คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 375

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 70 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 474/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของคู่สัญญาประนีประนอมยอมความในการฟ้องเพิกถอนนิติกรรมจำนองที่ขัดต่อข้อตกลง
โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันว่าจำเลยที่ 1 จะยกที่ดินให้แก่บุตรของโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่อมาจำเลยที่ 1 ผิดสัญญา เอาที่ดินนั้นไปทำจำนองไว้กับจำเลยที่ 2 โจทก์ในฐานะที่เป็นคู่สัญญากับจำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมจำนองนั้นได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2503)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 617/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาในสัญญาจะซื้อขายต่างด้าว: สิทธิโอนสัญญาให้ผู้อื่นได้ แม้ผู้ซื้อเปลี่ยนตัว
สัญญาจะซื้อขายมีข้อความตอนหนึ่งว่า "ฯลฯ ในการโอนนี้ ผู้จะซื้อเป็นบุคคลต่างด้าวหากการโอนขัดข้อง ผู้จะขายยอมให้ผู้จะซื้อหาผู้รับโอนคนอื่นมารับโอนได้ โดยผู้จะขายต้องโอนให้ ไม่ถือว่าผิดสัญญา และให้ถือว่าผู้ที่จะมารับโอนเท่ากับคู่สัญญานี้" ย่อมแสดงถึงเจตนา อันแท้จริงของแต่ละฝ่ายว่าไม่ประสงค์จะเลิกสัญญากัน จึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนผูกพันคู่กรณีโจทก์ที่ 1 มีสิทธิที่จะโอนการจะซื้อขายที่ดินรายนี้ให้แก่โจทก์ที่ 2 ได้ตามข้อความในสัญญาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 617/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการโอนสัญญาจะซื้อขายที่ดินกรณีผู้ซื้อเป็นชาวต่างชาติและติดข้อจำกัดทางกฎหมาย
สัญญาจะซื้อขายมีข้อความตอนหนึ่งว่า 'ฯลฯในการโอนนี้ผู้จะซื้อเป็นบุคคลต่างด้าวหากการโอนขัดข้องผู้จะขายยอมให้ผู้จะซื้อหาผู้รับโอนคนอื่นมารับโอนได้ โดยผู้จะขายต้องโอนให้ไม่ถือว่าผิดสัญญาและให้ถือว่าผู้ที่จะมารับโอนเท่ากับคู่สัญญานี้' ย่อมแสดงถึงเจตนาอันแท้จริงของแต่ละฝ่ายว่าไม่ประสงค์จะเลิกสัญญากัน จึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนผูกพันคู่กรณี โจทก์ที่ 1 มีสิทธิที่จะโอนการจะซื้อขายที่ดินรายนี้ให้แก่โจทก์ที่ 2 ได้ตามข้อความในสัญญาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 399/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของผู้ถือหุ้นฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้ซื้อที่บิดพริ้วสัญญา แม้ผู้ถือหุ้นไม่ได้ทำสัญญากับผู้ซื้อโดยตรง
ที่ประชุมใหญ่ของผู้ถือหุ้นบริษัทตกลงให้ขายหุ้นของบริษัทแก่ผู้ซื้อ และผู้จัดการบริษัทได้ทำสัญญาขายหุ้นกับผู้ซื้อแทนผู้ถือหุ้น ภายหลังผู้ซื้อบิดพริ้วไม่ยอมรับซื้อหุ้น ที่ประชุมใหญ่ของผู้ถือหุ้นได้ตกลงให้ขายหุ้นให้แก่บุคคลอื่นไปได้ราคาต่ำกว่าที่ผู้ซื้อตกลงไว้ ผู้ถือหุ้นย่อมมีอำนาจที่จะฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้ซื้อเดิมเป็นจำเลยได้ เพราะการทำสัญญาของผู้ซื้อกับผู้แทนบริษัทซึ่งทำแทนผู้ถือหุ้นนั้นเป็นผลเนื่องมาจากการประชุมของผู้ถือหุ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 399/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้ถือหุ้นกรณีสัญญาซื้อขายหุ้นที่เกิดจากการประชุมผู้ถือหุ้น
ที่ประชุมใหญ่ของผู้ถือหุ้นบริษัทตกลงให้ขายหุ้นของบริษัทแก่ผู้ซื้อ และผู้จัดการบริษัทได้ทำสัญญาขายหุ้นกับผู้ซื้อแทนผู้ถือหุ้นภายหลังผู้ซื้อบิดพริ้ว ไม่ยอมรับซื้อหุ้น ที่ประชุมใหญ่ของผู้ถือหุ้นได้ตกลงให้ขายหุ้นให้แก่บุคคลอื่นไปได้ราคาต่ำกว่าที่ผู้ซื้อตกลงไว้ผู้ถือหุ้นย่อมมีอำนาจที่จะฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้ซื้อเดิมเป็นจำเลยได้ เพราะการทำสัญญาของผู้ซื้อกับผู้แทนบริษัทซึ่งทำแทนผู้ถือหุ้นนั้นเป็นผลเนื่องมาจากการประชุมของผู้ถือหุ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1764/2498 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของพินัยกรรมที่ขัดแย้งกัน และสิทธิในการรับมรดกเมื่อผู้รับพินัยกรรมเสียชีวิตก่อน
สามีภรรยาต่างทำพินัยกรรมให้แก่กัน พินัยกรรมของภรรยามีข้อความว่า " เมื่อข้าพเจ้าอายชนม์แล้ว บรรดาทรัพย์สินและสิทธิทั้งหลายของข้าพเจ้าซึ่งมีอยู่ในเวลานี้และมีต่อไปภายหน้า ขอให้ตกเป็นกรรมสิทธิแก่สามี (ขุนอุปพงษ์ฯ) ผู้รับพินัยกรรม แต่ถ้าขุนอุปพงษ์ ฯ ถึงแก่กรรมล่วงลับไปก่อนข้าพเจ้าก็ขอให้ทรัพย์สินและสิทธิทั้งหลายของข้าพเจ้าตกเป็นกรรมสิทธิแก่โจทก์(คุณหญิงเลขวณิช ฯ) เป็นผู้รับพินัยกรรม ฯลฯ " และตามพินัยกรรมของสามี (ขุนอุปพงษ์ฯ) ก็มีข้อความทำนองเดียวกัน ยกทรัพย์ให้แก่ภรรยา (นางจันทร์) ถ้านางจันทร์ล่วงลับไปก่อนก็ยกทรัพย์ให้แก่โจทก์ (คุณหญิงเลขวณิชฯ)
ดังนี้เมื่อภรรยา(นางจันทร์) ตายไปก่อน ทรัพย์มรดกของภรรยา(นางจันทร์) ก็ตกได้แก่สามี (ขุนอุปพงษ์) ตามพินัยกรรม สามีย่อมมีสิทธิที่จะยกทรัพย์ให้แก่ผู้อื่นได้ไม่มีข้อผูกพันตาม ก.ม. ที่สามี (ขุนอุปพงษ์) จำต้องยกทรัพย์ให้แก่โจทก์ เพราะทรัพย์นั้นเป็นของสามี(ขุนอุปพงษ์ฯ) โดยเด็ดขาด ตาม ก.ม.สามีมีสิทธิจะยกทรัพย์ให้ใคร ๆ ก็ได้แล้ว ต่อมาทำพินัยกรรมยกทรัพย์ไปให้ผู้อื่นมิได้ปฏิบัติตามที่ตกลงกันไว้กับภรรยาว่าจะให้โจทก์ก็ตามก็ไม่เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตเพราะข้อตกลงนั้นฟังได้อย่างมากก็เพียงว่าผู้ทำพินัยกรรมทั้งสองตกลงจะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1764/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมร่วม: สิทธิการยกทรัพย์หลังคู่สมรสเสียชีวิต ไม่ผูกพันตามข้อตกลงเดิม
สามีภรรยาต่างทำพินัยกรรมให้แก่กัน พินัยกรรมของภรรยามีข้อความว่า "เมื่อข้าพเจ้าวายชนม์แล้ว บรรดาทรัพย์สินและสิทธิทั้งหลายของข้าพเจ้าซึ่งมีอยู่ในเวลานี้และมีต่อไปภายหน้า ขอให้ตกเป็นกรรมสิทธิแก่สามี(ขุนอุปพงษ์ฯ) ผู้รับพินัยกรรม แต่ถ้าขุนอุปพงษ์ฯถึงแก่กรรมล่วงลับไปก่อนข้าพเจ้าก็ขอให้ทรัพย์สินและสิทธิทั้งหลายของข้าพเจ้าตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่โจทก์ (คุณหญิงเลขวณิชฯ)เป็นผู้รับพินัยกรรม ฯลฯ" และตามพินัยกรรมของสามี (ขุนอุปพงษ์ฯ)ก็มีข้อความทำนองเดียวกัน ยกทรัพย์ให้แก่ภรรยา (นางจันทร์) ถ้านางจันทร์ล่วงลับไปก่อนก็ยกทรัพย์ให้แก่โจทก์ (คุณหญิงเลขวณิชฯ)
ดังนี้เมื่อภรรยา (นางจันทร์)ตายไปก่อน ทรัพย์มรดกของภรรยา(นางจันทร์) ก็ตกได้แก่สามี(ขุนอุปพงษ์) ตามพินัยกรรมสามีย่อมมีสิทธิที่จะยกทรัพย์ให้แก่ผู้อื่นได้ ไม่มีข้อผูกพันตาม กฎหมาย ที่สามี(ขุนอุปพงษ์ฯ)จำต้องยกทรัพย์ให้แก่โจทก์ เพราะทรัพย์นั้นเป็นของสามี(ขุนอุปพงษ์ฯ) โดยเด็ดขาด ตามกฎหมาย สามีมีสิทธิจะยกทรัพย์ให้ใครๆ ก็ได้แล้ว ต่อมาทำพินัยกรรมยกทรัพย์ไปให้ผู้อื่นมิได้ปฏิบัติตามที่ตกลงกันไว้กับภรรยา ว่าจะให้โจทก์ก็ตาม ก็ไม่เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตเพราะข้อตกลงนั้นฟังได้อย่างมากก็เพียงว่าผู้ทำพินัยกรรมทั้งสองตกลงจะยกทรัพย์ให้แก่โจทก์เมื่อตาย แต่เมื่อมิได้ทำพินัยกรรมยกให้ไว้โดยตรงดั่งบัญญัติไว้ใน มาตรา 536 แล้วก็ใช้บังคับไม่ได้ และเรื่องนี้เป็นการยกทรัพย์ให้กันตามพินัยกรรมไม่ใช่เรื่องคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งตกลงว่าจะชำระหนี้แก่บุคคลภายนอกตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374
ข้อผูกพันให้ทรัพย์ตกได้แก่โจทก์ใช้บังคับมิได้เพราะขัดต่อ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1707 (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 24/2498)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1764/2498

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมยกทรัพย์: สิทธิสามีในการจัดการทรัพย์สินหลังภรรยาเสียชีวิต และขอบเขตของข้อตกลงร่วม
สามีภรรยาต่างทำพินัยกรรมให้แก่กัน พินัยกรรมของภรรยามีข้อความว่า "เมื่อข้าพเจ้าวายชนม์แล้ว บรรดาทรัพย์สินและสิทธิทั้งหลายของข้าพเจ้าซึ่งมีอยู่ในเวลานี้และมีต่อไปภายหน้า ขอให้ตกเป็นกรรมสิทธิแก่สามี(ขุนอุปพงษ์ฯ) ผู้รับพินัยกรรม แต่ถ้าขุนอุปพงษ์ฯถึงแก่กรรมล่วงลับไปก่อนข้าพเจ้าก็ขอให้ทรัพย์สินและสิทธิทั้งหลายของข้าพเจ้าตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่โจทก์ (คุณหญิงเลขวณิชฯ)เป็นผู้รับพินัยกรรม ฯลฯ" และตามพินัยกรรมของสามี (ขุนอุปพงษ์ฯ)ก็มีข้อความทำนองเดียวกัน ยกทรัพย์ให้แก่ภรรยา (นางจันทร์) ถ้านางจันทร์ล่วงลับไปก่อนก็ยกทรัพย์ให้แก่โจทก์ (คุณหญิงเลขวณิชฯ)
ดังนี้เมื่อภรรยา (นางจันทร์)ตายไปก่อน ทรัพย์มรดกของภรรยา(นางจันทร์) ก็ตกได้แก่สามี(ขุนอุปพงษ์) ตามพินัยกรรมสามีย่อมมีสิทธิที่จะยกทรัพย์ให้แก่ผู้อื่นได้ ไม่มีข้อผูกพันตาม กฎหมาย ที่สามี(ขุนอุปพงษ์ฯ)จำต้องยกทรัพย์ให้แก่โจทก์ เพราะทรัพย์นั้นเป็นของสามี(ขุนอุปพงษ์ฯ) โดยเด็ดขาด ตามกฎหมาย สามีมีสิทธิจะยกทรัพย์ให้ใครๆ ก็ได้แล้ว ต่อมาทำพินัยกรรมยกทรัพย์ไปให้ผู้อื่นมิได้ปฏิบัติตามที่ตกลงกันไว้กับภรรยา ว่าจะให้โจทก์ก็ตาม ก็ไม่เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตเพราะข้อตกลงนั้นฟังได้อย่างมากก็เพียงว่าผู้ทำพินัยกรรมทั้งสองตกลงจะยกทรัพย์ให้แก่โจทก์เมื่อตาย แต่เมื่อมิได้ทำพินัยกรรมยกให้ไว้โดยตรงดั่งบัญญัติไว้ใน มาตรา 536 แล้วก็ใช้บังคับไม่ได้ และเรื่องนี้เป็นการยกทรัพย์ให้กันตามพินัยกรรมไม่ใช่เรื่องคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งตกลงว่าจะชำระหนี้แก่บุคคลภายนอกตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374
ข้อผูกพันให้ทรัพย์ตกได้แก่โจทก์ใช้บังคับมิได้เพราะขัดต่อ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1707 (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 24/2498)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1254/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันคู่สัญญาและบุคคลภายนอกผู้รับประโยชน์ได้ แม้มีข้อจำกัดสิทธิในการครอบครอง
สามีภริยาทำหนังสือขึ้นฉะบับหนึ่งระบุไว้ว่า เป็นสัญญาประนีประนอมเพื่อระงับข้อพิพาทเรื่องเรือนและสวน+ไม่ให้ต้องเป็นความกันใน+ศาล โดยตกลงโอนกรรมสิทธิสวนแปลง+ให้บุตรคน ๆ ละส่วนนับแต่วันทำสัญญาแม้จะมีข้อความ+ให้บุตรทั้งสองเข้าถือสิทธิครอบครองได้ต่อเมื่อสามีภริยาตายแล้วทั้งสอง คน ก็ถือได้ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา + และเป็นสัญญาซึ่งคู่สัญญาตกลงจะชำระหนี้แก่บุตร ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก บุตรจึงมีสิทธิจะเรียกชำระหนี้จากคู่สัญญาได้ตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 374 วรรคต้น และ+บุตรได้แสดงเจตนาถือเอาประโยชน์จากสัญญานี้แล้ว สิทธิของบุตรก็เกิดขึ้นแล้วตามวรรค 2 บุตร+ฟ้องขอให้ปฏิบัติตามสัญญา+ได้
โจทก์เคยฟ้องจำเลย ขอแบ่งทรัพย์ตามเอกสารฉบับหนึ่ง+ว่าเป็นพินัยกรรม์ ศาลพิพากษายกฟ้องว่า ไม่ใช่พินัยกรรมคดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์มาฟ้องจำเลยใหม่ตามสัญญาเอกสารฉะบับเดียวกันนั้น อ้างว่าเป็นสัญญาประนีประนอมของบุคคลอื่นที่ยกทรัพย์ให้แก่โจทก์ โจทก์ฟ้องได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1254/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: สิทธิของบุตรจากสัญญาและกรณีไม่เป็นฟ้องซ้ำ
สามีภริยาทำหนังสือขึ้นฉบับหนึ่งระบุไว้ว่า เป็นสัญญาประนีประนอมเพื่อระงับข้อพิพาทเรื่องเรือนและสวนยางไม่ให้ต้องเป็นความกันในโรงศาลโดยตกลงโอนกรรมสิทธิ์สวนแปลงนั้นให้บุตร 2 คนๆละส่วนนับแต่วันทำสัญญาแม้จะมีข้อความว่าให้บุตรทั้งสองเข้าถือสิทธิครอบครองได้ต่อเมื่อสามีภริยาตายแล้วทั้งสองคน ก็ถือได้ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 และเป็นสัญญาซึ่งคู่สัญญาตกลงจะชำระหนี้แก่บุตรซึ่งเป็นบุคคลภายนอก บุตรจึงมีสิทธิจะเรียกชำระหนี้จากคู่สัญญาได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 วรรคต้นและเมื่อบุตรได้แสดงเจตนาถือเอาประโยชน์จากสัญญานี้แล้ว สิทธิของบุตรก็เกิดขึ้นแล้วตามวรรคสอง บุตรย่อมฟ้องขอให้ปฏิบัติตามสัญญานั้นได้
โจทก์เคยฟ้องจำเลย ขอแบ่งทรัพย์ตามเอกสารฉบับหนึ่งอ้างว่าเป็นพินัยกรรม ศาลพิพากษายกฟ้องว่า ไม่ใช่พินัยกรรม คดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์มาฟ้องจำเลยใหม่ตามสัญญาเอกสารฉบับเดียวกันนั้น อ้างว่าเป็นสัญญาประนีประนอมของบุคคลอื่นที่ยกทรัพย์ให้แก่โจทก์ โจทก์ฟ้องได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2494)
of 7