คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.โรงรับจำนำ พ.ศ.2505

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 875/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนำหุ้นเป็นประกันหนี้ ผู้จำนำต้องรับผิดร่วมกับลูกหนี้ตามมูลค่าหุ้น หากขายได้เงินน้อยกว่าก็ต้องชดใช้ส่วนต่าง
จำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์ จำเลยที่ 1, ที่ 4, ที่ 5, ที่ 6 และที่ 7 ได้จำนำหุ้นซึ่งจำเลยแต่ละคนเป็นผู้ถือเพื่อเป็นการประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 สัญญาจำนำระบุว่าผู้จำนำยอมรับผิดต่อผู้รับจำนำในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 และถ้าขายทรัพย์สินที่จำนำได้เงินสุทธิต่ำกว่าต้นเงินจำนำและดอกเบี้ยที่ค้างชำระผู้จำนำยอมชดใช้เงินที่ยังขาดอีกจนครบนั้น ต้องแปลว่าจำเลยที่ 4 ถึงที่ 7 ยอมรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 เต็มมูลค่าหุ้นที่จำเลยแต่ละคนนำมาจำนำ หากภายหลังขายได้เงินสุทธิน้อยกว่ามูลค่าหุ้นแล้ว ผู้จำนำยอมรับผิดในส่วนที่ยังขาดอยู่นั้น
ปัญหาว่าการขายทอดตลาดหุ้นที่จำนำและโอนหุ้นไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะไม่ได้รับอนุญาตให้ทำการขายทอดตลาดเป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่าพ.ศ.2474 ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 พ.ศ.2515 และพระราชบัญญัติโรงรับจำนำนั้น จำเลยมิได้ต่อสู้เป็นประเด็นไว้ในคำให้การ จึงมิใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 886/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โรงรับจำนำต้องคืนทรัพย์จำนำหากรับจำนำโดยมีเหตุควรรู้ว่าได้มาจากการกระทำผิด แม้จะไม่พอฟังว่ารู้จริง
โรงรับจำนำต้องคืนทรัพย์จำนำแก่เจ้าของ โดยเรียกให้ชำระหนี้จำนำไม่ได้ เมื่อรับจำนำไว้โดยแม้จะไม่รู้แต่ควรรู้ว่าทรัพย์จำนำนั้นได้มาโดยกระทำความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2596/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการวินิจฉัยฟ้องเคลือบคลุม, อายุความคดีแพ่ง, การฟ้องเรียกทรัพย์คืนหลังมีคำพิพากษาอาญา
กรุงเทพมหานครโจทก์เป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติเทศบาลพ.ศ. 2496 และมีสิทธิทำกิจการเทศพาณิชย์ได้ตามมาตรา 57 ประกอบด้วยมาตรา 55(12) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2511 การที่โจทก์จัดทำกิจการสถานธนานุบาล (โรงรับจำนำ) ซึ่งเป็นการค้าขายอย่างหนึ่งตามพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ.2505 ย่อมถือได้ว่าเป็นการจัดทำกิจการเทศพาณิชย์อย่างหนึ่ง เพราะคำว่า "เทศพาณิชย" หมายความถึงการค้าขายของประเทศของบ้านเมือง หรือของท้องถิ่น
จำเลยไม่ได้ให้การว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเพราะไม่ได้บรรยายให้ชัดเจนว่าการค้ำประกันเริ่มตั้งแต่เมื่อใด เมื่อจำเลยฎีกาว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเพราะเหตุดังกล่าวศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้ เพราะไม่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นผู้ค้ำประกัน พ. รายละเอียดปรากฏตามสำเนาเอกสารท้ายฟ้อง และตามเอกสารท้ายฟ้องก็เป็นสำเนาสัญญาค้ำประกันที่จำเลยทำสัญญาค้ำประกัน พ. ต่อโจทก์ตรงกับที่บรรยายฟ้อง ดังนี้ แม้สำเนาค้ำประกันท้ายสำเนาฟ้องที่ส่งให้จำเลยจะเป็นสำเนาค้ำประกันบุคคลอื่นไม่ใช่สำเนาค้ำประกัน พ. ก็ไม่ทำให้ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเพราะจำเลยอาจขอดูสำเนาสัญญาค้ำประกันท้ายฟ้องหรือขอให้ศาลสั่งให้โจทก์ส่งสำเนาค้ำประกันที่ถูกต้องให้จำเลยได้
พ.กระทำผิดหน้าที่โดยทุจริตเบียดบังยักยอกทรัพย์สินของโจทก์ไป โจทก์ย่อมฟ้องเรียกคืนทรัพย์หรือให้ใช้ราคาได้อันเป็นการฟ้องเรียกคืนทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 และปรากฏว่าการที่ พ. ยักยอกทรัพย์ของโจทก์ดังกล่าวศาลอาญาพิพากษาจำคุก พ. คดีถึงที่สุดแล้วก่อนโจทก์จะยื่นฟ้องจำเลยผู้ค้ำประกันเป็นคดีนี้ สิทธิของโจทก์ซึ่งจะเรียกร้องให้ พ. รับผิดในทางแพ่งย่อมมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 168 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 วรรคสาม มิใช่มีอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 ซึ่งจำเลยยกข้อต่อสู้ของ พ.ผู้เป็นลูกหนี้ที่มีต่อโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้ตามมาตรา 694

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2596/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการพิจารณาฟ้องเคลือบคลุม, อายุความคดีแพ่ง, และการฟ้องเรียกทรัพย์คืนหลังมีคำพิพากษาอาญา
กรุงเทพมหานครโจทก์เป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 และมีสิทธิทำกิจการเทศพาณิชย์ได้ตามมาตรา 57 ประกอบด้วยมาตรา 54 (12) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2511 การที่โจทก์จัดทำกิจการสถานธนานุบาล (โรงรับจำนำ) ซึ่งเป็นการค้าขายอย่างหนึ่งตามพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ.2505 ย่อมถือได้ว่าเป็นการจัดทำกิจการเทศพาณิชย์อย่างหนึ่ง เพราะคำว่า "เทศพาณิชย" หมายความถึงการค้าขายของประเทศ ของบ้านเมือง หรือของท้องถิ่น
จำเลยไม่ได้ให้การว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเพราะไม่ได้บรรยายให้ชัดเจนว่าการค้ำประกันเริ่มตั้งแต่เมื่อใด เมื่อจำเลยฎีกาว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเพราะเหตุดังกล่าวศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้ เพราะไม่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นผู้ค้ำประกัน พ. รายละเอียดปรากฏตามสำเนาเอกสารท้ายฟ้อง และตามเอกสารท้ายฟ้องก็เป็นสำเนาสัญญาค้ำประกันที่จำเลยทำสัญญาค้ำประกัน พ.ต่อโจทก์ตรงกับที่บรรยายฟ้อง ดังนี้ แม้สำเนาค้ำประกันท้ายสำเนาฟ้องที่ส่งให้จำเลยจะเป็นสำเนาค้ำประกันบุคคลอื่นไม่ใช่สำเนาค้ำประกัน พ.ก็ไม่ทำให้ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม เพราะจำเลยอาจขอดูสำเนาสัญญาค้ำประกันท้ายฟ้องหรือขอให้ศาลสั่งให้โจทก์ส่งสำเนาค้ำประกันที่ถูกต้องให้จำเลยได้
พ.กระทำผิดหน้าที่โดยทุจริตเบียดบังยักยอกทรัพย์สินของโจทก์ไป โจทก์ย่อมฟ้องเรียกคืนทรัพย์หรือให้ใช้ราคาได้ อันเป็นการฟ้องเรียกคืนทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 และปรากฏว่าการที่ พ.ยักยอกทรัพย์ของโจทก์ดังกล่าวศาลอาญาพิพากษาจำคุก พ.คดีถึงที่สุดแล้วก่อนโจทก์จะยื่นฟ้องจำเลยผู้ค้ำประกันเป็นคดีนี้ สิทธิของโจทก์ซึ่งจะเรียกร้องให้ พ.รับผิดในทางแพ่งย่อมมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 168 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 วรรคสาม มิใช่มีอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 ซึ่งจำเลยยกข้อต่อสู้ของ พ.ผู้เป็นลูกหนี้ที่มีต่อโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้ตามมาตรา 694