พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3410/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินกองทุนสะสมของพนักงานถือเป็นสิทธิของพนักงาน ไม่ใช่ของนายจ้าง จึงเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้
ตามระเบียบเงินกองทุนสะสมกำหนดให้โจทก์จ่ายเงินเข้ากองทุนให้แก่พนักงานโดยฝากไว้ต่อธนาคาร ระบุรายชื่อพนักงานแต่ละคนมีสิทธิในเงินกองทุน ดอกเบี้ยที่ธนาคารจ่ายให้แก่เงินฝากตามกองทุนก็ตกเป็นของพนักงาน มิใช่ตกแก่โจทก์ อีกทั้งตามระเบียบเงินกองทุนไม่มีข้อกำหนดให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะเบิกเงินจากกองทุน และไม่มีเงื่อนไขกำหนดให้เงินที่โจทก์จ่ายเข้ากองทุนแล้วกลับคืนเป็นของโจทก์อีก เงินกองทุนจึงเป็นกรรมสิทธิ์ของพนักงาน ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (2) แม้โจทก์จะเป็นผู้เบิกเงินกองทุนจากธนาคารมาจ่ายแก่พนักงาน และมีสิทธิหักเงินที่เบิกมาชำระหนี้ได้ก่อน อีกทั้งพนักงานยังไม่ได้รับเงินจากโจทก์จนกว่าจะพ้นสภาพลูกจ้างก็ตาม ก็หาใช่ว่าโจทก์มีกรรมสิทธิ์ในเงินกองทุนอยู่อีกไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3524/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินบำเหน็จพิเศษของพนักงานที่ยังไม่ได้จ่ายจริง ถือเป็นเงินสำรองตามประมวลรัษฎากร ไม่สามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายได้
ตามระเบียบสำหรับพนักงานของโจทก์ เงินบำเหน็จพิเศษไม่มีลักษณะเป็นกองทุนเพราะมิได้มีการจัดตั้งกองทุน ทั้งไม่มีลักษณะเป็นการจ่ายสมทบเนื่องจากมิได้มีการหักเงินเดือนจากพนักงานมาสมทบ แต่เงินบำเหน็จพิเศษนี้ก็เป็นเงินที่โจทก์ยังมิได้จ่ายให้แก่พนักงานเพราะมีระเบียบห้ามมิให้พนักงานถอนเงินจำนวนนี้ในระหว่างที่เป็นพนักงานอยู่ การบันทึกโอนเงินจากบัญชีสำรองจ่ายเงินบำเหน็จพิเศษเมื่อครบ 6 เดือน มาเข้าบัญชีเงินประกันตัวพนักงานและบันทึกโอนต่อเข้าบัญชีเงินฝากประจำของพนักงานจึงมีผลเท่ากับเป็นการตั้งบัญชีสำรองจ่ายเงินบำเหน็จพิเศษไว้โดยมิได้มีการจ่ายจริง เงินบำเหน็จพิเศษจึงมีลักษณะเป็นเงินสำรองต่าง ๆ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(1) ซึ่งบัญญัติมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ
เมื่อคำบรรยายฟ้องของโจทก์ ได้ขอให้ศาลพิจารณางดหรือลดเงินเพิ่มไว้แล้ว ถึงแม้จะมิได้นำมากล่าวในคำขอท้ายฟ้องอีก ก็ถือได้ว่าโจทก์ขอให้ศาลงดหรือลดเงินเพิ่มด้วย.
เมื่อคำบรรยายฟ้องของโจทก์ ได้ขอให้ศาลพิจารณางดหรือลดเงินเพิ่มไว้แล้ว ถึงแม้จะมิได้นำมากล่าวในคำขอท้ายฟ้องอีก ก็ถือได้ว่าโจทก์ขอให้ศาลงดหรือลดเงินเพิ่มด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3524/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินบำเหน็จพิเศษที่ไม่ใช่รายจ่ายทางภาษี และการไม่มีเจตนาสุจริตในการเสียภาษี ทำให้ไม่ได้รับลดเงินเพิ่ม
แม้เงินบำเหน็จพิเศษที่ธนาคารโจทก์จ่ายให้พนักงานจะไม่มีลักษณะเป็นเงินกองทุนตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (2) เพราะมิได้มีการจัดตั้งกองทุน ทั้งไม่มีลักษณะเป็นการจ่ายสมทบเนื่องจากมิได้มีการหักเงินเดือนจากพนักงานมาสมทบก็ตาม แต่เงินบำเหน็จพิเศษนี้ก็เป็นเงินที่โจทก์ยังมิได้จ่ายให้แก่พนักงาน เพราะมีระเบียบห้ามมิให้พนักงานถอน เงินจำนวนนี้ในระหว่างที่เป็นพนักงานอยู่การบันทึกโอนเงินจากบัญชีสำรองจ่ายเงินบำเหน็จพิเศษเมื่อครบ6 เดือนมาเข้าบัญชีเงินประกันตัวพนักงาน และบันทึกโอนต่อเข้าบัญชีเงินฝากประจำของพนักงาน จึงมีผลเท่ากับเป็นการตั้งบัญชีสำรองจ่ายเงินบำเหน็จพิเศษไว้โดยมิได้มีการจ่ายจริงเงินบำเหน็จพิเศษจึงมีลักษณะเป็นเงินสำรองต่าง ๆ ตามมาตรา65 ตรี (1) ซึ่งไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ โจทก์จึงนำเงินบำเหน็จพิเศษมาหักเป็นรายจ่ายเพื่อคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้ คำบรรยายฟ้องของโจทก์ได้ขอให้ศาลงดหรือลดเงินเพิ่มไว้แล้วถึงแม้จะมิได้นำมา กล่าว ในคำขอท้ายฟ้อง ก็ถือได้ว่าโจทก์ขอให้ศาลงดหรือลดเงินเพิ่มด้วยแล้ว การที่โจทก์ออกระเบียบว่าด้วยบำเหน็จและระเบียบว่าด้วยหลักประกันตัวพนักงาน ด้วยวิธีกำหนดให้เงินบำเหน็จพิเศษและเงินประจำตัวมีจำนวนเท่ากัน เพื่อประโยชน์ที่จะอาศัยวิธีการทางบัญชีนำเงินบำเหน็จพิเศษซึ่งมิได้มีการจ่ายมาเป็นรายจ่ายเพื่อคำนวณกำไรสุทธิเป็นผลทำให้โจทก์เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลน้อยกว่าความเป็นจริงนั้น เรียกไม่ได้ว่าโจทก์และเจ้าพนักงานประเมินมีความเห็นในการตีความกฎหมายต่างกันโดยสุจริต จึงไม่มีเหตุสมควรงดหรือลดเงินเพิ่มให้แก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 300/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักค่าใช้จ่ายทางภาษี: กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ค่าใช้จ่ายสำนักงานต่างประเทศ และเงินทดรองการเฝ้าเรือ
เงินทุนสำรองเลี้ยงชีพลูกจ้างจะได้รับยกเว้นให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(2) จะต้องเป็นค่าใช้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีที่จ่ายแก่ลูกจ้างโดยเด็ดขาดเท่านั้นเงินที่โจทก์จ่ายเข้าสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพลูกจ้างโจทก์ทุกเดือนลูกจ้างโจทก์จะได้รับก็ต่อเมื่อออกจากงานโดยไม่ผิดระเบียบเท่านั้นจึงถือไม่ได้ว่าขณะโจทก์จ่ายเงินเข้าสมทบกองทุนเป็นค่าใช้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างโดยเด็ดขาดแล้วเพราะเมื่อลูกจ้างไม่ออกจากงานก็ยังไม่มีโอกาสได้รับ ทั้งในกรณีที่ออกผิดระเบียบเงินส่วนที่โจทก์จ่ายสมทบลูกจ้างจะไม่ได้รับแต่จะกลับคืนมาเป็นของโจทก์อีก กรณีจึงไม่เข้าข้อยกเว้นตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(2) จึงต้องถือว่าเป็นเงินกองทุนที่ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ
เงินที่โจทก์ส่งไปชำระให้สำนักงานใหญ่และสาขาในต่างประเทศเพื่อเฉลี่ยเป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าเช่าที่ทำการ ค่าน้ำค่าไฟ ค่าเครื่องเขียนเครื่องใช้ ค่าสึกหรอเครื่องมือเครื่องใช้และอื่น ๆ ตามที่โจทก์นำสืบ ล้วนแต่มีลักษณะเป็นรายจ่ายโดยเฉพาะของสำนักงานเหล่านั้นทั้งสิ้นแม้สำนักงานเหล่านั้นจะจ่ายโจทก์ในการติดต่อผู้จำหน่ายสินค้าช่วยส่งเงินเมื่อมีผู้ชำระมาให้โจทก์ ช่วยหากิจการ และโจทก์สาขากรุงเทพฯ ต้องดำเนินงานตามคำสั่งของสำนักงานใหญ่ก็ตาม ไม่ถือว่าเป็นรายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยโจทก์จึงจะนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิมิได้ เพราะเป็นการต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(14)
โจทก์เป็นตัวแทนบริษัทเรือที่กรุงเทพฯ เมื่อเรือมาถึงโจทก์จะจ้างบริษัทรับจ้างเฝ้าเรือ โดยจ่ายค่าจ้างไปก่อน บริษัทเรือจะส่งเงินที่โจทก์จ่ายไปนั้นคืนให้โจทก์เป็นการจ่ายมีลักษณะเป็นเงินทดรอง หาใช่รายจ่ายของโจทก์เพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะของโจทก์ไม่ โจทก์จึงจะนำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิมิได้เพราะเป็นการต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(13)
เงินจำนวนที่โจทก์ส่งไปยังสำนักงานใหญ่และสำนักงานสาขาในต่างประเทศเพื่อเฉลี่ยค่าใช้จ่ายของสำนักงานดังกล่าวซึ่งต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเงินจำนวนนี้จึงเป็นรายได้ซึ่งจะต้องนำกลับเข้ามารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจึงต้องถือว่าโจทก์ได้จำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยฉะนั้นโจทก์จึงต้องเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ทวิอีกส่วนหนึ่ง
เงินเพิ่มกรณีที่โจทก์จำหน่ายกำไรออกจากประเทศไทยประมวลรัษฎากรมาตรา 70 ทวิ บัญญัติให้ผู้จำหน่ายต้องเสียภาษีเงินได้อัตราร้อยละ 15 ภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันจำหน่ายเมื่อโจทก์ไม่เสียภายในกำหนดต้องเสียเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 20 แห่งเงินภาษีที่ต้องเสียตามประมวลรัษฎากรมาตรา 27 เงินเพิ่มนี้กำหนดไว้แน่นอนมิได้บัญญัติว่าเป็นข้อยกเว้นให้งดเก็บเสียได้และจะลดได้ก็ต้องเป็นไปตามมาตรา 27(1)(2)
เงินที่โจทก์ส่งไปชำระให้สำนักงานใหญ่และสาขาในต่างประเทศเพื่อเฉลี่ยเป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าเช่าที่ทำการ ค่าน้ำค่าไฟ ค่าเครื่องเขียนเครื่องใช้ ค่าสึกหรอเครื่องมือเครื่องใช้และอื่น ๆ ตามที่โจทก์นำสืบ ล้วนแต่มีลักษณะเป็นรายจ่ายโดยเฉพาะของสำนักงานเหล่านั้นทั้งสิ้นแม้สำนักงานเหล่านั้นจะจ่ายโจทก์ในการติดต่อผู้จำหน่ายสินค้าช่วยส่งเงินเมื่อมีผู้ชำระมาให้โจทก์ ช่วยหากิจการ และโจทก์สาขากรุงเทพฯ ต้องดำเนินงานตามคำสั่งของสำนักงานใหญ่ก็ตาม ไม่ถือว่าเป็นรายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยโจทก์จึงจะนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิมิได้ เพราะเป็นการต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(14)
โจทก์เป็นตัวแทนบริษัทเรือที่กรุงเทพฯ เมื่อเรือมาถึงโจทก์จะจ้างบริษัทรับจ้างเฝ้าเรือ โดยจ่ายค่าจ้างไปก่อน บริษัทเรือจะส่งเงินที่โจทก์จ่ายไปนั้นคืนให้โจทก์เป็นการจ่ายมีลักษณะเป็นเงินทดรอง หาใช่รายจ่ายของโจทก์เพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะของโจทก์ไม่ โจทก์จึงจะนำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิมิได้เพราะเป็นการต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(13)
เงินจำนวนที่โจทก์ส่งไปยังสำนักงานใหญ่และสำนักงานสาขาในต่างประเทศเพื่อเฉลี่ยค่าใช้จ่ายของสำนักงานดังกล่าวซึ่งต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเงินจำนวนนี้จึงเป็นรายได้ซึ่งจะต้องนำกลับเข้ามารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจึงต้องถือว่าโจทก์ได้จำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยฉะนั้นโจทก์จึงต้องเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ทวิอีกส่วนหนึ่ง
เงินเพิ่มกรณีที่โจทก์จำหน่ายกำไรออกจากประเทศไทยประมวลรัษฎากรมาตรา 70 ทวิ บัญญัติให้ผู้จำหน่ายต้องเสียภาษีเงินได้อัตราร้อยละ 15 ภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันจำหน่ายเมื่อโจทก์ไม่เสียภายในกำหนดต้องเสียเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 20 แห่งเงินภาษีที่ต้องเสียตามประมวลรัษฎากรมาตรา 27 เงินเพิ่มนี้กำหนดไว้แน่นอนมิได้บัญญัติว่าเป็นข้อยกเว้นให้งดเก็บเสียได้และจะลดได้ก็ต้องเป็นไปตามมาตรา 27(1)(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 300/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักค่าใช้จ่ายทางภาษี: กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, ค่าใช้จ่ายสำนักงานต่างประเทศ, และเงินทดรองจ่าย
เงินทุนสำรองเลี้ยงชีพลูกจ้างจะได้รับยกเว้นให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (2) จะต้องเป็นค่าใช้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีที่จ่ายแก่ลูกจ้างโดยเด็ดขาดเท่านั้น เงินที่โจทก์จ่ายเข้าสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพลูกจ้างโจทก์ทุกเดือน ลูกจ้างโจทก์จะได้รับก็ต่อเมื่อออกจากงานโดยไม่ผิดระเบียบเท่านั้น จึงถือไม่ได้ว่าขณะโจทก์จ่ายเงินเข้าสมทบกองทุนเป็นค่าใช้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างโดยเด็ดขาดแล้ว เพราะเมื่อลูกจ้างไม่ออกจากงานก็ยังไม่มีโอกาสได้รับ ทั้งในกรณีที่ออกผิดระเบียบเงินส่วนที่โจทก์จ่ายสมทบลูกจ้างจะไม่ได้รับแต่จะกลับคืนมาเป็นของโจทก์อีก กรณีจึงไม่เข้าข้อยกเว้นตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ตรี (2) จึงต้องถือว่าเป็นเงินกองทุนที่ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ
เงินที่โจทก์ส่งไปชำระให้สำนักงานใหญ่และสาขาในต่างประเทศเพื่อเฉลี่ยเป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าเช่าที่ทำการ ค่าน้ำค่าไฟ ค่าเครื่องเขียนเครื่องใช้ ค่าสึกหรอ เครื่องมือเครื่องใช้และอื่นๆ ตามที่โจทก์นำสืบ ล้วนแต่มีลักษณะเป็นรายจ่ายโดยเฉพาะของสำนักงานเหล่านั้นทั้งสิ้น แม้สำนักงานเหล่านั้นจะจ่ายโจทก์ในการติดต่อผู้จำหน่ายสินค้า ช่วยส่งเงินเมื่อมีผู้ชำระมาให้โจทก์ ช่วยหากิจการ และโจทก์สาขากรุงเทพฯ ต้องดำเนินงานตามคำสั่งของสำนักงานใหญ่ก็ตาม ไม่ถือว่าเป็นรายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทย โจทก์จึงจะนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิมิได้ เพราะเป็นการต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (14)
โจทก์เป็นตัวแทนบริษัทเรือที่กรุงเทพฯ เมื่อเรือมาถึงโจทก์จะจ้างบริษัทรับจ้างเฝ้าเรือ โดยจ่ายค่าจ้างไปก่อน บริษัทเรือจะส่งเงินที่โจทก์จ่ายไปนั้นคืนให้โจทก์เป็นการจ่ายมีลักษณะเป็นเงินทดรอง หาใช่รายจ่ายของโจทก์เพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะของโจทก์ไม่ โจทก์จึงจะนำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรเพื่อกิจการโดยเฉพาะของโจทก์ไม่ โจทก์จึงจะนำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิมิได้เพราะเป็นการต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (13)
เงินจำนวนที่โจทก์ส่งไปยังสำนักงานใหญ่และสำนักงานสาขาในต่างประเทศเพื่อเฉลี่ยค่าใช้จ่ายของสำนักงานดังกล่าวซึ่งต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ เงินจำนวนนี้จึงเป็นรายได้ซึ่งจะต้องนำกลับเข้ามารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล จึงต้องถือว่าโจทก์ได้จำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย ฉะนั้นโจทก์จึงต้องเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ทวิอีกส่วนหนึ่ง
เงินเพิ่มกรณีที่โจทก์จำหน่ายกำไรออกจากประเทศไทย ประมวลรัษฎากรมาตรา 70 ทวิ บัญญัติให้ผู้จำหน่ายต้องเสียภาษีเงินได้อัตราร้อยละ 15 ภายในกำหนด 7 วันนับแต่วันจำหน่าย เมื่อโจทก์ไม่เสียภายในกำหนดต้องเสียเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 20 แห่งเงินภาษีที่ต้องเสียตามประมวลรัษฎากร มาตรา 27 เงินเพิ่มนี้กำหนดไว้แน่นอนมิได้บัญญัติว่าเป็นข้อยกเว้นให้งดเก็บเสียได้และจะลดได้ก็ต้องเป็นไปตามมาตรา 27 (1), (2)
เงินที่โจทก์ส่งไปชำระให้สำนักงานใหญ่และสาขาในต่างประเทศเพื่อเฉลี่ยเป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าเช่าที่ทำการ ค่าน้ำค่าไฟ ค่าเครื่องเขียนเครื่องใช้ ค่าสึกหรอ เครื่องมือเครื่องใช้และอื่นๆ ตามที่โจทก์นำสืบ ล้วนแต่มีลักษณะเป็นรายจ่ายโดยเฉพาะของสำนักงานเหล่านั้นทั้งสิ้น แม้สำนักงานเหล่านั้นจะจ่ายโจทก์ในการติดต่อผู้จำหน่ายสินค้า ช่วยส่งเงินเมื่อมีผู้ชำระมาให้โจทก์ ช่วยหากิจการ และโจทก์สาขากรุงเทพฯ ต้องดำเนินงานตามคำสั่งของสำนักงานใหญ่ก็ตาม ไม่ถือว่าเป็นรายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทย โจทก์จึงจะนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิมิได้ เพราะเป็นการต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (14)
โจทก์เป็นตัวแทนบริษัทเรือที่กรุงเทพฯ เมื่อเรือมาถึงโจทก์จะจ้างบริษัทรับจ้างเฝ้าเรือ โดยจ่ายค่าจ้างไปก่อน บริษัทเรือจะส่งเงินที่โจทก์จ่ายไปนั้นคืนให้โจทก์เป็นการจ่ายมีลักษณะเป็นเงินทดรอง หาใช่รายจ่ายของโจทก์เพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะของโจทก์ไม่ โจทก์จึงจะนำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรเพื่อกิจการโดยเฉพาะของโจทก์ไม่ โจทก์จึงจะนำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิมิได้เพราะเป็นการต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (13)
เงินจำนวนที่โจทก์ส่งไปยังสำนักงานใหญ่และสำนักงานสาขาในต่างประเทศเพื่อเฉลี่ยค่าใช้จ่ายของสำนักงานดังกล่าวซึ่งต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ เงินจำนวนนี้จึงเป็นรายได้ซึ่งจะต้องนำกลับเข้ามารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล จึงต้องถือว่าโจทก์ได้จำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย ฉะนั้นโจทก์จึงต้องเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ทวิอีกส่วนหนึ่ง
เงินเพิ่มกรณีที่โจทก์จำหน่ายกำไรออกจากประเทศไทย ประมวลรัษฎากรมาตรา 70 ทวิ บัญญัติให้ผู้จำหน่ายต้องเสียภาษีเงินได้อัตราร้อยละ 15 ภายในกำหนด 7 วันนับแต่วันจำหน่าย เมื่อโจทก์ไม่เสียภายในกำหนดต้องเสียเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 20 แห่งเงินภาษีที่ต้องเสียตามประมวลรัษฎากร มาตรา 27 เงินเพิ่มนี้กำหนดไว้แน่นอนมิได้บัญญัติว่าเป็นข้อยกเว้นให้งดเก็บเสียได้และจะลดได้ก็ต้องเป็นไปตามมาตรา 27 (1), (2)