คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 375

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 70 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5467/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนสัญญาเช่าและการกำหนดค่าเสียหายจากการระงับสิทธิเช่าเดิม
จำเลยที่5โจทก์ทั้งสองและจำเลยที่1มาเจรจาตกลงกันตามบันทึกเอกสารหมายล.8ซึ่งจำเลยที่5ได้ไกล่เกลี่ยให้จำเลยที่1และโจทก์ทั้งสองตกลงกันในเรื่องเงินช่วยค่าก่อสร้างโดยถืออัตราค่าก่อสร้างเฉพาะตัวอาคารเป็นเกณฑ์กำหนดตามที่ กรมธนารักษ์แจ้งมาและโจทก์ทั้งสองก็ยินยอมเสียเงินช่วยค่าก่อสร้างอาคารตามจำนวนที่จำเลยที่5ไกล่เกลี่ยแม้จำเลยที่1ไม่ยินยอมและตกลงด้วยก็ถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองแสดงเจตนาแก่จำเลยที่1และที่5แล้วดังนั้นจำเลยที่1และที่5จึงหาอาจจะเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธินั้นในภายหลังได้ไม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา375 แม้จะได้ความว่าจำเลยที่2และที่3เป็นบุตรของ ว.หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่1ย่อมจะรู้ถึงสิทธิของโจทก์ทั้งสองที่มีต่อจำเลยที่1และจำเลยที่5อันจะถือได้ว่าจำเลยที่2และที่3เข้าทำสัญญาเช่ากับจำเลยที่5โดยไม่สุจริตก็ตามแต่เมื่อจำเลยที่2และที่3โอนสิทธิการเช่าแก่จำเลยที่4จำเลยที่4ได้ชื่อว่าเป็นบุคคลภายนอกซึ่งได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่ากระทำการโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา6โจทก์ทั้งสองจึงมีภาระการพิสูจน์ว่าจำเลยที่4รับโอนสิทธิการเช่าโดยไม่สุจริตแต่โจทก์ทั้งสองนำสืบได้แต่เพียงว่าจำเลยที่4ได้สอบถามเรื่องราวเกี่ยวกับอาคารพิพาทจากโจทก์ทั้งสองตลอดมาซึ่งยังไม่อาจชี้ชัดได้ว่าจำเลยที่4ไม่สุจริตด้วยเหตุนี้จึงไม่อาจเพิกถอนสัญญาเช่าอาคารระหว่างจำเลยที่4กับจำเลยที่5ได้ สัญญาระหว่างจำเลยที่1กับจำเลยที่5เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกเมื่อโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกแสดงเจตนาแก่จำเลยที่1และที่5ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาระหว่างจำเลยที่1และที่5แล้วการที่จำเลยที่1และที่5ระงับสิทธิของโจทก์ทั้งสองโดยให้จำเลยที่2และที่3เข้าทำสัญญาเช่าอาคารแทนที่จำเลยที่1และที่5จึงต้องรับผิดชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองแต่โจทก์ทั้งสองประสงค์จะเรียกร้องค่าเสียหายเอากับจำเลยที่1เท่านั้นจึงบังคับให้ได้เท่าที่โจทก์ทั้งสองเรียกร้องสำหรับจำเลยที่2และที่3นั้นมิใช่คู่สัญญาในสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกจึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ทั้งสองไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองส่วนจำเลยที่4นอกจากฟังไม่ได้ว่ารับโอนสิทธิการเช่าโดยไม่สุจริตยังไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ทั้งสองจึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6104/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบุคคลภายนอกจากสัญญาประนีประนอม สัญญาฉบับหลังไม่ผูกพันโจทก์
จำเลยที่ 2 ที่ 3 และนายอรุณทำสัญญาประนีประนอมยอมความตกลงเลิกห้างจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้สิทธิในทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 กับต้องชำระหนี้ภาษีอากรของจำเลยที่ 1 ทั้งหมดรวมทั้งหนี้ภาษีอากรในคดีนี้ สัญญาฉบับแรกนี้จึงเป็นสัญญาเพื่อบุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 374 โจทก์มีสิทธิเรียกชำระหนี้ภาษีอากรจากจำเลยที่ 3 โดยตรงได้ เมื่อโจทก์ได้มีหนังสือเรียกชำระหนี้จากจำเลยที่ 3 จึงเป็นการแสดงเจตนาว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นแล้ว
สิทธิของบุคคลภายนอกจะถูกเปลี่ยนแปลงหรือระงับได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 375นั้น จะต้องกระทำโดยคู่สัญญาทุกฝ่าย แต่สัญญาฉบับหลังที่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการและนายอาภรณ์ผู้ชำระบัญชีฝ่ายหนึ่ง กับจำเลยที่ 3 อีกฝ่ายหนึ่งได้ทำขึ้นเพื่อยกเลิกสัญญาฉบับแรกนั้น จำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวและนายอรุณมิได้เป็นคู่สัญญาในสัญญาฉบับหลัง สัญญาฉบับหลังจึงไม่กระทบถึงสิทธิของโจทก์ซึ่งได้เกิดมีขึ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 374 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6104/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความเพื่อบุคคลภายนอก การเปลี่ยนแปลงสิทธิ และผลผูกพันตามสัญญา
จำเลยที่ 2 ที่ 3 และนายอรุณทำสัญญาประนีประนอมยอมความตกลงเลิกห้าง จำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้สิทธิในทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 กับต้องชำระหนี้ภาษีอากรของจำเลยที่ 1ทั้งหมดรวมทั้งหนี้ภาษีอากรในคดีนี้ สัญญาฉบับแรกนี้จึงเป็นสัญญาเพื่อบุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 374 โจทก์มีสิทธิเรียกชำระหนี้ภาษีอากรจากจำเลยที่ 3 โดยตรงได้ เมื่อโจทก์ได้มีหนังสือเรียกชำระหนี้จากจำเลยที่ 3 จึงเป็นการแสดงเจตนาว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นแล้ว สิทธิของบุคคลภายนอกจะถูกเปลี่ยนแปลงหรือระงับได้ตามป.พ.พ. มาตรา 375 นั้น จะต้องกระทำโดยคู่สัญญาทุกฝ่าย แต่สัญญาฉบับหลังที่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการและนายอาภรณ์ผู้ชำระบัญชีฝ่ายหนึ่ง กับจำเลยที่ 3 อีกฝ่ายหนึ่งได้ทำขึ้นเพื่อยกเลิกสัญญาฉบับแรกนั้น จำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวและนายอรุณมิได้เป็นคู่สัญญาในสัญญาฉบับหลัง สัญญาฉบับหลังจึงไม่กระทบถึงสิทธิของโจทก์ซึ่งได้เกิดมีขึ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา374 แล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3675/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารไม่ต้องรับผิดตามเช็ค หากไม่ได้ลงลายมือชื่อ และไม่มีสัญญาเป็นประโยชน์แก่บุคคลภายนอก
โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทซึ่งเป็นเช็คธนาคารจำเลยโดยมี พ.เป็นผู้สั่งจ่ายแต่ธนาคารจำเลยปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาททั้ง ๆ ที่บัญชีกระแสรายวันของ พ. พอที่จะจ่ายได้ ทั้งนี้เพราะนายจ้างของ พ. มีหนังสือแจ้งมายังธนาคารจำเลยขออายัดการจ่ายเงินตามเช็คพิพาท เนื่องจาก พ. ได้ฉ้อโกงเงินของนายจ้างดังนี้โจทก์ฟ้องธนาคารจำเลยให้ใช้เงินตามเช็คพิพาทไม่ได้ สิทธิของโจทก์ในฐานะผู้ทรงเช็คพิพาทเมื่อธนาคารจำเลยปฏิเสธการจ่ายเงินก็ได้แต่จะฟ้องไล่เบี้ย เอาแก่บุคคลทั้งหลายที่ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทเท่านั้น บทบัญญัติใน ป.พ.พ. มาตรา 991 นั้นถ้า จำเลยไม่ใช้เงินแก่โจทก์โดยไม่มีข้อแก้ตัวตามมาตรา 991(1) หรือ (2) หรือ (3)ธนาคารจำเลยก็จะต้องรับผิดต่อผู้เคยค้า คือ พ. ผู้สั่งจ่ายเท่านั้น เพราะเป็นคู่สัญญาของจำเลยตามสัญญาฝากเงินบัญชีกระแสรายวัน และมาตรา 991 มีวัตถุประสงค์เพื่อปลดเปลื้องความรับผิดของธนาคารที่มีต่อผู้เคยค้าเท่านั้น การที่ พ. ได้เปิดบัญชีกระแสรายวันไว้กับธนาคารจำเลยและมีข้อตกลงว่าการเบิกเงินจากบัญชีต้องใช้เช็คในการสั่งจ่ายเงินข้อสัญญาดังกล่าวระหว่างจำเลยกับ พ. ผู้เคยค้าไม่มีลักษณะเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 374,375.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3675/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารไม่ต้องรับผิดในเช็คที่ไม่ได้ลงลายมือชื่อ ผู้ทรงเช็คต้องฟ้องผู้สั่งจ่าย
ธนาคารจำเลยไม่ได้ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาท โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงเช็คจึงฟ้องจำเลยให้ใช้เงินตามเช็คพิพาทตามกฎหมายเรื่องตั๋วเงินไม่ได้ สิทธิของโจทก์ในฐานะผู้ทรงเช็คพิพาทเมื่อจำเลยปฏิเสธการจ่ายเงินก็ได้แต่จะฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลที่ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทเท่านั้น ป.พ.พ. มาตรา 991 มีวัตถุประสงค์เพื่อปลดเปลื้องความรับผิดของธนาคารที่มีต่อผู้เคยค้าเท่านั้น เมื่อกรณีต้องด้วยข้อยกเว้น ตาม(1) หรือ (2) หรือ (3) ของมาตรา 991 ก็ให้สิทธิแก่ธนาคารที่ จะไม่จ่ายเงินตามเช็คได้โดยไม่ต้องรับผิดต่อผู้เคยค้าหรือผู้สั่งจ่ายหรือธนาคารจะจ่ายเงินตามเช็คนั้นก็ได้ แต่จะหักเงินจากบัญชีของผู้เคยค้าได้หรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่งซึ่งต้องพิจารณาจากมูลเหตุ ที่ธนาคารจ่ายเงินตามเช็คเป็นราย ๆ ไป สัญญาระหว่างธนาคารกับผู้เคยค้าไม่มีลักษณะเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอกตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 374และมาตรา 375.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3675/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารไม่ต้องรับผิดในเช็คที่ไม่ได้ลงลายมือชื่อ ผู้ทรงเช็คต้องไล่เบี้ยผู้สั่งจ่าย
ธนาคารจำเลยไม่ได้ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาท โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงเช็คจึงฟ้องจำเลยให้ใช้เงินตามเช็คพิพาทตามกฎหมายเรื่องตั๋วเงินไม่ได้ สิทธิของโจทก์ในฐานะผู้ทรงเช็คพิพาทเมื่อจำเลยปฏิเสธการจ่ายเงินก็ได้แต่จะฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลที่ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทเท่านั้น
ป.พ.พ. มาตรา 991 มีวัตถุประสงค์เพื่อปลดเปลื้องความรับผิดของธนาคารที่มีต่อผู้เคยค้าเท่านั้น เมื่อกรณีต้องด้วยข้อยกเว้นตาม (1) หรือ (2) หรือ (3) ของมาตรา 991ก็ให้สิทธิแก่ธนาคารที่จะไม่จ่ายเงินตามเช็คได้โดยไม่ต้องรับผิดต่อผู้เคยค้าหรือผู้สั่งจ่าย หรือธนาคารจะจ่ายเงินตามเช็คนั้นก็ได้ แต่จะหักเงินจากบัญชีของผู้เคยค้าได้หรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่งซึ่งต้องพิจารณาจากมูลเหตุที่ธนาคารจ่ายเงินตามเช็คเป็นราย ๆ ไป
สัญญาระหว่างธนาคารกับผู้เคยค้าไม่มีลักษณะเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอกตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 374 และมาตรา 375

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2593/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับโอนกิจการพร้อมหนี้สิน และผลผูกพันตามสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอก
จำเลยที่ 2 ตกลงรับโอนกิจการโรงเรียนจากจำเลยที่ 1 พร้อมกับหนี้สินของโรงเรียน และแจ้งให้เจ้าหนี้ไปขอรับชำระหนี้ ข้อตกลงดังกล่าวมีลักษณะเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอกรวมอยู่ด้วย เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จำเลยที่ 1 เนื่องจากกิจการของโรงเรียนที่จำเลยที่ 2 รับโอนมาตามสัญญาดังกล่าวได้ขอรับชำระหนี้จากจำเลยที่ 2 จึงเป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้แสดงเจตนาแก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามสัญญาว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นแล้ว จำเลยที่ 2 จึงต้องผูกพันตามสัญญาในอันที่จะต้องชำระหนี้ให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3352/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเครื่องหมายการค้าผ่านสัญญาสัมปทานและผลของการโอนสิทธิไปยังโจทก์ ทำให้โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลย
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าคดีของโจทก์ไม่ขาดอายุความ จำเลยมิได้อุทธรณ์จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยจะฎีกาปัญหาเรื่องอายุความอีกไม่ได้ แต่ปัญหาว่าฟ้องโจทก์ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474 มาตรา 29 หรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องอันเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย โดยอ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยเป็นการฟ้องคดีตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้ามิใช่การฟ้องเพื่อป้องกันหรือเรียกค่าเสียหายในการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 29 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
เดิมห้างหุ้นส่วนจำกัดมิตรชัย ซึ่งมีจำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตนำเข้าและสั่งยาแผนปัจจุบันเข้ามาในราชอาณาจักรและได้รับใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยาแผนปัจจุบันชื่อ HORVIRAL M (ฮอร์วีราล เอ็ม)ต่อมาโจทก์จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด มี บ. เป็นกรรมการ จำเลยร่วมลงทุนด้วยโดยทำสัญญากับ บ. ตกลงโอนสิทธิบัตรหรือทะเบียนยาที่จดทะเบียนรวมทั้งตำรับยาชื่อ HORVIRAL M ให้แก่โจทก์โดยจำเลยได้รับค่าตอบแทนการโอนดังกล่าวแล้ว ข้อตกลงนี้เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก เมื่อต่อมาโจทก์ได้รับโอนกิจการต่าง ๆ ไปจากห้างหุ้นส่วนจำกัดมิตรชัยและดำเนินการต่าง ๆ ตามข้อตกลงอันเป็นการแสดงเจตนาเข้าถือเอาประโยชน์จากสัญญาแล้ว สิทธิของโจทก์ก็เกิดขึ้น โจทก์จึงได้ไปซึ่งสิทธิในเครื่องหมายการค้าตำรับยาชื่อ HORVIRAL M และมีสิทธิดีกว่าจำเลย เมื่อจำเลยนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไปจดทะเบียน โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3352/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าจากสัญญาซื้อขายกิจการ สิทธิในเครื่องหมายการค้าตกเป็นของผู้รับโอน
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าคดีของโจทก์ไม่ขาดอายุความ จำเลยมิได้อุทธรณ์จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยจะฎีกาปัญหาเรื่องอายุความอีกไม่ได้ แต่ปัญหาว่าฟ้องโจทก์ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474 มาตรา 29 หรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องอันเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย โดยอ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยเป็นการฟ้องคดีตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้ามิใช่การฟ้องเพื่อป้องกันหรือเรียกค่าเสียหายในการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 29 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
เดิมห้างหุ้นส่วนจำกัดมิตรชัย ซึ่งมีจำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตนำเข้าและสั่งยาแผนปัจจุบันเข้ามาในราชอาณาจักรและได้รับใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยาแผนปัจจุบันชื่อ HORVIRALM(ฮอร์วีราลเอ็ม)ต่อมาโจทก์จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด มี บ. เป็นกรรมการ จำเลยร่วมลงทุนด้วยโดยทำสัญญากับ บ. ตกลงโอนสิทธิบัตรหรือทะเบียนยาที่จดทะเบียนรวมทั้งตำรับยาชื่อ HORVIRALM ให้แก่โจทก์โดยจำเลยได้รับค่าตอบแทนการโอนดังกล่าวแล้ว ข้อตกลงนี้เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก เมื่อต่อมาโจทก์ได้รับโอนกิจการต่าง ๆ ไปจากห้างหุ้นส่วนจำกัดมิตรชัยและดำเนินการต่าง ๆ ตามข้อตกลงอันเป็นการแสดงเจตนาเข้าถือเอาประโยชน์จากสัญญาแล้ว สิทธิของโจทก์ก็เกิดขึ้น โจทก์จึงได้ไปซึ่งสิทธิในเครื่องหมายการค้าตำรับยาชื่อ HORVIRALM และมีสิทธิดีกว่าจำเลย เมื่อจำเลยนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไปจดทะเบียน โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3352/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้าจากการโอนกิจการและสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก คดีไม่ขาดอายุความ
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าคดีของโจทก์ไม่ขาดอายุความ จำเลยมิได้อุทธรณ์จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลอุทธรณ์ทั้งมิใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนจำเลยจะฎีกาปัญหาเรื่องอายุความอีกไม่ได้ แต่ปัญหาว่าฟ้องโจทก์ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 29หรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องอันเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้ โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย โดยอ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยเป็นการฟ้องคดีตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474 มาตรา 41 มิใช่การฟ้องเพื่อป้องกันหรือเรียกค่าเสียหายในการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 29โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง เดิมห้างหุ้นส่วนจำกัดมิตรชัย ซึ่งมีจำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตนำเข้าและสั่งยาแผนปัจจุบันเข้ามาในราชอาณาจักรและได้รับใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยาแผนปัจจุบันชื่อ HORVIRALM(ฮอร์วีราลเอ็ม) ต่อมาโจทก์จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด มี บ.เป็นกรรมการจำเลยร่วมลงทุนด้วยโดยทำสัญญากับ บ.ตกลงโอนสิทธิบัตรหรือทะเบียนยาที่จดทะเบียนรวมทั้งตำรับยาชื่อ HORVIRALM ให้แก่โจทก์โดยจำเลยได้รับค่าตอบแทนการโอนดังกล่าวแล้ว ข้อตกลงนี้เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก เมื่อต่อมาโจทก์ได้รับโอนกิจการต่าง ๆไปจากห้างหุ้นส่วนจำกัดมิตรชัยและดำเนินการต่าง ๆ ตามข้อตกลงเป็นการแสดงเจตนาเข้าถือเอาประโยชน์จากสัญญาแล้ว สิทธิของโจทก์ก็เกิดขึ้น โจทก์จึงได้ไปซึ่งสิทธิในเครื่องหมายการค้าตำรับยาชื่อ HORVIRALM และมีสิทธิดีกว่าจำเลย เมื่อจำเลยนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไปจดทะเบียน โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนได้
of 7