คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 ม. 39 วรรคสอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4282/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: เอกสารแนบท้ายสัญญาเช่าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญา, การประเมินต้องเป็นธรรม
ตามใบแจ้งรายการประเมินและใบแจ้งคำชี้ขาดระบุชื่อ พ. และหรือบริษัท ก. (โจทก์) ผู้รับประเมิน ย่อมหมายถึงว่า พ. หรือโจทก์คนใดคนหนึ่งหรือทั้งสองคนตามที่มีชื่อระบุไว้ในเอกสารดังกล่าว อยู่ในฐานะ ผู้รับประเมิน โจทก์จึงเป็นบุคคลผู้อยู่ในฐานะพึงชำระค่าภาษีตามที่พนักงานเก็บภาษีแจ้งรายการประเมินไปให้ทราบและมีหน้าที่ชำระค่าภาษีตาม พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 ถือได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
จำเลยไม่มีพยานมานำสืบให้เห็นว่าค่าเช่ารายพิพาทนี้ไม่ใช่จำนวนเงินอันสมควรที่จะให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ ตาม พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนฯ มาตรา 8 กรณีจึงไม่มีเหตุบ่งชี้ให้เห็นว่าค่าเช่าตามเอกสารแนบท้ายสัญญาเช่าอาคารตามฟ้องไม่ใช่จำนวนอันสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ ในการคำนวณภาษีซึ่งจะต้องเสียค่ารายปีจึงต้องถือตามจำนวนค่าเช่าที่โจทก์รับมาตามเอกสารแนบท้ายสัญญาเช่า การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ประเมินเรียกเก็บค่ารายปีโดยถือเอาค่าเช่าและค่าบริการรวมอยู่ด้วยนั้นจึงไม่ถูกต้อง การประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่และคำชี้ขาดของจำเลยที่ 1 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 1 คืนเงินส่วนที่เกินจากการประเมินใหม่ทั้งหมดให้แก่โจทก์ ภายใน 3 เดือนนับแต่วันอ่านคำพิพากษานี้ หมายถึงนับแต่วันอ่านคำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางนั้น เมื่อคดีนี้ ไม่ได้ถึงที่สุดไปตามคำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลาง คำพิพากษาดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนฯ มาตรา 39 วรรคสอง ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์แต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาสมควรแก้ไขให้ถูกต้องคือให้จำเลยที่ 1 คืนเงินภาษีให้โจทก์ภายในกำหนด 3 เดือน นับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3820/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: หลักเกณฑ์การกำหนดค่ารายปี, การเพิ่มค่ารายปีตามสภาพค่าครองชีพ และขอบเขตที่ดินที่นำมาประเมิน
การกำหนดค่ารายปีขึ้นใหม่กับการกำหนดค่ารายปีในปีต่อ ๆ มานั้นกฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์ไว้ต่างกัน การกำหนดค่ารายปีขึ้นใหม่ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 8 วรรคสองจะต้องเป็นกรณีที่ค่ารายปีที่เดิมกำหนดไว้ไม่ถูกต้องเท่านั้นส่วนมาตรา 18 บัญญัติให้นำค่ารายปีในปีล่วงมาแล้วเป็นหลักในการคำนวณค่าภาษีซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมา คดีนี้ ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าค่ารายปีที่กำหนดไว้เดิมไม่ถูกต้องอย่างไร การจะเพิ่มค่ารายปีได้จึงต้องเป็นการเพิ่มตามสภาพแห่งค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นอันจะมีผลให้ค่ารายปีเพิ่มขึ้นไปในตัวเอง เมื่อปรากฏว่าในปีก่อนหน้าปีพิพาทมีการเพิ่มค่ารายปีในอัตราร้อยละ 10 ของค่ารายปีในปีก่อนและในปีพิพาทก็ไม่ปรากฏว่าค่าครองชีพทั่ว ๆ ไปได้มีการเพิ่มขึ้นในลักษณะผิดปกติธรรมดา ที่มีการเพิ่มจากปีก่อน ๆ แต่อย่างใดกรณีจึงต้องเพิ่มค่ารายปีจากที่กำหนดไว้เดิมร้อยละ 10 จะกำหนดให้เพิ่มในลักษณะผิดปกติธรรมดา เช่นจะกำหนดให้เพิ่มเท่าตัวคือร้อยละ 100 ไม่ได้ เพราะจะเสมือนกับว่าเป็นการกำหนดค่ารายปีขึ้นใหม่ ที่ดินซึ่งเป็นพื้นที่ว่างมิได้ใช้ปลูกโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างและมิใช่พื้นที่บริเวณต่อเนื่องกับสนามน็อก กรณีจึงมิอาจเอาพื้นที่ดังกล่าวมารวมกับพื้นที่ของสนามน็อกบอร์ดเพื่อประเมินภาษีได้ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน มาตรา 6 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 2 เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดอุทธรณ์ไปตามอำนาจหน้าที่ มิใช่ผู้ที่รับเงินภาษีโรงเรือนที่โจทก์ชำระตามคำวินิจฉัย จึงไม่มีหน้าที่คืนเงินภาษีส่วนที่เกินไป การคืนภาษีส่วนที่เกินจะต้องเสียดอกเบี้ยก็ต่อเมื่อไม่คืนในกำหนด 3 เดือน เท่านั้นตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินมาตรา 39 วรรคสอง โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ได้ชำระให้แก่กรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 ไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4688/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโรงเรือนต้องเป็นไปตามกฎหมายและใช้ราคาเช่าที่สมเหตุสมผล ศาลสั่งคืนเงินส่วนเกิน
การประเมินค่ารายปีสำหรับภาษีโรงเรือนประเภทโรงแรมตามสูตรค่ารายปี เท่ากับ ค่าเช่าห้อง คูณ จำนวนห้อง คูณ 15 ส่วน 100ซึ่งโจทก์มิได้ยอมรับว่าถูกต้อง จะถือว่าเป็นค่ารายปีที่ยุติแล้วไม่ได้ ทั้งข้อเท็จจริงจากการนำสืบของคู่ความก็ไม่ปรากฏว่าจำนวนค่าเช่าปีที่ล่วงมาแล้วและปีที่พิพาทกันที่จะให้เช่าได้นั้นมีราคาแตกต่างกัน จึงต้องนำค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วกำหนดเป็นค่ารายปีปีที่พิพาท การคืนเงินค่าภาษีส่วนที่ชำระเกินจะต้องคืนภายในกำหนดสามเดือน มิฉะนั้นย่อมตกเป็นผู้ผิดนัด ต้องชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามมาตรา 39 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนฯ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4688/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทภาษีโรงเรือน การคำนวณค่ารายปีที่ถูกต้อง และการคืนเงินที่เรียกเก็บเกิน
โจทก์จะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 10 ของภาษีที่ประเมินเป็นเงิน 14,782.50 บาท รวมเป็นค่าภาษีโรงเรือน ส่วนที่พิพาทเป็นเงิน 162,607.50 บาท โจทก์ได้ชำระภาษีโรงเรือนและเงินเพิ่มส่วนที่พิพาทกันไว้แล้วเป็นเงิน 191,250 บาท จำเลยที่ 1 จะต้องคืนส่วนที่เรียกเก็บเกินไปจำนวน 28,642.50 บาท ให้แก่โจทก์ภายในกำหนดสามเดือนโดยไม่คิดค่าอย่างใดตามที่บัญญ้ติไว้ในมาตรา 39 วรรคสองแห่ง พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ฯ ถ้าจำเลยไม่คืนหลังจากนั้นก็ตกเป็นผู้ผิดนัดต้องชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4688/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโรงเรือนต้องเป็นไปตามกฎหมาย และใช้ค่าเช่าที่สมเหตุสมผล หากประเมินสูงเกินไปต้องคืนส่วนต่างพร้อมดอกเบี้ย
การประเมินค่ารายปีสำหรับภาษีโรงเรือนประเภทโรงแรมตามสูตรค่ารายปี เท่ากับ ค่าเช่าห้อง คูณ จำนวนห้อง คูณ 15 ส่วน100 ซึ่งโจทก์มิได้ยอมรับว่าถูกต้อง จะถือว่าเป็นค่ารายปีที่ยุติแล้วไม่ได้ ทั้งข้อเท็จจริงจากการนำสืบของคู่ความก็ไม่ปรากฏว่าจำนวนค่าเช่าปีที่ล่วงมาแล้วและปีที่พิพาทกันที่จะให้เช่าได้นั้นมีราคาแตกต่างกัน จึงต้องนำค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วกำหนดเป็นค่ารายปีปีที่พิพาท
การคืนเงินค่าภาษีส่วนที่ชำระเกินจะต้องคืนภายในกำหนดสามเดือน มิฉะนั้นย่อมตกเป็นผู้ผิดนัด ต้องชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามมาตรา 39 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 660/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดเว้นภาษีโรงเรือนสำหรับอาคารที่เจ้าของใช้เองเป็นสำนักงานและไม่ได้ใช้ในเชิงพาณิชย์
โจทก์เป็นบริษัทจำกัด การที่โจทก์ใช้อาคารของโจทก์เองเป็นที่ทำการหรือสำนักงานฝ่ายบริหารและติดต่อธุรกิจของโจทก์โดยมิได้ใช้แสวงหาผลประโยชน์ตอบแทนโดยตรงด้วยนั้น เป็นการที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของเข้าอยู่เองตามความหมายของมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินแก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2475 มาตรา 3 เมื่อมิได้ใช้เป็นที่ไว้สินค้าหรือประกอบการอุตสาหกรรม ย่อมได้รับงดเว้นไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือน
การที่โจทก์ฟ้องขอคืนเงินภาษีส่วนที่โจทก์จำต้องชำระเกินไป และศาลพิพากษาให้คืนนั้น เท่ากับตัดสินให้ลดค่าภาษีแก่โจทก์ จำเลยจึงไม่ต้องเสียดอกเบี้ย หากคืนเงินส่วนลดนี้ให้โจทก์ภายในสามเดือนตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 มาตรา 39วรรคสองแต่ถ้าไม่คืนภายในกำหนดดังกล่าวก็ต้องเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีแก่โจทก์นับตั้งแต่วันที่ได้รับเงินไว้ และจำเลยยกปัญหานี้ขึ้นกล่าวชั้นฎีกาได้ เพราะเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน