พบผลลัพธ์ทั้งหมด 237 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4674/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาชำระหนี้และโอนกรรมสิทธิ์ในสัญญาจะซื้อจะขาย สิทธิริบเงินมัดจำเมื่อพ้นกำหนด
ตามข้อตกลงในสัญญาระบุกำหนดเวลาการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่จะซื้อขายกันไว้ 2 ช่วง คือภายในวันที่ 2 มิถุนายน2528 ซึ่งเป็นกำหนดเวลาให้โจทก์ในฐานะผู้จะซื้อปฏิบัติชำระหนี้และจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กัน มิฉะนั้นโจทก์จะต้องชำระค่าเสียหายให้แก่จำเลยทั้งสองเป็นเงิน 11,200 บาท และภายในวันที่ 2 กรกฎาคม2528 ซึ่งเป็นกำหนดเวลาช่วงสุดท้ายที่จะโอนกรรมสิทธิ์กันหากโจทก์ไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้ จำเลยในฐานะผู้จะขายมีสิทธิริบเงินมัดจำจำนวน 50,000 บาท ดังนี้ จำเลยยังไม่มีสิทธิริบเงินมัดจำจนกว่าเวลาจะล่วงพ้นวันที่ 2 กรกฎาคม 2528 อันเป็นกำหนดเวลาช่วงสุดท้ายที่ทั้งสองฝ่ายจะต้องปฏิบัติชำระหนี้ต่อกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4674/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาชำระหนี้และโอนกรรมสิทธิ์ในสัญญาซื้อขายที่ดิน สิทธิริบเงินมัดจำเมื่อถึงกำหนด
ตามข้อตกลงในสัญญาระบุกำหนดเวลาการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่จะซื้อขายกันไว้ 2 ช่วง คือภายในวันที่ 2 มิถุนายน2528 ซึ่งเป็นกำหนดเวลาให้โจทก์ในฐานะผู้จะซื้อปฏิบัติชำระหนี้และจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กัน มิฉะนั้นโจทก์จะต้องชำระค่าเสียหายให้แก่จำเลยทั้งสองเป็นเงิน 11,200 บาท และภายในวันที่ 2 กรกฎาคม2528 ซึ่งเป็นกำหนดเวลาช่วงสุดท้ายที่จะโอนกรรมสิทธิ์กันหากโจทก์ไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้ จำเลยในฐานะผู้จะขายมีสิทธิริบเงินมัดจำจำนวน 50,000 บาท ดังนี้ จำเลยยังไม่มีสิทธิริบเงินมัดจำจนกว่าเวลาจะล่วงพ้นวันที่ 2 กรกฎาคม 2528 อันเป็นกำหนดเวลาช่วงสุดท้ายที่ทั้งสองฝ่ายจะต้องปฏิบัติชำระหนี้ต่อกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3789/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พนักงานทราบการหลอกลวง แต่ยังรับสมัครงานต่อ เข้าข่ายสนับสนุนการฉ้อโกง
จำเลยที่ 4 เป็นพนักงานของบริษัทจำเลยที่ 1 สาขาลำพูนทราบดีว่า สำนักงานสาขาลำพูนของบริษัทจำเลยที่ 1ไม่มีเงินทุนดำเนินการ ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ได้นำเงินค้ำประกันการเข้าทำงาน ของพนักงานมาจ่าย แต่จำเลยที่ 4 ก็ยังดำเนินการรับสมัครงานตลอดมาตามพฤติการณ์จำเลยที่ 4ย่อมทราบดีว่าบริษัทจำเลยที่ 1 ไม่มีงานการรับสมัครพนักงานของบริษัทจำเลยที่ 1 สาขาลำพูนดังกล่าวเป็นการหลอกลวงประชาชนเพื่อให้ได้เงินประกันการเข้าทำงาน ซึ่งจำเลยที่ 4ก็ยังคงดำเนินการให้การหลอกลวงนั้นบรรลุผล เป็นการช่วยเหลือและให้ความสะดวกแก่บริษัทจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 กระทำผิดจำเลยที่ 4 เป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3784/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสนับสนุนการหลอกลวงประชาชนเพื่อเงินประกันการเข้าทำงาน จำเลย 4 มีความผิดฐานสนับสนุน
จำเลยที่ 4 เป็นพนักงานของบริษัทจำเลยที่ 1 ทราบดีว่า สำนักงานสาขาลำพูนของบริษัทจำเลยที่ 1 ไม่มีเงินทุนดำเนินการ ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ได้นำเงินค้ำประกันการเข้าทำงานของพนักงานมาจ่าย แต่จำเลยที่ 4 ก็ยังดำเนินการรับสมัครงานตลอดมา ตามพฤติการณ์จำเลยที่ 4 ย่อมทราบดีว่าบริษัทจำเลยที่ 1 ไม่มีงาน การรับสมัครพนักงานของบริษัทจำเลยที่ 1 สาขาลำพูนดังกล่าวเป็นการหลอกลวงประชาชนเพื่อให้ได้เงินประกันการเข้าทำงาน ซึ่งจำเลยที่ 4 ก็ยังคงดำเนินการให้การหลอกลวงนั้นบรรลุผล เป็นการช่วยเหลือและให้ความสะดวกแก่บริษัทจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 6 กระทำผิด จำเลยที่ 4 เป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3783/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดความรับผิดของนายคลังสินค้า: ข้อบังคับต้องได้รับการตกลงชัดแจ้งจากเจ้าของสินค้า
พระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 มาตรา 29(1)และ มาตรา 9(4) ให้คณะกรรมการจำเลยมีอำนาจวางข้อบังคับและระเบียบตามที่ระบุไว้ในมาตรา 9(4) คือ จัดระเบียบว่าด้วยความปลอดภัย การใช้ท่าเรือ บริการและความสะดวกต่าง ๆ ของกิจการท่าเรือเท่านั้น ไม่ได้ให้อำนาจคณะกรรมการออกข้อบังคับจำกัดความรับผิดค่าเสียหายที่จำเลยจักต้องรับผิด เมื่อจำเลยออกข้อบังคับจำกัดความรับผิดค่าเสียหายที่ให้ผู้ฝากสินค้ากับจำเลยต้องเสนอข้อเรียกร้องค่าเสียหายภายในกำหนด 7 วันนับแต่วันรับมอบสินค้าขึ้นฝ่ายเดียว โดยไม่ปรากฏว่าเจ้าของสินค้าได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในข้อจำกัดความรับผิดดังกล่าวจำเลยจึงไม่อาจยกข้อบังคับที่จำเลยกำหนดขึ้นมาอ้างให้พ้นความรับผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3076/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับฝากเงินกรณีเงินสูญหาย แม้ไม่มีบำเหน็จและใช้ความระมัดระวังแล้ว
จำเลยรับฝากเงินจากโจทก์ จำเลยผู้รับฝากจะเอาเงินซึ่งฝากนั้นออกใช้ก็ได้ แม้ว่าการรับฝากเงินรายนี้จะไม่มีบำเหน็จค่าฝาก และจำเลยจะได้ใช้ความระมัดระวังสงวนทรัพย์สินซึ่งฝากนั้นเหมือนเช่นเคยประพฤติในกิจการของจำเลยก็ตาม เมื่อปรากฏว่าเงินซึ่งฝากนั้นสูญหายเพราะถูกคนร้ายลักไปแม้จะเป็นเหตุสุดวิสัยซึ่งจำเลยไม่อาจป้องกันได้ จำเลยก็ต้องรับผิดคืนเงินจำนวนที่จำเลยรับฝากไว้แก่โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 672.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3076/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับฝากเงินเมื่อเงินสูญหาย แม้เหตุสุดวิสัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 672
จำเลยรับฝากเงินจากโจทก์ จำเลยผู้รับฝากจะเอาเงินซึ่งฝากนั้นออกใช้ก็ได้ ฉะนั้น แม้การรับฝากเงินจะไม่มีบำเหน็จค่าฝากและจำเลยจะได้ใช้ความระมัดระวังสงวนทรัพย์สินซึ่งฝากนั้นเหมือนเช่นเคยประพฤติในกิจการของจำเลยเองก็ตาม เมื่อปรากฏว่าเงินซึ่งฝากนั้นสูญหายเพราะถูกคนร้ายลักไป แม้จะเป็นเหตุสุดวิสัยซึ่งไม่อาจป้องกันได้ จำเลยก็ต้องรับผิดคืนเงินจำนวนที่รับฝากไว้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 672.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3076/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฝากเงินและการรับผิดของผู้รับฝากเมื่อทรัพย์สินสูญหาย แม้เหตุสุดวิสัย
จำเลยรับฝากเงินจากโจทก์ จำเลยผู้รับฝากจะเอาเงินซึ่งฝากนั้นออกใช้ก็ได้ แม้ว่าการรับฝากเงินรายนี้จะไม่มีบำเหน็จค่าฝาก และจำเลยจะได้ใช้ความระมัดระวังสงวนทรัพย์สินซึ่งฝากนั้นเหมือนเช่นเคยประพฤติในกิจการของจำเลยก็ตาม เมื่อปรากฏว่าเงินซึ่งฝากนั้นสูญหายเพราะถูกคนร้ายลักไปแม้จะเป็นเหตุสุดวิสัยซึ่งจำเลยไม่อาจป้องกันได้ จำเลยก็ต้องรับผิดคืนเงินจำนวนที่จำเลยรับฝากไว้แก่โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 672
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3051/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สุจริตในการรับจำนอง: การตรวจสอบสิทธิของผู้ขายและผลกระทบต่อสิทธิของผู้อ้างสิทธิในทรัพย์สิน
ผู้ร้องยื่นคำร้องขัดทรัพย์ว่าทรัพย์สินพิพาทที่โจทก์นำยึดเป็นของผู้ร้องที่ได้มาโดยการครอบครองปรปักษ์ โจทก์ให้การว่าทรัพย์พิพาทเป็นของจำเลย โจทก์จดทะเบียนรับจำนองทรัพย์สินพิพาทจากจำเลยโดยสุจริต ดังนี้ คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์รับจำนองทรัพย์สินพิพาท และจดทะเบียนสิทธิจำนองโดยสุจริตหรือไม่ซึ่งคู่ความทั้งสองฝ่ายชอบที่จะนำสืบ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3039/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของโจทก์ที่ได้รับความยินยอมจากสามี และการนำสืบราคาซื้อขายที่ไม่ตรงกับสัญญา
โจทก์มอบอำนาจให้สามีโจทก์เป็นผู้ฟ้องและดำเนินคดีแทนประกอบกับสามีโจทก์เบิกความรับรองว่ายินยอมให้โจทก์ฟ้องคดี ถือได้ว่าโจทก์ได้รับความยินยอมจากสามีให้ฟ้องคดีแล้ว
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 บัญญัติห้ามเฉพาะการนำพยานบุคคลเข้าสืบแทนพยานเอกสารหรือประกอบข้ออ้างว่ายังมีข้อความเพิ่มเติมหรือแก้ไขข้อความในเอกสารในเมื่อมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง การที่โจทก์นำสืบถึงบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับราคาที่ดินตลอดจนเงื่อนไขการชำระราคาที่ดินอีกส่วนหนึ่งนอกเหนือจากหนังสือสัญญาขายที่ดินที่จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น จึงไม่เป็นการต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 บัญญัติห้ามเฉพาะการนำพยานบุคคลเข้าสืบแทนพยานเอกสารหรือประกอบข้ออ้างว่ายังมีข้อความเพิ่มเติมหรือแก้ไขข้อความในเอกสารในเมื่อมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง การที่โจทก์นำสืบถึงบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับราคาที่ดินตลอดจนเงื่อนไขการชำระราคาที่ดินอีกส่วนหนึ่งนอกเหนือจากหนังสือสัญญาขายที่ดินที่จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น จึงไม่เป็นการต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว