คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1466 เดิม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5592/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจัดการสินบริคณห์ระหว่างสมรส และผลของการแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โจทก์กับ ช. จดทะเบียนสมรสกันเมื่อปี 2480 ตึกแถวพิพาทเป็นทรัพย์สินที่ ช. ได้มาระหว่างสมรส จึงเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับ ช. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 มาตรา 1466 เดิมที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นและเป็นส่วนหนึ่งของสินบริคณห์ ตามมาตรา 1462 วรรคสอง เดิม ช. ให้จำเลยเช่าตึกแถวพิพาทตั้งแต่ปี 2509 และปี 2529 ช. ได้จดทะเบียนให้จำเลยเช่า 30 ปี ไม่ปรากฏว่ามีสัญญาก่อนสมรสระหว่างโจทก์กับ ช. ตกลงเป็นอย่างอื่น ช. จึงเป็นผู้มีอำนาจจัดการตึกแถวพิพาทได้ฝ่ายเดียวมาแต่แรกตามมาตรา 1468 เดิม และตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 7 ก็บัญญัติรับรองว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ตรวจชำระใหม่ท้าย พระราชบัญญัตินี้ไม่กระทบกระเทือนอำนาจการจัดการสินบริคณห์ที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่แล้วในวันใช้บังคับบรรพ 5 ใหม่นี้ ถ้าคู่สมรสฝ่ายใดเป็นผู้จัดการสินบริคณห์แต่ฝ่ายเดียวให้ถือว่าคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งได้ยินยอมให้คู่สมรสนั้นจัดการสินสมรสด้วย ช. เพียงฝ่ายเดียวจึงมีอำนาจให้เช่าตึกแถวพิพาทได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากภริยา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1468 เดิม นิติกรรมการเช่าตึกแถวพิพาทซึ่งทำไว้เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2529 ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1163/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสและทรัพย์มรดกหลังการเสียชีวิต โดยมีประเด็นเรื่องการโอนทรัพย์สินก่อนการแบ่งมรดก และการตรวจสอบทรัพย์มรดกที่ยังไม่พบ
โจทก์ฟ้องว่านายป. และนางน. อยู่กินฉันสามีภริยาตั้งแต่ปี2470และต่อมาปี2520จึงจดทะเบียนสมรสจำเลยที่2มิได้ให้การปฏิเสธในข้อนี้ถือว่ายอมรับข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงฟังได้ว่านายป.และนางน.เป็นสามีภริยากันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5พุทธศักราช2477เมื่อนางน. ได้ที่ดินมาในปี2500ซึ่งอยู่ระหว่างสมรสจึงเป็นสินสมรสแม้จะมีชื่อนางน. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เพียงผู้เดียวก็ตามเมื่อนายป. ถึงแก่กรรมต้องแบ่งสินสมรสตามกฎหมายลักษณะผัวเมียโดยนายป. ได้2ส่วนนางน. ได้1ส่วนส่วนของนายป.จึงเป็นมรดกแม้นางน.จะเป็นผู้จัดการมรดกของนายป. ก็ไม่มีอำนาจยกที่ดินส่วนที่ตกแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับมรดกแทนที่ทายาทของนายป. ให้แก่จำเลยที่2โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่2ซึ่งเป็นทายาทผู้รับโอนทรัพย์มรดกโดยไม่ชอบนั้นให้แบ่งส่วนแก่ตนได้โดยไม่จำต้องฟ้องขอให้เพิกถอนการโอน แม้จำเลยที่2จะเป็นผู้จัดการมรดกของนายป. และนางน.มีหน้าที่ติดตามทรัพย์มรดกมาแบ่งแก่ทายาทแล้วไม่ติดตามก็เป็นเรื่องไม่กระทำตามหน้าที่ในฐานะผู้จัดการมรดกเท่านั้นเมื่อไม่ได้ความว่าทรัพย์มรดกจำพวกพระเครื่องพระบูชาสร้อยข้อมือทองคำสร้อยคอทองคำและแหวนเพชรอยู่ที่จำเลยที่2โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องแบ่งทรัพย์มรดกดังกล่าวจากจำเลยที่2หรือให้ใช้ราคาทรัพย์มรดกตามส่วนที่โจทก์มีสิทธิจะได้รับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2013/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในสินสมรส: การลงชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วม, การโต้แย้งสิทธิ, และอายุความ
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอหย่าจำเลยและศาลมีคำพิพากษายกฟ้องโดยยังมิได้วินิจฉัยเกี่ยวกับเรื่องทรัพย์สินแต่อย่างใด ในคดีนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงชื่อตนเป็นเจ้าของรวมในสินสมรส ประเด็นของคดีนี้จึงมีว่าทรัพย์ตามคำฟ้องเป็นสินสมรสหรือไม่และโจทก์มีสิทธิขอให้ลงชื่อเป็นเจ้าของรวมหรือไม่ อันมิใช่ประเด็นที่ได้วินิจฉัยไว้แล้วในคำพิพากษาคดีก่อน การฟ้องคดีนี้ของโจทก์จึงไม่เป็นการฟ้องซ้ำตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 148 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
สิทธิของสามีหรือภริยาที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1475 นั้น เป็นการที่กฎหมายกำหนดให้อีกฝ่ายหนึ่งต้องปฏิบัติตามคำร้องขอของอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งไม่มีชื่อในเอกสารสำคัญให้ต้องยินยอมให้ฝ่ายนั้นลงชื่อตนเป็นเจ้าของร่วมด้วย โจทก์กล่าวในฟ้องแล้วว่าได้มีหนังสือขอให้จำเลยจัดการให้โจทก์ลงชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่อ้างว่าเป็นสินสมรส จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธว่ามิได้รับหนังสือดังกล่าวของโจทก์กรณีจึงต้องถือว่าจำเลยทราบคำบอกกล่าวของโจทก์แล้วเพิกเฉย อันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ที่มีตามกฎหมาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
โจทก์จำเลยได้ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงมาระหว่างสมรสและได้มาขณะที่ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิม การที่จะพิจารณาว่าเป็นทรัพย์สินประเภทใดในระหว่างสามีภริยาจึงต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้ในขณะที่ได้มา การรับโอนที่ดินพิพาททั้งสองแปลงมาเป็นของจำเลยนั้นมิได้ระบุไว้ว่าให้เป็นสินส่วนตัวหรือสินเดิม จึงเป็นการได้มาในฐานะที่เป็นสินสมรสตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 1466 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 เดิม อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะที่ได้มา
สิทธิของคู่สมรสที่จะร้องขอให้ลงชื่อตนเป็นเจ้าของรวมในเอกสารสำคัญตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1475 นั้น เป็นบทบัญญัติในหมวดทรัพย์สินระหว่างสามัภรรยา ตราบใดที่ความเป็นสามีภรยายังมีอยู่ คู่สมรสก็ยังมีสิทธิตามที่กำหนดไว้ในมาตรานี้ตลอดเวลาไม่ว่าจะช้านานเท่าใด เมื่อโจทก์จำเลยยังเป็นสามีภริยากันอยู่โจทก์ย่อมจะใช้สิทธิร้องขอให้ลงชื่อตนด้วยได้ตามที่กฎหมายกำหนด โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าได้ล่วงเลยเวลาที่ได้สินสมรสมาแล้วนานเท่าไร เพราะมิใช่กรณีที่จะต้องใช้สิทธิเรียกร้องภายในระยะเวลาอันกฎหมายกำหนดไว้ คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2375/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการขายฝากสินส่วนตัวของคู่สมรสที่ทำไปโดยความยินยอมของอีกฝ่ายหนึ่งในคดีล้มละลาย
จำเลยกับ ล. อยู่กินด้วยกันเมื่อปี 2507 แล้วจึงได้จดทะเบียนการสมรสเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2519 ล. ซื้อ ที่พิพาทเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2518 แล้วจึงออกโฉนด ที่ดินเมื่อวันที่19 มกราคม 2522 โดย มีชื่อ ล. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ดังนี้ที่พิพาทจึงเป็นทรัพย์สินที่ได้ มาก่อนที่จำเลยกับ ล. จดทะเบียนการสมรสกัน หาใช่เป็นทรัพย์สินที่จำเลยกับ ล. ได้ มาระหว่างสมรสอันจะทำให้เป็นสินสมรสตาม ที่ ป.พ.พ. มาตรา 1466เดิม บัญญัติไว้ไม่
ที่พิพาทเป็นทรัพย์สินที่จำเลยกับ ล. ทำมาหาได้ ร่วมกันก่อนจดทะเบียนการสมรสกัน จำเลยกับ ล. จึงเป็นเจ้าของที่พิพาทร่วมกันคนละส่วน เมื่อได้ จดทะเบียนการสมรสที่พิพาทย่อมเป็นสินเดิมของแต่ละฝ่าย อันเป็นสินบริคณห์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา1462 1463(1) เดิม ซึ่งตาม พ.ร.บ. ให้ใช้ บทบัญญัติบรรพ 5แห่ง ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจ ชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 7 ให้ถือว่าสินเดิมของแต่ละฝ่ายดังกล่าวเป็นสินส่วนตัวของแต่ละฝ่ายนั้นตาม บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจ ชำระใหม่ จำเลยกับ ล. ไม่ได้ทำสัญญาก่อนสมรสเป็นอย่างอื่น ล. ซึ่ง เป็นสามีจึงเป็นผู้จัดการที่พิพาทอันเป็นสินบริคณห์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1468 เดิม และตาม พ.ร.บ. ให้ใช้ บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งป.พ.พ. ที่ได้ตรวจ ชำระใหม่ มาตรา 7 ฉะนั้นการที่ ล.จดทะเบียนขายฝากที่พิพาทให้แก่ผู้คัดค้านเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน2524 ในขณะที่จำเลยกับ ล. ยังเป็นสามีภรรยากันอยู่ จึงถือได้ว่าจำเลยยินยอมให้ ล. ขายฝากที่พิพาทอันเป็นสินส่วนตัวของจำเลยกึ่งหนึ่งด้วย เมื่อผู้คัดค้านยอมรับว่าจำเลยขายฝากที่พิพาทเฉพาะ ส่วนของจำเลยให้แก่ผู้คัดค้านซึ่ง เป็นเจ้าหนี้คนหนึ่งได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น ศาลมีอำนาจที่จะสั่งเพิกถอนการโอนที่พิพาทเฉพาะ ส่วนของจำเลยได้ ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 115
การเพิกถอนการโอนตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115 เป็นไปโดย ผลของคำพิพากษา ตราบใด ที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลให้เพิกถอนก็ยังถือว่าเป็นการโอนโดยชอบอยู่ กรณียังถือไม่ได้ว่าได้ มีการผิดนัดนับแต่วันยื่นคำร้องอันจะเป็นเหตุให้ผู้รับโอนต้อง รับผิดในเรื่องดอกเบี้ย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5245/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินเดิมแปลงเป็นสินสมรส: การซื้อที่ดินด้วยเงินจากการขายสินเดิม และการสร้างสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินนั้น
ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะแต่งงานกับ ส.บิดามารดาของจำเลยที่ 1 ได้ยกบ้านและที่ดินที่ถนนทรัพย์ให้จำเลยที่ 1 หนึ่งแปลง บ้านและที่ดินนั้นจึงเป็นสินเดิมของจำเลยที่ 1 เมื่อแต่งงานกันแล้วได้มาอยู่กินที่บ้านหลังนี้จนมีบุตร 3 คน ก็ขายบ้านและที่ดินที่ถนนทรัพย์นำเงินส่วนหนึ่งไปซื้อที่ดินที่ถนนสาธรเหนือและปลูกบ้านอยู่ ต่อมาได้ขายที่ดินและบ้านที่ถนนสาธรเหนือนำเงินส่วนหนึ่งไปรับซื้อฝากที่ดินแปลงพิพาท และผู้ขายฝากไม่ไถ่คืนจึงตกเป็นของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นการได้มาโดยขายสินเดิมไปและนำเงินที่ขายได้มาซื้อที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์สินที่ต้องเอามาแทนสินเดิมที่ขายไป แม้ก่อนจะนำเงินมารับซื้อฝากที่พิพาท จำเลยที่ 1 ได้นำเงินทีได้จากการขายสินเดิมไปซื้อที่ดินที่ถนนสาธรเหนือไว้ชั้นหนึ่งก่อน ก็ไม่ทำให้ผลในทางกฎหมายเปลี่ยนแปลงไป เพราะที่ดินแปลงที่ถนนสาธรเหนือก็ถือว่าเป็นสินเดิมของจำเลยที่ 1 นั้นเองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1465 ก่อนทำการแก้ไข แต่อาคารโรงเรียนและตึกแถวจำเลยที่ 1 ออกเงินสร้างขึ้นบนที่ดินพิพาทหลังจากที่ดินดังกล่าวตกเป็นของจำเลยที่ 1 แล้ว และไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ใช้เงินทีได้จากการขายที่ดินแปลงที่ถนนสาธรเหนือมาทำการก่อสร้างจึงเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1466 เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 655/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า: ที่ดินที่ได้ก่อนจดทะเบียนสมรสเป็นสินเดิมและเป็นเจ้าของรวม
บิดาจำเลยยกที่พิพาทให้โจทก์จำเลยใช้เป็นที่อยู่อาศัยและทำกินเมื่อแต่งงานกันก่อนจดทะเบียนสมรส ก่อนใช้บรรพ 5 ที่แก้ไขใหม่ ที่พิพาทจึงตกเป็นของโจทก์จำเลยคนละครึ่งครั้นโจทก์จำเลยจดทะเบียนสมรสก็กลายเป็นสินเดิมของแต่ละฝ่ายและเป็นสินส่วนตัวตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2528/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการแบ่งเงินบำนาญที่เป็นสินสมรสในคดีล้มละลาย: เจ้าของร่วมมีสิทธิเรียกร้องส่วนแบ่งได้ แม้มี พ.ร.บ.ล้มละลาย
ผู้ร้องซึ่งเป็นภริยาและเป็นเจ้าของร่วมในเงินบำนาญอันเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลย มีสิทธิร้องขอแบ่งแยกส่วนของตนออกได้ พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 121 ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิรับเงินบำนาญของลูกหนี้จากเจ้าหน้าที่ เพื่อรวบรวมแบ่งให้แก่เจ้าหนี้ แต่ต้องจ่ายค่าเลี้ยงชีพลูกหนี้และครอบครัวตามสมควรแก่ฐานานุรูป มิใช่ห้ามคู่สมรสของลูกหนี้ร้องขอกันส่วนเงินบำนาญอันเป็นสินสมรส ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา1466 ซึ่งใช้อยู่ในเวลานั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2323/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์สินสมรสและการติดตามทรัพย์คืน ความแตกต่างระหว่างละเมิดกับสัญญา
ฟ้องว่าจำเลยแกล้งยึดทรัพย์ละเมิดสิทธิของโจทก์ แต่โจทก์ขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์กับดอกเบี้ย เป็นเรื่องติดตามเอาทรัพย์คืน ไม่ใช่ละเมิดที่ใช้อายุความ 1 ปี
ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรสรวมทั้งหุ้นในบริษัทจำกัดหรือสิทธิการเช่า สิ่งที่ซื้อมาด้วยสินส่วนตัวหรือดอกผลของสินส่วนตัวไม่เข้า มาตรา 1465 เป็นสินสมรส สิ่งที่ได้มาโดยหนังสือยกให้ไม่มีระบุว่าเป็นสินส่วนตัว ก็เป็นสินสมรส ดอกผลของสินเดิมเป็นสินสมรส เครื่องใช้ส่วนตัวตามฐานะเป็นสินส่วนตัว
ทรัพย์ซึ่งอยู่ที่คนภายนอก ผู้ว่าราชการจังหวัดยึดตามประมวลรัษฎากร ไม่ได้ใช้คำว่าอายัด ผลก็คือต้องส่งมอบแก่ผู้ว่าราชการจังหวัด จึงไม่แตกต่างกัน
ฟ้องเรียกสินเดิมและสินส่วนตัวคืน แต่ไม่ระบุว่าเครื่องประดับและรถยนต์ที่เรียกคืนมีอะไรบ้าง รถคันไหนเป็นฟ้องเคลือบคลุม