คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 821

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 487 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 601/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องถูกจำกัดจากคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีก่อน การฟ้องคดีใหม่ต้องไม่ขัดแย้งกับคำพิพากษาเดิม
จำเลยที่ 3 เคยฟ้องจำเลยที่ 1 และโจทก์ต่อศาลแพ่งว่า จำเลยทั้งสี่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาท จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาททั้งแปลงพร้อมสิ่งปลูกสร้างกับโจทก์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 3 และเจ้าของรวมคนอื่น ขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ซึ่งคดีดังกล่าวโจทก์ให้การว่า จำเลยที่ 3 มิได้เป็นเจ้าของรวม จำเลยที่ 3 เชิดหรือยอมให้จำเลยที่ 1เป็นตัวแทน จำเลยที่ 3 จึงปฏิเสธความรับผิดต่อโจทก์ไม่ได้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 1 แต่เพียงผู้เดียวซึ่งต่อมาศาลฎีกาวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 3เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาท 3 ใน 7 ส่วน การที่จำเลยที่ 1 ไปทำสัญญาจะซื้อจะขายกับโจทก์โดยจำเลยที่ 3 และเจ้าของรวมคนอื่นมิได้ยินยอมและมิได้เชิดจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทน สัญญาดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันกรรมสิทธิ์ส่วนของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 จึงฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาดังกล่าวได้ โดยพิพากษาให้เพิกถอนเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของจำเลยที่ 3 จำนวน 3 ใน 7 ส่วน คำพิพากษาในคดีดังกล่าวจึงผูกพันโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 โจทก์จะมาฟ้องคดีนี้ให้เพิกถอนบันทึกข้อตกลงระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาท และให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมในคดีที่จำเลยทั้งสี่ฟ้องร้องกันโดยอ้างว่าจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทแต่เพียงผู้เดียว จำเลยอื่นร่วมกับจำเลยที่ 1 แสดงเจตนาลวงและฉ้อฉลโจทก์โดยทำสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับดังกล่าว อันเป็นข้อเท็จจริงแตกต่างไปจากที่โจทก์ต้องผูกพันหาได้ไม่ เมื่อโจทก์ไม่สามารถอ้างสิทธิใด ๆ ในการฟ้องขอให้เพิกถอนบันทึกข้อตกลง สัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นกล่าวอ้าง ศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246,247และกรณีเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์และฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1) ประกอบมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 493/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนขายทรัพย์สินของผู้เช่า: สิทธิของโจทก์ต้องอาศัยความเป็นตัวแทนเชิดที่พิสูจน์ได้
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ที่ดินพร้อมตึกแถวพิพาทเป็นของจำเลยที่ 1 แต่โจทก์ทำสัญญาเช่าที่ดินและตึกแถวดังกล่าวกับ อ. ในระหว่างอายุสัญญาเช่า จำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินและตึกแถวพิพาทให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 โจทก์จึงฟ้องจำเลยทั้งสามให้เพิกถอนการจดทะเบียนซื้อขายที่ดินและตึกแถวพิพาท แต่มิได้บรรยายข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 ได้รู้เห็นยินยอมเชิดให้ อ. เป็นผู้ทำสัญญาเช่าแทน เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ก็ไม่เคยมอบอำนาจให้ อ. ทำสัญญาเช่ากับโจทก์ ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่โจทก์ แต่โจทก์ไม่ได้ให้การตั้งประเด็นเรื่องตัวแทนเชิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 821 ไว้ โจทก์จึงไม่มีสิทธินำสืบว่าจำเลยที่ 1 รู้เห็นยินยอมเชิดให้ อ. ทำสัญญาเช่าแทนตนได้ ฉะนั้น จำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกแถวพิพาทจึงชอบที่จะโอนขายทรัพย์สินดังกล่าวได้ ในเมื่อโจทก์ไม่มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินและตึกแถวพิพาทให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 493/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทรัพย์สินของผู้เช่า: สิทธิของผู้เช่าเมื่อเจ้าของขายทรัพย์สินระหว่างสัญญาเช่า
ที่ดินพร้อมตึกแถวเป็นของจำเลยที่ 1 แต่โจทก์ทำสัญญาเช่าที่ดินและตึกแถวกับอ. ในระหว่างอายุสัญญาเช่าจำเลยที่ 1 ขายที่ดินและตึกแถวให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 โจทก์จึงฟ้องจำเลยทั้งสามให้เพิกถอนการจดทะเบียนซื้อขายที่ดินและตึกแถว แต่ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ได้รู้เห็นยินยอมเชิดให้ อ. เป็นผู้ทำสัญญาเช่าแทน เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่เคยมอบอำนาจให้ อ. ทำสัญญาเช่ากับโจทก์และโจทก์ไม่ได้ให้การตั้งประเด็นเรื่องตัวแทนเชิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821 ไว้ โจทก์จึงไม่สามารถนำสืบว่าจำเลยที่ 1 รู้เห็นยินยอมเชิดให้ อ. ทำสัญญาเช่าแทนตน ฉะนั้นจำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกแถวชอบที่จะขายทรัพย์สินดังกล่าวได้เมื่อโจทก์ไม่มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 1 ขายที่ดินและตึกแถวให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6057/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจตัวแทนรับชำระหนี้: การชำระหนี้เกินอำนาจไม่ผูกพันเจ้าหนี้
หนังสือมอบอำนาจของเจ้าหนี้ระบุข้อความอันเป็นการกระทำภายในขอบอำนาจแห่งฐานตัวแทนไว้โดยชัดแจ้งว่า ให้ ก. ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจเพียงเจรจาตกลงกับลูกหนี้จนเสร็จการเท่านั้น มิได้มอบอำนาจให้เป็นตัวแทนรับชำระหนี้จากลูกหนี้แต่อย่างใด การที่ ก. รับชำระหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ไว้จากลูกหนี้ จึงเป็นการกระทำนอกเหนือขอบอำนาจของตัวแทน ทั้งตามหนังสือมอบอำนาจก็ระบุว่าเจ้าหนี้ยอมรับผิดต่อลูกหนี้เฉพาะในการกระทำที่ ก. ได้ทำไปตามที่เจ้าหนี้มอบอำนาจเท่านั้น เจ้าหนี้จึงไม่ต้องผูกพันกับการรับชำระหนี้ของ ก. ประกอบกับตามทางสอบสวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงใดอันจะพึงถือได้ว่า ทางปฏิบัติของเจ้าหนี้ทำให้ลูกหนี้มีมูลเหตุอันสมควรจะเชื่อว่าการชำระหนี้แก่ ก. นั้นอยู่ภายในขอบอำนาจของ ก. ซึ่งจะทำให้เจ้าหนี้ต้องรับผิดต่อลูกหนี้ผู้สุจริตเสมือนว่า ก. เป็นตัวแทนผู้มีอำนาจรับชำระหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 822 ประกอบมาตรา 821 การรับชำระหนี้ของ ก. จึงเป็นการกระทำโดยปราศจากอำนาจย่อมไม่ผูกพันเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823 เจ้าหนี้ชอบที่จะได้รับชำระหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้เต็มจำนวน โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีอำนาจนำเงินที่ลูกหนี้ชำระต่อ ก. ซึ่งมิใช่บุคคลผู้มีอำนาจรับชำระหนี้แทนเจ้าหนี้มาหักชำระหนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5984/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนเชิดและอำนาจฟ้อง: บุคคลภายนอกมีสิทธิฟ้องตัวการได้ แต่ไม่อาจฟ้องตัวแทน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821 เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับความรับผิดของตัวการที่มีต่อบุคคลภายนอกเท่านั้น ไม่มีข้อความใดที่กำหนดให้บุคคลภายนอกต้องรับผิดหรือมีความผูกพันต่อตัวการเลย บุคคลภายนอกจึงมีอำนาจฟ้องให้ตัวการรับผิดได้แต่บุคคลภายนอกไม่อาจฟ้องตัวแทนได้ และตัวการก็จะฟ้องบุคคลภายนอกให้รับผิดไม่ได้เช่นกัน เมื่อจำเลยเป็นบุคคลภายนอกจึงหาอาจจะกล่าวอ้างหรือพิสูจน์ว่าโจทก์ซึ่งลงชื่อเป็นผู้จะซื้อในสัญญาที่ทำกับตนนั้นเป็นเพียงตัวแทนเชิดของ ว. ตัวการเพื่อให้จำเลยไม่ต้องผูกพันหรือรับผิดตามสัญญาได้ไม่ ทั้งการที่จำเลยนำสืบว่าความจริงโจทก์ไม่ใช่ผู้จะซื้อแต่ ว. เป็นผู้จะซื้อนั้น ย่อมเป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาจะซื้อขาย ซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4446/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์: ตัวการต้องรับผิดต่อผู้ซื้อสุจริตแม้ยังไม่ได้รับเงินจากตัวแทน
การที่จำเลยที่ 2 ติดต่อขอซื้อรถยนต์จากจำเลยที่ 1 โดยมีข้อตกลงให้จำเลยที่ 1ส่งมอบรถยนต์ ณ สำนักงานของจำเลยที่ 2 หากมีลูกค้ามาติดต่อขอซื้อรถยนต์และจำเลยที่ 2 ขายได้แล้ว จำเลยที่ 2 จะส่งมอบเงินค่ารถยนต์ให้แก่จำเลยที่ 1 แล้วจำเลยที่ 1จะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ให้แก่ลูกค้าผู้ซื้อ จำเลยที่ 1 และที่ 2 ติดต่อขายรถยนต์ด้วยวิธีการดังกล่าวหลายครั้ง แสดงว่าขณะที่จำเลยที่ 2 ครอบครองรถยนต์พิพาทและเสนอขายให้แก่โจทก์นั้น กรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาทยังคงเป็นของจำเลยที่ 1 ตลอดเวลาจนกว่าจำเลยที่ 2 จะได้รับชำระเงินค่ารถยนต์พิพาทจากโจทก์และนำเงินดังกล่าวมาชำระราคาค่ารถยนต์พิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 ครบถ้วนแล้ว พฤติการณ์ระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวการที่ไม่เปิดเผยชื่อและยอมให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนทำการออกหน้าเป็นตัวการว่าเป็นเจ้าของหรือผู้มีสิทธิขายรถยนต์พิพาท เมื่อโจทก์ซื้อรถยนต์พิพาทมาโดยสุจริต จำเลยที่ 1 ในฐานะตัวการจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตมิให้ต้องเสื่อมเสียสิทธิอันเนื่องมาจากข้อตกลงของจำเลยทั้งสองเมื่อโจทก์ชำระราคาค่ารถยนต์พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ครบถ้วนแล้วจำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่จะต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์พิพาทให้แก่โจทก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4352/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตกลงเรื่องค่านายหน้าโดยปริยาย แม้มิได้ทำสัญญาเป็นหนังสือก็มีผลผูกพัน
โจทก์ติดต่อกับจำเลยและเจ้าของที่ดินทั้ง 4 แปลง เรื่องการเช่าและซื้อขายที่ดินดังกล่าว ซึ่งตลอดระยะเวลาที่เจรจาติดต่อกันนั้นได้ใช้บ้าน ร. มารดาจำเลยเป็นสถานที่นัดพบเสมอทั้ง ร. ก็ร่วมเจรจาอยู่ด้วย แม้บางครั้งจำเลยไม่มาแต่ ร. ก็เป็นผู้จัดการแทนจำเลยเพื่อนำไปสู่การทำสัญญาในที่สุด ดังนั้น ข้อตกลงใด ๆ ที่อยู่ในกรอบของการเช่าหรือซื้อขายที่ดินของจำเลยย่อมเห็นเป็นปริยายว่าจำเลยได้เชิด ร. เป็นตัวแทนในการเจรจาตกลงกับโจทก์ ทำให้เจ้าของที่ดินอีก 4 แปลง ตกลงยินยอมให้เช่าและขายที่ดินเรื่องค่านายหน้าก็เป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงด้วยแม้มิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือก็มีผลผูกพันจำเลยแล้ว ดังนั้น จำเลยต้องให้ค่านายหน้า และเงินค่าที่ดินที่ให้เช่าหรือขายเกินกว่าราคาที่กำหนดแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4048/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเชิดตัวแทน-การให้สัตยาบัน: ตัวการผูกพันตามข้อตกลงที่ตัวแทนทำ แม้มีข้อจำกัดอำนาจ
แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 3 เป็นผู้ลงนามในสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและรับเหมาก่อสร้างบ้านกับรับเงินแทนจำเลยที่ 1 และที่ 2 เท่านั้นแต่เมื่อจำเลยที่ 3 เป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 และที่ 2 และส่วนใหญ่จะเป็นผู้ทำสัญญากับลูกค้าด้วยตนเอง เมื่อมีปัญหาจำเลยที่ 3 จะเป็นผู้เจรจาตกลงซึ่งทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจว่า จำเลยที่ 3 มีอำนาจในการดำเนินการกิจการของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้เชิดจำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนในกิจการของตน การที่จำเลยที่ 3เจรจาตกลงทำบันทึกเอกสารหมาย จ.5 จึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 และที่ 2
การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ผ่อนชำระเงินคืนให้โจทก์ถึง 8 งวด ตามบันทึกข้อตกลงและจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ขายที่ดินและบ้านซึ่งโจทก์ตกลงคืนให้แก่ผู้อื่นไปแล้ว ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ให้สัตยาบันในการกระทำของจำเลยที่ 3 แล้ว มีผลผูกพันให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ต้องปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงทั้งหมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4048/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนเชิด ตัวการให้สัตยาบัน ผูกพันตามสัญญา แม้มอบอำนาจจำกัด
จำเลยที่ 3 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจำเลยที่ 1 และที่ 2 มาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งบริษัท โครงการของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ส่วนใหญ่จำเลยที่ 3 จะเป็นผู้ทำสัญญากับลูกค้าด้วยตนเอง เมื่อมีปัญหาจำเลยที่ 3 ก็จะเป็นผู้เจรจาตกลงซึ่งทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้มีอำนาจในการดำเนินกิจการของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 เชิดให้จำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนในการดำเนินกิจการของตน การที่จำเลยที่ 3 เจรจาตกลงทำบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับเรื่องสัญญาจะซื้อจะขายและรับเหมาก่อสร้างกับโจทก์ จึงเป็นการกระทำในนามของจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีผลผูกพันจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการ
จำเลยที่ 3 ทำบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับเรื่องสัญญาจะซื้อจะขายและรับเหมาก่อสร้างกับโจทก์แล้ว จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ผ่อนชำระเงินคืนให้แก่โจทก์รวม 8 งวดต่อมาจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ขายที่ดินและบ้านซึ่งโจทก์ตกลงคืนให้แก่ ธ. จึงเป็นการที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยินยอมเข้าผูกพันปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวถือว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการได้ให้สัตยาบันในการกระทำของจำเลยที่ 3 แล้ว จึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้ต้องปฏิบัติ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 823 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่อาจกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 3 เข้าทำข้อตกลงโดยพลการและมูลหนี้ที่ตกลงชำระกันเป็นมูลหนี้ที่ไม่ชอบได้ อีกทั้งการให้สัตยาบันดังกล่าวมีผลผูกพันให้ต้องปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงทั้งหมด มิใช่เป็นการให้สัตยาบันเฉพาะในมูลหนี้ที่ได้ชำระให้แก่โจทก์ไปแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4048/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนเชิด การให้สัตยาบัน และผลผูกพันตามสัญญา
แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 3 เป็นผู้ลงนามในสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและรับเหมาก่อสร้างบ้านกับรับเงินแทนจำเลยที่ 1 และที่ 2 เท่านั้น แต่เมื่อจำเลยที่ 3 เป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 และที่ 2 และส่วนใหญ่จะเป็นผู้ทำสัญญากับลูกค้าด้วยตนเอง เมื่อมีปัญหาจำเลยที่ 3 จะเป็นผู้เจรจาตกลงซึ่งทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจว่า จำเลยที่ 3 มีอำนาจในการดำเนินการกิจการของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้เชิดจำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนในกิจการของตน การที่จำเลยที่ 3 เจรจาตกลงทำบันทึกเอกสารหมาย จ. 5 จึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 และที่ 2
การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ผ่อนชำระเงินคืนให้โจทก์ถึง 8 งวด ตามบันทึกข้อตกลงและจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ขายที่ดินและบ้านซึ่งโจทก์ตกลงคืนให้แก่ผู้อื่นไปแล้ว ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ให้สัตยาบันในการกระทำของจำเลยที่ 3 แล้ว มีผลผูกพันให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ต้องปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงทั้งหมด
of 49