คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 พ.ศ.2515 ข้อ 2(6)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2295/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน ไม่ใช่เงินปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 166 แต่มีอายุความ 10 ปีตามมาตรา 164
เงินสมทบกองทุนเงินทดแทนที่ นายจ้าง ต้อง ชำระให้แก่กองทุนเงินทดแทน หาใช่เงินปีตาม ความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 ไม่ เมื่อไม่มีกฎหมายใด กำหนดอายุความในเรื่องนี้ไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความสิบปีตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2911/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าทดแทนกรณีลูกจ้างเสียชีวิตจากการทำงาน ต้องพิสูจน์ความเชื่อมโยงโดยตรงระหว่างงานและโรคที่เป็นเหตุ
โรคหรือการเจ็บป่วยอย่างอื่นที่ทำให้ลูกจ้างถึงแก่ ความตาย อันเป็นผลให้นายจ้างต้องจ่ายค่าทดแทนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องโรคซึ่งเกิดขึ้นเกี่ยวเนื่องกับการทำงานฯ ข้อ 22 จะต้องเป็นโรคหรือการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นสืบเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างโดยตรงหรืออีกนัยหนึ่งก็คืองานที่ลูกจ้างทำนั้นเป็นมูลให้เกิดโรคหรือการเจ็บป่วยขึ้นและเป็นเหตุให้ลูกจ้างถึงแก่ความตายด้วยโรคและการเจ็บป่วยดังกล่าวปกติลูกจ้างผู้ตายมีหน้าที่คุมประแจทำความสะอาดสถานีรถไฟและแขวนห่วงทางสะดวกมิใช่เป็นงานที่ก่อให้เกิดโรคหรือการเจ็บป่วยเป็นลมในปัจจุบันเมื่อปรากฏว่าผู้ตายมิได้ทำงานตรากตรำแต่ทำงานทุกวันโดยไม่มีวันหยุดและถึงแก่ความตายทันทีทันใดที่ปฏิบัติหน้าที่และกำลังปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ยังถือไม่ได้ว่าผู้ตายถึงแก่ความตายด้วยโรคหรือการเจ็บป่วยซึ่งเป็นผลเนื่องจากการทำงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1047/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นายจ้างเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ทำละเมิดต่อลูกจ้าง: สิทธิเรียกร้องตามกฎหมายแรงงานและประมวลกฎหมายแพ่ง
โจทก์มิใช่ผู้ถูกทำละเมิด หากเป็นเพียงนายจ้างของผู้ถูกทำละเมิด เป็นบุคคลภายนอก ที่โจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเอากับจำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้ต้องมีกฎหมายรับรองสิทธิของโจทก์ค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้อง (ค่ารักษาพยาบาล ค่าทำศพ ค่าทดแทน และค่าชดเชย)ของผู้ถูกทำละเมิดเป็นเงินที่โจทก์จ่ายให้ลูกจ้างตามคำสั่งของแรงงานจังหวัด ผูกพันกันตามกฎหมายแรงงานซึ่งเป็นคนละเรื่องกับค่าสินไหมทดแทนที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 จะต้องรับผิดชดใช้ให้โจทก์กรณีที่ต้องขาดแรงงานในมูลละเมิด
ตามฟ้องของโจทก์ได้ความแล้วว่า โจทก์เป็นนายจ้างของลูกจ้างที่ได้รับอันตรายถึงตายและบาดเจ็บเพราะการกระทำโดยประมาทของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างกระทำไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 โจทก์ต้องขาดแรงงานระหว่างลูกจ้างบาดเจ็บต้องจ่ายเงินเดือนระหว่างลูกจ้างปฏิบัติงานไม่ได้ โรงงานต้องหยุดกิจการเพราะขาดแรงงาน ถือได้ว่าโจทก์เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 445 แล้ว จำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงต้องรับผิดในค่าสินไหมทดแทนส่วนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2379/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดนายจ้างต่อการประสบอันตรายของลูกจ้างขณะเดินทางไปทำงาน ต้องเป็นการเดินทางตามคำสั่งหรือเพื่อประโยชน์ของนายจ้าง
ลูกจ้างมีหน้าที่เดินตลาดและเก็บเงินจากลูกค้า นายจ้างมอบรถจักรยานยนต์ไว้ให้ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ โดยให้ดูแลรักษาและอนุญาตให้นำรถกลับบ้านและขับมาทำงานที่สำนักงานด้วย ขณะที่ลูกจ้างประสบอันตรายนั้นเป็นเวลาที่ลูกจ้างขับรถจักรยานยนต์จากบ้านจะไปสำนักงานเพื่อปฏิบัติงานตามปกติ มิได้ประสบอันตรายในขณะที่กำลังเดินทางไปหรือกลับจากการปฏิบัติงานตามคำสั่งของนายจ้าง จึงมิใช่เป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง และมิใช่เป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้าง นายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินทดแทนให้