งห้าได้ร่วมกันบุกรุกเข้าไปตัดโค่นทำไม้หวงห้ามประเภท ก. และอ้างบทมาตรา 11 ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้พ.ศ.2484 อันเป็นบทห้ามกระทำความผิดแล้ว แม้โจทก์จะมิได้อ้างมาตรา 73วรรคสอง ซึ่งเป็นบทลงโทษมาด้วย ศาลย่อมลงโทษตามมาตรา 73 วรรคสอง ได้ไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1510/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดโทษทางอาญาที่ถูกต้องตามกฎหมายป่าไม้และป่าสงวนแห่งชาติ โดยพิจารณาบทหนักและอำนาจแก้ไขโทษของศาล
ตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507มาตรา 31 วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522 มาตรา 3 วางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบห้าปีและปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาทห้าหมื่นบาท แต่โทษฐานทำไม้หวงห้ามตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 73 วรรคสองแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2525มาตรา 4 วางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงสองแสนบาท โทษจำคุกที่จำเลยทั้งแปดจะได้รับตาม พระราชบัญญัติป่าไม้ดังกล่าวสูงถึงยี่สิบปีจึงเป็นโทษ ที่หนักกว่าโทษตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติดังกล่าว ซึ่งมีโทษขั้นสูงเพียงสิบห้าปี โดยไม่ต้องคำนึงว่าโทษขั้นต่ำ ของกฎหมายใดจะสูงกว่ากัน การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่า จำเลยทั้งแปดมีความผิดฐานแผ้วถางป่าและทำไม้หวงห้าม โดยไม่รับอนุญาต แต่ให้ลงโทษฐานแผ้วถางป่าตามพระราชบัญญัติ ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 31 วรรคสอง ซึ่งเป็นบทหนัก ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 จึงไม่ถูกต้อง แม้ไม่มีคู่ความ ฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ และเมื่อศาลฎีกา เห็นอีกว่า ที่ศาลล่างลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 ที่ 6 ที่ 7 และที่ 8 ในข้อหาดังกล่าวคนละ 8 ปีนั้นหนักเกินไปก็กำหนดโทษ ให้น้อยลงอีกได้ ซึ่งศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึง จำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ที่มิได้ฎีกาได้ด้วยเพราะ เป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225 สำหรับข้อหามีไม้หวงห้ามไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยทั้งแปดคนละ 4 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ยังคงลงโทษจำคุกจำเลยทั้งแปดคนละ 4 ปี เช่นเดิม แม้ข้อหาดังกล่าวนี้ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงก็ตาม แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าโทษที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์กำหนดมานั้นหนักเกินไป ก็มีอำนาจแก้ไขเสียใหม่ให้เหมาะสมได้ และสำหรับจำเลยที่ 3 ซึ่งถอนอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค 3 มิได้แก้ไข กรณีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่ามีความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2488 มาตรา 69,72 ตรีโดยไม่ระบุวรรค ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขโดยระบุวรรคให้ถูกต้องได้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1510/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดโทษทางอาญาที่ถูกต้องตามกฎหมายป่าไม้และป่าสงวน การแก้ไขโทษที่ศาลล่างกำหนดเกินกว่าที่กฎหมายบัญญัติ
ตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 31วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2522มาตรา 3 วางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบห้าปีและปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท แต่โทษฐานทำไม้หวงห้ามตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 73 วรรคสองแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2525 มาตรา 4 วางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงสองแสนบาท โทษจำคุกที่จำเลยทั้งแปดจะได้รับตามพระราชบัญญัติป่าไม้ดังกล่าวสูงถึงยี่สิบปีจึงเป็นโทษที่หนักกว่าโทษตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติดังกล่าวซึ่งมีโทษขั้นสูงเพียงสิบห้าปี โดยไม่ต้องคำนึงว่าโทษขั้นต่ำของกฎหมายใดจะสูงกว่ากัน การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าจำเลยทั้งแปดมีความผิดฐานแผ้วถางป่าและทำไม้หวงห้ามโดยไม่รับอนุญาต แต่ให้ลงโทษฐานแผ้วถางป่าตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 31 วรรคสอง ซึ่งเป็นบทหนักตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90 จึงไม่ถูกต้อง แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้และเมื่อศาลฎีกาเห็นอีกว่า ที่ศาลล่างลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 ที่ 6 ที่ 7 และที่ 8ในข้อหาดังกล่าวคนละ 8 ปีนั้นหนักเกินไปก็กำหนดโทษให้น้อยลงอีกได้ ซึ่งศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ที่มิได้ฎีกาได้ด้วยเพราะเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213ประกอบด้วยมาตรา 225
สำหรับข้อหามีไม้หวงห้ามไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้นศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยทั้งแปดคนละ 4 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ยังคงลงโทษจำคุกจำเลยทั้งแปดคนละ 4 ปี เช่นเดิม แม้ข้อหาดังกล่าวนี้ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงก็ตาม แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้วเมื่อศาลฎีกาเห็นว่าโทษที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์กำหนดมานั้นหนักเกินไป ก็มีอำนาจแก้ไขเสียใหม่ให้เหมาะสมได้ และสำหรับจำเลยที่ 3 ซึ่งถอนอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค 3 มิได้แก้ไข กรณีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่ามีความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้พ.ศ.2484 มาตรา 69, 72 ตรี โดยไม่ระบุวรรค ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขโดยระบุวรรคให้ถูกต้องได้ด้วย
สำหรับข้อหามีไม้หวงห้ามไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้นศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยทั้งแปดคนละ 4 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ยังคงลงโทษจำคุกจำเลยทั้งแปดคนละ 4 ปี เช่นเดิม แม้ข้อหาดังกล่าวนี้ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงก็ตาม แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้วเมื่อศาลฎีกาเห็นว่าโทษที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์กำหนดมานั้นหนักเกินไป ก็มีอำนาจแก้ไขเสียใหม่ให้เหมาะสมได้ และสำหรับจำเลยที่ 3 ซึ่งถอนอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค 3 มิได้แก้ไข กรณีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่ามีความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้พ.ศ.2484 มาตรา 69, 72 ตรี โดยไม่ระบุวรรค ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขโดยระบุวรรคให้ถูกต้องได้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 723/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องและคำขอท้ายฟ้องต้องสอดคล้องกัน หากไม่สอดคล้องกัน ศาลต้องยกฟ้องข้อหาที่โจทก์มิได้ขอให้ลงโทษ และศาลฎีกาไม่สามารถเพิ่มโทษเกินกว่าที่ศาลชั้นต้นพิพากษาได้หากไม่อุทธรณ์
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีไม้ยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครอง ปรากฏว่าโจทก์บรรยายการกระทำผิดในข้อหานี้มาในคำฟ้อง แต่ในคำขอท้ายฟ้องโจทก์มิได้อ้างบทมาตรา 69 แห่ง พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 ซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด ฉะนั้นจะถือว่าโจทก์ได้ขอให้ลงโทษในข้อหามีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองแล้วหาได้ไม่กรณีจึงต้องยกฟ้องข้อหานี้
ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลย 1 เดือน ฐานแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตเมื่อ พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 48, 73 วรรคสอง มีอัตราโทษจำคุกขั้นต่ำ 1 ปีที่ศาลชั้นต้นพิพากษามาจึงเป็นการลงโทษจำคุกจำเลยต่ำกว่าอัตราโทษขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนดแต่โจทก์มิได้อุทธรณ์และฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยเพิ่มขึ้น ศาลฎีกาลงโทษจำคุกจำเลยเพิ่มขึ้นไม่ได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลย 1 เดือน ฐานแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตเมื่อ พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 48, 73 วรรคสอง มีอัตราโทษจำคุกขั้นต่ำ 1 ปีที่ศาลชั้นต้นพิพากษามาจึงเป็นการลงโทษจำคุกจำเลยต่ำกว่าอัตราโทษขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนดแต่โจทก์มิได้อุทธรณ์และฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยเพิ่มขึ้น ศาลฎีกาลงโทษจำคุกจำเลยเพิ่มขึ้นไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 723/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินคดีป่าไม้: การบรรยายฟ้องไม่ชัดเจนและโทษจำคุกต่ำกว่าขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนด
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีไม้ยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครอง ปรากฎว่าโจทก์บรรยายการกระทำผิด ในข้อหานี้มาในคำฟ้อง แต่ในคำขอท้าย ฟ้องโจทก์มิได้อ้างบท มาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484ซึ่งบัญญัติ ว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด ฉะนั้นจะถือว่าโจทก์ ได้ขอให้ลงโทษในข้อหามีไม้ยังมิได้แปรรูปไวในครอบครองแล้วได้ไม่ กรณีจึงต้องยกฟ้องข้อหานี้ ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลย 1 เดือน ฐานแปรรูปไม้โดยไม่ได้ รับอนุญาต เมื่อพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484มาตรา 48,73 วรรคสอง มีอัตราโทษจำคุกขั้นต่ำ 1 ปีที่ศาลชั้นต้นพิพากษามาจึงเป็นการลงโทษจำคุกจำเลยต่ำกว่าอัตราโทษขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนด แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ และฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยเพิ่มขึ้น ศาลฎีกาลงโทษจำคุก จำเลยเพิ่มขึ้นไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2402/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท: ความผิดต่อเนื่องกับการครอบครองไม้หวงห้าม
โจทก์บรรยายฟ้องความผิดฐานเข้าไปยึดถือครอบครองแผ้วถาง เผาป่า และโค่นตัดฟันทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ โดยระบุเวลาในการกระทำผิดว่าจำเลยกระทำผิดระหว่างวันที่ 4เมษายน 2532 ถึงวันที่ 4 พฤษภาคม 2532 เวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน แต่มิได้ระบุว่ากระทำผิดฐานใด ในวันเวลาใดให้ชัดแจ้ง จึงถือได้ว่าจำเลยกระทำความผิดในคราวเดียวกัน เป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ส่วนความผิดฐานมีไม้หวงห้ามไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดแยกต่างหากจากความผิดฐานยึดถือครอบครองแผ้วถาง เผาป่าและโค่นตัดฟันทำไม้ในป่าสงวนแห่งชาติ ถือได้ว่าเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3112/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปรียบเทียบอัตราโทษระหว่าง พ.ร.บ.ป่าไม้ และ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ: บทหนักกว่าคือ พ.ร.บ.ป่าไม้
ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 73 วรรคสองมีอัตราโทษขั้นสูงจำคุกยี่สิบปี เป็นโทษที่หนักกว่าโทษตามพระราชบัญญัติ ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 31 วรรคสอง ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกขั้นสูงสิบห้าปี โดยไม่ต้องคำนึงถึงโทษขั้นต่ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3112/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัตราโทษป่าไม้สูงกว่าป่าสงวนแห่งชาติ: เปรียบเทียบ พ.ร.บ.ป่าไม้ 2484 กับ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ 2507
ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 73 วรรคสอง มีอัตราโทษขั้นสูงจำคุกยี่สิบปี เป็นโทษที่หนักกว่าโทษตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 31 วรรคสองซึ่งมีอัตราโทษจำคุกขั้นสูงสิบห้าปีโดยไม่ต้องคำนึงถึงโทษขั้นต่ำ.