คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 821

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 487 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 472/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ - ความรับผิดของตัวการต่อบุคคลภายนอกที่ซื้อรถยนต์จากตัวแทน
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยทั้งสองประกอบกิจการขายรถยนต์ โดยจำเลยที่ 2มีชื่อเป็นเจ้าของในทะเบียน และเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์พิพาท โจทก์ซื้อรถยนต์พิพาทจากจำเลยที่ 1 แล้วโจทก์ได้ส่งมอบรถยนต์ให้แก่ลูกค้าของโจทก์ไป แม้ตามสัญญาซื้อขายและส่งมอบรถยนต์คันพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองมีเงื่อนไขว่ากรรมสิทธิ์ในรถยนต์ของจำเลยที่ 2 จะโอนเป็นของจำเลยที่ 1ผู้ซื้อต่อเมื่อชำระราคาครบถ้วนแล้วก็ตาม แต่จำเลยที่ 1ยังไม่ได้ชำระราคาให้จำเลยที่ 2 แม้แต่เพียงบางส่วนและจำเลยที่ 2 ผู้ขายก็มิได้กำหนดราคารถยนต์ที่ขายหรือตกลงกันในสัญญาว่า ให้กำหนดกันด้วยวิธีอย่างใดอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 487 และมิได้กำหนดระยะเวลาให้จำเลยที่ 1 ชำระราคารถยนต์ดังกล่าวไว้ด้วยย่อมเห็นได้ว่าสัญญาซื้อขายและส่งมอบรถยนต์ระหว่างจำเลยทั้งสองไม่มีลักษณะเป็นสัญญาซื้อขายกันตามปกติ การที่จำเลยที่ 2ส่งมอบรถยนต์พิพาทให้อยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1ซึ่งประกอบกิจการขายรถยนต์เช่นเดียวกับจำเลยที่ 2 ในประการที่เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 จะนำรถยนต์ดังกล่าวไปขายแก่บุคคลทั่ว ๆ ไปพฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวการที่ไม่เปิดเผยชื่อและยอมให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนทำการออกนอกหน้าเป็นตัวการว่าเป็นเจ้าของหรือผุ้มีสิทธิขายรถยนต์พิพาทแล้ว เมื่อโจทก์ซื้อรถยนต์พิพาทมาโดยสุจริต จำเลยที่ 2จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาซื้อขายและต้องจดทะเบียนกรรมสิทธิ์รถยนต์พิพาทพร้อมมอบสมุดจดทะเบียนให้แก่โจทก์ หากจำเลยที่ 2ไม่ดำเนินการศาลย่อมพิพากษาให้ถือคำพิพากษาของศาลเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 2 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 472/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์กรณีตัวแทนจำกัดอำนาจและการซื้อขายโดยสุจริต
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยทั้งสองประกอบกิจการขายรถยนต์ โดยจำเลยที่ 2 มีชื่อเป็นเจ้าของในทะเบียน และเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์พิพาท โจทก์ซื้อรถยนต์พิพาทจากจำเลยที่ 1 แล้วโจทก์ได้ส่งมอบรถยนต์ให้แก่ลูกค้าของโจทก์ไป แม้ตามสัญญาซื้อขายและส่งมอบรถยนต์คันพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองมีเงื่อนไขว่ากรรมสิทธิ์ในรถยนต์ของจำเลยที่ 2 จะโอนเป็นของจำเลยที่ 1 ผู้ซื้อต่อเมื่อชำระราคาครบถ้วนแล้วก็ตาม แต่จำเลยที่ 1 ยังไม่ได้ชำระราคาให้จำเลยที่ 2 แม้แต่เพียงบางส่วน และจำเลยที่ 2 ผู้ขายก็มิได้กำหนดราคารถยนต์ที่ขายหรือตกลงกันในสัญญาว่า ให้กำหนดกันด้วยวิธีอย่างใดอย่างหนึ่งตามป.พ.พ.มาตรา 487 และมิได้กำหนดระยะเวลาให้จำเลยที่ 1 ชำระราคารถยนต์ดังกล่าวไว้ด้วย ย่อมเห็นได้ว่าสัญญาซื้อขายและส่งมอบรถยนต์ระหว่างจำเลยทั้งสองไม่มีลักษณะเป็นสัญญาซื้อขายกันตามปกติ การที่จำเลยที่ 2 ส่งมอบรถยนต์พิพาทให้อยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1 ซึ่งประกอบกิจการขายรถยนต์เช่นเดียวกับจำเลยที่ 2 ในประการที่เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 จะนำรถยนต์ดังกล่าวไปขายแก่บุคคลทั่ว ๆ ไปพฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวการที่ไม่เปิดเผยชื่อและยอมให้จำเลยที่ 1ซึ่งเป็นตัวแทนทำการออกนอกหน้าเป็นตัวการว่าเป็นเจ้าของหรือผู้มีสิทธิขายรถยนต์พิพาทแล้ว เมื่อโจทก์ซื้อรถยนต์พิพาทมาโดยสุจริต จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาซื้อขายและต้องจดทะเบียนกรรมสิทธิ์รถยนต์พิพาทพร้อมมอบสมุดจดทะเบียนให้แก่โจทก์ หากจำเลยที่ 2 ไม่ดำเนินการศาลย่อมพิพากษาให้ถือคำพิพากษาของศาลเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 2 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6484/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายรถยนต์โดยตัวแทนเชิด ตัวการต้องผูกพันตามสัญญา แม้จะไม่ได้เปิดเผยชื่อ
รถยนต์พิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 ได้ให้จำเลยที่ 1 เช่าซื้อไปโดยจำเลยที่ 1 ยังชำระค่าเช่าซื้อไม่ครบ ต่อมาโจทก์ได้ติดต่อซื้อรถยนต์คันดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 โดยตกลงซื้อเป็นเงินสด ขณะที่โจทก์ไปติดต่อซื้อรถยนต์พิพาท รถยนต์พิพาทอยู่ที่สำนักงานจำเลยที่ 1 แล้ว การที่จำเลยทั้งสองติดต่อค้าขายกันมาก่อน และจำเลยที่ 2 ทราบว่าจำเลยที่ 1 มีอาชีพซื้อขายรถยนต์ นอกจากนี้ในการนำรถยนต์ไปจอดขาย จำเลยทั้งสองมีเงื่อนไขว่าถ้าจำเลยที่ 1 จะขายรถยนต์ให้ผู้ใด จำเลยที่ 1จะต้องมาแจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบและชำระเงินส่วนที่เหลือให้เรียบร้อยก่อน โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 ดังนี้ จำเลยที่ 1 ย่อมมิใช่เป็นตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 2 แต่เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการไม่เปิดเผยชื่อยอมให้จำเลยที่ 1 ผู้เป็นตัวแทนทำการออกหน้าเป็นตัวการว่าจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรถยนต์พิพาท ตาม ป.พ.พ.มาตรา 806 เมื่อจำเลยที่ 1 ขายรถยนต์พิพาทให้แก่โจทก์จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการจึงต้องผูกพันด้วย จำเลยที่ 2 จะอ้างว่าจำเลยที่ 1 ขายรถยนต์โดยพลการและไม่นำเงินมาชำระให้จำเลยที่ 2 เพื่อยันแก่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตและขวนขวายได้สิทธิโดยได้ซื้อรถยนต์มาจากจำเลยที่ 1 ก่อนที่จะรู้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 หาได้ไม่ ส่วนการที่จำเลยที่ 1 ไม่นำเงินค่ารถยนต์ไปชำระให้จำเลยที่ 2 เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 จะต้องไปว่ากล่าวเอาแก่จำเลยที่ 1 เอง จำเลยที่ 2 จึงมีหน้าที่ไปจดชื่อโจทก์ในทะเบียนรถยนต์พิพาทและมอบทะเบียนรถยนต์พิพาทให้โจทก์กับต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6484/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนเชิด ตัวการไม่เปิดเผยชื่อ ความรับผิดต่อบุคคลภายนอกสุจริต การซื้อขายรถยนต์
รถยนต์พิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 ได้ให้จำเลยที่ 1เช่าซื้อไปโดยจำเลยที่ 1 ยังชำระค่าเช่าซื้อไม่ครบต่อมาโจทก์ได้ติดต่อซื้อรถยนต์คันดังกล่าวจากจำเลยที่ 1โดยตกลงซื้อเป็นเงินสด ขณะที่โจทก์ไปติดต่อซื้อรถยนต์พิพาท รถยนต์พิพาทอยู่ที่สำนักงานจำเลยที่ 1 แล้ว การที่จำเลยทั้งสอง ติดต่อค้าขายกันมาก่อน และจำเลยที่ 2 ทราบว่าจำเลยที่ 1 มีอาชีพซื้อขายรถยนต์ นอกจากนี้ในการนำรถยนต์ ไปจอดขาย จำเลยทั้งสองมีเงื่อนไขว่าถ้าจำเลยที่ 1 จะขายรถยนต์ให้ผู้ใด จำเลยที่ 1 จะต้องมาแจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบและชำระเงินส่วนที่เหลือให้เรียบร้อยก่อน โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 ดังนี้ จำเลยที่ 1 ย่อมมิใช่เป็นตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 2 แต่ เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการไม่เปิดเผยชื่อ ยอมให้จำเลยที่ 1 ผู้เป็นตัวแทนทำการออกหน้าเป็น ตัวการว่าจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรถยนต์พิพาท ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 806 เมื่อจำเลยที่ 1 ขายรถยนต์พิพาทให้แก่โจทก์จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวการ จึงต้องผูกพันด้วย จำเลยที่ 2 จะอ้างว่าจำเลยที่ 1 ขายรถยนต์โดยพลการและไม่นำเงินมาชำระให้จำเลยที่ 2 เพื่อยันแก่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตและขวนขวาย ได้สิทธิโดยได้ซื้อรถยนต์มาจากจำเลยที่ 1 ก่อนที่จะรู้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 หาได้ไม่ ส่วนการที่ จำเลยที่ 1 ไม่นำเงินค่ารถยนต์ไปชำระให้จำเลยที่ 2 เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 จะต้องไปว่ากล่าวเอาแก่จำเลยที่ 1 เอง จำเลยที่ 2 จึงมีหน้าที่ไปจดชื่อโจทก์ในทะเบียนรถยนต์ พิพาทและมอบทะเบียนรถยนต์พิพาทให้โจทก์กับต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4752/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนตามกฎหมาย: การเชิดตัวแทนและผลผูกพันสัญญา แม้ไม่มีหลักฐานแสดงความเป็นตัวแทนโดยชัดแจ้ง
แม้สัญญาจ้างเหมาเรือจะไม่ระบุว่าบริษัท ค. เป็นตัวแทนหรือกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่สินค้าคือปูนซีเมนต์ที่บรรทุกมากับเรือนั้นเป็นของจำเลยที่ 1 ที่สั่งซื้อจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนเพื่อนำมายังประเทศไทยซึ่งเป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 ใบตราส่งก็ระบุว่าผู้รับตราส่งหรือผู้รับสินค้าคือจำเลยที่ 1 เมื่อเรือขนสินค้ามาถึงท่าเรือเกาะสีชัง ประเทศไทยแล้ว นายเรือก็ได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่ 1 ไปทำการขนสินค้าตามหนังสือบอกกล่าวความพร้อมซึ่งระบุว่าจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้เช่า/ผู้รับสินค้า ต่อมาโจทก์ที่ 1 ได้ทำการกักสินค้า จำเลยที่ 1 ได้ติดต่อบริษัท ค. ให้ติดต่อฝ่ายโจทก์ให้ปล่อยสินค้าโดยระบุว่าเป็นความผิดของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ได้โอนเงินค่าระวางเรือจำนวน 160,000 ดอลลาร์สหรัฐ มาเรียบร้อยแล้ว โดยจำเลยที่ 1 จะรับผิดชอบเรื่องค่าเรือเสียเวลาจำนวน 1,550,000 บาท โดยให้ธนาคารทำสัญญาค้ำประกัน ทั้งปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ให้จำเลยที่ 2 ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันไว้แก่โจทก์ที่ 1 เป็นจำนวน 1,550,000 บาท ด้วย เมื่อขนถ่ายสินค้าเสร็จแล้วจำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าเรือเสียเวลาให้แก่โจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 1 ได้ทวงถามตามหนังสือทวงถามซึ่งระบุว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้เช่าเหมาเรือ จำเลยที่ 1 ก็ไม่เคยโต้แย้งว่าจำเลยที่ 1 ไม่ใช่ผู้เช่าเรือเลย สัญญาที่จำเลยที่ 1 จ้างบริษัท ค. ขนถ่ายสินค้านั้นปรากฏข้อความว่าจำเลยที่ 1 ให้บริษัท ค. จัดเตรียมเรือเดินทะเลเพื่อขนถ่ายสินค้าทำนองให้กระทำการแทนเท่านั้น พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าจำเลยที่ 1ได้เชิดบริษัท ค. เป็นตัวแทน
แม้คำฟ้องโจทก์ที่ 1 จะบรรยายฟ้องว่า บริษัท ค. ทำสัญญาแทนจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่ก็เป็นการบรรยายฟ้องในเรื่องกฎหมายลักษณะตัวการตัวแทน เมื่อคดีฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เชิดบริษัท ค. เป็นตัวแทนจำเลยที่ 1 ศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิดในเรื่องตัวการตัวแทนได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
(วรรคนี้วินิจฉัยตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 8191/2538)
ตามสัญญาจ้างเหมาเรือไม่มีข้อห้ามว่ากรณีที่มิได้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการแล้ว ห้ามมิให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดฟ้องคดี นอกจากนี้ ป.วิ.พ. ลักษณะ 2 ว่าด้วยวิธีพิจารณาวิสามัญในศาลชั้นต้น หมวด 3 ว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ และ พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 ก็มิได้มีข้อห้ามมิให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดฟ้องโดยมิได้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อนเช่นเดียวกัน ยิ่งกว่านั้นตาม พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 10 บัญญัติว่า "ในกรณีที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องคดีเกี่ยวกับข้อพิพาทตามสัญญาอนุญาโตตุลาการโดยมิได้เสนอข้อพิพาทนั้นต่ออนุญาโตตุลาการตามสัญญา คู่สัญญาฝ่ายที่ถูกฟ้องอาจยื่นคำร้องต่อศาลก่อนวันสืบพยานหรือก่อนมีคำพิพากษาในกรณีที่ไม่มีการสืบพยาน ให้มีคำสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้คู่สัญญาดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการก่อน และเมื่อศาลทำการไต่สวนแล้วไม่ปรากฏว่ามีเหตุที่ทำให้สัญญาอนุญาโตตุลาการนั้นเป็นโมฆะหรือใช้บังคับไม่ได้ด้วยเหตุประการอื่นหรือมีเหตุที่ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญานั้นได้ ก็ให้มีคำสั่งจำหน่ายคดีนั้นเสีย" แสดงให้เห็นว่า ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอำนาจที่จะฟ้องคดีได้โดยไม่ต้องเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดก่อน แม้จำเลยที่ 2 จะยื่นคำให้การ แต่จำเลยทั้งสองไม่ได้ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ศาลไต่สวนก่อนตามที่กฎหมายกำหนด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องและศาลไม่จำต้องจำหน่ายคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3508/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมรับประโยชน์จากการกระทำของลูกจ้าง และการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ทำให้ตัวการไม่ต้องรับผิด
เมื่อการซื้อขายรายพิพาทที่จำเลยกระทำต่อผู้ซื้อซึ่งเป็นลูกค้าของโจทก์มีการชำระเงินสดให้เพียง 100,000 บาท ส่วนราคารถที่เหลืออีก 1,416,000 บาท ผู้ซื้อได้ชำระเป็นเช็ค แม้จะเป็นการผิดระเบียบการขายรถยนต์และข้อบังคับในการ ปล่อยรถยนต์ตามหลักเกณฑ์ที่โจทก์วางไว้ ซึ่งปรากฏต่อมาว่า โจทก์ผู้เป็นนายจ้างไม่สามารถเรียกเก็บเงินตามเช็คได้ เพราะธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน แต่การที่ผู้ซื้อได้นำเช็ค ฉบับใหม่มาเปลี่ยนถึงสองครั้ง และโจทก์ไม่สามารถ เรียกเก็บเงินตามเช็คที่นำมาแลกเปลี่ยนได้ โจทก์จึง ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อให้ดำเนินคดีแก่ผู้ซื้อ พฤติการณ์ที่โจทก์กระทำต่อผู้ซื้อซึ่งเป็นลูกค้าถือได้ว่า โจทก์ยอมรับเอาประโยชน์จากการกระทำของจำเลยซึ่งเป็น ลูกจ้างแล้วและไม่ถือว่าจำเลยผิดสัญญาต่อโจทก์ ทั้งเป็น กรณีที่โจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 5 แต่กรณีมิใช่เป็นเรื่องตัวการให้สัตยาบันในการขายรถยนต์ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในค่าขาดราคาจำเลยอื่นซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยต่อโจทก์ก็ย่อมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย เมื่อหนี้รายนี้เป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ จึงมีเหตุที่ศาลฎีกาควรพิพากษาให้จำเลยที่มิได้อุทธรณ์ให้ได้รับผลเป็นคุณตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1)ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณา คดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2885/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินของเจ้าของรวมที่ไม่ได้รับความยินยอม สิทธิของเจ้าของรวม
คดีก่อนมีประเด็นว่า จำเลยที่ 1 ต้องไถ่ถอนจำนองและโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์หรือไม่ แต่ในคดีนี้มีประเด็นว่า โจทก์ชอบที่จะขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างจำเลยทั้งสองหรือไม่ นอกจากนี้แล้วโจทก์ก็เพียงแต่ยื่นคำร้องสอดเพื่อขอเข้ามาเป็นคู่ความในคดีก่อน แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง ฉะนั้นโจทก์จึงเป็นบุคคลภายนอก ไม่มีฐานะเป็นคู่ความในคดีดังกล่าว กรณีจึงมิใช่เป็นเรื่องที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้วคู่ความเดียวกันมารื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148 ทั้งมิใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามมาตรา 144 ด้วย
การยินยอมให้ผู้เป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนเจ้าของรวมคนอื่นไว้นั้น เป็นความตกลงที่บุคคลสามารถกระทำได้ด้วยไม่ประสงค์จะเปิดเผยชื่อของตน แม้จะเป็นด้วยเหตุผลอย่างหนึ่งอย่างใดก็ตาม การกระทำเช่นว่านั้นก็ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าเป็นโมฆะ ดังนั้น หากโจทก์เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทคนหนึ่ง และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของรวมอีกคนหนึ่งนำที่ดินพิพาททั้งแปลงไปทำสัญญาจะซื้อจะขายแก่จำเลยที่ 2 โดยโจทก์มิได้ยินยอม โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทได้
โจทก์ได้อ้างส่งบันทึกเกี่ยวกับการแบ่งส่วนที่ดินต่อศาล แม้เป็นสำเนาเอกสาร แต่เจ้าพนักงานศาลก็ได้รับรองสำเนาถูกต้องแล้ว และในเวลาต่อมาโจทก์ก็ได้ส่งต้นฉบับต่อศาลชั้นต้นด้วย กรณีจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีได้ตามป.วิ.พ.มาตรา 93 ส่วนการพิสูจน์ว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงหรือปลอมนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับการนำสืบแสดงของคู่ความ
การพิสูจน์ว่าผู้ซึ่งไม่มีชื่อในโฉนดที่ดินเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีเอกสารมาแสดง จึงหาอยู่ในบังคับของ ป.วิ.พ.มาตรา94 ไม่ โจทก์จึงนำสืบพยานบุคคลได้
จำเลยที่ 1 นำที่ดินพิพาททั้งแปลงรวมทั้งส่วนของโจทก์ไปทำสัญญาจะซื้อจะขายให้แก่จำเลยที่ 2 โดยที่โจทก์และเจ้าของรวมคนอื่นไม่ทราบเรื่องและมิได้ให้ความยินยอมด้วย สัญญาดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันกรรมสิทธิ์ส่วนของโจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1361 วรรคสอง อีกทั้งคดีนี้ก็เป็นกรณีโจทก์มีกรรมสิทธิ์รวมมาแต่แรก แต่ลงชื่อจำเลยที่ 1 ถือกรรมสิทธิ์แทนเท่านั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องการได้อสังหาริมทรัพย์มาโดยการมาตกลงให้ถือกรรมสิทธิ์รวมในภายหลังอันจะต้องตกอยู่ในบังคับของ ป.พ.พ.มาตรา 1299 วรรคหนึ่ง ที่จะต้องมีการทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เสียก่อน และการที่โจทก์และเจ้าของรวมคนอื่นเพียงแต่ตกลงยินยอมให้ลงชื่อจำเลยที่ 1 ผู้เดียวในโฉนดที่ดินพิพาทโดยมิได้มีพฤติการณ์อื่นใดอีกนั้น ย่อมไม่อาจถือว่าเป็นการเชิดจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนในการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันทำสัญญาดังกล่าวโจทก์ก็มิได้ร่วมอยู่ด้วย ฉะนั้น โจทก์จึงมิใช่ตัวการที่จะต้องรับผิดในการกระทำของจำเลยที่ 1 กรณีเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 นำที่ดินส่วนของโจทก์ไปทำสัญญาจะซื้อจะขายให้จำเลยที่ 2 โดยไม่มีอำนาจกระทำได้ โจทก์จึงฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2885/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของรวม - เพิกถอนสัญญาจะซื้อขายที่ดิน - การยินยอม - อายุความ
คดีก่อนมีประเด็นว่า จำเลยที่ 1 ต้องไถ่ถอนจำนองและโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์หรือไม่ แต่ในคดีนี้มีประเด็นว่า โจทก์ชอบที่จะขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างจำเลยทั้งสองหรือไม่ นอกจากนี้แล้วโจทก์ก็เพียงแต่ยื่นคำร้องสอดเพื่อขอเข้ามาเป็นคู่ความในคดีก่อน แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง ฉะนั้นโจทก์จึงเป็นบุคคลภายนอก ไม่มีฐานะเป็นคู่ความในคดีดังกล่าว กรณีจึงมิใช่เป็นเรื่องที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้วคู่ความเดียวกันมารื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 ทั้งมิใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามมาตรา 144 ด้วย
การยินยอมให้ผู้เป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนเจ้าของรวมคนอื่นไว้นั้น เป็นความตกลงที่บุคคลสามารถกระทำได้ด้วยไม่ประสงค์จะเปิดเผยชื่อของตน แม้จะเป็นด้วยเหตุผลอย่างหนึ่งอย่างใดก็ตาม การกระทำเช่นว่านั้นก็ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าเป็นโมฆะ ดังนั้น หากโจทก์เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทคนหนึ่ง และจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นเจ้าของรวมอีกคนหนึ่งนำที่ดินพิพาททั้งแปลงไปทำสัญญาจะซื้อจะขายแก่จำเลยที่ 2โดยโจทก์มิได้ยินยอม โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทได้
โจทก์ได้อ้างส่งบันทึกเกี่ยวกับการแบ่งส่วนที่ดินต่อศาล แม้เป็นสำเนาเอกสาร แต่เจ้าพนักงานศาลก็ได้รับรองสำเนาถูกต้องแล้ว และในเวลาต่อมาโจทก์ก็ได้ส่งต้นฉบับต่อศาลชั้นต้นด้วย กรณีจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93 ส่วนการพิสูจน์ว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงหรือปลอมนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับการนำสืบแสดงของคู่ความ
การพิสูจน์ว่าผู้ซึ่งไม่มีชื่อในโฉนดที่ดินเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีเอกสารแสดง จึงหาอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 ไม่ โจทก์จึงนำสืบพยานบุคคลได้
จำเลยที่ 1 นำที่ดินพิพาททั้งแปลงรวมทั้งส่วนของโจทก์ไปทำสัญญาจะซื้อจะขายให้แก่จำเลยที่ 2 โดยที่โจทก์และเจ้าของรวมคนอื่นไม่ทราบเรื่องและมิได้ให้ความยินยอมด้วย สัญญาดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันกรรมสิทธิ์ส่วนของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1361 วรรคสองอีกทั้งคดีนี้ก็เป็นกรณีโจทก์มีกรรมสิทธิ์รวมมาแต่แรก แต่ลงชื่อจำเลยที่ 1ถือกรรมสิทธิแทนเท่านั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องการได้อสังหาริมทรัพย์มาโดยการมาตกลงให้ถือกรรมสิทธิ์รวมในภายหลังอันจะต้องตกอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคหนึ่งที่จะต้องมีการทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เสียก่อนและการที่โจทก์และเจ้าของรวมคนอื่นเพียงแต่ตกลงยินยอมให้ลงชื่อจำเลยที่ 1ผู้เดียวในโฉนดที่ดินพิพาทโดยมิได้มีพฤติการณ์อื่นใดอีกนั้น ย่อมไม่อาจถือว่าเป็นการเชิดจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนในการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันทำสัญญาดังกล่าวโจทก์ก็มิได้ร่วมอยู่ด้วย ฉะนั้น โจทก์จึงมิใช่ตัวการที่จะต้องรับผิดในการกระทำของจำเลยที่ 1 กรณีเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 นำที่ดินส่วนของโจทก์ไปทำสัญญาจะซื้อจะขายให้จำเลยที่ 2 โดยไม่มีอำนาจกระทำได้ โจทก์จึงฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2751/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนเชิด: สัญญาประนีประนอมยอมความผูกพันเจ้าของที่ดิน แม้ไม่มีการระบุตัวแทนหรือตัวการในสัญญา
เมื่อฟังได้ว่าจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทได้เชิด ให้ท. เป็นตัวแทนทำสัญญาประนีประนอมยอมความขายที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ ดังนั้น แม้สัญญาจะมิได้ระบุว่าท. ได้รับมอบหมายจากจำเลยหรือระบุว่าจำเลยเป็นตัวการในการขายที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ก็ตามก็ไม่เป็นเหตุทำให้จำเลยซึ่งเป็นตัวการพ้นความรับผิด ตามสัญญาที่ทำขึ้น และเนื่องจากกรณีนี้เป็นเรื่องตัวแทนเชิดมิใช่การแต่งตั้งตัวแทนตามปกติ การตั้งตัวแทนดังกล่าวจึงไม่จำต้องทำเป็นหนังสือตามนัยที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2511/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดกโดยผู้จัดการหลายคน สัญญาซื้อขายที่ดินทำโดยผู้จัดการคนหนึ่งมีผลผูกพันทายาทได้หากได้รับความยินยอม
ศาลมีคำสั่งตั้งให้จำเลยที่ 1 และ ท. เป็นผู้จัดการมรดกของ ป. ร่วมกัน และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1726 ก็มิได้มีความหมายว่าการกระทำตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดกหลายคนนั้น ต้องร่วมกันทำหรือร่วมกันลงชื่อในนิติกรรมทุกคน ดังนั้น การที่ ท. ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินและตึกแถวพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกเพียงผู้เดียวหากได้รับความยินยอมพร้อมใจของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกอีกคนหนึ่งแล้วก็ต้องถือว่าเป็นการจัดการมรดกร่วมกันแล้ว ขณะที่ ท. ทำสัญญาจะขายที่ดินและตึกแถวพิพาทให้แก่โจทก์ทายาทผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของ ป. ทราบดีว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของ ป. ร่วมกับ ท. ได้แจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบว่า ท. ทำสัญญาจะขายที่ดินและตึกแถวพิพาทให้แก่โจทก์ นอกจากนี้หลังจาก ป. ถึงแก่กรรมท. ได้ไปมาหาสู่เยี่ยมเยียนบุตรทุกคนและได้เรียกประชุมทายาท ประกอบทั้งบรรดาทายาทของ ป. ไม่เคยโต้แย้งคัดค้านการที่ ท. ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินและตึกแถวพิพาทแก่โจทก์เลยนับตั้งแต่วันทำสัญญาจนกระทั่ง ท. ถึงแก่กรรมเป็นเวลาถึง 6 ปีเศษ ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกร่วมของ ป. ร่วมรู้เห็นและทราบมาตั้งแต่ต้นแล้วว่า ท.ทำสัญญาจะขายที่ดินและตึกแถวพิพาทแก่โจทก์ ทั้งก่อนจะทำสัญญาดังกล่าว ท. ได้ปรึกษากับบรรดาทายาทแล้วกรณีจึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ยินยอมพร้อมใจให้ ท.ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินและตึกแถวพิพาทแก่โจทก์ ซึ่งต้องถือว่าเป็นการจัดการมรดกร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1726 แล้ว สัญญาจะซื้อขายที่ดินและตึกแถวพิพาทจึงผูกพันจำเลยจำเลยที่ 1 และทายาทของ ป.
of 49