คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วินัย กันนะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 237 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 486/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอใช้เงินที่ถูกคุ้มครองประโยชน์ระหว่างพิจารณาคดี ไม่ใช่การขอทุเลาการบังคับ จึงมีสิทธิฎีกาได้
ศาลมีคำสั่งคุ้มครองประโยชน์ระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 264 โดยให้จำเลยนำเงินมาฝากธนาคารไว้จนกว่าคดีจะถึงที่สุดหรือมีคำสั่งศาลเป็นอย่างอื่น เมื่อคดียังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ และไม่ปรากฏว่าศาลได้มีคำสั่งเป็นอย่างอื่นการที่จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลอุทธรณ์ว่ามีความจำเป็นและประสงค์จะนำเงินนอกเหนือไปจากการคุ้มครองประโยชน์ไปใช้จ่าย ดังนี้เป็นคำขออันเกี่ยวด้วยคำขอเพื่อคุ้มครองประโยชน์ระหว่างพิจารณาตามป.วิ.พ. มาตรา 264 ไม่ใช่เรื่องการขอทุเลาการบังคับตามมาตรา231 เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้อง จึงไม่เป็นการสั่งในเรื่องการทุเลาการบังคับ และไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยมีสิทธิฎีกาได้ตามมาตรา 228(2)247.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 486/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองประโยชน์ระหว่างพิจารณาคดี: คำร้องขอใช้เงินฝากที่ถูกคุ้มครอง มิใช่การทุเลาการบังคับ
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยนำเงินตามจำนวนที่ต้องชำระตามฟ้องมาส่งศาลเพื่อนำฝากประจำที่ธนาคาร และศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาให้บังคับคดีตามคำสั่งศาลชั้นต้น โดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 จนกว่าคดีถึงที่สุดหรือมีคำสั่งศาลเป็นอย่างอื่น ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินไม่เต็มตามฟ้องแก่โจทก์ คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลอุทธรณ์ว่ามีความจำเป็นและประสงค์จะนำเงินที่นอกเหนือไปจากการคุ้มครองประโยชน์ไปใช้จ่าย คำร้องนี้ถือเป็นคำร้องอันเกี่ยวด้วยคำขอเพื่อคุ้มครองประโยชน์ระหว่างการพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 ไม่ใช่เรื่องการขอทุเลาการบังคับตามมาตรา 231 ดังนั้นเมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้อง จึงไม่เป็นการสั่งในเรื่องการทุเลาการบังคับและไม่เป็นคำสั่งระหว่างการพิจารณา จำเลยมีสิทธิฎีกาได้ตามมาตรา 228(2),247 การที่ศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาให้โจทก์ได้รับชำระเงินเต็มตามฟ้อง ซึ่งทั้งสองฝ่ายไม่ยอมรับยังคงอุทธรณ์กันอยู่ ถือว่ายอดหนี้ยังไม่ยุติ การที่ศาลให้ฝากเงินไว้ต่อไปก็คงเป็นไปตามหลักเกณฑ์เดิม กรณีไม่ถือว่าข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ที่อาศัยเป็นหลักในการมีคำสั่งเกี่ยวกับการกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ระหว่างการพิจารณาเปลี่ยนแปลงไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 262 และเมื่อคดีปรากฏด้วยว่า ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้จำเลยทุเลาการบังคับโดยมีเงื่อนไขว่าห้ามจำเลยถอนเงินจากธนาคารระหว่างอุทธรณ์ การที่จำเลยขอนำเงินฝากจากธนาคารไปใช้จ่ายจึงเท่ากับขอให้ศาลอุทธรณ์เพิกถอนเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขของการทุเลาการบังคับที่ได้เคยมีคำสั่งไว้ ศาลอุทธรณ์ยกคำร้องของจำเลยจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 486/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องขอใช้เงินฝากที่ศาลสั่งคุ้มครองประโยชน์ระหว่างการพิจารณาคดี ไม่ใช่การทุเลาการบังคับ
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยนำเงินตามจำนวนที่ต้องชำระตามฟ้องมาส่งศาลเพื่อนำฝากประจำที่ธนาคาร และศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาให้บังคับคดีตามคำสั่งศาลชั้นต้น โดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 จนกว่าคดีถึงที่สุดหรือมีคำสั่งศาลเป็นอย่างอื่น ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินไม่เต็มตามฟ้องแก่โจทก์ คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลอุทธรณ์ว่ามีความจำเป็นและประสงค์จะนำเงินที่นอกเหนือไปจากการคุ้มครองประโยชน์ไปใช้จ่ายคำร้องนี้ถือเป็นคำร้องอันเกี่ยวด้วยคำขอเพื่อคุ้มครองประโยชน์ระหว่างการพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264ไม่ใช่เรื่องการขอทุเลาการบังคับตามมาตรา 231 ดังนั้นเมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้อง จึงไม่เป็นการสั่งในเรื่องการทุเลาการบังคับ และไม่เป็นคำสั่งระหว่างการพิจารณา จำเลยมีสิทธิฎีกาได้ตามมาตรา 228(2),247 การที่ศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาให้โจทก์ได้รับชำระเงินเต็มตามฟ้อง ซึ่งทั้งสองฝ่ายไม่ยอมรับยังคงอุทธรณ์กันอยู่ ถือว่ายอดหนี้ยังไม่ยุติ การที่ศาลให้ฝากเงินไว้ต่อไปก็คงเป็นไปตามหลักเกณฑ์เดิมกรณีไม่ถือว่าข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ที่อาศัยเป็นหลักในการมีคำสั่งเกี่ยวกับการกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ระหว่างการพิจารณาเปลี่ยนแปลงไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 262 และเมื่อคดีปรากฏด้วยว่า ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้จำเลยทุเลาการบังคับโดยมีเงื่อนไขว่าห้ามจำเลยถอนเงินจากธนาคารระหว่างอุทธรณ์ การที่จำเลยขอนำเงินฝากจากธนาคารไปใช้จ่ายจึงเท่ากับขอให้ศาลอุทธรณ์เพิกถอนเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขของการทุเลาการบังคับที่ได้เคยมีคำสั่งไว้ ศาลอุทธรณ์ยกคำร้องของจำเลยจึงชอบแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 486/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองประโยชน์ระหว่างพิจารณาคดี และขอบเขตการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขคำสั่งทุเลาการบังคับ
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยนำเงินตามจำนวนที่ต้องชำระตามฟ้องมาส่งศาลเพื่อนำฝากประจำที่ธนาคาร และศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาให้บังคับคดีตามคำสั่งศาลชั้นต้น โดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 จนกว่าคดีถึงที่สุดหรือมีคำสั่งศาลเป็นอย่างอื่น ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินไม่เต็มตามฟ้องแก่โจทก์ คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลอุทธรณ์ว่ามีความจำเป็นและประสงค์จะนำเงินที่นอกเหนือไปจากการคุ้มครองประโยชน์ไปใช้จ่ายคำร้องนี้ถือเป็นคำร้องอันเกี่ยวด้วยคำขอเพื่อคุ้มครองประโยชน์ระหว่างการพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264ไม่ใช่เรื่องการขอทุเลาการบังคับตามมาตรา 231 ดังนั้นเมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้อง จึงไม่เป็นการสั่งในเรื่องการทุเลาการบังคับ และไม่เป็นคำสั่งระหว่างการพิจารณา จำเลยมีสิทธิฎีกาได้ตามมาตรา 228(2), 247
การที่ศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาให้โจทก์ได้รับชำระเงินเต็มตามฟ้อง ซึ่งทั้งสองฝ่ายไม่ยอมรับยังคงอุทธรณ์กันอยู่ ถือว่ายอดหนี้ยังไม่ยุติ การที่ศาลให้ฝากเงินไว้ต่อไปก็คงเป็นไปตามหลักเกณฑ์เดิม กรณีไม่ถือว่าข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ที่อาศัยเป็นหลักในการมีคำสั่งเกี่ยวกับการกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ระหว่างการพิจารณาเปลี่ยนแปลงไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 262 และเมื่อคดีปรากฏด้วยว่า ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้จำเลยทุเลาการบังคับโดยมีเงื่อนไขว่าห้ามจำเลยถอนเงินจากธนาคารระหว่างอุทธรณ์ การที่จำเลยขอนำเงินฝากจากธนาคารไปใช้จ่ายจึงเท่ากับขอให้ศาลอุทธรณ์เพิกถอนเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขของการทุเลาการบังคับที่ได้เคยมีคำสั่งไว้ ศาลอุทธรณ์ยกคำร้องของจำเลยจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 460/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องขอพิจารณาใหม่ต้องระบุเหตุผลชัดเจนว่าหากเปิดโอกาสต่อสู้คดีแล้วผลจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยอ้างว่า หากจำเลยมีโอกาสต่อสู้คดีมาแต่แรก คำพิพากษาของศาลชั้นต้นจะต้องเปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากจำเลยมิได้เป็นหนี้ตามจำนวนที่ฟ้อง เพราะได้ชำระ เงินต้นและดอกเบี้ยบางส่วนให้แก่โจทก์แล้ว ทั้งการบอกกล่าวบังคับจำนองของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้นเป็นการกล่าวอ้างแต่เพียงว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์ไม่เกินจำนวนหนึ่งโดยไม่มีเหตุผลหรือหลักฐานอ้างอิงในอันที่จะแสดงให้เห็นโดยชัดแจ้งว่า หากพิจารณาใหม่แล้ว ศาลจะพิพากษาให้ผิดแผกแตกต่างไปจากที่ได้พิพากษาไปแล้ว ส่วนที่จำเลยอ้างว่าโจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยก็ไม่ได้อ้างว่าไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร ดังนี้ คำร้อง ของ จำเลยไม่กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 208 จึงไม่มีเหตุที่จะขอให้พิจารณาใหม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 348/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการครอบครองที่ดินและตึกแถวพิพาท ผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิร้องขอเป็นจำเลยร่วมได้
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินและตึกแถวพิพาทโดยอ้างว่าโจทก์ซื้อมาจากเจ้าของเดิม ซึ่งให้ผู้ร้องและจำเลยอยู่อาศัย จำเลยให้การว่าเจ้าของเดิมได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายพร้อมกับมอบการครอบครองที่ดินและตึกแถวพิพาทให้ผู้ร้องแล้วจำเลยครอบครองแทนผู้ร้อง ดังนี้ คำฟ้องโจทก์และคำให้การจำเลยมีข้อโต้เถียงเป็นประเด็นพิพาทถึงสิทธิครอบครองที่ดินและตึกแถวพิพาทของผู้ร้องกับโจทก์ มีผลเสมือนหนึ่งว่าโจทก์ได้ฟ้องขับไล่ผู้ร้องอันถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของผู้ร้องด้วย ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีมีสิทธิร้องขอเข้าเป็นจำเลยร่วมได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 348/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินและตึกแถว: การเข้าเป็นจำเลยร่วมเพื่อปกป้องสิทธิเมื่อถูกฟ้องขับไล่
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินและตึกแถวพิพาทโดยอ้างว่าโจทก์ซื้อมาจากเจ้าของเดิม ซึ่งให้ผู้ร้องและจำเลยอยู่อาศัย จำเลยให้การว่าเจ้าของเดิมได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายพร้อมกับมอบการครอบครองที่ดินและตึกแถวพิพาทให้ผู้ร้องแล้วจำเลยครอบครองแทนผู้ร้อง ดังนี้ คำฟ้องโจทก์และคำให้การจำเลยมีข้อโต้เถียงเป็นประเด็นพิพาทถึงสิทธิครอบครองที่ดินและตึกแถวพิพาทของผู้ร้องกับโจทก์ มีผลเสมือนหนึ่งว่าโจทก์ได้ฟ้องขับไล่ผู้ร้องอันถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของผู้ร้องด้วย ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี มีสิทธิร้องขอเข้าเป็นจำเลยร่วมได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 348/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการครอบครองที่ดิน: ผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิร้องขอเป็นจำเลยร่วมในคดีขับไล่
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินและตึกแถวพิพาทโดยอ้างว่าโจทก์ซื้อมาจากเจ้าของเดิม ซึ่งให้ผู้ร้องและจำเลยอยู่อาศัย จำเลยให้การว่าเจ้าของเดิมได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายพร้อมกับมอบการครอบครองที่ดินและตึกแถวพิพาทให้ผู้ร้องแล้วจำเลยครอบครองแทนผู้ร้อง ดังนี้ คำฟ้องโจทก์และคำให้การจำเลยมีข้อโต้เถียงเป็นประเด็นพิพาทถึงสิทธิครอบครองที่ดินและตึกแถวพิพาทของผู้ร้องกับโจทก์ มีผลเสมือนหนึ่งว่าโจทก์ได้ฟ้องขับไล่ผู้ร้องอันถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของผู้ร้องด้วย ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีมีสิทธิร้องขอเข้าเป็นจำเลยร่วมได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(2).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 191/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฎีกาหลังแก้กม.วิธีพิจารณาความอาญา: ศาลพิจารณาตามกฎหมายที่ใช้บังคับ ณ วันยื่นฎีกา แม้ศาลชั้นต้น-อุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง
โจทก์ยื่นฎีกาหลังจากพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532ใช้บังคับ การพิจารณาว่าโจทก์จะฎีกาได้หรือไม่ ต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะยื่นฎีกา ในคดีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ โจทก์ฎีกาไม่ได้แม้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532 มาตรา 13.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 191/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาในคดีอาญาที่ศาลชั้นต้นและอุทธรณ์ยกฟ้อง หลังกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมใช้บังคับ
โจทก์ยื่นฎีกาหลังจากพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2532ใช้บังคับการพิจารณาว่าโจทก์จะฎีกาได้หรือไม่ ต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะยื่นฎีกา เมื่อคดีนี้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ โจทก์ย่อมฎีกาไม่ได้แม้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532มาตรา 13
of 24