คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.คุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พ.ศ.2474 ม. 12

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2189-2190/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทำของ vs. จ้างลูกจ้าง: ลิขสิทธิ์ภาพวาดที่สร้างสรรค์ขึ้นจากการว่าจ้าง
การวาดภาพนกของโจทก์ที่ 1 ให้แก่ บ. ตั้งแต่แรกในปี 2515 จนถึงวันที่ 18 ธันวาคม 2521 เป็นช่วงเวลาที่ พ.ร.บ.คุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรมฯ มีผลใช้บังคับอยู่ การที่โจทก์ที่ 1 กล่าวอ้างในคำฟ้องว่า ข้อตกลงวาดภาพนกดังกล่าวเป็นการจ้างแรงงานโดยไม่มีข้อสัญญาให้ลิขสิทธิ์ตกแก่โจทก์ที่ 1 นั้น ย่อมมีผลให้ลิขสิทธิ์ในงานศิลปกรรมภาพวาดนั้นตกเป็นลิขสิทธิ์ของผู้จ้างตามมาตรา 12 (ข) แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว มิใช้ลิขสิทธิ์ตกเป็นของโจทก์ที่ 1 แต่อย่างใด
แม้สัญญาจ้างแรงงานกับสัญญาจ้างทำของจะมีลักษณะที่คล้ายกันคือ ลูกจ้างหรือผู้รับจ้างต่างก็ต้องทำงานให้แก่นายจ้างหรือผู้ว่าจ้าง และนายจ้างหรือผู้ว่าจ้างตกลงจ่ายสินจ้างแก่ลูกจ้างหรือผู้รับจ้างเป็นการตอบแทนเช่นกัน แต่ก็มีลักษณะที่แตกต่างกันที่สำคัญคือ ตามสัญญาจ้างแรงงานนั้นลูกจ้างต้องทำงานให้นายจ้างตามวัตถุประสงค์แห่งสัญญาจ้างแรงงานที่ตกลงกันโดยไม่จำเป็นต้องมีการตกลงกัน โดยมุ่งประสงค์ต่อผลสำเร็จของการงานอันใดอันหนึ่งโดยเฉพาะ หรือคิดค่าตอบแทนจากผลสำเร็จของการงานที่ตกลงกันแต่อย่างใด นายจ้างตามสัญญาจ้างแรงงานมีสิทธิบังคับบัญชามอบหมายและควบคุมกำกับการทำงานของลูกจ้างให้ทำงานใด ๆ ภายใต้ข้อตกลงเกี่ยวกับหน้าที่และสภาพการจ้างงานนั้นได้ ส่วนสัญญาจ้างทำของนั้น ผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างจะมีเจตนามุ่งประสงค์ต่อความสำเร็จของงานอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างตามข้อตกลงที่ว่าจ้างให้ทำกัน โดยถือเอาผลสำเร็จของการงานที่ตกลงให้ทำกันนั้นเป็นสาระสำคัญ โดยผู้ว่าจ้างมิได้มีสิทธิบังคับบัญชาสั่งการผู้รับจ้างแต่อย่างใด พฤติการณ์ที่มีการจ่ายค่าจ้างเป็นรายเดือน และผู้ว่าจ้างจัดหาอุปกรณ์เครื่องมือในการทำงานให้ผู้ทำงานนั้น แม้จะเป็นพฤติการณ์ที่มักเกิดขึ้นในกรณีของการจ้างลูกจ้างทำงานให้แก่นายจ้างตามสัญญาจ้างแรงงานก็ตาม แต่ก็มิใช่ข้อเท็จจริงที่ทำให้ฟังได้ว่าเป็นกรณีตามสัญญาจ้างแรงงานเสมอไปทั้งหมด เนื่องจากสัญญาจ้างทำของก็อาจมีพฤติการณ์การจ่ายค่าตอบแทนหรือการจัดหาเครื่องมือหรืออุปกรณ์ทำงานเช่นเดียวกับการจ้างแรงงานได้เช่นกัน
การที่โจทก์ทั้งสองทำงานวาดภาพนกให้แก่ บ. นั้นก็เพื่อใช้ประกอบหนังสือ "A Guide to the Birds of Thailand" ที่ บ. จะจัดทำขึ้น โดยในการวาดภาพต้องทำให้สอดคล้องกับข้อมูลทางวิชาการที่เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับนกแต่ละวงศ์ แต่ละชนิด ต้องใช้ซากนกที่ บ. เก็บรวบรวมไว้จำนวนมาก และต้องเดินทางไปดูนกในสภาพธรรมชาติ กับยังต้องค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติม ทำให้การวาดภาพนกนี้ต้องใช้เวลานานหลายปี และเป็นกรณีจำเป็นที่จะต้องให้โจทก์แต่ละคนทำงานที่สถานที่ทำงานของ บ. เพื่อความสะดวกในการเทียบเคียงข้อมูลและประสานข้อมูล การบรรยายด้วยข้อความกับภาพวาดให้สอดคล้องต้องกัน ทั้งยังได้ความว่าในการทำงานวาดภาพนก บ. ไม่ได้กำหนดให้โจทก์ที่ 1 วาดภาพนกเป็นตัว ๆ แต่จะกำหนดเป็นวงศ์ แล้วโจทก์ที่ 1 จะวาดภาพนกในวงศ์นั้นทั้งหมด การกำกับดูแลของ บ. เป็นเพียงการเร่งรัดงานเท่านั้น สำหรับโจทก์ที่ 2 ก็วาดภาพโดยได้รับคำแนะนำให้ข้อมูลจาก ฟ. และดูตัวอย่างจากซากนก กับข้อมูลจากหนังสือต่าง ๆ หาก ฟ. หรือ บ. เห็นว่าไม่ถูกต้อง และแจ้งให้โจทก์ที่ 2 ทราบ ถ้าโจทก์ที่ 2 เห็นด้วยก็จะแก้ไข แต่ถ้าไม่เห็นด้วยก็จะไม่แก้ไข อันเป็นการแสดงว่าโจทก์ทั้งสองทำงานวาดภาพโดยมีอิสระในการทำงานมาก มิใช่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาเยี่ยงที่นายจ้างมีต่อลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงานแต่อย่างใด และในการเดินทางไปดูนกในสภาพตามธรรมชาติก็ยังปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเอง ซึ่งผิดปกติวิสัยของผู้เป็นลูกจ้าง ทั้งเมื่อโจทก์ทั้งสองวาดภาพเพื่อประกอบการทำหนังสือดังกล่าวแล้วเสร็จ โจทก์ทั้งสองก็ไม่ได้ทำการวาดภาพหรือทำงานกับ บ. หรือจำเลยที่ 1 อีกแต่อย่างใด เห็นได้ว่าสภาพการทำงานให้แก่ บ. ของโจทก์ทั้งสองดังกล่าว บ. จะมุ่งประสงค์ถึงความสำเร็จในการจัดทำหนังสือเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องยากที่จะกำหนดจำนวนงานได้แต่แรก เพราะต้องศึกษาค้นคว้าข้อมูลและศึกษาดูนกกับวาดภาพนกเพิ่มเติมจนกว่าจะเห็นว่ามีข้อมูลและภาพวาดที่สมบูรณ์เป็นที่พอใจที่จะรวมจัดพิมพ์เป็นหนังสือได้ การที่จ่ายค่าตอบแทนให้แก่โจทก์ทั้งสองเป็นรายเดือนในพฤติการณ์ทำงานในระยะเวลาที่ยาวนานเช่นนี้จึงอาจเป็นการแบ่งจ่ายค่าจ้างทำของให้เหมาะสมแก่สภาพงานในลักษณะดังกล่าว เพื่อมิให้เป็นการเอาเปรียบโจทก์แต่ละคนและเป็นประโยชน์แก่โจทก์ทั้งสองที่ไม่ต้องรอรับค่าตอบแทนเมื่องานเสร็จสิ้นในภายหลังที่เป็นระยะเวลาที่ยาวนานมากเช่นนั้น ตามพฤติการณ์ดังกล่าวฟังได้ว่า การวาดภาพนกของโจทก์ทั้งสองเป็นไปตามสัญญาจ้างทำของ และเมื่อไม่ปรากฏว่ามีข้อสัญญาเป็นอย่างอื่น ลิขสิทธิ์จึงตกเป็นของผู้ว่าจ้าง มิใช่ตกเป็นของโจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 ผู้รับจ้างแต่อย่างใด ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 7 และ 8 อันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น ดังนั้น แม้หากจะถือข้อกล่าวอ้างของโจทก์ทั้งสองว่างานตามคำฟ้องเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ โจทก์ทั้งสองก็ไม่ใช่เจ้าของลิขสิทธิ์ ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ตามคำฟ้องแต่อย่างใด
ที่ผู้ร้องสอดอุทธรณ์ขอให้พิพากษาว่าลิขสิทธิ์ในหนังสือเป็นของกองมรดก บ. ในฐานะที่ บ. เป็นผู้ว่าจ้างโจทก์ทั้งสองวาดภาพนั้น เนื่องจากในส่วนงานภาพนกที่พิพาทกันมีจำนวนมากถึง 1,878 ภาพ ก่อนที่จะวินิจฉัยว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของกองมรดก บ. หรือของจำเลยที่ 1 จะต้องพิจารณาเสียก่อนว่างานภาพนกแต่ละภาพเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ที่มีการสร้างสรรค์โดยความริเริ่มของผู้สร้างสรรค์และมิได้ลอกเลียนงานอื่นที่มีลิขสิทธิ์อยู่ก่อนแล้ว แต่ข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานในสำนวนไม่มีรายละเอียดที่จะวินิจฉัยได้ในแต่ละภาพ เนื่องจากคู่ความนำสืบในลักษณะรวม ๆ กันมาเป็นส่วนใหญ่ ไม่อาจวินิจฉัยได้อย่างแน่ชัด จึงควรให้ยกคำร้องสอดโดยไม่ตัดสิทธิฟ้องใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3972/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดลิขสิทธิ์หนังสือแบบเรียน การพิสูจน์เจตนาและการอนุญาตโดยปริยาย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งเก้า พิมพ์หนังสือแบบเรียนตามฟ้องในระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2519 ถึงวันที่ 9 มิถุนายน 2521 เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ เช่นนี้ กฎหมายที่ใช้บังคับแก่คดีคือพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พ.ศ. 2474 เพราะมูลกรณีแห่งคดีนี้เกิดขึ้นในขณะที่พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ. 2521 ยังไม่ใช้บังคับ กรมการปกครองและองค์การบริหารส่วนจังหวัดไม่มีส่วนในการจัดทำหนังสือแบบเรียนที่โจทก์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ หนังสือแบบเรียนตามฟ้องที่จำเลยจัดพิมพ์ขึ้นก็ระบุเป็นของ กระทรวงศึกษาธิการที่หน้าปก ทุกเล่ม นอกจากนี้กรมการปกครองเคยขออนุญาตโจทก์พิมพ์หนังสือแบบเรียนหลายครั้ง แสดงว่ากรมการปกครองและจำเลยก็ยอมรับแล้วว่าลิขสิทธิ์ในหนังสือแบบเรียนเป็นของโจทก์ กรมการปกครองและองค์การบริหารส่วนจังหวัดจึงหามีส่วนเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ด้วยไม่ จำเลยที่ 1 เป็นบริษัทที่รับพิมพ์หนังสือแบบเรียนตามฟ้องตามคำสั่งของโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรมการปกครอง จำเลยที่ 2ถึงที่ 5 เป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 6 ที่ 7 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ถือว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 พิมพ์หนังสือแบบเรียนดังกล่าวตามคำสั่งของโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นซึ่งเป็นผู้ว่าจ้าง โจทก์เคยอนุญาตให้กรมการปกครองจัดพิมพ์หนังสือแบบเรียนชั้นประถมศึกษาในระหว่างปี พ.ศ. 2510 ถึง 2516 โดยไม่คิดค่าลิขสิทธิ์ และหนังสือแบบเรียนที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7พิมพ์ขึ้นนั้น ด้านหน้าก็มีข้อความระบุว่าของ กระทรวงศึกษาธิการในหน้าแรกมีถ้อยคำว่าสำหรับแจกเด็กนักเรียนห้ามขาย ด้านหลังมีคำว่าพิมพ์ที่โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรมการปกครอง ถนนพหลโยธินฯลฯ และระบุชื่อนาย พ. ผู้พิมพ์โฆษณา กับมีคำแนะนำในเรื่องให้ยืมหนังสือหรือแบบเรียน ชี้ให้เห็นว่าโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นและนาย พ. เป็นผู้รับผิดชอบในการพิมพ์หนังสือแบบเรียนตามฟ้องทุกเล่ม แม้ความจริงจะพิมพ์โดยจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 ตามพฤติการณ์เหล่านี้ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 ย่อมเข้าใจว่าโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นนาย พ. และกรมการปกครองได้รับอนุญาตจากโจทก์ให้พิมพ์หนังสือแบบเรียนดังกล่าวได้ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 จึงมิได้จงใจละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 8 ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการฝ่ายพิมพ์ โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น และจำเลยที่ 9 ซึ่งเป็นหัวหน้าแผนกจำหน่ายของโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น ก็เข้าใจว่ากรมการปกครองและองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้รับอนุญาตให้จัดพิมพ์หนังสือแบบเรียนของโจทก์ในปี พ.ศ. 2517,2520 และ 2521 ดังเช่นที่เคยได้รับอนุญาตมาก่อน การที่จำเลยที่ 8 ที่ 9 ว่าจ้างจำเลยที่ 1 พิมพ์หนังสือแบบเรียนตามฟ้องตามคำสั่งของกรมการปกครองและองค์การบริหารส่วนจังหวัดอันเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบ จึงเป็นการกระทำที่มิได้จงใจละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์เช่นกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3972/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดลิขสิทธิ์หนังสือแบบเรียน การพิสูจน์เจตนาและขอบเขตความรับผิดของจำเลยต่างๆ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งเก้า พิมพ์หนังสือแบบเรียนตามฟ้องในระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2519 ถึงวันที่ 9 มิถุนายน 2521 เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ เช่นนี้ กฎหมายที่ใช้บังคับแก่คดีคือพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พ.ศ. 2474 เพราะมูลกรณีแห่งคดีนี้เกิดขึ้นในขณะที่พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ. 2521 ยังไม่ใช้บังคับ
กรมการปกครองและองค์การบริหารส่วนจังหวัดไม่มีส่วนในการจัดทำหนังสือแบบเรียนที่โจทก์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ หนังสือแบบเรียนตามฟ้องที่จำเลยจัดพิมพ์ขึ้นก็ระบุเป็นของ กระทรวงศึกษาธิการที่หน้าปก ทุกเล่ม นอกจากนี้กรมการปกครองเคยขออนุญาตโจทก์พิมพ์หนังสือแบบเรียนหลายครั้ง แสดงว่ากรมการปกครองและจำเลยก็ยอมรับแล้วว่าลิขสิทธิ์ในหนังสือแบบเรียนเป็นของโจทก์ กรมการปกครองและองค์การบริหารส่วนจังหวัดจึงหามีส่วนเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ด้วยไม่
จำเลยที่ 1 เป็นบริษัทที่รับพิมพ์หนังสือแบบเรียนตามฟ้องตามคำสั่งของโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรมการปกครอง จำเลยที่ 2ถึงที่ 5 เป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 6 ที่ 7 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ถือว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 พิมพ์หนังสือแบบเรียนดังกล่าวตามคำสั่งของโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นซึ่งเป็นผู้ว่าจ้าง โจทก์เคยอนุญาตให้กรมการปกครองจัดพิมพ์หนังสือแบบเรียนชั้นประถมศึกษาในระหว่างปี พ.ศ. 2510 ถึง 2516 โดยไม่คิดค่าลิขสิทธิ์ และหนังสือแบบเรียนที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7พิมพ์ขึ้นนั้น ด้านหน้าก็มีข้อความระบุว่าของ กระทรวงศึกษาธิการในหน้าแรกมีถ้อยคำว่าสำหรับแจกเด็กนักเรียนห้ามขาย ด้านหลังมีคำว่าพิมพ์ที่โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรมการปกครอง ถนนพหลโยธินฯลฯ และระบุชื่อนาย พ. ผู้พิมพ์โฆษณา กับมีคำแนะนำในเรื่องให้ยืมหนังสือหรือแบบเรียน ชี้ให้เห็นว่าโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นและนาย พ. เป็นผู้รับผิดชอบในการพิมพ์หนังสือแบบเรียนตามฟ้องทุกเล่ม แม้ความจริงจะพิมพ์โดยจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 ตามพฤติการณ์เหล่านี้ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 ย่อมเข้าใจว่าโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นนาย พ. และกรมการปกครองได้รับอนุญาตจากโจทก์ให้พิมพ์หนังสือแบบเรียนดังกล่าวได้ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 จึงมิได้จงใจละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 8 ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการฝ่ายพิมพ์ โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น และจำเลยที่ 9 ซึ่งเป็นหัวหน้าแผนกจำหน่ายของโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น ก็เข้าใจว่ากรมการปกครองและองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้รับอนุญาตให้จัดพิมพ์หนังสือแบบเรียนของโจทก์ในปี พ.ศ. 2517, 2520 และ 2521 ดังเช่นที่เคยได้รับอนุญาตมาก่อน การที่จำเลยที่ 8 ที่ 9 ว่าจ้างจำเลยที่ 1 พิมพ์หนังสือแบบเรียนตามฟ้องตามคำสั่งของกรมการปกครองและองค์การบริหารส่วนจังหวัดอันเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบ จึงเป็นการกระทำที่มิได้จงใจละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2358/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิดลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองวรรณกรรมฯ และอำนาจฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องมีใจความว่า ตำราเรียนภาษาอังกฤษรายพิพาทนั้นโจทก์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ จำเลยปลอมแปลงลอกเลียนออกจำหน่าย เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหาย ดังนี้เป็นการบรรยายฟ้องเรียกค่าเสียหายในการละเมิดลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรมพ.ศ.2474 หาใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่
พระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พ.ศ.2474 มาตรา 24 อันเป็นบทบัญญัติอยู่ในส่วนแพ่ง คือส่วนที่ 4 ว่าด้วยสิทธิแก้ในทางแพ่งซึ่งการละเมิดลิขสิทธิ์บัญญัติว่า "คดีละเมิดลิขสิทธิ์นั้นท่านมิให้ฟ้องเมื่อพ้นสามปีนับแต่วันละเมิด" จึงต้องใช้อายุความสามปีดังกล่าวมาบังคับ จำเลยกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์คือขายหนังสือที่คัดลอกเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2515 โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2516 คดีของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2358/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิดลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองวรรณกรรมฯ 3 ปี และอำนาจฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องมีใจความว่า ตำราเรียนภาษาอังกฤษรายพิพาทนั้นโจทก์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ จำเลยปลอมแปลงลอกเลียนออกจำหน่าย เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหาย ดังนี้เป็นการบรรยายฟ้องเรียกค่าเสียหายในการละเมิดลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พ.ศ.2474 หาใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่
พระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พ.ศ.2474 มาตรา 24 อันเป็นบทบัญญัติอยู่ในส่วนแพ่ง คือส่วนที่ 4 ว่าด้วยสิทธิแก้ในทางแพ่งซึ่งการละเมิดลิขสิทธิ์บัญญัติว่า "คดีละเมิดลิขสิทธิ์นั้นท่านมิให้ฟ้องเมื่อพ้นสามปีนับแต่วันละเมิด" จึงต้องใช้อายุความสามปีดังกล่าวมาบังคับ จำเลยการทำการละเมิดลิขสิทธิ์คือขายหนังสือที่คัดลอกเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2515 โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2516 คดีของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ