คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วินัย กันนะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 237 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2266/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักเงินฝากชำระหนี้เบิกเกินบัญชี และการคิดดอกเบี้ยหลังผิดนัดชำระหนี้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชีไปจากโจทก์และมิได้ชำระหนี้คืนโจทก์ โจทก์ได้หักเงินฝากประจำของจำเลยที่ 2เข้าชำระหนี้เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2527 เป็นเงิน 2,000,000 บาทและต่อมาได้หักทอนบัญชีกันเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2527จำเลยที่ 1 เป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีอยู่ 586,293.50 บาท ปรากฏตามภาพถ่ายบัญชีกระแสรายวันเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 7 ดังนี้แม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องว่า ในวันที่ 26 เมษายน 2527 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์หักเงินฝากของจำเลยที่ 2 ใช้หนี้เบิกเงินเกินบัญชีจำเลยที่ 1 นั้น จำเลยที่ 1 เป็นหนี้อยู่จำนวนเท่าใด เมื่อหักหนี้แล้วเหลืออยู่เท่าใดก็ตาม แต่จากข้อความดังกล่าวย่อมเป็นการชัดแจ้งอยู่แล้วว่า ในวันที่โจทก์หักเงินฝากประจำของจำเลยที่ 2ชำระหนี้ นั้น จำเลยที่ 1 ย่อมจะเป็นหนี้โจทก์อยู่เกินกว่า2,000,000 บาท ทั้งตามภาพถ่ายบัญชีกระแสรายวันเอกสารท้ายฟ้องซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องก็ปรากฏรายการชัดแจ้งด้วยว่า ในวันดังกล่าวจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์อยู่เท่าใด ฟ้องโจทก์ชอบด้วยป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ไม่เคลือบคลุม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2262/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดชอบด้วยกฎหมาย แม้ราคาต่ำกว่าราคาประเมิน หากเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการถูกต้องตามกฎหมาย
ในการขายทอดตลาดทรัพย์ เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นว่ามีผู้สู้ราคาสูงกว่าราคาที่ประมาณไว้ จึงรายงานต่อศาลว่าสมควรขายแก่ ผู้ให้ราคาสูงสุดคือผู้คัดค้าน ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ขายได้แสดงว่าราคาเหมาะสมแล้วและไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการขายทอดตลาดโดยไม่สุจริต หรือมิได้ปฏิบัติตาม บทบัญญัติของกฎหมายและข้อบังคับที่กำหนดไว้ว่าด้วยวิธีการขายทอดตลาดดังนี้ การขายทอดตลาดที่ดินพิพาทจึงชอบด้วยกฎหมาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2242/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการดำเนินคดีของผู้จัดการมรดกแทนโจทก์ร่วม และเหตุรอการลงโทษจากชดใช้ค่าเสียหาย
พี่ชายของโจทก์ร่วมผู้ตายเกิดจากบิดามารดาเดียวกัน และเป็นผู้จัดการมรดกของโจทก์ร่วมผู้ตาย มิใช่บุคคลตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 29 ที่จะขอเข้าดำเนินคดีต่างโจทก์ร่วมผู้ตายได้ จึงไม่มีสิทธิถอนคำร้องทุกข์หรือมีคำขออื่นใดแทนโจทก์ร่วมผู้ตายได้ เช็คพิพาทสั่งจ่ายเงิน 500,000 บาท ก่อนศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษาจำเลยชำระเงินให้โจทก์ร่วม 20,000 บาท และระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์จำเลยได้ชำระเงินที่เหลือในเช็คพิพาทแล้วเป็นการบรรเทาผลร้ายแห่งการกระทำความผิด จึงมีเหตุสมควรรอการลงโทษ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2242/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการดำเนินคดีแทนโจทก์ร่วมผู้ตาย และการรอการลงโทษหลังชดใช้ค่าเสียหาย
พี่ชายของโจทก์ร่วมผู้ตายเกิดจากบิดามารดาเดียวกันและเป็นผู้จัดการมรดกของโจทก์ร่วมผู้ตาย มิใช่บุคคลตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 29 ที่จะขอเข้าดำเนินคดีต่างโจทก์ร่วมผู้ตายได้ จึงไม่มีสิทธิถอนคำร้องทุกข์หรือมีคำขออื่นใดแทนโจทก์ร่วมผู้ตายได้
เช็คพิพาทสั่งจ่ายเงิน 500,000 บาท ก่อนศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษาจำเลยชำระเงินให้โจทก์ร่วม 20,000 บาท และระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์จำเลยได้ชำระเงินที่เหลือในเช็คพิพาทแล้วเป็นการบรรเทาผลร้ายแห่งการกระทำความผิด จึงมีเหตุสมควรรอการลงโทษให้จำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2242/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการดำเนินคดีแทนโจทก์ร่วม & เหตุบรรเทาโทษจากเช็คพิพาท
พี่ชายของโจทก์ร่วมผู้ตายเกิดจากบิดามารดาเดียวกันและเป็นผู้จัดการมรดกของโจทก์ร่วมผู้ตาย มิใช่บุคคลตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 29 ที่จะขอเข้าดำเนินคดีต่างโจทก์ร่วมผู้ตายได้ จึงไม่มีสิทธิถอนคำร้องทุกข์หรือมีคำขออื่นใดแทนโจทก์ร่วมผู้ตายได้ เช็คพิพาทสั่งจ่ายเงิน 500,000 บาท ก่อนศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษาจำเลยชำระเงินให้โจทก์ร่วม 20,000 บาท และระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์จำเลยได้ชำระเงินที่เหลือในเช็คพิพาทแล้วเป็นการบรรเทาผลร้ายแห่งการกระทำความผิด จึงมีเหตุสมควรรอการลงโทษให้จำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2242/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการดำเนินคดีแทนโจทก์ร่วมผู้ตาย: ผู้จัดการมรดกไม่มีสิทธิถอนคำร้องทุกข์แทน
ผู้เสียหายเข้าเป็นโจทก์ร่วมแล้วตายลง แม้ผู้ร้องจะเป็นพี่ชายของโจทก์ร่วมผู้ตายซึ่งเกิดจากบิดามารดาเดียวกัน และเป็นผู้จัดการมรดกของโจทก์ร่วมผู้ตายด้วยก็ตาม แต่ผู้ร้องมิใช่บุคคลตามป.วิ.อ. มาตรา 29 ที่จะขอเข้าดำเนินคดีต่างโจทก์ร่วมผู้ตายโดยอนุโลมต่อไปได้ ดังนั้นผู้ร้องจึงหามีสิทธิถอนคำร้องทุกข์ หรือคำขออื่นใดแทนโจทก์ร่วมผู้ตายไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2219/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดหลายกรรมต่างกัน: ต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน, พยายามฆ่า, มีอาวุธปืน, พาอาวุธปืน
ความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 140 วรรคสาม กับความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 (2) ประกอบมาตรา 80 เป็นความผิดต่างกรรมกับความผิดฐานมีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน นอกจากที่กำหนดในกฎกระทรวงที่นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน ฯ มาตรา 55 78 วรรคหนึ่ง และต่างกรรมกับความผิดฐานพาอาวุธปืนไปในหมู่บ้านและทางสาธารณะ ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน มาตรา 8 ทวิ วรรคหนึ่ง, 72 ทวิ วรรคสอง เพราะการกระทำตามความผิดดังกล่าวมีการกระทำที่แยกจากกันเป็นแต่ละฐานความผิดได้ชัดเจน ไม่เกี่ยวเนื่องกัน
ความผิดฐานมีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนนอกจากที่กำหนดในกฎกระทรวงที่นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ เป็นความผิดต่างกรรมกับความผิดฐานพาอาวุธปืนไปในหมู่บ้านและทางสาธารณะ เพราะความผิดทั้งสองฐานมีเจตนาในการกระทำผิดเป็นคนละอันแตกต่างกันและเป็นความผิดต่างฐานกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2219/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน, พยายามฆ่า, มีอาวุธปืนเถื่อน และพาอาวุธปืนไปในทางสาธารณะ เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
ความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 140 วรรคสาม กับความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ตามมาตรา 289(2) ประกอบมาตรา 80เป็นความผิดต่างกรรมกับความผิดฐานมีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนนอกจากที่กำหนดในกฎกระทรวงที่นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 55,78 วรรคหนึ่ง และต่างกรรมกับความผิดฐานพาอาวุธปืนไปในหมู่บ้าน ทางสาธารณะ ตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 8 ทวิ วรรคหนึ่ง 72 ทวิ วรรคสอง เพราะการกระทำตามความผิดดังกล่าวมีการกระทำที่แยกจากกันเป็นแต่ละฐานความผิดได้ชัดเจน ไม่เกี่ยวเนื่องกัน ความผิดฐานมีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน นอกจากที่กำหนดในกฎกระทรวงที่นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ เป็นความผิดต่างกรรมกับความผิดฐานพาอาวุธปืนไปในหมู่บ้าน ทางสาธารณะเพราะความผิดทั้งสองฐานมีเจตนาในการกระทำผิดเป็นคนละอันแตกต่างกันและเป็นความผิดต่างฐานกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2219/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดหลายกรรมต่างกัน: ต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน, พยายามฆ่า, มีอาวุธปืน, พาอาวุธปืน
ความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ตาม ป.อ. มาตรา 140 วรรคสาม กับความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ตามมาตรา 289(2) ประกอบมาตรา 80 เป็นความผิดต่างกรรมกับความผิดฐานมีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนนอกจากที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 55,78 วรรคหนึ่ง และต่างกรรมกับความผิดฐานพาอาวุธปืนไปในหมู่บ้าน ทางสาธารณะตาม พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ มาตรา8 ทวิ วรรคหนึ่ง 72 วรรคสอง เพราะการกระทำที่แยกจากกันเป็นแต่ละฐานความผิดได้ชัดเจนไม่เกี่ยวเนื่องกัน ความผิดฐานมีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนนอกจากที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ เป็นความผิดต่างกรรมกับความผิดฐานพาอาวุธปืนไปในหมู่บ้าน ทางสาธารณะ เพราะความผิดทั้งสองฐานมีเจตนาในการกระทำผิดเป็นคนละอันแตกต่างกัน และเป็นความผิดต่างฐานกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2179/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทในการขับรถบรรทุก, หลบหนีไม่ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ, ไม่รอการลงโทษ, พฤติการณ์ร้ายแรง
จำเลยขับรถยนต์บรรทุกขนาดหนักด้วย ความประมาทแซง ขึ้นหน้ารถยนต์บรรทุกที่จอดอยู่ข้างหน้าล้ำ เข้าไปในเขตช่องทาง เดินรถด้าน ตรงข้าม ทั้งที่มีรถยนต์บรรทุก 6 ล้อ กำลังแล่นสวนทางมา เป็น เหตุให้เกิดภัยพิบัติแก่ชีวิต ผู้โดยสารและทรัพย์สิน นอกจาก จะถือ เป็นพฤติการณ์แห่งการกระทำที่ร้ายแรงแล้ว การที่จำเลย กลับขับรถหลบ หนีไปโดย ไม่ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้บาดเจ็บและ ไม่แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ใกล้เคียงที่เกิดเหตุ ยังแสดงออก ซึ่ง การกระทำที่ไร้ มนุษยธรรม ด้วย ส่วนที่จำเลยได้ รีบติดต่อ นายจ้างให้ชดใช้ค่าเสียหายเป็นที่พอใจแก่ผู้เสียหายทุกคน ก็เป็นเพียงความประสงค์เพื่อยุติข้อพิพาททางแพ่งของฝ่ายนายจ้าง หาใช่เป็นการกระทำด้วยความสำนึกในความรับผิดชอบของจำเลยไม่ จึงไม่มีเหตุผลพอ ที่จะให้รอการลงโทษ.
of 24