พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2134/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทำของกับการประเมินภาษี: รายได้จากวัสดุอุปกรณ์และกำไรที่ส่งจากต่างประเทศ
สัญญาข้อ 3.2 ระบุหน้าที่ของโจทก์ว่า โจทก์มีหน้าที่จัดหาแรงงาน วัสดุเครื่องมือเครื่องใช้ทั้งหมดและปฏิบัติงานทั้งสิ้นกับข้อ 3.3 ระบุว่า การไฟฟ้ามีหน้าที่จ่ายค่าจ้างแรงงาน วัสดุเครื่องมือเครื่องใช้และงานที่โจทก์ทำไป ดังนี้ ข้อสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาจ้างทำของตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 587ส่วนการที่โจทก์ที่ประเทศอินเดียมีโรงงานผลิตเสาไฟฟ้าแรงสูงจำหน่ายทั่วโลกนั้น ก็มิได้หมายความว่าผู้ผลิตสินค้าจำหน่ายจะรับจ้างทำของด้วยไม่ได้ และข้อที่ปรากฏว่าการส่งเสาไฟฟ้าแรงสูงมายังประเทศไทย การไฟฟ้าจะเป็นผู้ขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและดำเนินการต่าง ๆ เช่นเดียวกับผู้ซื้อนั้น ก็ปรากฏว่าค่าเสาไฟฟ้าแรงสูงและวัสดุอุปกรณ์ในการก่อสร้างครั้งนี้ การไฟฟ้าจะจ่ายจากเงินที่กู้จากธนาคารโลกโดยให้ธนาคารโลกส่งเงินไปให้โจทก์โดยตรงที่ประเทศอินเดีย ฉะนั้น วิธีการปฏิบัติดังกล่าวน่าจะเพื่อให้สามารถแยกราคาค่าเสาไฟฟ้าแรงสูงและวัสดุอุปกรณ์ออกไปได้และเพื่อความสะดวกเท่านั้น หาทำให้สัญญารายพิพาทเป็นสัญญาซื้อขายรวมอยู่กับสัญญาจ้างทำของไม่ การที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินภาษีการค้าโดยนำเงินค่าเสาไฟฟ้าแรงสูงและวัสดุอุปกรณ์มารวมเป็นค่าจ้างหรือรายรับจากการค้าประเภท 4 ชนิด 1(ค) การปลูกสร้างหรือการก่อสร้างทุกชนิดตามบัญชีอัตราภาษีการค้า ในประมวลรัษฎากร จึงชอบแล้ว เมื่อโจทก์จัดตั้งสาขาขึ้นในประเทศไทยเพื่อดำเนินการตามสัญญาจ้างทำของก็เท่ากับว่า โจทก์เป็นผู้ดำเนินการรับจ้างทำของในประเทศไทย วัสดุที่โจทก์ส่งเข้ามาในประเทศไทยจึงเป็นสัมภาระที่โจทก์จัดหามาเพื่อการรับจ้างทำของของโจทก์ ค่าเสาไฟฟ้าแรงสูงและวัสดุอุปกรณ์ดังกล่าวจึงเป็นรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการในประเทศไทยของโจทก์ ตามความหมายของประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ส่วนที่การนำเสาไฟฟ้าแรงสูงและวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆเข้ามาได้กระทำโดยการไฟฟ้าสั่งซื้อ และการจ่ายเงินก็ได้ให้ธนาคารโลกจ่ายเงินให้แก่โจทก์ที่ประเทศอินเดียโดยตรง ก็เป็นเพราะการไฟฟ้าได้กู้เงินจากธนาคารโลกมาจ่ายเป็นค่าเสาไฟฟ้าแรงสูงและวัสดุอุปกรณ์ วิธีการได้วัสดุมาดังกล่าวจึงเป็นการกำหนดขึ้นเพื่อลดขั้นตอนและเพื่อความสะดวกบางอย่างเท่านั้น ค่าเสาไฟฟ้าแรงสูงและวัสดุอุปกรณ์จึงมิใช่เงินที่การไฟฟ้าซื้อจากโจทก์ค่าเสาไฟฟ้าแรงสูงและวัสดุอุปกรณ์ดังกล่าวก็ย่อมรวมอยู่ในค่าจ้างทำของของโจทก์อันได้ดำเนินการในประเทศไทยนั่นเอง เงินจำนวนนี้จึงเป็นรายได้ของโจทก์ที่จะต้องนำมาคำนวณภาษีด้วย มิใช่นำมาคำนวณเฉพาะค่าติดตั้งเสาไฟฟ้าแรงสูง เมื่อโจทก์มิได้นำเงินจำนวนนี้มาคำนวณในการเสียภาษีด้วย ย่อมเป็นการไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจตรวจสอบภาษีและโจทก์ก็มิได้โต้แย้งในอุทธรณ์ว่าโจทก์ได้ส่งบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีเพียงพอแล้ว จึงฟังได้ว่าโจทก์มิได้ส่งบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีให้แก่เจ้าพนักงานประเมินเพื่อหาต้นทุนสินค้า เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 71(1) การประเมินจึงชอบแล้ว การที่เงินกำไรที่รวมอยู่ในค่าเสาไฟฟ้าแรงสูง และวัสดุและอุปกรณ์ที่ได้ส่งจากธนาคารโลกซึ่งอยู่ต่างประเทศไปยังประเทศอินเดียให้โจทก์โดยตรง ก็เนื่องจากการไฟฟ้าได้กู้ยืมเงินจำนวนนี้จากธนาคารโลก การกระทำดังกล่าวเป็นไปเพื่อความสะดวกเท่านั้นกรณีเท่ากับว่าธนาคารโลกได้ส่งเงินค่าเสาไฟฟ้าแรงสูงและวัสดุอุปกรณ์มาให้การไฟฟ้าในประเทศไทย แล้วการไฟฟ้าผู้ว่าจ้างได้มอบเงินจำนวนดังกล่าวให้สาขาโจทก์ในประเทศไทย และสาขาโจทก์ในประเทศไทยส่งเงินไปยังโจทก์ในประเทศอินเดียนั่นเอง สาขาโจทก์ในประเทศไทยก็คือตัวโจทก์ จึงเท่ากับว่าโจทก์เป็นผู้ส่งหรือจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย กรณีต้องตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ทวิที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินให้โจทก์เสียภาษีโดยคำนวณหากำไรจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2131/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างเหมาติดตั้งเสาไฟฟ้าและวัสดุอุปกรณ์: การประเมินภาษีการค้าและภาษีเงินได้นิติบุคคล
สัญญาข้อ 3.2 ระบุหน้าที่ของโจทก์ว่า โจทก์มีหน้าที่จัดหาแรงงานวัสดุ เครื่องมือเครื่องใช้ทั้งหมดและปฏิบัติงานทั้งสิ้นกับข้อ 3.3 ระบุว่าการไฟฟ้ามีหน้าที่จ่ายค่าจ้างแรงงาน วัสดุเครื่องมือเครื่องใช้และงานที่โจทก์ทำไป ดังนี้ ข้อสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาจ้างทำของตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 587ส่วนการที่โจทก์ที่ประเทศอินเดียมีโรงงานผลิตเสาไฟฟ้าแรงสูงจำหน่ายทั่วโลกนั้น ก็มิได้หมายความว่าผู้ผลิตสินค้าจำหน่ายจะรับจ้างทำของด้วยไม่ได้ และข้อที่ปรากฏว่าการส่งเสาไฟฟ้าแรงสูงมายังประเทศไทย การไฟฟ้าจะเป็นผู้ขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและดำเนินการต่าง ๆ เช่นเดียวกับผู้ซื้อนั้น ก็ปรากฏว่าค่าเสาไฟฟ้าแรงสูงและวัสดุอุปกรณ์ในการก่อสร้างครั้งนี้ การไฟฟ้าจะจ่ายจากเงินที่กู้จากธนาคารโลกโดยให้ธนาคารโลกส่งเงินไปให้โจทก์โดยตรงที่ประเทศอินเดีย ฉะนั้น วิธีการปฏิบัติดังกล่าวน่าจะเพื่อให้สามารถแยกราคาค่าเสาไฟฟ้าแรงสูงและวัสดุอุปกรณ์ออกไปได้และเพื่อความสะดวกเท่านั้น หาทำให้สัญญารายพิพาทเป็นสัญญาซื้อขายรวมอยู่กับสัญญาจ้างทำของไม่ การที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินภาษีการค้าโดยนำเงินค่าเสาไฟฟ้าแรงสูงและวัสดุอุปกรณ์มารวมเป็นค่าจ้างหรือรายรับจากการค้าประเภท 4 ชนิด 1(ค) การปลูกสร้างหรือการก่อสร้างทุกชนิด ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าในประมวลรัษฎากรจึงชอบแล้ว เมื่อโจทก์จัดตั้งสาขาขึ้นในประเทศไทยเพื่อดำเนินการตามสัญญาจ้างทำของก็เท่ากับว่าโจทก์เป็นผู้ดำเนินการรับจ้างทำของในประเทศไทย วัสดุที่โจทก์ส่งเข้ามาในประเทศไทยจึงเป็นสัมภาระที่โจทก์จัดหามาเพื่อการรับจ้างทำของของโจทก์ ค่าเสาไฟฟ้าแรงสูงและวัสดุอุปกรณ์ดังกล่าวจึงเป็นรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการในประเทศไทยของโจทก์ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ส่วนที่การนำเสาไฟฟ้าแรงสูงและวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้ามาได้กระทำโดยการไฟฟ้าสั่งซื้อ และการจ่ายเงินก็ได้ให้ธนาคารโลกจ่ายเงินให้แก่โจทก์ที่ประเทศอินเดียโดยตรง ก็เป็นเพราะการไฟฟ้าได้กู้เงินจากธนาคารโลกมาจ่ายเป็นค่าเสาไฟฟ้าแรงสูงและวัสดุอุปกรณ์ วิธีการได้วัสดุมาดังกล่าวจึงเป็นการกำหนดขึ้นเพื่อลดขั้นตอนและเพื่อความสะดวกบางอย่างเท่านั้น ค่าเสาไฟฟ้าแรงสูงและวัสดุอุปกรณ์จึงมิใช่เงินที่การไฟฟ้าซื้อจากโจทก์ ค่าเสาไฟฟ้าแรงสูงและวัสดุอุปกรณ์ดังกล่าวก็ย่อมรวมอยู่ในค่าจ้างทำของของโจทก์อันได้ดำเนินการในประเทศไทยนั่นเอง เงินจำนวนนี้จึงเป็นรายได้ของโจทก์ที่จะต้องนำมาคำนวณภาษีด้วย มิใช่นำมาคำนวณเฉพาะค่าติดตั้งเสาไฟฟ้าแรงสูง เมื่อโจทก์มิได้นำเงินจำนวนนี้มาคำนวณในการเสียภาษีด้วย ย่อมเป็นการไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจตรวจสอบภาษีและโจทก์ก็มิได้โต้แย้งในอุทธรณ์ว่าโจทก์ได้ส่งบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีเพียงพอแล้ว จึงฟังได้ว่า โจทก์มิได้ส่งบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีให้แก่เจ้าพนักงานประเมินเพื่อหาต้นทุนสินค้า เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 71(1) การประเมินจึงชอบแล้ว การที่เงินกำไรที่รวมอยู่ในค่าเสาไฟฟ้าแรงสูงและวัสดุและอุปกรณ์ที่ได้ส่งจากธนาคารโลกซึ่งอยู่ต่างประเทศไปยังประเทศอินเดียให้โจทก์โดยตรง ก็เนื่องจากการไฟฟ้าได้กู้ยืมเงินจำนวนนี้จากธนาคารโลก การกระทำดังกล่าวเป็นไปเพื่อความสะดวกเท่านั้น กรณีเท่ากับว่าธนาคารโลกได้ส่งเงินค่าเสาไฟฟ้าแรงสูงและวัสดุอุปกรณ์มาให้การไฟฟ้าในประเทศไทย แล้วการไฟฟ้าผู้ว่าจ้างได้มอบเงินจำนวนดังกล่าวให้สาขาโจทก์ในประเทศไทย และสาขาโจทก์ในประเทศไทยส่งเงินไปยังโจทก์ในประเทศอินเดียนั่นเอง สาขาโจทก์ในประเทศไทยก็คือตัวโจทก์ จึงเท่ากับว่าโจทก์เป็นผู้ส่งหรือจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย กรณีต้องตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ทวิที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินให้โจทก์เสียภาษีโดยคำนวณหากำไรจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4550/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณรายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทย และการจำหน่ายกำไรออกนอกประเทศเพื่อเสียภาษี
สำนักงานใหญ่ของโจทก์คำนวณเฉลี่ยรายจ่ายต่าง ๆ ซึ่งประกอบด้วยเงินเดือน เบี้ยเลี้ยง เงินที่จ่ายในการหยุดพักร้อน เงินบำนาญพนักงานชาวต่างประเทศ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางและตรวจสำนักงานสาขาค่าโฆษณาทั่วไป ค่าเครื่องเขียนและแบบพิมพ์ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ค่าใช้จ่ายอาคารสำนักงานใหญ่ ค่าตอบแทนกรรมการค่าตรวจสอบบัญชี เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยเพราะคิดว่าเป็นรายจ่ายที่เกิดประโยชน์แก่กิจการสาขาในประเทศไทยด้วยแต่เมื่อโจทก์เพียงแต่ใช้หลักเกณฑ์เฉลี่ยที่กำหนดขึ้นเองโดยไม่มีหลักฐานแสดงให้เห็นว่าค่าใช้จ่ายดังกล่าวเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่กิจการของสาขาในประเทศไทยโดยเฉพาะอย่างไรและเป็นจำนวนเท่าใดกรณีเช่นนี้โจทก์จะนำค่าใช้จ่ายนั้นมาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิมิได้ และต้องนำไปรวมเป็นรายได้ในการคำนวณภาษี โจทก์ได้ส่งเงินค่าใช้จ่ายตามจำนวนที่ได้รับเฉลี่ยไปยังสำนักงานใหญ่ในต่างประเทศ จึงเป็นการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย อันต้องเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ทวิอีกส่วนหนึ่งด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4550/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักค่าใช้จ่ายสำนักงานใหญ่ของบริษัทต่างประเทศเป็นค่าใช้จ่ายในประเทศไทย: หลักเกณฑ์การคำนวณกำไรสุทธิและภาษี
รายจ่ายต่าง ๆ ของโจทก์เกี่ยวกับเงินเดือนสำนักงานใหญ่เบี้ยเลี้ยงเงินที่จ่ายในการหยุดพักร้อน เงินบำนาญพนักงานชาวต่างประเทศ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางและตรวจสำนักงานสาขาของสำนักงานใหญ่ ค่าโฆษณาทั่วไป ค่าเครื่องเขียนและแบบพิมพ์ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ค่าใช้จ่ายอาคารสำนักงานใหญ่ค่าตอบแทนกรรมการและค่าตรวจสอบบัญชี โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานแสดงให้เห็นว่า ได้ใช้จ่ายเพื่อประโยชน์แก่กิจการของสาขาในประเทศไทยอย่างไร เพียงแต่โจทก์ใช้หลักเกณฑ์ในการเฉลี่ยโดยนำรายได้ของสำนักงานสาขาในประเทศไทยมาหารด้วยรายได้รวมของสำนักงานใหญ่และทุกสาขาของโจทก์ แล้วคูณด้วยรายจ่ายส่วนที่เป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงานซึ่งสำนักงานใหญ่ได้จ่ายไปและถือว่าผลลัพธ์เป็นรายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยโดยเฉพาะเป็นหลักเกณฑ์ที่โจทก์ถือปฏิบัติและกำหนดเอาเอง โดยไม่มีหลักฐานใดชี้ให้เห็นว่า ค่าใช้จ่ายดังกล่าวเป็นรายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยโดยเฉพาะจำนวนเท่าใด เพียงแต่คิดว่ารายจ่ายเหล่านี้เกิดประโยชน์แก่สาขาในประเทศไทยด้วยเท่านั้น กรณีเช่นนี้มิใช่เป็นรายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยโดยเฉพาะ จะนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้ เมื่อโจทก์นำค่าใช้จ่ายเหล่านั้นมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิจึงต้องนำยอดค่าใช้จ่ายดังกล่าวไปรวมเป็นรายได้ในการคำนวณเสียภาษีในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ๆ เป็นผลให้กำไรสุทธิเพิ่มขึ้นตามจำนวนค่าใช้จ่ายที่นำกลับไปรวมนั้น เมื่อสาขาของโจทก์ในประเทศไทยส่งเงินส่วนเฉลี่ยค่าใช้จ่ายซึ่งมิให้ถือเป็นรายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยโดยเฉพาะไปยังสำนักงานใหญ่ในต่างประเทศเงินจำนวนนี้จึงเป็นเงินรายได้ซึ่งจะต้องนำกลับเข้ามารวมคำนวณหากำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และต้องถือว่าสาขาของโจทก์ในประเทศไทยได้จำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย ฉะนั้น โจทก์จึงต้องเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ทวิ อีกส่วนหนึ่งด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5766/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายเงินกำไรออกจากประเทศไทยโดยผ่านสาขาของบริษัทต่างชาติ ถือเป็นการหลีกเลี่ยงภาษี
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 78 วรรคแรก การพิจารณาว่าผู้ประกอบการค้าจะต้องเสียภาษีในประเภทการค้าใด ต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงของลักษณะการกระทำของผู้ประกอบการค้าที่เกิดขึ้น จะเอาวัตถุที่ประสงค์ในตราสารหรือการที่มีกฎหมายอื่นบัญญัติเป็นข้อห้ามมิให้กระทำการนั้นมาเป็นตัวกำหนดในการวินิจฉัยไม่ได้ โจทก์เป็นเพียงผู้ได้รับประโยชน์บางส่วนในจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับมูลค่าของการขายระหว่างคู่กรณี โดยโจทก์จะได้รับค่าตอบแทนประมาณร้อยละสี่ของราคาขาย เป็นค่าตอบแทนที่โจทก์ได้รับจากการจัดจำหน่ายสินค้า อันเป็นค่านายหน้าหรือค่าตอบแทนในการเป็นตัวแทนที่เข้าทำสัญญากับคู่กรณี ดังนี้ต้องถือว่า โจทก์กระทำการประกอบการค้าในประเภทการค้า 10 นายหน้าและตัวแทน ตามบัญชีอัตราภาษีการค้า โจทก์ทำสัญญาหรือทำการใด ๆ อันเกี่ยวกับการประกอบการค้าในราชอาณาจักรแทนบริษัท อ. ผู้อยู่นอกราชอาณาจักร ต้องถือว่าโจทก์มีสถานะเป็นสาขาของบริษัท อ. อันมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 76 ทวิ เมื่อโจทก์ส่งเงินกำไรของบริษัท อ. ซึ่งเกิดจากการซื้อขายในประเทศไทยออกไปจากประเทศไทย โจทก์จึงต้องเสียภาษีเงินได้ในจำนวนเงินที่จำหน่ายนั้นตามมาตรา 70 ทวิ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2878/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักค่าใช้จ่ายทางภาษี กรณีค่าบริการสาขา, หนี้สูญ, และเงินปันผลกรมธรรม์ประกันชีวิต
เงินที่จำเลยส่งไปยังสำนักงานใหญ่ต่างประเทศเพื่อเฉลี่ยค่าใช้จ่ายของสำนักงานดังกล่าว เมื่อไม่ปรากฏว่าเป็นรายจ่ายเพื่อประโยชน์แก่กิจการของจำเลยในประเทศ ไทย และจำเลยไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า สาขาในประเทศ ไทย ได้รับบริการนี้จริง และเป็นรายจ่ายที่สำนักงานใหญ่เฉลี่ย เรียกเก็บมาโดยถือหลักเกณฑ์ที่เป็นธรรม แล้วจำเลยจะนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(14) เมื่อจำเลยส่งเงินจำนวนดังกล่าวไปให้แก่สำนักงานใหญ่ยังต่างประเทศ จึงถือได้ว่าจำเลยจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศ ไทย ต้องเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ทวิ อีกส่วนหนึ่ง
หนี้ที่จะนำไปจำหน่ายเป็นหนี้สูญในการคำนวณกำไรสุทธินั้นต้องปรากฏว่าจำเลยได้ปฏิบัติการโดยสมควรเพื่อให้ได้รับชำระหนี้แล้วตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ(9) แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2502 มาตรา 29 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น เมื่อปรากฏว่าหนี้ดังกล่าวจำเลยเพียงแต่ส่งคนไปติดตามแล้วแต่ไม่ได้ โดยไม่มีหลักฐานแสดงว่าได้มีการติดตามทวงถามลูกหนี้อย่างไร จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ปฏิบัติการโดยสมควรเพื่อให้ได้รับชำระหนี้แล้ว จำเลยจึงนำหนี้ดังกล่าวไปจำหน่ายเป็นหนี้สูญในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้
จำเลยจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2527 โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2529 ยังไม่พ้นกำหนดสองปีนับแต่วันที่ถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1272 คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
เงินปันผลที่จำเลยจ่ายให้แก่ผู้ถือกรมธรรม์ตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันชีวิต เมื่อประกันครบระยะเวลาหนึ่งในขณะที่กรมธรรม์ยังมีผลคุ้มครองผู้เอาประกันอยู่ แม้จะมิได้จ่ายจากทุนประกันก็ตาม ถือได้ว่าเป็นการใช้เงินตามจำนวนซึ่งเอาประกันภัยสำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิตตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(1) (ก)วรรคสอง ซึ่งจำเลยอาจนำไปหักออกจากเงินสำรองตามมาตรา 65 ตรี (1)(ก) วรรคแรก ซึ่งตัดเป็นรายจ่ายไว้ได้อยู่แล้ว จำเลยจึงนำเงินปันผลดังกล่าวมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิอีกไม่ได้ เพราะจะเป็นการหักรายจ่ายซ้ำซ้อนกัน
หนี้ที่จะนำไปจำหน่ายเป็นหนี้สูญในการคำนวณกำไรสุทธินั้นต้องปรากฏว่าจำเลยได้ปฏิบัติการโดยสมควรเพื่อให้ได้รับชำระหนี้แล้วตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ(9) แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2502 มาตรา 29 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น เมื่อปรากฏว่าหนี้ดังกล่าวจำเลยเพียงแต่ส่งคนไปติดตามแล้วแต่ไม่ได้ โดยไม่มีหลักฐานแสดงว่าได้มีการติดตามทวงถามลูกหนี้อย่างไร จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ปฏิบัติการโดยสมควรเพื่อให้ได้รับชำระหนี้แล้ว จำเลยจึงนำหนี้ดังกล่าวไปจำหน่ายเป็นหนี้สูญในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้
จำเลยจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2527 โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2529 ยังไม่พ้นกำหนดสองปีนับแต่วันที่ถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1272 คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
เงินปันผลที่จำเลยจ่ายให้แก่ผู้ถือกรมธรรม์ตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันชีวิต เมื่อประกันครบระยะเวลาหนึ่งในขณะที่กรมธรรม์ยังมีผลคุ้มครองผู้เอาประกันอยู่ แม้จะมิได้จ่ายจากทุนประกันก็ตาม ถือได้ว่าเป็นการใช้เงินตามจำนวนซึ่งเอาประกันภัยสำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิตตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(1) (ก)วรรคสอง ซึ่งจำเลยอาจนำไปหักออกจากเงินสำรองตามมาตรา 65 ตรี (1)(ก) วรรคแรก ซึ่งตัดเป็นรายจ่ายไว้ได้อยู่แล้ว จำเลยจึงนำเงินปันผลดังกล่าวมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิอีกไม่ได้ เพราะจะเป็นการหักรายจ่ายซ้ำซ้อนกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2878/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักรายจ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคล: ค่าบริการสำนักงานใหญ่, หนี้สูญ, และเงินปันผลกรมธรรม์
เงินที่จำเลยส่งไปยังสำนักงานใหญ่ต่างประเทศเพื่อเฉลี่ยค่าใช้จ่ายของสำนักงานดังกล่าว เมื่อไม่ปรากฏว่าเป็นรายจ่ายเพื่อประโยชน์แก่กิจการของจำเลยในประเทศ ไทย และจำเลยไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า สาขาในประเทศ ไทย ได้รับบริการนี้จริง และเป็นรายจ่ายที่สำนักงานใหญ่เฉลี่ย เรียกเก็บมาโดยถือหลักเกณฑ์ที่เป็นธรรม แล้วจำเลยจะนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(14) เมื่อจำเลยส่งเงินจำนวนดังกล่าวไปให้แก่สำนักงานใหญ่ยังต่างประเทศ จึงถือได้ว่าจำเลยจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศ ไทย ต้องเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ทวิ อีกส่วนหนึ่ง หนี้ที่จะนำไปจำหน่ายเป็นหนี้สูญในการคำนวณกำไรสุทธินั้นต้องปรากฏว่าจำเลยได้ปฏิบัติการโดยสมควรเพื่อให้ได้รับชำระหนี้แล้วตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ(9) แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2502 มาตรา 29ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น เมื่อปรากฏว่าหนี้ดังกล่าวจำเลยเพียงแต่ส่งคนไปติดตามแล้วแต่ไม่ได้ โดยไม่มีหลักฐานแสดงว่าได้มีการติดตามทวงถามลูกหนี้อย่างไร จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ปฏิบัติการโดยสมควรเพื่อให้ได้รับชำระหนี้แล้ว จำเลยจึงนำหนี้ดังกล่าวไปจำหน่ายเป็นหนี้สูญในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้ จำเลยจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2527โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม2529 ยังไม่พ้นกำหนดสองปีนับแต่วันที่ถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1272 คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ เงินปันผลที่จำเลยจ่ายให้แก่ผู้ถือกรมธรรม์ตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันชีวิต เมื่อประกันครบระยะเวลาหนึ่งในขณะที่กรมธรรม์ยังมีผลคุ้มครองผู้เอาประกันอยู่ แม้จะมิได้จ่ายจากทุนประกันก็ตาม ถือได้ว่าเป็นการใช้เงินตามจำนวนซึ่งเอาประกันภัยสำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิตตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(1)(ก)วรรคสอง ซึ่งจำเลยอาจนำไปหักออกจากเงินสำรองตามมาตรา 65 ตรี (1)(ก) วรรคแรก ซึ่งตัดเป็นรายจ่ายไว้ได้อยู่แล้ว จำเลยจึงนำเงินปันผลดังกล่าวมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิอีกไม่ได้ เพราะจะเป็นการหักรายจ่ายซ้ำซ้อนกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2478/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานประกอบการถาวร - การมีอำนาจเจรจาและทำสัญญา - ความตกลงภาษีซ้อน
โจทก์มิได้มีอำนาจทั่วไปในการเจรจาและตกลงทำสัญญาต่าง ๆ แทนบริษัทแอลเอ็มอีริคสัน จำกัด บริษัทต่างประเทศซึ่งตั้งอยู่ในประเทศสวีเดนเป็นปกติวิสัย โจทก์จึงไม่เป็นสถานประกอบการถาวรของบริษัท แอลเอ็มอีริคสัน จำกัด ตามความตกลงว่าด้วยอนุสัญญาระหว่างประเทศไทยกับประเทศสวีเดนเพื่อการเว้น การเก็บภาษีซ้อน โจทก์จึงไม่มีภาระที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแทนบริษัทแอลเอ็มอีริคสัน จำกัด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2478/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานประกอบการถาวรตามสนธิสัญญาภาษีซ้อน การมีอำนาจเจรจาทำสัญญาเป็นปัจจัยสำคัญ
โจทก์มิได้มีอำนาจทั่วไปในการเจรจาและตกลงทำสัญญาต่าง ๆแทนบริษัทแอลเอ็มอีริคสันจำกัดซึ่งเป็นวิสาหกิจของประเทศสวีเดนตั้งอยู่ในประเทศสวีเดนเป็นปกติวิสัย โจทก์จึงไม่เป็นสถานประกอบการถาวรของบริษัทแอลเอ็มอีริคสัน จำกัดตามความตกลงว่าด้วยอนุสัญญาระหว่างประเทศไทยกับประเทศสวีเดนเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อน โจทก์จึงไม่มีภาระที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแทนบริษัทแอลเอ็มอีริคสัน จำกัด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 531/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีจากเงินที่โอนให้บริษัทในประเทศ ไม่ถือเป็นการจำหน่ายเงินกำไรออกนอกประเทศ
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ทวิ ที่ให้เรียกเก็บภาษีเงินได้จากการที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจำหน่ายเงินกำไร หรือเงินประเภทอื่นที่กันไว้จากเงินกำไร หรือที่ถือได้ว่าเป็นเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยนั้น กฎหมายมุ่งประสงค์ให้เรียกเก็บภาษีเงินได้ดังกล่าวเฉพาะเงินที่ได้จำหน่ายออกไปจากประเทศไทยโดยแท้จริงเมื่อปรากฏว่าโจทก์ขายกิจการของโจทก์ให้กับบริษัท อ. ในประเทศไทยและโอนเงินที่โจทก์จัดไว้เพื่อซ่อมสร้างเตาหลอมและเงินตอบแทนการทำงานของพนักงานไปให้ด้วย เงินดังกล่าวยังคงหมุนเวียนอยู่ในประเทศไทย การที่จำเลยประเมินให้โจทก์เสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ทวิ จึงไม่ชอบ