คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
กฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 7 (พ.ศ.2497)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3208/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลคำพิพากษาศาลฎีกาผูกพันคู่ความ การงดสืบพยานชอบด้วยกฎหมาย และการดำเนินการตามประมวลกฎหมายที่ดิน
คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตที่ดินของโจทก์ดังนั้น ผลของคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวจึงผูกพันคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษา นับแต่วันที่ได้พิพากษาจนถึงวันที่คำพิพากษานั้นได้ถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขกลับหรืองดเสียตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 ซึ่งตามคำให้การของจำเลยทั้งสามในคดีนี้ก็ไม่ปรากฏว่าหลังจากศาลฎีกาพิพากษาในคดีดังกล่าวแล้วจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือไปยังโจทก์ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 จะยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทในฐานะเจ้าของต่อไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 และจำเลยที่ 3 ก็มิได้ให้การต่อสู้ว่าตนมีสิทธิดีกว่าโจทก์แต่ประการใด กรณีจึงต้องถือว่าจำเลยทั้งสามไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทดีไปกว่าโจทก์ คดีจึงสามารถวินิจฉัยชี้ขาดได้โดยไม่ต้องสืบพยานต่อไป การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานจึงชอบแล้ว แต่การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสามส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เพื่อดำเนินการแบ่งแยกนั้นประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 78 และกฎกระทรวง ฉบับที่ 7(พ.ศ. 2497) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินฯ กำหนดไว้แล้วว่าจะต้องดำเนินการอย่างไร ซึ่งโจทก์สามารถนำคำพิพากษาไปดำเนินการตามขั้นตอนได้อยู่แล้วโดยไม่จำต้องอาศัยคำสั่งศาลให้จำเลยทั้งสามส่งมอบโฉนดที่ดินให้แต่อย่างใดจึงต้องยกคำขอในส่วนนี้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยทั้งสามมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246และ 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7433/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งแยกที่ดินหลังได้มาจากการครอบครองปรปักษ์: เจ้าของกรรมสิทธิ์เดิมมีหน้าที่จดทะเบียนตามคำสั่งศาล
เดิมที่ดินโฉนดเลขที่ 722 เนื้อที่ 2 ไร่ 80 ตารางวามีชื่อเด็กหญิง ส. กับพวกรวม 11 คน เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งในสำนวนคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 495/2528 โดยระบุไว้แล้วว่าที่ดินส่วนของเด็กหญิง ส. ในโฉนดดังกล่าวจำนวน 35 ตารางวา ทิศใดมีความกว้างยาวและเขตติดต่ออย่างไร ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดยการครอบครองปรปักษ์ โจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์ที่ดินตามที่ศาลชั้นต้นระบุไว้ดังกล่าวแยกต่างหากจากเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมคนอื่น ๆ มิใช่เป็นการได้มาในลักษณะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกับเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมคนอื่น ๆ จำเลยที่ 1 คือ กรมที่ดินจึงต้องจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์จำนวนเนื้อที่ 35 ตารางวา ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 78 ประกอบด้วยกฎกระทรวงฉบับที่ 7(พ.ศ. 2497) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 ข้อ 8(3)วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7433/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์และการแบ่งแยกที่ดิน
เดิมที่ดินโฉนดเลขที่ 722 เนื้อที่ 2 ไร่ 80 ตารางวามีชื่อเด็กหญิง ส. กับพวกรวม 11 คน เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน ต่อมาศาล-ชั้นต้นมีคำสั่งในสำนวนคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 495/2528 โดยระบุไว้แล้วว่าที่ดินส่วนของเด็กหญิง ส.ในโฉนดดังกล่าวจำนวน 35 ตารางวา ทิศใดมีความ-กว้างยาวและเขตติดต่ออย่างไร ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดยการครอบครองปรปักษ์ โจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์ที่ดินตามที่ศาลชั้นต้นระบุไว้ดังกล่าวแยกต่างหากจากเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมคนอื่น ๆ มิใช่เป็นการได้มาในลักษณะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกับเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมคนอื่น ๆ จำเลยที่ 1 คือ กรมที่ดินจึงต้องจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์จำนวนเนื้อที่ 35ตารางวา ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 78 ประกอบด้วยกฎกระทรวงฉบับที่ 7(พ.ศ.2497) ออกตามความใน พ.ร.บ. ให้ใช้ ป.ที่ดิน พ.ศ.2497 ข้อ 8(3) วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2708/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนโอนที่ดินตามคำพิพากษาศาล: ไม่จำเป็นต้องใช้ น.ส.3 ฉบับผู้ถือ หากศาลมีคำสั่งให้ถือคำพิพากษาเป็นเจตนา
ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 72 ที่บัญญัติให้คู่กรณีนำหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินมาจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น หมายถึงคู่กรณีที่มีความประสงค์จะขอทำการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมได้ยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โดยปกติธรรมดา จึงต้องนำหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินฉบับผู้ถือมาจดทะเบียน มิใช่กรณีที่ศาลมีคำพิพากษาชี้ขาดให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของคู่กรณีที่ไม่ยอมมาจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
การที่ศาลพิพากษาให้ บ. โอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของ บ. เมื่อโจทก์ยื่นคำขอต่อจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ขอจดทะเบียนที่ดิน โดยถือเอาคำพิพากษาของศาลเป็นการแสดงเจตนาของ บ. ดังนี้ แม้โจทก์ไม่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ฉบับผู้ถือไปแสดงเพราะบ. ผู้มีชื่อใน น.ส.3 ไม่ยอมมาจดทะเบียนให้ จำเลยก็ชอบที่จะจดทะเบียนให้ตามคำพิพากษานั้น