พบผลลัพธ์ทั้งหมด 487 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5953/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนเชิด สัญญาซื้อขายที่ดิน ความรับผิดชอบ และการลดเบี้ยปรับ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 3 ในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 1 และที่ 2 แม้ในสัญญาเพื่อประโยชน์ต่างตอบแทนมิได้ระบุว่าจำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 และที่ 2 โจทก์ก็นำสืบพยานบุคคลว่าจำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1และที่ 2 ได้ เพราะเป็นการสืบถึงความจริงว่าเป็นตัวการและตัวแทนมิใช่สืบถึงการที่จะบังคับตามสัญญาแต่ประการใด และในคำฟ้องบรรยายแต่ว่าเป็นตัวแทน ศาลก็มีอำนาจวินิจฉัยว่าเป็นตัวแทนเชิดได้ เพราะตัวแทนกับตัวแทนเชิดก็มีความรับผิดในลักษณะอย่างเดียวกัน ฉะนั้น ถึงแม้สัญญาเพื่อประโยชน์ต่างตอบแทนจะมิได้กล่าวเรื่องตัวแทนตัวการเลย ศาลก็มีอำนาจที่จะรับฟังพยานบุคคลและพฤติการณ์ในคดีประกอบการวินิจฉัยได้ จำเลยที่ 3 ได้ทำสัญญาเพื่อประโยชน์ต่างตอบแทนกับโจทก์ในวันที่ 11 กันยายน 2532 ในสัญญาได้กล่าวถึงที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 50266 และ 50267 ของจำเลยที่ 1 และที่ 2ว่าจำนองอยู่แก่ธนาคาร อ.โจทก์ได้มอบเงินให้จำเลยที่ 3ไป 1,300,000 บาท และได้ชำระหนี้จำนองรายนี้เมื่อวันที่12 กันยายน 2532 จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 3 เป็นผู้จัดการไถ่ถอนจำนองและได้มีการจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 50266 และ 50267 เมื่อวันที่19 กันยายน 2532 การไถ่ถอนจำนองรายนี้เป็นเงินที่จำเลยที่ 3รับมาจากโจทก์ มิใช่เป็นเงินของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เองเมื่อได้เงินมาไถ่ถอนจำนองแล้ว จำเลยที่ 1 และที่ 2 มอบให้จำเลยที่ 3 เป็นผู้ดำเนินการ เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2รับเอาประโยชน์จากเงินทีได้มาจากการทำสัญญา ฉะนั้น กิจการที่จำเลยที่ 3 ได้กระทำไป จำเลยที่ 1 และที่ 2 รับเอาประโยชน์นั้น เป็นพฤติการณ์ที่ชี้ชัดว่า จำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 3 ไปทำสัญญาเพื่อประโยชน์ต่างตอบแทนกับโจทก์ สัญญาดังกล่าวย่อมผูกพันจำเลยที่ 1 และที่ 2 ความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยที่ 1 ที่ 2 กับจำเลยที่ 3เป็นตัวการตัวแทน เมื่อตัวแทนทำกิจการในหน้าที่ ความรับผิดชอบต่าง ๆ ต้องอยู่ที่ตัวการ ตัวแทนไม่ต้องรับผิด จึงมิใช่เป็นหนี้ที่จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดร่วมกันจำเลยที่ 1 และที่ 2 ด้วย และคำให้การต่อสู้คดีเป็นเรื่องเฉพาะตัวจำเลยแต่ละคนเมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้ให้การต่อสู้คดีไว้ย่อมไม่มีประเด็นสำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 2 การที่จำเลยที่ 3ต่อสู้คดีเรื่องการบอกเลิกสัญญาในคดีที่มิได้เป็นหนี้ร่วมย่อมเป็นการเฉพาะตัวของจำเลยที่ 3 เมื่อคดีสำหรับจำเลยที่ 3 ยุติตั้งแต่ศาลชั้นต้น ดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้จำเลยที่ 1 จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5953/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนเชิด สัญญาเพื่อประโยชน์ต่างตอบแทน ความรับผิดของตัวการ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 3 ในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 1 และที่ 2 แม้ในสัญญาเพื่อประโยชน์ต่างตอบแทนมิได้ระบุว่าจำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 และที่ 2 โจทก์ก็นำสืบพยานบุคคลว่าจำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ เพราะเป็นการสืบถึงความจริงว่าเป็นตัวการและตัวแทนมิใช่สืบถึงการที่จะบังคับตามสัญญาแต่ประการใด และในคำฟ้องบรรยายแต่ว่าเป็นตัวแทน ศาลก็มีอำนาจวินิจฉัยว่าเป็นตัวแทนเชิดได้ เพราะตัวแทนกับตัวแทนเชิดก็มีความรับผิดในลักษณะอย่างเดียวกัน ฉะนั้น ถึงแม้สัญญาเพื่อประโยชน์ต่างตอบแทนจะมิได้กล่าวเรื่องตัวแทนตัวการเลย ศาลก็มีอำนาจที่จะรับฟังพยานบุคคลและพฤติการณ์ในคดีประกอบการวินิจฉัยได้
จำเลยที่ 3 ได้ทำสัญญาเพื่อประโยชน์ต่างตอบแทนกับโจทก์ในวันที่ 11 กันยายน 2532 ในสัญญาได้กล่าวถึงที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 50266และ 50267 ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ว่าจำนองอยู่แก่ธนาคาร อ. โจทก์ได้มอบเงินให้จำเลยที่ 3 ไป 1,300,000 บาท และได้ชำระหนี้จำนองรายนี้เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2532 จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 3เป็นผู้จัดการไถ่ถอนจำนองและได้มีการจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินโฉนดเลขที่50266 และ 50267 เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2532 การไถ่ถอนจำนองรายนี้เป็นเงินที่จำเลยที่ 3 รับมาจากโจทก์ มิใช่เป็นเงินของจำเลยที่ 1 และที่ 2เอง เมื่อได้เงินมาไถ่ถอนจำนองแล้ว จำเลยที่ 1 และที่ 2 มอบให้จำเลยที่ 3เป็นผู้ดำเนินการ เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 รับเอาประโยชน์จากเงินที่ได้มาจากการทำสัญญา ฉะนั้น กิจการที่จำเลยที่ 3 ได้กระทำไป จำเลยที่ 1 และที่ 2 รับเอาประโยชน์นั้น เป็นพฤติการณ์ที่ชี้ชัดว่า จำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 3 ไปทำสัญญาเพื่อประโยชน์ต่างตอบแทนกับโจทก์ สัญญาดังกล่าวย่อมผูกพันจำเลยที่ 1 และที่ 2
ความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยที่ 1 ที่ 2 กับจำเลยที่ 3 เป็นตัวการตัวแทน เมื่อตัวแทนทำกิจการในหน้าที่ ความรับผิดชอบต่าง ๆ ต้องอยู่ที่ตัวการ ตัวแทนไม่ต้องรับผิด จึงมิใช่เป็นหนี้ที่จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ด้วย และคำให้การต่อสู้คดีเป็นเรื่องเฉพาะตัวจำเลยแต่ละคนเมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้ให้การต่อสู้คดีไว้ ย่อมไม่มีประเด็นสำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 2 การที่จำเลยที่ 3 ต่อสู้คดีเรื่องการบอกเลิกสัญญาในคดีที่มิได้เป็นหนี้ร่วม ย่อมเป็นการเฉพาะตัวของจำเลยที่ 3 เมื่อคดีสำหรับจำเลยที่ 3ยุติตั้งแต่ศาลชั้นต้น ดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้จำเลยที่ 1จึงชอบแล้ว
จำเลยที่ 3 ได้ทำสัญญาเพื่อประโยชน์ต่างตอบแทนกับโจทก์ในวันที่ 11 กันยายน 2532 ในสัญญาได้กล่าวถึงที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 50266และ 50267 ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ว่าจำนองอยู่แก่ธนาคาร อ. โจทก์ได้มอบเงินให้จำเลยที่ 3 ไป 1,300,000 บาท และได้ชำระหนี้จำนองรายนี้เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2532 จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 3เป็นผู้จัดการไถ่ถอนจำนองและได้มีการจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินโฉนดเลขที่50266 และ 50267 เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2532 การไถ่ถอนจำนองรายนี้เป็นเงินที่จำเลยที่ 3 รับมาจากโจทก์ มิใช่เป็นเงินของจำเลยที่ 1 และที่ 2เอง เมื่อได้เงินมาไถ่ถอนจำนองแล้ว จำเลยที่ 1 และที่ 2 มอบให้จำเลยที่ 3เป็นผู้ดำเนินการ เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 รับเอาประโยชน์จากเงินที่ได้มาจากการทำสัญญา ฉะนั้น กิจการที่จำเลยที่ 3 ได้กระทำไป จำเลยที่ 1 และที่ 2 รับเอาประโยชน์นั้น เป็นพฤติการณ์ที่ชี้ชัดว่า จำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 3 ไปทำสัญญาเพื่อประโยชน์ต่างตอบแทนกับโจทก์ สัญญาดังกล่าวย่อมผูกพันจำเลยที่ 1 และที่ 2
ความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยที่ 1 ที่ 2 กับจำเลยที่ 3 เป็นตัวการตัวแทน เมื่อตัวแทนทำกิจการในหน้าที่ ความรับผิดชอบต่าง ๆ ต้องอยู่ที่ตัวการ ตัวแทนไม่ต้องรับผิด จึงมิใช่เป็นหนี้ที่จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ด้วย และคำให้การต่อสู้คดีเป็นเรื่องเฉพาะตัวจำเลยแต่ละคนเมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้ให้การต่อสู้คดีไว้ ย่อมไม่มีประเด็นสำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 2 การที่จำเลยที่ 3 ต่อสู้คดีเรื่องการบอกเลิกสัญญาในคดีที่มิได้เป็นหนี้ร่วม ย่อมเป็นการเฉพาะตัวของจำเลยที่ 3 เมื่อคดีสำหรับจำเลยที่ 3ยุติตั้งแต่ศาลชั้นต้น ดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้จำเลยที่ 1จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5029/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมให้ผู้อื่นจัดสรรที่ดินและรับจ้างก่อสร้างบ้าน ถือเป็นการเชิดตัวแทน จำเลยต้องรับผิดชอบตามสัญญา
จำเลยที่1มีวัตถุประสงค์ในการซื้อขายที่ดินจัดแบ่งที่ดินออกเป็นแปลงย่อยเพื่อจัดจำหน่ายทั้งปลูกสร้างอาคารและบ้านพักเพื่อให้เช่าหรือขายแก่บุคคลภายนอกเป็นผู้ขออนุญาตจัดสรรที่ดินได้ขอแบ่งแยกที่ดินออกเป็นแปลงย่อยได้4,992แปลงการที่จำเลยที่1ยินยอมให้จำเลยที่2นำที่่ดินของจำเลยที่1ออกจัดสรรขายให้แก่บุคคลทั่วไปโดยจำเลยที่1จะส่งพนักงานออกไปทำนิติกรรมโอนขายที่ดินและบ้านให้แก่ลูกค้าของจำเลยที่2เท่ากับเป็นการยอมรับว่าสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและสัญญารับจ้างก่อสร้างบ้านบนที่ดินที่จำเลยที่2ทำกับลูกจ้างนั้นมีผลผูกพันจำเลยที่1ถือได้ว่าจำเลยที่1ได้เชิดจำเลยที่2ออกแสดงเป็นตัวแทนของตนหรือรู้แล้วยอมให้จำเลยที่2เชิดตัวเขาเองออกแสดงเป็นตัวแทนของตนจำเลยที่1จึงต้องรับผิดโอนที่ดินและบ้านแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5029/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมให้ผู้อื่นจัดสรรที่ดินและทำนิติกรรมแทน ย่อมผูกพันเจ้าของที่ดิน
จำเลยที่ 1 มีวัตถุประสงค์ในการซื้อขายที่ดินจัดแบ่งที่ดินออกเป็นแปลงย่อยเพื่อจัดจำหน่ายทั้งปลูกสร้างอาคารและบ้านพักเพื่อให้เช่าหรือขายแก่บุคคลภายนอกเป็นผู้ขออนุญาตจัดสรรที่ดิน ได้ขอแบ่งแยกที่ดินออกเป็นแปลงย่อยได้4,992 แปลง การที่จำเลยที่ 1 ยินยอมให้จำเลยที่ 2 นำที่ดินของจำเลยที่ 1 ออกจัดสรรขายให้แก่บุคคลทั่วไป โดยจำเลยที่ 1 จะส่งพนักงานออกไปทำนิติกรรมโอนขายที่ดินและบ้านให้แก่ลูกค้าของจำเลยที่ 2 เท่ากับเป็นการยอมรับว่า สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและสัญญารับจ้างก่อสร้างบ้านบนที่ดินที่จำเลยที่ 2 ทำกับลูกค้านั้นมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เชิดจำเลยที่ 2 ออกแสดงเป็นตัวแทนของตน หรือรู้แล้วยอมให้จำเลยที่ 2 เชิดตัวเขาเองออกแสดงเป็นตัวแทนของตนจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดโอนที่ดินและบ้านแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1905/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยินยอมให้จัดการมรดกและทำสัญญาซื้อขาย: ผลผูกพันทายาทอื่น
จำเลยและผู้ร้องทั้งสองเป็นทายาทของส. เมื่อส.ถึงแก่กรรมผู้ร้องทั้งสองและทายาทอื่นทำหนังสือยินยอมให้จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกต่อมาจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทของส. และผู้ร้องทั้งสองแก่โจทก์โดยผู้ร้องทั้งสองและทายาทอื่นทราบแล้วแต่มิได้โต้แย้งคัดค้านดังนี้ฟังได้ว่าทายาททุกคนรวมทั้งผู้ร้องทั้งสองยินยอมให้จำเลยทำสัญญาและแต่ละคนเชิดให้จำเลยเป็นตัวแทนของตนแม้ขณะที่จำเลยทำสัญญาจะซื้อขายนั้นจำเลยยังไม่ได้รับการแต่งตั้งจากศาลให้เป็นผู้จัดการมรดกก็ตามสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวย่อมมีผลผูกพันผู้ร้องทั้งสองที่จะต้องโอนขายที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของตนให้แก่โจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1905/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมของทายาทต่อการทำสัญญาซื้อขายทรัพย์มรดกของผู้จัดการมรดก และผลผูกพันตามกฎหมาย
ทายาททั้งหมดของผู้ตายได้ทำหนังสือยินยอมให้จำเลยซึ่งเป็นบุตรของผู้ตายเป็นผู้จัดการมรดกมีผลเท่ากับทายาทมอบให้จำเลยแต่ผู้เดียวเป็นผู้จัดการเกี่ยวกับมรดกของผู้ตายเมื่อจำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินของผู้ตายแก่โจทก์เพื่อนำเงินมาชำระหนี้กองมรดกและแบ่งปันแก่ทายาทแม้จะกระทำก่อนที่จำเลยจะได้รับแต่งตั้งจากศาลให้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายก็ตามแต่ทายาททั้งหมดก็ทราบดีและไม่ได้โต้แย้งหรือคัดค้านในขณะทำสัญญาหรือภายในเวลาอันสมควรนับแต่ทราบจึงฟังได้ว่าทายาททุกคนยินยอมให้จำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินแก่โจทก์และแต่ละคนเชิดให้จำเลยเป็น ตัวแทนของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา821สัญญาจึงมีผลผูกพันทายาททุกคนในอันที่จะต้องโอนขายที่ดินแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1905/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยินยอมให้จัดการมรดก & สัญญาจะซื้อจะขาย: ผลผูกพันทายาท
จำเลยและผู้ร้องทั้งสองเป็นทายาทของ ส. เมื่อ ส.ถึงแก่กรรมผู้ร้องทั้งสองและทายาทอื่นทำหนังสือยินยอมให้จำเลยเป็นผู้จัดการมรดก ต่อมาจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทของ ส. และผู้ร้องทั้งสองแก่โจทก์ โดยผู้ร้องทั้งสองและทายาทอื่นทราบแล้วแต่มิได้โต้แย้งคัดค้าน ดังนี้ ฟังได้ว่าทายาททุกคนรวมทั้งผู้ร้องทั้งสองยินยอมให้จำเลยทำสัญญา และแต่ละคนเชิดให้จำเลยเป็นตัวแทนของตน แม้ขณะที่จำเลยทำสัญญาจะซื้อขายนั้นจำเลยยังไม่ได้รับการแต่งตั้งจากศาลให้เป็นผู้จัดการมรดกก็ตาม สัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวย่อมมีผลผูกพันผู้ร้องทั้งสองที่จะต้องโอนขายที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของตนให้แก่โจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1892/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: ผลผูกพัน-ข้อยกเว้น & การรับช่วงสิทธิ
พนักงานสอบสวนเปรียบเทียบปรับจำเลยและ ว. ฐานขับรถยนต์โดยประมาท และบันทึกข้อตกลงเรื่องค่าเสียหายที่จำเลยและ ว. ตกลงกันว่าต่างคนต่างซ่อมรถเองไว้ในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี ข้อตกลงดังกล่าวมีลักษณะเป็นการระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันโดยการสละสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนที่จะพึงมีต่อกัน จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความและเป็นผลให้มูลละเมิดซึ่งมีอยู่ระงับสิ้นไป
เจ้าของรถที่ ว. ขับยินยอมให้ ว. แสดงออกว่าเป็นตัวแทนในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความ เจ้าของรถนั้นจึงต้องผูกพันและรับเอาผลของการที่ ว. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยมาเป็นของตน จะอ้างว่าการตั้งว. เป็นตัวแทนไม่ได้ทำเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 798 ไม่ได้
หลังจาก ว. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยแล้วเจ้าของรถที่ ว. ขับกับจำเลยไปตกลงกันใหม่ในเรื่องค่าเสียหายต่อหน้าพนักงานสอบสวนว่า คู่กรณีขอไปทำความตกลงกันเอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เจ้าของรถที่ ว. ขับนำไปเป็นหลักฐานแสดงต่อโจทก์ผู้รับประกันภัยเพื่อให้โจทก์รับผิดตามสัญญาประกันภัย ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่มีผลบังคับแก่จำเลยและเจ้าของรถที่ ว. ขับและไม่กระทบกระเทือนถึงความสมบูรณ์ของสัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำไว้ก่อนแล้ว
เมื่อมูลหนี้อันเกิดจากการละเมิดระงับไปโดยสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว แม้โจทก์ผู้รับประกันภัยจะชดใช้ค่าเสียหายให้แก่เจ้าของรถที่เอาประกันภัยไปก็ไม่อาจเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้
เจ้าของรถที่ ว. ขับยินยอมให้ ว. แสดงออกว่าเป็นตัวแทนในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความ เจ้าของรถนั้นจึงต้องผูกพันและรับเอาผลของการที่ ว. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยมาเป็นของตน จะอ้างว่าการตั้งว. เป็นตัวแทนไม่ได้ทำเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 798 ไม่ได้
หลังจาก ว. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยแล้วเจ้าของรถที่ ว. ขับกับจำเลยไปตกลงกันใหม่ในเรื่องค่าเสียหายต่อหน้าพนักงานสอบสวนว่า คู่กรณีขอไปทำความตกลงกันเอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เจ้าของรถที่ ว. ขับนำไปเป็นหลักฐานแสดงต่อโจทก์ผู้รับประกันภัยเพื่อให้โจทก์รับผิดตามสัญญาประกันภัย ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่มีผลบังคับแก่จำเลยและเจ้าของรถที่ ว. ขับและไม่กระทบกระเทือนถึงความสมบูรณ์ของสัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำไว้ก่อนแล้ว
เมื่อมูลหนี้อันเกิดจากการละเมิดระงับไปโดยสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว แม้โจทก์ผู้รับประกันภัยจะชดใช้ค่าเสียหายให้แก่เจ้าของรถที่เอาประกันภัยไปก็ไม่อาจเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1892/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: ผลผูกพันคู่กรณี & การระงับข้อพิพาททางแพ่ง
โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยผู้รับช่วงสิทธิไม่ได้นำสืบแจ้งชัดว่าจำเลยเป็นฝ่ายขับรถยนต์โดยประมาทเลินเล่อมากกว่า ว.การที่พนักงานสอบสวนทำบันทึกรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีแม้เพียงเพื่อเปรียบเทียบปรับทั้งจำเลยและ ว. แต่เมื่อเอกสารนั้นมีข้อตกลงกันให้ต่างคนต่างซ่อมรถยนต์ที่เสียหายโดยที่ขณะนั้นเจ้าของรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยไม่ได้คัดค้านแสดงว่าเหตุเกิดจากความประมาทของจำเลยและ ว. ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันจึงได้มีการตกลงกันเพื่อระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันโดยการสละสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนที่จะพึงมีต่อกันจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นผลให้มูลละเมิดซึ่งมีอยู่ระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา850-852และเท่ากับเจ้าของรถยนต์แสดงออกหรือยอมให้ ว. แสดงออกว่า ว.เป็นตัวแทนในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตตามมาตรา821ส่วนที่มีการทำรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีขึ้นอีกหนึ่งฉบับในภายหลังเมื่อจำเลยและเจ้าของรถยนต์ไม่ได้มีเจตนาที่จะผูกพันกันตามที่ทำบันทึกไว้จึงไม่มีผลบังคับและไม่กระทบกระเทือนถึงความสมบูรณ์ของสัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำไว้ก่อนแล้วโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยให้รับผิดในมูลละเมิดที่ระงับสิ้นไปแล้วในฐานะผู้รับช่วงสิทธิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 578/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์, การร่วมรับผิดของเจ้าของรถ, ห้างหุ้นส่วน, และผู้จัดการ
เดิมโจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่1และที่2ร่วมกันหรือจำเลยที่1เชิดจำเลยที่2ออกแสดงเป็นตัวแทนจ้างจำเลยที่3ขับรถยนต์บรรทุกซึ่งมีป้ายชื่อ"โรงสีชัยเจริญ4"อันเป็นชื่อกิจการค้าโรงสีซึ่งจำเลยที่1และที่2มีผลประโยชน์ร่วมกันติดอยู่ที่หลังคาหน้ารถโดยเปิดเผยการที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องโดยเพิ่มข้อความว่าโรงสีชัยเจริญ4 เป็นโรงสีข้าวในกิจการของห้างหุ้นส่วนโรงสีไฟชัยเจริญซึ่งจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลที่สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดพิจิตรซึ่งจำเลยที่1และที่2เป็นหุ้นส่วนโดยจำเลยที่2เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการเข้าไปนั้นข้อความที่ขอแก้ไขเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมทั้งโจทก์ขอแก้ไขก่อนวันสืบพยานเป็นกรณีที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา179และมาตรา180โจทก์จึงมีสิทธิแก้ไขคำฟ้องได้ ค่าเสียหายที่โจทก์ต้องพิการและทนทุกข์ทรมานเป็นความเสียหายที่มิใช่ตัวเงินอย่างหนึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกร้องได้ตามมาตรา446 ขณะเกิดเหตุจำเลยที่1เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุและจำเลยที่1กับห้างหุ้นส่วนจำกัดโรงสีไฟชัยเจริญร่วมกันประกอบการขนส่งเพื่อหาผลประโยชน์ร่วมกันจำเลยที่3เป็นลูกจ้างและกระทำละเมิดในทางการที่จ้างของห้างหุ้นส่วนจำกัดโรงสีไฟชัยเจริญ และจำเลยที่2เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดจึงต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1077(2)