คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 พ.ศ.2515 ม. 2 (6)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1043/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับใช้ พ.ร.บ.เงินทดแทนหลังยกเลิกประกาศคณะปฏิวัติ และการวินิจฉัยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการแจ้งผลอุทธรณ์
พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1กรกฎาคม 2537 เป็นต้นไป
เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2538 ป.บุตรโจทก์ที่ 1 และเป็นบิดาโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงานให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างปัญหาว่าจำเลยจะต้องรับผิดจ่ายเงินทดแทนให้แก่โจทก์หรือไม่ จึงต้องพิจารณาจากบทบัญญัติของ พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 เนื่องจาก พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 มาตรา 3 ให้ยกเลิกข้อ 2 (6) และข้อ 3 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 ซึ่งเกี่ยวกับเงินทดแทน
การที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่าลักษณะงานที่จำเลยจ้าง ป.ทำในคดีนี้เป็นงานเกษตรกรรมที่มิได้จ้าง ป.ให้ทำงานตลอดปีและไม่มีงานอื่นรวมอยู่ด้วยกรณีจึงมิได้อยู่ในบังคับของกฎหมายคุ้มครองแรงงานตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสาม เมื่อเป็นการนำกฎหมายในส่วนที่ถูกยกเลิกไปแล้วมาบังคับ คำวินิจฉัยของศาลแรงงานดังกล่าวย่อมไม่ชอบ ข้อนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5), 246 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
เมื่อปัญหาว่าจำเลยต้องปฏิบัติตามคำสั่งพนักงานเจ้าหน้าที่ เรื่องเงินทดแทน เพราะจำเลยมิได้นำคดีไปสู่ศาลแรงงานภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนเป็นที่สุดตามอุทธรณ์โจทก์ทั้งสามหรือไม่นั้น เป็นข้อเท็จจริงซึ่งศาลแรงงานต้องวินิจฉัยในประเด็นที่ว่า จำเลยได้รับแจ้งผลการพิจารณาอุทธรณ์ของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนแล้วหรือไม่เสียก่อนเมื่อศาลแรงงานยังมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงดังกล่าวมา จึงไม่มีข้อเท็จจริงที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยข้อกฎหมายตามอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสาม จึงให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทดังกล่าว ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 243 ประกอบพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31,56 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2295/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน ไม่ใช่เงินปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 166 แต่มีอายุความ 10 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 164
เงินสมทบกองทุนเงินทดแทนที่นายจ้างต้องชำระให้แก่กองทุนเงินทดแทน หาใช่เงินปีตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 ไม่ เมื่อไม่มีกฎหมายใดกำหนดอายุความในเรื่องนี้ไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5788/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าสินไหมทดแทนจากประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล ไม่ใช่เงินทดแทนตามกฎหมายแรงงาน แม้จ่ายโดยนายจ้าง
บริษัท ส. นายจ้างเดิมของ พ. ซึ่งเป็นบริษัทในเครือเดียวกันบริษัทจำเลยที่ 2 นายจ้างคนใหม่ของ พ.ได้เอาประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลให้แก่ พ.กรมธรรม์ประกันภัยมิได้มีข้อความกำหนดว่าต้องเป็นอุบัติเหตุอัน เนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างแต่เพียงประการเดียวแม้ลูกจ้างผู้เอาประกันภัยจะประสบอันตรายโดยมิได้เกิด ขึ้นจากอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยอันเนื่องจากการทำงานหรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้างบริษัทประกันภัยก็ยังคงมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาแม้บริษัท ส.จะเป็นผู้ชำระเบี้ยประกันก็เป็นเพียงการให้สวัสดิการเพื่อบำรุงขวัญและเป็นกำลังใจในการปฏิบัติงานในหน้าที่ของ พ. เท่านั้นค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทของ พ.ได้รับจากบริษัทประกันภัยจึงมิใช่เป็นเงินทดแทนตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ซึ่งเป็นหน้าที่ของบริษัทจำเลยที่ 2 ผู้เป็นนายจ้างที่จะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อลูกจ้างประสบอันตราย เจ็บป่วยหรือถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง
กรณีที่นายจ้างได้เอาประกันการจ่ายเงินทดแทนไว้กับบริษัทประกันภัยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ประเภท ขนาดของกิจการและท้องที่ที่ให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน ฉบับที่ 13 ข้อ 4 นั้น เป็นกรณีที่นายจ้างได้เอาประกันไว้แล้วไม่ต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทนสำหรับลูกจ้างที่เอาประกันไว้เท่านั้น หาได้กำหนดว่าเงินที่เอาประกันภัยเป็นเงินทดแทนไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2911/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าทดแทนกรณีลูกจ้างถึงแก่ความตายจากการทำงาน ต้องพิสูจน์ความเชื่อมโยงโดยตรงระหว่างงานและโรค/การเจ็บป่วย
โรคหรือการเจ็บป่ายอย่างอื่นที่ทำให้ลูกจ้างถึงแก่ความตาย อันเป็นผลให้นายจ้างต้องจ่ายค่าทดแทน ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง โรคซึ่งเกิดขึ้นเกี่ยวเนื่องกับการทำงาน ฯ ข้อ 22 จะต้องเป็นโรคหรือการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น สืบเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างโดยตรง หรืออีกนัยหนึ่งก็คืองานที่ลูกจ้างทำนั้นเป็นมูลให้เกิดโรค หรือการเจ็บป่วยขึ้น และเป็นเหตุให้ลูกจ้างถึงแก่ความตายด้วยโรคและการเจ็บป่วยดังกล่าว ปกติลูกจ้างผู้ตายมีหน้าที่คุมประแจ ทำความสะอาดสถานีรถไฟและแขวนพ่วงทางสะดวก มิใช่เป็นงานที่ก่อให้เกิดโรคหรือการเจ็บป่วยเป็นลมในปัจจุบัน เมื่อปรากฏว่าผู้ตายมิได้ทำงานตรากตรำ แต่ทำงานทุกวันโดยไม่มีวันหยุด และถึงแก่ความตายทันทีทันใดที่ปฏิบัติหน้าที่ และกำลังปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ยังถือไม่ได้ว่าผู้ตายถึงแก่ความตายด้วยโรคหรือการเจ็บป่วย ซึ่งเป็นผลเนื่องจากการทำงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2379/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดนายจ้างต่ออุบัติเหตุลูกจ้างขณะเดินทางไปทำงาน การคุ้มครองแรงงาน
ลูกจ้างมีหน้าที่เดินตลาดและเก็บเงินจากลูกค้า นายจ้างมอบรถจักรยานยนต์ไว้ให้ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ โดยให้ดูแลรักษาและอนุญาตให้นำรถกลับบ้านและขับมาทำงานที่สำนักงานด้วย ขณะที่ลูกจ้างประสบอันตรายนั้นเป็นเวลาที่ลูกจ้างขับรถจักรยานยนต์จากบ้านจะไปสำนักงานเพื่อปฏิบัติงานตามปกติ มิได้ประสบอันตรายในขณะที่กำลังเดินทางไปหรือกลับจากการปฏิบัติงานตามคำสั่งของนายจ้าง จึงมิใช่เป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง และมิใช่เป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้าง นายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินทดแทนให้