คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 375

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 70 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3053/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความผูกพันคู่กรณี แม้มีการโอนทรัพย์สินให้บุคคลภายนอก ศาลบังคับได้
การที่โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันยอมยกทรัพย์สินให้แก่บุคคลภายนอกคดี ข้อตกลงดังกล่าวหาได้ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่ประการใดไม่
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันศาลพิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดแล้ว เมื่อตามสัญญาประนีประนอมยอมความปรากฏข้อความชัดว่า จำเลยยอมแบ่งที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 40888 ให้กับ ส. ธ. พ. และโจทก์โดยระบุเนื้อที่ดินที่จะแบ่งให้แต่ละคนไว้ ส่วนที่เหลือเป็นของจำเลย และจำเลยยอมโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 42487 ให้กับ ส. ทั้งหมด หากจำเลยผิดสัญญาประนีประนอมยอมความนี้ให้บังคับคดีได้ทันที จำเลยยินยอมจะยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อแบ่งแยกที่ดินในส่วนที่จะแบ่งให้กับโจทก์และบุคคลดังกล่าว เมื่อได้รับหนังสือบอกกล่าวจากทนายความโจทก์เท่านั้น คดีได้ความว่าส. ธ. และ พ. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้แสดงเจตนาถือเอาประโยชน์จากสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นแล้ว สิทธิของบุคคลภายนอกย่อมเกิดมีขึ้น โจทก์จำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาประนีประนอมยอมความหาอาจจะเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธินั้นในภายหลังได้ไม่ ดังนี้โจทก์มีส่วนได้เสียตามสัญญาประนีประนอมยอมความโดยตรงได้ขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาล ซึ่งได้ พิพากษาไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว หาได้บังคับ เอาแก่บุคคลภายนอกแต่อย่างใดไม่ การบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลอยู่ในวิสัยที่จำเลยปฏิบัติได้ จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3053/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความผูกพันคู่กรณี แม้จะเกี่ยวข้องกับการโอนทรัพย์สินให้บุคคลภายนอก หากบุคคลภายนอกแสดงเจตนา
การที่โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันยอมยกทรัพย์สินให้แก่บุคคลภายนอกคดี ข้อตกลงดังกล่าวหาได้ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่ประการใดไม่
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันศาลพิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดแล้ว เมื่อตามสัญญาประนีประนอมยอมความปรากฏข้อความชัดว่า จำเลยยอมแบ่งที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 40888ให้กับ ส.ธ.พ. และโจทก์โดยระบุเนื้อที่ดินที่จะแบ่งให้แต่ละคนไว้ ส่วนที่เหลือเป็นของจำเลย และจำเลยยอมโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 42487 ให้กับ ส. ทั้งหมด หากจำเลยผิดสัญญาประนีประนอมยอมความนี้ให้บังคับคดีได้ทันที จำเลยยินยอมจะยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อแบ่งแยกที่ดินในส่วนที่จะแบ่งให้กับโจทก์และบุคคลดังกล่าว เมื่อได้รับหนังสือบอกกล่าวจากทนายความโจทก์เท่านั้น คดีได้ความว่า ส.ธ. และ พ. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้แสดงเจตนาถือเอาประโยชน์จากสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นแล้ว สิทธิของบุคคลภายนอกย่อมเกิดมีขึ้น โจทก์จำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาประนีประนอมยอมความหาอาจจะเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธินั้นในภายหลังได้ไม่ ดังนี้โจทก์มีส่วนได้เสียตามสัญญาประนีประนอมยอมความโดยตรงได้ขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาล ซึ่งได้พิพากษาไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว หาได้บังคับเอาแก่บุคคลภายนอกแต่อย่างใดไม่ การบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลอยู่ในวิสัยที่จำเลยปฏิบัติได้ จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1725/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากประกันภัยไปยังบุคคลภายนอกทำให้ผู้เอาประกันภัยหมดสิทธิเรียกร้อง
กรมธรรม์ประกันภัยมีใบสลักหลังว่า "การเอาประกันนี้ได้เป็นที่ยอมรับกันทั้งสองฝ่ายว่าหากเกิดการเสียหายแก่ทรัพย์สินที่เอาประกันภัยและบริษัทจำต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้วไซร้ผู้เอาประกันภัยยินยอมโอนสิทธิอันพึงได้รับจากการเอาประกันนี้ให้แก่ธนาคารกรุงไทย จำกัดสาขาคลองเตย เป็นผู้รับประโยชน์แต่ฝ่ายเดียวเป็นสัญญาที่โจทก์จำเลยตกลงจะชำระหนี้แก่ บุคคลภายนอก เมื่อบุคคลภายนอกซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์เรียกร้องให้ผู้รับประกันภัยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้ว อันเป็นกรณีที่ผู้รับประโยชน์แสดงเจตนาที่จะถือเอาประโยชน์แห่งสัญญาแล้วโจทก์ผู้เอาประกันภัยจะเรียกให้จำเลยผู้รับประกันภัยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2895/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการจอดรถและติดตั้งเสาไฟฟ้าในที่ดินของผู้อื่น สัญญาจะบังคับได้เมื่อมีการสนองรับ
โจทก์มีที่ดินและต้องการจะก่อสร้างศูนย์การค้า โรงแรม โรงภาพยนต์และอาคารพาณิชย์ โจทก์กับผู้มีชื่อจึงทำสัญญาร่วมลงทุนกันให้ก่อตั้งบริษัทจำเลยขึ้นประกอบกิจการต่างๆ ดังกล่าวแล้ว สัญญาข้อ 4 กำหนดว่า โจทก์ต้องอนุญาตให้จำเลยใช้ถนนทั้งสองข้างของโรงแรมจำเลย และจะต้องสงวนไว้ให้แก่จำเลยซึ่งสิทธิจอดรถที่ชอบถนน ข้อ 4 (8) ว่า จำเลยต้องชำระเงินครึ่งหนึ่งของค่าก่อสร้างถนนให้แก่โจทก์ เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บริษัทจำเลยที่จะตั้งขึ้น บริษัทจำเลยชอบที่จะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นภายหลังได้ ปรากฏว่า เมื่อบริษัทจำเลยตั้งขึ้นแล้วจำเลยได้ชำระค่าทำถนนให้โจทก์ครบถ้วนตามสัญญาแล้ว และมีพฤติการณ์ที่ถือว่าจำเลยได้ถือเอาประโยชน์จากสัญญาร่วมลงทุนแล้ว แม้ต่อมาสัญญาร่วมลงทุนจะสิ้นสุดหรือยกเลิกไป ก็หาทำให้สิทธิของจำเลยอันเกิดขึ้นแล้วระงับไปด้วยไม่
โจทก์มีหนังสือถึงจำเลยว่า จะให้สิทธิใช้ที่ดินสำหรับตั้งเสาไฟฟ้าแก่จำเลยเพียงแต่จำเลยเข้าติดตั้งเสาและสายไฟฟ้าตามที่โจทก์เสนอก็เป็นการสนองรับ มีผลให้สัญญาเกิดขึ้นแล้ว สัญญายินยอมให้ติดตั้งเสาและสายไฟฟ้าในที่ดินเพื่อประโยชน์ในที่ดินเพื่อประโยชน์ร่วมกันเช่นนี้แม้มิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ก็บังคับกันได้ในระหว่างคู่สัญญา
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นพิพาทรวม 11 ประเด็น เป็นประเด็นไม่ต้องสืบพยาน 1 ประเด็น ตกภาระโจทก์นำสืบ 8 ประเด็น ตกภาระจำเลยนำสืบ 2 ประเด็น ศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์มีภาระการพิสูจน์มากกว่า ทั้งประเด็นที่เป็นภาระจำเลยพิสูจน์ถึงจะให้โจทก์นำสืบก่อนโจทก์ไม่เสียเปรียบ จึงให้โจทก์นำสืบก่อนทุกประเด็น พยานหลักฐานในประเด็นที่โจทก์แย้ง เป็นเรื่องที่อยู่ในความรู้เห็นของโจทก์จำเลยร่วมกัน แม้โจทก์นำสืบก่อน จำเลยก็ถามด้านให้พยานโจทก์มีโอกาสอธิบายและนำสืบถึงข้อความเหล่านั้นโดยบริบูรณ์แล้ว โจทก์หาเสียเปรียบไม่ ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจให้โจทก์นำสืบก่อนทุกประเด็นชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2895/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการจอดรถและติดตั้งเสาไฟฟ้าในที่ดินของผู้อื่น: สัญญาต่างตอบแทนและผลกระทบจากการสิ้นสุดสัญญา
โจทก์มีที่ดินและต้องการจะก่อสร้างศูนย์การค้า โรงแรมโรงภาพยนตร์และอาคารพาณิชย์ โจทก์กับผู้มีชื่อจึงทำสัญญาร่วมลงทุนกันให้ก่อตั้งบริษัทจำเลยขึ้นประกอบกิจการต่างๆดังกล่าวแล้ว สัญญาข้อ 4 กำหนดว่า โจทก์ต้องอนุญาตให้จำเลยใช้ถนนทั้งสองข้างของโรงแรมจำเลย และจะต้องสงวนไว้ให้แก่จำเลยซึ่งสิทธิจอดรถที่ขอบถนน ข้อ 5(8) ว่าจำเลยต้องชำระเงินครึ่งหนึ่งของค่าก่อสร้างถนนให้แก่โจทก์เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บริษัทจำเลยที่จะตั้งขึ้นบริษัทจำเลยชอบที่จะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นภายหลังได้ปรากฏว่าเมื่อบริษัทจำเลยตั้งขึ้นแล้วจำเลยได้ชำระค่าทำถนนให้โจทก์ครบถ้วนตามสัญญาแล้ว และมีพฤติการณ์ที่ถือว่าจำเลยได้ถือเอาประโยชน์จากสัญญาร่วมลงทุนแล้ว แม้ต่อมาสัญญาร่วมลงทุนจะสิ้นสุดหรือยกเลิกไป ก็หาทำให้สิทธิของจำเลยอันเกิดขึ้นแล้วระงับไปด้วยไม่
โจทก์มีหนังสือถึงจำเลยว่า จะให้สิทธิใช้ที่ดินสำหรับตั้งเสาไฟฟ้าแก่จำเลยเพียงแต่จำเลยเข้าติดตั้งเสาและสายไฟฟ้าตามที่โจทก์เสนอก็เป็นการสนองรับ มีผลให้สัญญาเกิดขึ้นแล้ว สัญญายินยอมให้ติดตั้งเสาและสายไฟฟ้าในที่ดินเพื่อประโยชน์ร่วมกันเช่นนี้แม้มิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ก็บังคับกันได้ในระหว่างคู่สัญญา
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นพิพาทรวม 11 ประเด็น เป็นประเด็นไม่ต้องสืบพยาน 1 ประเด็น ตกภาระโจทก์นำสืบ 8 ประเด็นตกภาระจำเลยนำสืบ 2 ประเด็น ศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์มีภาระการพิสูจน์มากกว่า ทั้งประเด็นที่เป็นภาระจำเลยพิสูจน์ถึงจะให้โจทก์นำสืบก่อนโจทก์ก็ไม่เสียเปรียบ จึงให้โจทก์นำสืบก่อนทุกประเด็น พยานหลักฐานในประเด็นที่โจทก์แย้ง เป็นเรื่องที่อยู่ในความรู้เห็นของโจทก์จำเลยร่วมกัน แม้โจทก์นำสืบก่อน จำเลยก็ถามค้านให้พยานโจทก์มีโอกาสอธิบายและนำสืบถึงข้อความเหล่านั้นโดยบริบูรณ์แล้วโจทก์หาเสียเปรียบไม่ ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจให้โจทก์นำสืบก่อนทุกประเด็นชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1312/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยทรัพย์มรดก: เจตนาถือเอาประโยชน์จากสัญญา และการฟ้องบังคับตามสัญญา
ทายาททุกคนทำสัญญาตกลงยกที่ดินมรดกบางส่วนให้แก่โจทก์เพื่อเป็นการชำระหนี้ของผู้ตาย โดยโจทก์มิได้เป็นคู่สัญญาด้วย จึงเป็นการทำสัญญาเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก โจทก์ลงชื่อรับทราบสัญญาในช่องพยานและยึดถือสัญญานั้นไว้ ประกอบกับได้บอกกล่าวจำเลยซึ่งเป็นทายาท และผู้จัดการมรดกให้โอนที่ดินนั้นให้แก่โจทก์ตามสัญญาแล้ว ถือได้ว่าโจทก์ได้แสดงเจตนาแก่จำเลยที่จะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 จำเลยต้องโอนที่ดินนั้นให้แก่โจทก์และทายาทจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญานั้นไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 375
โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดก ให้โอนที่ดินตามสัญญาที่ทายาทตกลงยกให้โจทก์เพื่อเป็นการชำระหนี้ เป็นการฟ้องบังคับให้ปฏิบัติตามสัญญา มิใช่เป็นการฟ้องคดีมรดกอันอยู่ในบังคับจะต้องฟ้องภายในหนึ่งปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1312/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาชำระหนี้ด้วยทรัพย์มรดก: ผลผูกพันผู้จัดการมรดกและอายุความ
ทายาททุกคนทำสัญญาตกลงยกที่ดินมรดกบางส่วนให้แก่โจทก์เพื่อเป็นการชำระหนี้ของผู้ตาย โดยโจทก์มิได้เป็นคู่สัญญาด้วย จึงเป็นการทำสัญญาเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก โจทก์ลงชื่อรับทราบสัญญาในช่องพยานและยึดถือสัญญานั้นไว้ ประกอบกับได้บอกกล่าวจำเลย ซึ่งเป็นทายาทและผู้จัดการมรดกให้โอนที่ดินนั้นให้แก่โจทก์ตามสัญญาแล้ว ถือได้ว่าโจทก์ได้แสดงเจตนาแก่จำเลยที่จะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 จำเลยต้องโอนที่ดินนั้นให้แก่โจทก์และทายาทจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญานั้นไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 375
โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดก ให้โอนที่ดินตามสัญญาที่ทายาทตกลงยกให้โจทก์เพื่อเป็นการชำระหนี้ เป็นการฟ้องบังคับให้ปฏิบัติตามสัญญา มิใช่เป็นการฟ้องคดีมรดกอันอยู่ในบังคับจะต้องฟ้องภายในหนึ่งปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1156/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาที่แท้จริงในสัญญาประนีประนอมยอมความ และสิทธิของบุคคลภายนอกผู้รับประโยชน์
เจ้ามรดกมีบุตร 5 คนคือโจทก์ทั้งสอง จำเลย ว.และพ. ผู้ร้องสอดเป็นภรรยาของ พ.ไม่มีบุตรด้วยกัน พ. ตายก่อนเจ้ามรดก เจ้ามรดกตายโดยไม่ได้ทำพินัยกรรม โจทก์ทั้งสองเคยฟ้องจำเลยขอแบ่งมรดก ผลที่สุดได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน จำเลยยอมแบ่งที่พิพาทออกเป็น 5 ส่วนเท่าๆ กัน ให้โจทก์ทั้งสอง ว.พ. และจำเลยคนละส่วนตามคดีแดงที่ 239/2515 ขณะทำสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว โจทก์และจำเลยย่อมรู้อยู่แล้วว่า พ. ตายไปก่อนเจ้ามรดกแล้ว ยังยอมทำสัญญาประนีประนอมยอมความให้ พ. มีส่วนในที่พิพาท 1 ส่วนใน 5 ส่วน จึงแสดงว่าต่างมีเจตนาอันแท้จริงที่จะมอบที่ดินส่วนนี้ให้แก่ผู้มีสิทธิรับมรดกของ พ. หาใช่มอบให้แก่ พ. ซึ่งตายไปแล้วไม่ ทั้งนี้เป็นการตีความในสัญญาโดยเพ็งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนตามตัวอักษร ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 132
สัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์จำเลยทำไว้นั้น เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก เมื่อผู้ร้องสอดซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้แสดงเจตนาจะรับเอาทรัพย์ส่วนนี้โดยร้องสอดเข้ามาเป็นจำเลยร่วม ถือได้ว่าผู้ร้องสอดได้แสดงเจตนาแก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นแล้ว ตามมาตรา 374 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สิทธิของผู้ร้องสอดได้เกิดมีขึ้นแล้ว โจทก์จะเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธินี้ของผู้ร้องสอดมิได้ ตามมาตรา 375 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2873-2878/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิหน้าที่ในสัญญาจะซื้อขาย: ผู้ซื้อทราบข้อพิพาท ย่อมผูกพันตามสัญญาเดิม
จำเลยที่ 1 (จำเลยที่ 1 ในสามสำนวนแรก) และ จ. เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดที่ 2133 และสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินได้ทำสัญญาจะซื้อขายห้องแถวไม้ 3 ห้อง พร้อมที่ดินซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดที่ 2133 ให้แก่โจทก์ทั้ง 3 (โจทก์ในสามสำนวนแรก) คนละห้อง โดยให้ผ่อนชำระเป็นรายเดือน แล้วจำเลยที่ 1 และ จ. ได้ขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 (จำเลยที่ 2 ที่ 3 ในสามสำนวนแรก) โดยไม่แจ้งให้โจทก์ทั้ง 3 ทราบ โดยจำเลยที่ 2 ที่ 3 ผู้ซื้อทราบอยู่ก่อนแล้วว่าจำเลยที่ 1 และ จ. กับโจทก์ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายกัน และจำเลยที่ 2 ที่ 3 ยอมรับทั้งสิทธิ์และหน้าที่ของจำเลยที่ 1 และ จ. ผู้ขาย ซึ่งเท่ากับจำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้ทำสัญญาตกลงกับจำเลยที่ 1 และ จ. (คู่สัญญาของโจทก์ทั้งสาม) ว่าตนจะชำระหนี้แก่โจทก์ทั้ง 3 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก จำเลยที่ 2 ที่ 3 มิได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินและห้องพิพาทกับโจทก์ทั้ง 3 ขึ้นใหม่ คงถือตามสัญญาเดิม เมื่อต่อมาจำเลยทั้ง 3 ได้แจ้งเรื่องการซื้อขายระหว่างจำเลยต่อโจทก์ทั้ง 3 ว่าถ้าโจทก์ทั้ง 3 ยังประสงค์จะซื้อที่ดินและห้องแถวอยู่ก็ให้ส่งเงินที่ค้างทั้งหมดแก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ภายใน 7 วัน โจทก์ทั้ง 3 มีหนังสือตอบตกลงขอให้จำเลยที่ 2 นัดวันโอนกรรมสิทธิ์ ดังนี้ ย่อมเป็นการแสดงเจตนาของโจทก์ทั้ง 3 ที่จะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 สิทธิ์ของโจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้เกิดมีขึ้นแล้ว คู่สัญญาหาอาจจะเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธิ์นั้นในภายหลังได้ไม่ จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงต้องผูกพันตนร่วมกับจำเลยที่ 1 และ จ. เป็นคู่สัญญารับผิดในการปฏิบัติตามสัญญานั้นต่อโจทก์ทั้งสามด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2873-2878/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงคู่สัญญาและการผูกพันตามสัญญาเดิม: สิทธิของบุคคลภายนอก
จำเลยที่ 1(จำเลยที่ 1 ในสามสำนวนแรก) และ จ.เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดที่ 2133 และสิ่งปลูกสร้างบนที่ดิน ได้ทำสัญญาจะซื้อขายห้องแถวไม้3 ห้อง พร้อมที่ดินซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดที่ 2133 ให้แก่โจทก์ทั้ง3(โจทก์ในสามสำนวนแรก) คนละห้อง โดยให้ผ่อนชำระเป็นรายเดือนแล้วจำเลยที่ 1 และ จ. ได้ขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 ที่ 3(จำเลยที่ 2 ที่ 3 ในสามสำนวนแรก) โดยไม่แจ้งให้โจทก์ทั้ง 3 ทราบ โดยจำเลยที่ 2 ที่ 3 ผู้ซื้อทราบอยู่ก่อนแล้วว่าจำเลยที่ 1 และจ.กับโจทก์ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายกัน และจำเลยที่ 2 ที่ 3 ยอมรับทั้งสิทธิและหน้าที่ของจำเลยที่ 1 และ จ. ผู้ขาย ซึ่งเท่ากับจำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้ทำสัญญาตกลงกับจำเลยที่1 และ จ. (คู่สัญญาของโจทก์ทั้งสาม) ว่าตนจะชำระหนี้แก่โจทก์ทั้ง 3 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก จำเลยที่2 ที่ 3 มิได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินและห้องพิพาทกับโจทก์ทั้ง 3 ขึ้นใหม่ คงถือตามสัญญาเดิม เมื่อต่อมาจำเลยทั้ง 3 ได้แจ้งเรื่องการซื้อขายระหว่างจำเลยต่อโจทก์ทั้ง 3 ว่าถ้าโจทก์ทั้ง 3 ยังประสงค์จะซื้อที่ดินและห้องแถวอยู่ก็ให้ส่งเงินที่ค้างทั้งหมดแก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ภายใน 7 วัน โจทก์ทั้ง 3 มีหนังสือตอบตกลงขอให้จำเลยที่ 2 นัดวันโอนกรรมสิทธิ์ ดังนี้ย่อมเป็นการแสดงเจตนาของโจทก์ทั้ง 3 ที่จะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 สิทธิของโจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้เกิดมีขึ้นแล้ว คู่สัญญาหาอาจจะเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธินั้นในภายหลังได้ไม่จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงต้องผูกพันตนร่วมกับจำเลยที่ 1 และ จ. เป็นคู่สัญญารับผิดในการปฏิบัติตามสัญญานั้นต่อโจทก์ทั้งสามด้วย
of 7