คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 821

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 487 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 968/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแสดงออกเสมือนตัวแทนและการผูกพันตามสัญญาจ้าง
ว.เป็นผู้รับโจทก์เข้าทำงานในบริษัทจำเลย เป็นผู้ทำสัญญาจ้างโจทก์แทนจำเลย ซึ่งตามหนังสือจ้างงานดังกล่าวระบุว่า ว.มีตำแหน่งเป็นผู้จัดการฝ่ายธุรการบุคคลของบริษัทจำเลย และเมื่อมีกรณีที่โจทก์บกพร่องต่อหน้าที่ ว.ก็เป็นผู้เรียกโจทก์ไปตำหนิ เป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าจำเลยได้เชิด ว.ออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลย หรือรู้แล้วยอมให้ ว.เชิดตัวเขาเองออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลยในการจ้างหรือเลิกจ้างโจทก์ได้ ดังนั้น การที่ ว.บอกเลิกจ้างโจทก์จึงมีผลผูกพันจำเลยเสมือนว่า ว.เป็นตัวแทนของจำเลยตาม ป.พ.พ.และพาณิชย์ มาตรา 821

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 968/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนเชิด: ผลผูกพันนายจ้างต่อการเลิกจ้างโดยตัวแทนที่ได้รับมอบอำนาจ
ว. เป็นผู้รับโจทก์เข้าทำงานในบริษัทจำเลยเป็นผู้ทำสัญญาจ้างโจทก์แทนจำเลยซึ่งตามหนังสือจ้างงานดังกล่าวระบุว่าว. มีตำแหน่งเป็นผู้จัดการฝ่ายธุรการบุคคลของบริษัทจำเลยและเมื่อมีกรณีที่โจทก์บกพร่องต่อหน้าที่ว.ก็เป็นผู้เรียกโจทก์ไปตำหนิเป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าจำเลยได้เชิดว.ออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลยหรือรู้แล้วยอมให้ว. เชิดตัวเขาเองออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลยในการจ้างหรือเลิกจ้างโจทก์ได้ดังนั้นการที่ว. บอกเลิกจ้างโจทก์จึงมีผลผูกพันจำเลยเสมือนว่าว.เป็นตัวแทนของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา821

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 916/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ผ่านตัวแทนเชิด การพิสูจน์ความเป็นตัวแทน และผลกระทบต่อการระงับหนี้
การเป็นตัวแทนเชิดหาจำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือในการเป็นตัวแทนไม่แม้ส. ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อโจทก์มาแสดงว่าส. เป็นตัวแทนของโจทก์จำเลยก็อาจอ้างได้ว่าส.เป็นตัวแทนเชิดของโจทก์รับชำระหนี้เงินกู้แทนโจทก์ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์โดยวินิจฉัยว่าส. ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อโจทก์มาแสดงว่าส. เป็นตัวแทนของโจทก์จำเลยไม่อาจอ้างได้ว่าส. เป็นตัวแทนรับชำระหนี้เงินกู้แทนโจทก์ไม่จำต้องวินิจฉัยอุทธรณ์โจทก์ข้ออื่นอีกจึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142ประกอบด้วยมาตรา246 คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยมิได้ฎีกาและต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงแต่เมื่อคู่ความได้นำสืบพยานหลักฐานกันมาแล้วศาลฎีกาจึงชอบที่จะแก้ไขให้ถูกต้องได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 916/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเป็นตัวแทนเชิดต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ แม้โจทก์ไม่ได้มอบอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษร จำเลยไม่อาจอ้างการชำระหนี้แทนได้
การเป็นตัวแทนเชิดหาจำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือในการเป็นตัวแทนไม่ แม้ ส.ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อโจทก์มาแสดงว่า ส.เป็นตัวแทนของโจทก์ จำเลยก็อาจอ้างได้ว่า ส.เป็นตัวแทนเชิดของโจทก์รับชำระหนี้เงินกู้แทนโจทก์ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์โดยวินิจฉัยว่า ส.ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อโจทก์มาแสดงว่า ส.เป็นตัวแทนของโจทก์จำเลยไม่อาจอ้างได้ว่า ส.เป็นตัวแทนรับชำระหนี้เงินกู้แทนโจทก์ ไม่จำต้องวินิจฉัยอุทธรณ์โจทก์ข้ออื่นอีก จึงเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 142ประกอบด้วยมาตรา 246
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยมิได้ฎีกา และต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง แต่เมื่อคู่ความได้นำสืบพยานหลักฐานกันมาแล้ว ศาลฎีกาจึงชอบที่จะแก้ไขให้ถูกต้องได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8191/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนโดยการเชิดและการรับผิดในหนี้สัญญา: ศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิดได้แม้ไม่มีหลักฐานการมอบอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษร
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2534 จำเลยที่ 2ในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 1 หรือกระทำการในฐานะส่วนตัวได้ทำหนังสือสัญญาเข้าร่วมแสดงสินค้ากับโจทก์ โดยแจ้งความประสงค์ว่าต้องการใช้พื้นที่ในการจัดแสดงสินค้าเกี่ยวกับเครื่องสัญญาณป้องกันขโมยประมาณ 9 ตารางเมตร ตกลงราคาค่าเข้าร่วมแสดง 26,000 บาท กำหนดชำระเงินภายในวันที่ 12 เมษายน 2535โจทก์ได้ดำเนินการตกแต่งอาคารแสดงสินค้าติดไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ และป้ายชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 เมื่อถึงกำหนดเวลาชำระเงินค่าเข้าร่วมแสดงสินค้าจำเลยทั้งสองไม่ชำระ โจทก์ทวงถามแล้วจำเลยทั้งสองเพิกเฉย ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชำระเงิน 34,665 บาท แก่โจทก์ พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15ต่อปี ในต้นเงิน 26,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ ดังนี้ ฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว ที่โจทก์ระบุในคำฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 1หรือในฐานะส่วนตัวได้ทำสัญญาเข้าร่วมแสดงสินค้ากับโจทก์นั้นก็ไม่ขัดกันแต่อย่างใดเป็นการบรรยายตามข้อเท็จจริงซึ่งปรากฏตามหนังสือสัญญาเข้าร่วมแสดงสินค้าตามที่โจทก์ได้แนบมาท้ายคำฟ้องแล้ว ซึ่งจำเลยที่ 1 ก็ให้การต่อสู้คดีว่า ไม่เคยทำสัญญาเข้าร่วมแสดงสินค้ากับโจทก์ จำเลยที่ 1 ไม่เคยมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 เข้าทำสัญญากับโจทก์ การกระทำของจำเลยที่ 2เป็นการกระทำส่วนตัวของจำเลยที่ 2 เอง ขอให้ยกฟ้อง แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 มิได้หลงข้อต่อสู้ ดังนั้นคำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดชำระหนี้ค่าเข้าร่วมแสดงสินค้ากับโจทก์ที่จำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาไว้กับโจทก์แทนจำเลยที่ 1 ตามกฎหมายลักษณะตัวการตัวแทน เมื่อคดีฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เชิดจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ศาลก็ย่อมพิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิดได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
การตั้งตัวแทนต้องทำหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น หาได้หมายความรวมถึงการเป็นตัวแทนโดยการเชิดบุคคลใดว่าเป็นตัวแทนหรือรู้แล้วยอมให้บุคคลใดแสดงตนเป็นตัวแทนตาม ป.พ.พ.มาตรา 821 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8191/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของตัวการเมื่อตัวแทนทำสัญญาเช่าพื้นที่แสดงสินค้า โดยมีการเชิดให้เป็นตัวแทน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2534จำเลยที่ 2 ในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 1 หรือกระทำการในฐานะส่วนตัวได้ทำหนังสือสัญญาเข้าร่วมแสดงสินค้ากับโจทก์ โดยแจ้งความประสงค์ว่าต้องการใช้พื้นที่ในการจัดแสดงสินค้าเกี่ยวกับเครื่องสัญญาณป้องกันขโมยประมาณ 9 ตารางเมตรตกลงราคาค่าเข้าร่วมแสดง 26,000 บาท กำหนดชำระเงินภายในวันที่ 12 เมษายน 2535 โจทก์ได้ดำเนินการตกแต่งอาคารแสดงสินค้าติดไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ และป้ายชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 เมื่อถึงกำหนดเวลาชำระเงินค่าเข้าร่วมแสดงสินค้าจำเลยทั้งสองไม่ชำระ โจทก์ทวงถามแล้วจำเลยทั้งสองเพิกเฉยขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชำระเงิน 34,665บาท แก่โจทก์ พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ในต้นเงิน26,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ ดังนี้ฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว ที่โจทก์ระบุในคำฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 1 หรือในฐานะส่วนตัวได้ทำสัญญาเข้าร่วมแสดงสินค้ากับโจทก์นั้นก็ไม่ขัดกันแต่อย่างใดเป็นการบรรยายตามข้อเท็จจริงซึ่งปรากฎตามหนังสือสัญญาเข้าร่วมแสดงสินค้าตามที่โจทก์ได้แนบมาท้ายคำฟ้องแล้ว ซึ่งจำเลยที่ 1 ก็ให้การต่อสู้คดีว่า ไม่เคยทำสัญญาเข้าร่วมแสดงสินค้ากับโจทก์ จำเลยที่ 1 ไม่เคยมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 เข้าทำสัญญากับโจทก์ การกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นการกระทำส่วนตัวของจำเลยที่ 2 เอง ขอให้ยกฟ้อง แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 มิได้หลงข้อต่อสู้ ดังนั้นคำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดชำระหนี้ค่าเข้าร่วมแสดงสินค้ากับโจทก์ที่จำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาไว้กับโจทก์แทนจำเลยที่ 1 ตามกฎหมายลักษณะตัวการตัวแทน เมื่อคดีฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เชิดจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ศาลก็ย่อมพิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิดได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฎในคำฟ้อง การตั้งตัวแทนต้องทำหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือนั้นหาได้หมายความรวมถึงการเป็นตัวแทนโดยการเชิดบุคคลใดว่าเป็นตัวแทนหรือรู้แล้วยอมให้บุคคลใดแสดงตนเป็นตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7954/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายฝากโดยสุจริตของผู้ซื้อฝาก แม้เจ้าของที่ดินมีข้อตกลงกับผู้ขายฝากก่อนหน้า ผู้ซื้อฝากไม่ต้องรับภาระ
โจทก์และภรรยาโจทก์ได้จดทะเบียนขายที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่จำเลยที่ 1 โดยเจตนาลวงเพื่อให้จำเลยที่ 1นำที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทไปจำนองธนาคาร และในวันเดียวกัน จำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันเงินกู้แก่ธนาคาร ก. ต่อมาจำเลยที่ 2เป็นผู้รับซื้อมาฝากที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างไว้จากจำเลยที่ 1 โดยสุจริต มิได้ล่วงรู้ถึงข้อตกลงระหว่างโจทก์และภรรยาที่มีต่อจำเลยที่ 1 ดังกล่าวมาก่อน ดังนั้นแม้จำเลยที่ 1 ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างในฐานะเป็นตัวแทนของโจทก์และภรรยาก็ตาม แต่การที่โจทก์และภรรยาซึ่งเป็นตัวการมิได้เปิดเผยชื่อยอมให้จำเลยที่ 1ในฐานะตัวแทนรับโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างและนำไปจำนองเป็นประกันเงินกู้ต่อธนาคารดังกล่าว แล้วต่อมาปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ไปไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทและนำที่ดินพิพาทไปขายฝากแก่จำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 2 รับซื้อฝากไว้โดยสุจริตไม่เคยล่วงรู้ข้อความจริงดังกล่าวมาก่อน โจทก์จึงหาอาจทำให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกต้องเสื่อมเสียสิทธิที่มีต่อจำเลยที่ 1 ผู้เป็นตัวแทนและขวนขวายได้สิทธิมาก่อนที่รู้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของโจทก์และภรรยาได้ไม่โจทก์จึงไม่อาจฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนนิติกรรมขายฝากดังกล่าวได้ ตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 806

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7954/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายฝากโดยตัวแทนที่ซ่อนเร้นและความสุจริตของผู้ซื้อ ผู้รับซื้อฝากย่อมมีสิทธิแม้ตัวแทนมีเจตนาทุจริต
โจทก์และภรรยาโจทก์ได้จดทะเบียนขายที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่จำเลยที่ 1 โดยเจตนาลวงเพื่อให้จำเลยที่ 1 นำที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทไปจำนองธนาคาร และในวันเดียวกัน จำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันเงินกู้แก่ธนาคาร ก.ต่อมาจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับซื้อฝากที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างไว้จากจำเลยที่ 1โดยสุจริต มิได้ล่วงรู้ถึงข้อตกลงระหว่างโจทก์และภรรยาที่มีต่อจำเลยที่ 1ดังกล่าวมาก่อน ดังนั้นแม้จำเลยที่ 1 ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างในฐานะเป็นตัวแทนของโจทก์และภรรยาก็ตาม แต่การที่โจทก์และภรรยาซึ่งเป็นตัวการมิได้เปิดเผยชื่อยอมให้จำเลยที่ 1 ในฐานะตัวแทนรับโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างและนำไปจำนองเป็นประกันเงินกู้ต่อธนาคารดังกล่าว แล้วต่อมาปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ไปไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทและนำที่ดินพิพาทไปขายฝากแก่จำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 2 รับซื้อฝากไว้โดยสุจริตไม่เคยล่วงรู้ข้อความจริงดังกล่าวมาก่อน โจทก์จึงหาอาจทำให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกต้องเสื่อมเสียสิทธิที่มีต่อจำเลยที่ 1 ผู้เป็นตัวแทนและขวนขวายได้สิทธิมาก่อนที่รู้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของโจทก์และภรรยาได้ไม่ โจทก์จึงไม่อาจฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนนิติกรรมขายฝากดังกล่าวได้ ตามนัย ป.พ.พ.มาตรา 806

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6163/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผูกพันตามข้อตกลงที่สามีทำแทนภรรยา: ตัวแทนเชิด vs. ตัวแทนตามสัญญา
จำเลยมอบหมายให้สามีจำเลยทำข้อตกลงกับโจทก์เกี่ยวกับทางพิพาท การที่จำเลยยอมให้สามีจำเลยแสดงออกว่า เป็นตัวแทนของจำเลยทำข้อตกลงกับโจทก์เป็นเรื่องตัวแทนเชิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 821 ไม่อยู่ในบังคับมาตรา 798 ที่จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ฉะนั้นแม้จำเลยจะมิได้มีหนังสือตั้งให้สามีจำเลยไปทำข้อตกลงกับโจทก์ จำเลยซึ่งเป็นตัวการก็ต้องผูกพันตามบันทึกข้อตกลงที่สามีจำเลยทำกับโจทก์ให้โจทก์ใช้ทางพิพาทเป็นทางเดินได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6163/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบหมายให้ผู้อื่นทำข้อตกลง ทางภารจำยอม ตัวแทนเชิด และผลผูกพันตามสัญญา
จำเลยมอบหมายให้สามีจำเลยทำข้อตกลงกับโจทก์เกี่ยวกับทางพิพาทการที่จำเลยยอมให้สามีจำเลยแสดงออกว่าเป็นตัวแทนของจำเลยทำข้อตกลงกับโจทก์เป็นเรื่องตัวแทนเชิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา821ไม่อยู่ในบังคับมาตรา798ที่จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือฉะนั้นแม้จำเลยจะมิได้มีหนังสือตั้งให้สามีจำเลยไปทำข้อตกลงกับโจทก์จำเลยซึ่งเป็นตัวการก็ต้องผูกพันตามบันทึกข้อตกลงที่สามีจำเลยทำกับโจทก์ให้โจทก์ใช้ทางพิพาทเป็นทางเดินได้
of 49