คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 523

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 56 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1170/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก สิทธิเรียกร้องของวัดแก้วฟ้า และผลบังคับตามบันทึกข้อตกลง
บันทึกข้อตกลงที่ทำขึ้นระหว่างโจทก์ทั้งสิบห้ากับจำเลยทั้งสิบเอ็ดและผู้ร้อง มีข้อความระบุไว้ในสาระสำคัญว่า โจทก์ทั้งสิบห้าตกลงถอนฟ้องจำเลยทั้งสิบเอ็ด โดยมีเงื่อนไขให้ผู้ร้องไปดำเนินการแก้ไขปรับปรุงพื้นที่พิพาทและถวายเงิน 5,000,000 บาท เพื่อเป็นสาธารณกุศลและสาธารณประโยชน์แก่วัดแก้วฟ้าทันทีที่ผู้ร้องได้รับใบอนุญาตจัดสรรที่ดินในโครงการซึ่งอยู่ติดกับที่ดินของวัดแก้วฟ้า บันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงมีโจทก์ทั้งสิบห้ากับจำเลยทั้งสิบเอ็ดและผู้ร้องเป็นคู่สัญญาระหว่างกัน โดยมีวัดแก้วฟ้าซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเข้ามาเกี่ยวข้องเป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญา บันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงเข้าลักษณะเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 374 ซึ่งวัดแก้วฟ้ามีสิทธิจะเรียกชำระหนี้จากผู้ร้องซึ่งเป็นลูกหนี้ตามสัญญาโดยตรงได้ แม้ผู้ร้องกับฝ่ายโจทก์จะไม่มีมูลหนี้ต่อกันและกรณีมิใช่สัญญาให้ที่ผู้ร้องจะต้องส่งมอบเงินดังกล่าวแก่วัดแก้วฟ้าจึงไม่ตกอยู่ในบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 523 ทั้ง ส. ตัวแทนวัดแก้วฟ้าแถลงต่อศาลชั้นต้นในวันนัดพร้อมว่า วัดแก้วฟ้าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับคดี หากจะให้วัดแก้วฟ้าชี้แนวเขตที่ดินเพื่อรับเงินดังกล่าว โดยยังไม่ทราบว่าจะนำเงินไปดำเนินการในกิจการใด ไม่สามารถกระทำได้ แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่าเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2562 วัดแก้วฟ้ายื่นใบแจ้งความประสงค์ต่อศาลชั้นต้นขอรับเงินดังกล่าวซึ่งผู้ร้องวางไว้ อันเป็นการแสดงเจตนาเข้าถือเอาประโยชน์จากบันทึกข้อตกลงซึ่งโจทก์ทั้งสิบห้ากับจำเลยทั้งสิบเอ็ดและผู้ร้อง ทำขึ้นระหว่างกัน สิทธิของวัดแก้วฟ้า ตามบันทึกข้อตกลงย่อมเกิดมีขึ้นสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 374 วรรคสอง ดังนี้ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความตามคำร้องของผู้ร้องว่า ผู้ร้องได้รับใบอนุญาตจัดสรรสำหรับที่ดินในโครงการที่กล่าวไว้ในบันทึกข้อตกลงซึ่งมีแนวเขตที่ดินที่ผู้ร้องประสงค์ให้วัดแก้วฟ้ามาชี้ระวังแนวเขตที่ดินด้วย เช่นนี้ ไม่ว่าผู้ร้องจะต้องรังวัดแบ่งแยกโฉนดที่ดินเลขที่ 2626 และ 2627 ของผู้ร้องตามแนวตะเข็บที่ดินที่ติดกับลำรางสาธารณประโยชน์ซึ่งคั่นอยู่ระหว่างที่ดินของผู้ร้องกับวัดแก้วฟ้าออกไปเป็นที่ดินโฉนดเลขที่ 49728 หรือไม่ก็ตาม ก็ถือได้ว่าเป็นกรณีที่ผู้ร้องได้รับใบอนุญาตจัดสรรที่ดินในโครงการซึ่งอยู่ติดกับที่ดินของวัดแก้วฟ้า เป็นที่เรียบร้อยแล้ว อันเป็นเงื่อนไขตามบันทึกข้อตกลงซึ่งระบุให้ผู้ร้องต้องถวายเงินแก่วัดแก้วฟ้า ผู้ร้องจึงต้องผูกพันและมีหน้าที่ปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าว ผู้ร้องหาอาจระงับสิทธิของวัดแก้วฟ้าโดยขอรับเงินที่วางไว้คืนไปจากศาลได้ไม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 375
โจทก์ทั้งสิบห้า จำเลยทั้งสิบเอ็ดและผู้ร้อง ทำบันทึกข้อตกลงกำหนดเงื่อนไขในการถอนฟ้องจำเลยทั้งสิบเอ็ด โดยให้ผู้ร้องไปดำเนินการแก้ไขปรับปรุงพื้นที่พิพาทและถวายเงิน 5,000,000 บาท เพื่อเป็นสาธารณกุศลและสาธารณประโยชน์แก่วัดแก้วฟ้า ด้วยเจตนาให้มีผลผูกพันตามกฎหมาย เมื่อเกิดข้อพิพาทขึ้นสืบเนื่องจากบันทึกข้อตกลงดังกล่าว โจทก์ทั้งสิบห้าในฐานะคู่สัญญาจึงมีอำนาจใช้สิทธิอุทธรณ์เพื่อให้เกิดสภาพบังคับตามบันทึกข้อตกลงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 485/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือยืนยันการถวายที่ดินมีผลเป็นหนังสือแสดงเจตนาให้ที่ดินแก่โจทก์ แม้ไม่เป็นพินัยกรรมตามกฎหมาย
แม้ในตอนบนของเอกสารจะมีข้อความว่า "หนังสือพินัยกรรม" แต่ไม่มีพยาน 2 คน ลงลายมือชื่อรับรอง จึงไม่มีลักษณะเป็นพินัยกรรมตามกฎหมาย และหนังสือดังกล่าวมีข้อความว่า ข้าพเจ้า ล. หรือ ช. ได้ถวายที่ดินจำนวนประมาณ 15 ไร่ ให้วัดวังก์พงในปีที่วัดวังก์พงได้วางศิลาฤกษ์สร้างพระอุโบสถนั้น... เนื่องจากทราบว่าเอกสาร น.ส.3 ที่ได้ถวายได้สูญหายไปจากวัดวังก์พงเมื่อปี 2525 และยังติดตามไม่พบและในเอกสารยังมีชื่อของข้าพเจ้าอยู่ ข้าพเจ้าจึงขอทำหนังสือฉบับนี้ยืนยันการถวายที่ดินแปลงดังกล่าวและหากข้าพเจ้าถึงแก่กรรมขอให้ถือหนังสือฉบับนี้เป็นพินัยกรรมยืนยันการถวายมอบกรรมสิทธิ์ให้แก่วัดวังก์พงต่อไป ตามข้อความในเอกสารดังกล่าวถือได้ว่าเป็นหนังสือยืนยันการยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งในปัจจุบันขณะทำหนังสือดังกล่าวจนถึงว่าหากถึงแก่กรรมก็ยังยืนยันยกที่ดินพิพาทให้โจทก์ หนังสือดังกล่าวถือได้ว่าเป็นหนังสือแสดงเจตนาของ ล. ที่ยืนยันว่ามีเจตนายกที่ดินพิพาทให้โจทก์มาตั้งแต่แรกจนถึงขณะทำหนังสือดังกล่าว ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า ล. ได้ยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ เมื่อโจทก์เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทแล้วที่ดินพิพาทจึงเป็นธรณีสงฆ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8530/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาไม่สมบูรณ์หากยังไม่มีการส่งมอบทรัพย์สิน แม้ในสัญญาจะระบุว่ามีการส่งมอบแล้ว
แม้ข้อความในสัญญาที่จำเลยให้เครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์แก่โจทก์จะระบุว่าจำเลยตกลงโอนกรรมสิทธิ์ในเครื่องวิทยุคมนาคมให้แก่โจทก์ผู้รับนับแต่วันทำสัญญา และโจทก์ได้รับมอบเครื่องวิทยุคมนาคมพร้อมอุปกรณ์ดังกล่าวแล้ว แต่ตามข้อเท็จจริงปรากฏว่าในวันทำสัญญานั้นจำเลยไม่ได้ส่งมอบเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์ให้แก่โจทก์ ดังนั้น สัญญาให้ดังกล่าวจึงขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 523 ซึ่งบัญญัติว่า การให้ย่อมสมบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ให้ สัญญาให้จึงไม่สมบูรณ์ เช่นเดียวกับสัญญาเช่าใช้เครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์ระหว่างจำเลยกับโจทก์ที่ทำในวันเดียวกันนั้น เมื่อโจทก์ไม่ได้ส่งมอบทรัพย์สินที่เช่าให้จำเลยนำไปใช้ แม้ในสัญญาจะมีข้อความว่าจำเลยตกลงนำเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์ไปติดตั้ง ณ หน่วยงานของจำเลย สัญญาเช่าก็ไม่สมบูรณ์เนื่องจากขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 546 ซึ่งกำหนดว่า ผู้ให้เช่าต้องส่งมอบทรัพย์สินซึ่งให้เช่านั้นในสภาพอันซ่อมแซมดีแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเช่า ค่าเสียหายและบังคับให้จำเลยคืนวิทยุคมนาคมพร้อมอุปกรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8530/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาไม่สมบูรณ์หากไม่มีการส่งมอบทรัพย์สิน แม้จะระบุในสัญญาแล้วก็ตาม
สัญญาที่จำเลยให้เครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์แก่โจทก์ มีข้อความระบุว่า จำเลยตกลงโอนกรรมสิทธิ์ในเครื่องวิทยุคมนาคมตามบัญชีต่อท้ายสัญญานี้ให้แก่โจทก์ผู้รับนับแต่วันทำสัญญาและโจทก์ได้รับมอบเครื่องวิทยุคมนาคมพร้อมอุปกรณ์ดังกล่าวแล้ว แต่ในวันที่จำเลยทำสัญญา จำเลยไม่ได้ส่งมอบเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์ให้แก่โจทก์ สัญญาที่จำเลยทำไว้แก่โจทก์จึงขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 523 ย่อมไม่สมบูรณ์ไม่มีผลบังคับจำเลยตามสัญญา
สัญญามีข้อความว่า ผู้เช่าตกลงนำเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์วิทยุคมนาคมไปติดตั้ง ณ หน่วยงานของจำเลย แต่ในวันที่จำเลยทำสัญญาโจทก์ไม่ได้ส่งมอบทรัพย์ที่เช่าคือวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์ให้แก่จำเลยได้นำไปใช้ตามข้อตกลงในสัญญาจึงขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 546 สัญญาย่อมไม่สมบูรณ์ ไม่มีผลบังคับจำเลยตามสัญญาเช่นกัน โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเช่า ค่าเสียหาย และบังคับให้จำเลยคืนเครื่องวิทยุคมนาคมพร้อมอุปกรณ์แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4807/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนมรดกตามนาซาร์ (พินัยกรรมอิสลาม) และการครอบครองที่ดิน กรณีโอนไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายและสละการครอบครอง
ที่ดินพิพาทแปลงปลูกบ้านเป็นที่ดินมีโฉนด แม้บิดา จะได้ทำหนังสือนาซาร์ ซึ่งเป็นพินัยกรรมตามหลักศาสนาอิสลาม ยกที่ดินส่วนนี้ให้แก่โจทก์ แต่มิได้จดทะเบียนต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ การ ยกให้นี้จึงไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 สำหรับที่พิพาทซึ่งเป็นที่นาเป็นที่ดินมือเปล่าไม่มีหนังสือสำคัญสำหรับที่ การให้ย่อมสมบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ให้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 523 การที่โจทก์พิมพ์ลายนิ้วมือรับการยกให้และรับหนังสือนาซาร์เก็บรักษาไว้เอง ไม่ถือว่าเป็นการส่งมอบทรัพย์สินที่ให้และแม้โจทก์ได้รับการให้เมื่อปี 2508 ครอบครองทำนาอยู่2 ปี แล้วย้ายไปอยู่บ้านสามีเมื่อปี 2510 แต่ในปี 2522จำเลยยื่นแบบบันทึกการสอบสวนสิทธิและพิสูจน์การทำประโยชน์ทางราชการได้ประกาศเรื่องราวที่จำเลยขอออก น.ส.3 ก. ตามระเบียบแล้วไม่มีผู้ใดคัดค้าน จึงออก น.ส.3 ก. ให้แก่จำเลยดังนี้การที่จำเลยได้นำที่นาไปออก น.ส.3 ก. ได้โดยโจทก์มิได้คัดค้านแสดงว่าแม้โจทก์จะเคยครอบครองที่นานี้มาก่อนโจทก์ก็ได้สละการครอบครองนั้นแล้ว ที่พิพาทซึ่งเป็นที่นาจึงเป็นของจำเลย โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำเลยเป็นผู้นับถือศาสนาอิสลามและอยู่ในเขตอำนาจศาลชั้นต้น บิดามารดาโจทก์ได้ทำหนังสือนาซาร์ซึ่งเป็นพินัยกรรมตามหลักศาสนาอิสลามยกที่ดินให้แก่โจทก์จำเลยให้การต่อสู้ว่า หนังสือนาซาร์ที่โจทก์อ้างไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายอิสลาม เพราะผู้ทำไม่ได้เปล่งวาจากล่าว(ลาภาซ)แสดงเจตนาตามข้อความในหนังสือนาซาร์ หรือกล่าวลาภาซ ไม่ถูกต้อง ดังนี้ จึงมีปัญหาที่คู่ความโต้เถียงกันในปัญหาข้อกฎหมายว่าหนังสือนาซาร์ที่โจทก์อ้างนั้นมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายอิสลามหรือไม่ เมื่อโจทก์จำเลยเป็นอิสลามมิกชนและมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตจังหวัดปัตตานีการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับมรดกของผู้นับถือศาสนาอิสลามดังกล่าวจึงต้องให้ดะโต๊ะยุติธรรมเป็นผู้วินิจฉัยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล พ.ศ. 2489มาตรา 4 ศาลชั้นต้นจึงให้ดะโต๊ะยุติธรรมเป็นผู้วินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายนี้ และเมื่อดะโต๊ะยุติธรรมเป็นผู้ชี้ขาดปัญหาข้อกฎหมายอิสลามเช่นนี้ ดะโต๊ะยุติธรรมจึงต้องลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นด้วย การลงชื่อของดะโต๊ะยุติธรรมจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4807/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนมรดกตามหลักศาสนาอิสลาม (นาซาร์) และการได้มาซึ่งที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์
ที่พิพาทแปลงปลูกบ้านเป็นที่ดินมีโฉนด แม้บิดาจะได้ทำหนังสือนาซาร์ซึ่งเป็นพินัยกรรมตามหลักศาสนาอิสลามยกที่ดินส่วนนี้ให้แก่โจทก์ แต่มิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การยกให้นี้จึงไม่สมบูรณ์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 525
สำหรับที่พิพาทซึ่งเป็นที่นาเป็นที่ดินมือเปล่าไม่มีหนังสือสำคัญสำหรับที่ การให้ย่อมสมบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ให้ ป.พ.พ.มาตรา 523 การที่โจทก์พิมพ์ลายนิ้วมือรับการยกให้และรับหนังสือนาซาร์เก็บรักษาไว้เอง ไม่ถือว่าเป็นการส่งมอบทรัพย์สินที่ให้ และแม้โจทก์ได้รับการให้เมื่อปี 2508 ครอบครองทำนาอยู่ 2 ปี แล้วย้ายไปอยู่บ้านสามีเมื่อปี 2510 แต่ในปี 2522 จำเลยยื่นแบบบันทึกการสอบสวนสิทธิและพิสูจน์การทำประโยชน์ ทางราชการได้ประกาศเรื่องราวที่จำเลยขอออก น.ส.3 ก.ตามระเบียบแล้วไม่มีผู้ใดคัดค้าน จึงออก น.ส.3 ก.ให้แก่จำเลย ดังนี้การที่จำเลยได้นำที่นาไปออก น.ส.3 ก.ได้โดยโจทก์มิได้คัดค้านแสดงว่าแม้โจทก์จะเคยครอบครองที่นานี้มาก่อน โจทก์ก็ได้สละการครอบครองนั้นแล้ว ที่พิพาทซึ่งเป็นที่นาจึงเป็นของจำเลย
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำเลยเป็นผู้นับถือศาสนาอิสลามและอยู่ในเขตอำนาจศาลชั้นต้น บิดามารดาโจทก์ได้ทำหนังสือนาซาร์ซึ่งเป็นพินัยกรรมตามหลักศาสนาอิสลามยกที่ดินให้แก่โจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ว่า หนังสือนาซาร์ที่โจทก์อ้างไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายอิสลาม เพราะผู้ทำไม่ได้เปล่งวาจากล่าว (ลาภาซ) แสดงเจตนาตามข้อความในหนังสือนาซาร์หรือกล่าวลาภาซไม่ถูกต้อง ดังนี้ จึงมีปัญหาที่คู่ความโต้เถียงกันในปัญหาข้อกฎหมายว่าหนังสือนาซาร์ที่โจทก์อ้างนั้นมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายอิสลามหรือไม่ เมื่อโจทก์จำเลยเป็นอิสลามมิกชนและมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตจังหวัดปัตตานี การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับมรดกของผู้นับถือศาสนาอิสลามดังกล่าวจึงต้องให้ดะโต๊ะยุติธรรมเป็นผู้วินิจฉัยตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล พ.ศ.2489มาตรา 4 ศาลชั้นต้นจึงให้ดะโต๊ะยุติธรรมเป็นผู้วินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายนี้ และเมื่อดะโต๊ะยุติธรรมเป็นผู้ชี้ขาดปัญหาข้อกฎหมายอิสลามเช่นนี้ ดะโต๊ะยุติธรรมจึงต้องลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นด้วย การลงชื่อของดะโต๊ะยุติธรรมจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5212/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในรถยนต์โอนเมื่อส่งมอบ ไม่จำเป็นต้องจดทะเบียน โจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากอุบัติเหตุ
การให้รถยนต์อันเป็นสังหาริมทรัพย์ย่อมสมบูรณ์เมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 523ไม่มีกฎหมายบังคับว่าการให้ทรัพย์สินดังกล่าวต้องทำตามแบบกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ย่อมโอนไปยังโจทก์ผู้รับแล้วหาจำต้องจดทะเบียนโอนกันเสียก่อนไม่ เพราะกฎหมายเกี่ยวกับทะเบียนรถยนต์เป็นเรื่องเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่จะควบคุมยานพาหนะและภาษีรถยนต์ ไม่ใช่แบบของนิติกรรมแต่อย่างใด ดังนั้นแม้ยังไม่ได้เปลี่ยนชื่อในทะเบียนรถยนต์เป็นชื่อโจทก์โจทก์ก็เป็นเจ้าของรถยนต์ที่โจทก์ขับในวันเกิดเหตุโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายเนื่องจากละเมิดจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3104/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์โดยการส่งมอบ และผลกระทบต่อการขอคืนของกลาง
ผู้ร้องได้ยกรถยนต์ของกลางให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่จำเลยที่ 1แล้ว หลังจากยกให้ไม่เคยเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย การให้รถยนต์ของกลางเพียงแต่ส่งมอบให้ก็สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 523 แล้ว หลักฐานทะเบียนรถยนต์ไม่ใช่กรณีที่จะต้องจดทะเบียนการโอนตาม มาตรา 525 ฟังไม่ได้ว่ารถยนต์ของกลางเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องจึงไม่อาจขอคืนรถยนต์ของกลางได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3680/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้โดยเสน่หาในทรัพย์มรดก: ผลของการส่งมอบโดยปริยายและการบอกล้างโมฆียกรรมเกินกำหนด
การที่ จ. ทายาททำหนังสือยกส่วนได้ของตนที่จะได้รับการแบ่งปันทรัพย์มรดกจากจำเลยที่ 2 ในฐานะทรัสตีให้แก่ ส. เป็นการโอนทรัพย์สินอันเป็นมรดกที่ตกได้แก่ตนด้วยการให้โดยเสน่หาแก่ ส.และส. ยอมรับเอาทรัพย์สินนั้นแล้ว สัญญาดังกล่าวจึงเป็นการให้โดยเสน่หา หาใช่เป็นเพียงการโอนสิทธิเรียกร้องไม่ ในขณะที่ จ. ทำสัญญาให้นั้น ทายาททุกคนรวมทั้งทรัสตีได้ตกลงยกเลิกทรัสต์กันแล้ว โดยให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นทรัสตีในขณะนั้นทำการแบ่งปันมรดกให้แก่ทายาททรัพย์มรดกทั้งหมดจึงมีจำเลยที่ 2ในฐานะทรัสตีและในฐานะผู้จัดการมรดกในเวลาต่อมาเป็นผู้ครอบครองดูแลรักษาแทนทายาททุกคน การที่ จ. ทำสัญญาให้โดยเสน่หาแล้ว ส. ทำบันทึกมอบฉันทะให้ จ. เป็นผู้รับส่วนแบ่งมรดกดังกล่าวแทน โดยจำเลยที่ 2 ลงชื่อยินยอมและรับรู้การยกให้กับการมอบฉันทะดังกล่าว เท่ากับเป็นการตกลงว่าต่อแต่นั้นไปจำเลยที่ 2จะเป็นผู้ครอบครองทรัพย์มรดกอันเป็นส่วนได้ของ จ. แทน ส.เป็นการส่งมอบทรัพย์สินที่ให้โดยปริยายแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1379 การให้ทรัพย์สินในส่วนที่มิใช่อสังหาริมทรัพย์จึงสมบูรณ์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 523 สำหรับมรดกที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ก็มีจำเลยที่ 2เป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์แทนทายาททุกคน การโอนจึงทำได้โดย จ.ผู้โอนสั่งจำเลยที่ 2 ผู้แทนว่าต่อไปให้ยึดถือทรัพย์สินไว้แทน ส.ผู้รับโอนตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1380 วรรคสองเมื่อ จ. ไม่มีชื่อเป็นเจ้าของในหนังสือสำคัญเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน การให้โดยเสน่หาจึงไม่อาจจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ดังที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 ได้การรับรู้การยกให้ของจำเลยที่ 2 ดังกล่าว จึงเป็นการรับว่าต่อไปจำเลยที่ 2 จะเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์แทน ส. โดยไม่ต้องจดทะเบียนการยกให้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 525 อีก การที่จำเลยที่ 1 ให้การและฟ้องแย้งว่า จ. ทำหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องในส่วนแบ่งมรดกให้แก่ ส. เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม2510 แต่โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งเพียงว่า หนังสือที่ จ. ทำขึ้นดังกล่าวเป็นหนังสือยกให้ส่วนแบ่งมรดกมิใช่เป็นการโอนสิทธิเรียกร้อง การให้ไม่สมบูรณ์เพราะยังไม่มีการส่งมอบทรัพย์สินที่ให้ เท่ากับโจทก์รับว่าหนังสือยกให้ได้ทำขึ้นเมื่อวันที่ 11ตุลาคม 2510 เพียงแต่โต้แย้งว่ามิใช่หนังสือโอนสิทธิเรียกร้องดังที่จำเลยทั้งสองกล่าวอ้าง โจทก์จะฎีกาว่าหนังสือยกให้ทำเมื่อปี 2521 อันเป็นการโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ยุติแล้วหาได้ไม่ต้องฟังว่า จ. ทำหนังสือยกให้เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2510 โจทก์เพิ่งบอกล้างโมฆียะกรรมเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2527เป็นการบอกล้างเมื่อเกินสิบปี จึงบอกล้างไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 143(มาตรา 181 ที่แก้ไขใหม่)สัญญาให้ไม่เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3680/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนมรดกโดยเสน่หา การบอกล้างโมฆียกรรม และผลของการครอบครองทรัพย์สิน
จ. ทายาทคนหนึ่งทำหนังสือยกทรัพย์สินส่วนของตนซึ่งมีสิทธิจะได้จากการแบ่งปันในกองมรดกให้แก่ ส.และส. ยอมรับเอาทรัพย์นั้นแล้ว หนังสือนี้เป็นสัญญาให้โดยเสน่หา หาใช่เป็นเพียงการโอนสิทธิเรียกร้องไม่ การที่จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดก ลงชื่อยินยอมและรับรู้การยกทรัพย์สินส่วนของ จ. ให้ ส. ในหนังสือยกให้นั้นถือว่ามีการส่งมอบทรัพย์สินที่ให้แก่ ส. โดยปริยายแล้ว ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1379 สำหรับทรัพย์มรดกที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ซึ่งมีชื่อจำเลยที่ 2 ถือกรรมสิทธิ์แทนทายาททุกคนนั้น การโอนจึงทำได้โดย จ.ผู้โอนสั่งจำเลยที่ 2 ผู้แทนว่า ต่อไปให้ยึดถือทรัพย์สินไว้แทน ส.ผู้รับโอนก็ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1380 วรรคสอง การที่จำเลยที่ 2รับรู้การยกให้ดังกล่าวเป็นการยอมรับว่าต่อไปจำเลยที่ 2จะถือกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์แทน ส. โดยไม่ต้องจดทะเบียนการยกให้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 525 อีก สัญญาให้จึงสมบูรณ์ โจทก์โต้แย้งเพียงว่าหนังสือยกให้นั้นมิใช่หนังสือโอนสิทธิเรียกร้อง แต่รับการให้โดยเสน่หา เท่ากับโจทก์รับว่าหนังสือยกให้ทำเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2510 จริง เพียงแต่โต้แย้งว่ามิใช่หนังสือโอนสิทธิเรียกร้องดังที่จำเลยกล่าวอ้างเท่านั้นโจทก์จะฎีกาว่าหนังสือยกให้นี้ทำเมื่อปี 2521 อันเป็นข้อเท็จจริงที่ยุติแล้วหาได้ไม่ แม้ศาลล่างทั้งสองจะวินิจฉัยในปัญหานี้ให้ก็เป็นการไม่ชอบ.
of 6