พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2762-2765/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการคุ้มครองตามกฎหมายแรงงาน: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภาไม่มีวัตถุประสงค์แสวงหากำไร จึงไม่อยู่ภายใต้บังคับ
ศาลแรงงานกลางกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์มีสิทธิเรียกค่าทำงานในวันหยุดจากจำเลย(คุรุสภา)หรือไม่ เพียงใดเมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้เบื้องต้นว่า องค์การค้าของคุรุสภา และสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาเป็นหน่วยงานของคุรุสภาองค์การค้าของคุรุสภาเป็นหน่วยงานที่หารายได้ส่วนสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาที่โจทก์เป็นเจ้าหน้าที่ประจำอยู่นั้นมีหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินงานในหน้าที่ของคุรุสภาการที่ศาลแรงงานกลางกำหนดปัญหาวินิจฉัยว่า'สำนักงานเลขาธิการคุรุสภาอยู่ในบังคับของกฎหมายคุ้มครองแรงงานหรือไม่ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานหรือไม่' จึงเป็นการพิจารณาเพื่อจะนำไปสู่ประเด็นข้อพิพาทที่ได้กำหนดไว้ ตามพระราชบัญญัติครู พ.ศ.2488 อำนาจหน้าที่ของคุรุสภาซึ่งดำเนินงานโดยสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาไม่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับองค์การค้าของคุรุสภาที่มีการบริหารงานแยกไปต่างหากจากสำนักงานเลขาธิการพนักงานเจ้าหน้าที่ก็เป็นคนละส่วน กันผู้บังคับบัญชาในการบริหารของหน่วยงานทั้งสองเป็น คนละคน ระเบียบข้อบังคับที่ใช้ในแต่ละหน่วยก็แยก ต่างหากจากกัน เมื่อสำนักงานเลขาธิการคุรุสภามิได้มีการ ดำเนินงานเพื่อหารายได้มาแบ่งปันกันระหว่างพนักงานแสดง ว่าจำเลยไม่มีวัตถุประสงค์ในการแสวงหากำไรทางเศรษฐกิจจำเลยหาต้องอยู่ในบังคับของกฎหมายคุ้มครองแรงงานไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2515/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจของพนักงานตรวจแรงงานเป็นเพียงผู้ไกล่เกลี่ย และการจ่ายค่านายหน้าเป็นค่าจ้างตามกฎหมาย
พนักงานตรวจแรงงานมิได้อยู่ในฐานะผู้มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างหากแต่เป็นผู้ไกล่เกลี่ย คำเตือนของพนักงานตรวจแรงงานให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างเป็นเพียงคำชี้แจงของผู้ไกล่เกลี่ยให้นายจ้างทราบ เพื่อให้มีการประนีประนอมกันระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างหากนายจ้างเห็นว่าคำเตือนนั้นไม่ถูกต้องจะไม่ปฏิบัติตามก็ได้ คำเตือนนั้นหามีผลบังคับไม่การที่พนักงานตรวจแรงงานออกคำเตือนดังกล่าวไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิและหน้าที่ทางแพ่งของนายจ้างนายจ้างไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำเตือน (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่1444/2519)
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
นอกจากค่าจ้างเป็นรายเดือนแล้ว ลูกจ้างยังมีสิทธิได้รับเงินค่านายหน้าอีกร้อยละ 1.75 จากจำนวนเงินที่นายจ้างได้รับชำระจากสินค้าของนายจ้างที่ได้ขายไปในเขตควบคุมของลูกจ้าง เงินค่านายหน้าดังกล่าวเป็นค่าจ้างตาม ข้อ 2 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ฉบับลงวันที่16 เมษายน 2515 นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้าง
เงื่อนไขและระเบียบของนายจ้างที่ให้งดจ่ายเงินค่านายหน้าดังกล่าวที่ยังไม่ได้จ่ายในกรณีที่ลูกจ้างออกจากงานขัดต่อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ข้อกำหนดดังกล่าวตกเป็นโมฆะ
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
นอกจากค่าจ้างเป็นรายเดือนแล้ว ลูกจ้างยังมีสิทธิได้รับเงินค่านายหน้าอีกร้อยละ 1.75 จากจำนวนเงินที่นายจ้างได้รับชำระจากสินค้าของนายจ้างที่ได้ขายไปในเขตควบคุมของลูกจ้าง เงินค่านายหน้าดังกล่าวเป็นค่าจ้างตาม ข้อ 2 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ฉบับลงวันที่16 เมษายน 2515 นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้าง
เงื่อนไขและระเบียบของนายจ้างที่ให้งดจ่ายเงินค่านายหน้าดังกล่าวที่ยังไม่ได้จ่ายในกรณีที่ลูกจ้างออกจากงานขัดต่อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ข้อกำหนดดังกล่าวตกเป็นโมฆะ