คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วินัย กันนะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 237 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1828/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานวัตถุ (แถบบันทึกเสียง) ต้องมีพยานหลักฐานสนับสนุนความน่าเชื่อถือ จึงจะใช้พิสูจน์ข้อเท็จจริงได้
แถบบันทึกเสียงเป็นพยานวัตถุ แต่เสียงในแถบบันทึกเสียงที่จำเลยอ้างว่าเป็นเสียงโจทก์นั้น จำเลยมีตัวจำเลยเพียงปากเดียวเบิกความว่าเป็นเสียงของโจทก์ที่พูดโต้ตอบกับจำเลยโดยจำเลยไม่มีพยานหลักฐานอื่นมาสนับสนุนให้น่าเชื่อว่าเป็นเสียงของโจทก์โจทก์ปฏิเสธว่าเสียงในแถบบันทึกเสียงไม่มีเสียงของโจทก์และโจทก์ไม่ได้พูดโต้ตอบกับจำเลยดังที่ปรากฏในเอกสารที่จำเลยอ้างว่าถอดจาก แถบบันทึกเสียง จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์เคยพูดโต้ตอบกับจำเลยตามเสียง ที่บันทึก ไว้ในแถบบันทึกเสียง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1723/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเข้าเป็นคู่ความของผู้มีส่วนได้เสียในคดีครอบครองปรปักษ์ ศาลอนุญาตให้เข้าเป็นคู่ความตามมาตรา 57(1) ได้
ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องอ้างว่า ช. ยกที่ดินพิพาทให้ผู้ร้องสอด ผู้ร้องสอดเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทจนได้กรรมสิทธิ์ ขอให้ศาลมีคำสั่งว่าที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องและผู้ร้องสอด หรือสั่งว่าผู้ร้องสอดเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์แต่ผู้เดียว คำร้องของ ผู้ร้องสอดจึงเป็นคำร้องเพื่อขอให้ศาลรับรองคุ้มครองสิทธิของผู้ร้องสอดเมื่อผู้ร้องสอดเป็นผู้มีส่วนได้เสียในมูลความแห่งคดีย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1672/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อเท็จจริงในคดีอาญาผูกพันคดีแพ่ง: ศาลแพ่งต้องยึดตามคำพิพากษาศาลอาญาที่วินิจฉัยว่าไม่มีหลักฐานความผิด
โจทก์ได้ฟ้องจำเลยเกี่ยวกับการกระทำอันเดียวกันเป็นคดีอาญาต่อศาลแขวงในข้อหาหมิ่นประมาท ศาลฎีกาได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงในคดีอาญาแล้วว่า พยานหลักฐานของโจทก์ไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งเกี่ยวกับการกระทำดังกล่าวซึ่งมีประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยอย่างเดียวกันว่าจำเลยได้กล่าวข้อความใส่ความโจทก์ต่อผู้อื่นอันฝ่าฝืนความจริงหรือไม่ ดังนี้ ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1672/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา: ศาลต้องถือตามข้อเท็จจริงในคำพิพากษาคดีอาญาที่ถึงที่สุด
จำเลยเคยถูกโจทก์ฟ้องเป็นคดีอาญาต่อศาลชั้นต้นในข้อหาหมิ่นประมาท คดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานของโจทก์ไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง เมื่อโจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่ง ซึ่งมีประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยอย่างเดียวกัน ดังนี้ ต้องฟังว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1642/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงคู่ความหลังจำเลยถึงแก่กรรม และการฟ้องคดีเกี่ยวกับจัดการมรดก
ขณะที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 2 เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยที่ 1ผู้มรณะนั้นคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 2 เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยที่ 1 ผู้มรณะได้ เพราะเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์จึงให้ยกคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าว แต่เนื่องจากศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังไปแล้ว ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรสั่งคำร้องของโจทก์ที่ 1 ที่ขอให้เรียกจำเลยที่ 2เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยที่ 1 เสียทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์สั่ง
การจัดการมรดกเป็นสิทธิเฉพาะตัวไม่เป็นมรดก เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงแก่กรรมคำสั่งของศาลชั้นต้นที่แต่งตั้งจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกก็ไม่มีผลต่อไป แต่ความรับผิดของผู้จัดการมรดกอันเกิดจากการจัดการมรดกโดยมิชอบนั้นมิใช่เป็นการเฉพาะตัวย่อมตกทอดแก่ทายาทในส่วนนี้ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นทายาทของจำเลยที่ 1 ย่อมเข้าเป็นคู่ความแทนได้ จึงมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 2 เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยที่ 1 ผู้มรณะเฉพาะกรณีพิพาทตามฟ้องโจทก์ที่ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนทรัพย์พิพาทอันเป็นมรดกของผู้ตายเพราะจำเลยที่ 1 จัดการมรดกของผู้ตายโดยไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย เป็นกรณีพิพาทระหว่างโจทก์กับกองมรดกของผู้ตายซึ่งมีจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดก โจทก์หาได้ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะส่วนตัวที่จำเลยที่ 1 เป็นยายของโจทก์อันจะพึงถือว่าเป็นกรณีพิพาทระหว่างหลานกับยายไม่ แม้จำเลยที่ 1 ได้ถึงแก่กรรมไปในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกาอนุญาตให้จำเลยที่ 2 เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยที่ 1 ก็ไม่เป็นเหตุให้ฟ้องของโจทก์ที่ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายกลายเป็นฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะส่วนตัว ฟ้องของโจทก์จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1562
โจทก์เป็นทายาทฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายว่าจัดการมรดกโดยไม่ชอบ จำเลยที่ 1 ตกอยู่ในฐานะผู้ครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาททั้งหมด จะยกอายุความมรดก1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1642/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเพิกถอนการโอนมรดก: ผู้จัดการมรดกในฐานะส่วนตัว vs. กองมรดก และอายุความ
จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของมารดาโจทก์ แม้จำเลยที่ 1เป็นยาย ของโจทก์ แต่การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการที่จำเลยที่ 1โอนทรัพย์มรดกของมารดาโจทก์ให้ตนเองและให้จำเลยที่ 2 นั้น เป็นกรณีพิพาทระหว่างโจทก์กับกองมรดกของผู้ตาย ซึ่งมีจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดก หาได้ฟ้องในฐานะส่วนตัวที่จำเลยที่ 1 เป็นยาย อันจะพึงถือว่าเป็นกรณีพิพาทระหว่างหลานกับยาย ไม่ แม้จำเลยที่ 1ได้ถึงแก่กรรมในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกาอนุญาตให้จำเลยที่ 2 เข้าเป็นคู่ความแทน ก็ไม่เป็นเหตุให้ฟ้องของโจทก์กลายเป็นฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะส่วนตัว จึงไม่ต้องห้ามตามป.พ.พ. มาตรา 1562. โจทก์เป็นทายาทของผู้ตาย ฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายว่าจัดการมรดกโดยไม่ชอบขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนทรัพย์พิพาทอันเป็นมรดกของผู้ตาย จำเลยที่ 1 ตกอยู่ ในฐานะผู้ครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาททั้งหมด จึงไม่อาจยกอายุความมรดก1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ทรัพย์พิพาทมิใช่มรดกของผู้ตาย เพราะจำเลยที่ 1 และสามีซื้อทรัพย์พิพาททั้งสองแปลง โดยใส่ชื่อผู้ตายและบุคคลอื่นไว้แทนแต่จำเลยทั้งสองมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ การกำหนดให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับหรือไม่ อยู่ในดุลพินิจ ของศาลที่จะพิพากษาเช่นนั้นได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1606/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการร้องขอคุ้มครองประโยชน์ในคดีบังคับคดี: ผู้รับโอนสิทธิยังไม่จดทะเบียน ไม่ถือเป็นผู้มีส่วนได้เสีย
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลอุทธรณ์ขอให้สั่งงดการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทไว้ก่อนเพื่อบรรเทาความเสียหาย เป็นเรื่องขอให้คุ้มครองประโยชน์ของผู้ร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264กรณีไม่ใช่เรื่องขอทุเลาการบังคับตามมาตรา 231 เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอนุญาตให้งดการขายทอดตลาดตามคำร้องของผู้ร้องอันเป็นคำสั่งเกี่ยวด้วยคำขอเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความในระหว่างการพิจารณา โจทก์ย่อมมีสิทธิฎีกาได้ตามมาตรา 228(2),247 ผู้ร้องมิใช่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา แม้จำเลยได้ทำสัญญาโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้อง แต่ยังมิได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กัน ยังถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในคดีนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 280 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิที่จะมาร้องขอให้งดการขายทอดตลาดที่ดินพิพาท.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1562/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้มาซึ่งสิทธิครอบครองที่ดินมรดกผ่านการครอบครองเพื่อตนเองและการเสียภาษีอย่างต่อเนื่อง
ที่ดินพิพาทมี ส.ค.1 เป็นมรดก โจทก์และจำเลยต่างเป็นทายาทชั้นหลานของเจ้ามรดก เมื่อเจ้ามรดกตาย มารดาโจทก์ พี่ชายโจทก์และโจทก์ได้เข้าไปปลูกบ้านในที่ดินพิพาทและเก็บเงินค่าเช่าบ้านพักที่ปลูกอยู่บนที่ดินพิพาทมาบำรุงรักษาและซ่อมแซมบ้านดังกล่าว อันเป็นการครอบครองแทนทายาทอื่น แต่เมื่อจำเลยเตือน ขอให้มารดาโจทก์แบ่งที่ดินพิพาทให้แก่ทายาท มารดาโจทก์ไม่ยอมแบ่งให้และว่า ถ้าอยากได้ก็ให้ไปฟ้องเอาเอง และมารดาโจทก์ก็จัดการชำระภาษีโรงเรือนและภาษีที่ดินในนามของตนเอง พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่ามารดาโจทก์ได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือโดยได้แย่งการครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อตนเองแล้ว หาใช่เป็นการครอบครองแทนทายาทอื่นไม่ ทั้งไม่ปรากฏว่าได้มีทายาทคนหนึ่งคนใดดำเนินการเกี่ยวกับที่ดินพิพาทนี้แต่อย่างใดสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทจึงตกอยู่แก่มารดาโจทก์แล้วเมื่อมารดาโจทก์ถึงแก่ความตาย โจทก์ซึ่งเป็นบุตรและเป็นทายาทก็เข้าครอบครองต่อและเสียภาษีที่ดินและภาษีโรงเรือนในนามของโจทก์ทั้งโจทก์ยังได้ฟ้องขับไล่ทายาทอื่นให้ออกจากห้องแถวซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินพิพาทอีกด้วย ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นของโจทก์แล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1379/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลลดค่าปรับสัญญา: ศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับหากสูงเกินส่วน แม้โจทก์ฟ้องขอคืนค่าปรับ
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่า โจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยคืนค่าปรับหรือชดใช้เงินค่าจ้างให้โจทก์เพียงใดหรือไม่ ดังนั้นค่าปรับหรือเบี้ยปรับจึงเป็นประเด็นโดยตรง เมื่อศาลชั้นต้นพิจารณาเห็นว่าค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้านั้นสูงเกินไป และกำหนดลดลงบางส่วน จึงไม่ใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอและไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น ทั้งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 383 ให้อำนาจศาลที่จะใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับลงได้หากเห็นว่าเบี้ยปรับนั้นสูงเกินส่วน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1379/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดค่าปรับสัญญาก่อสร้าง: ศาลมีอำนาจลดค่าปรับหากสูงเกินส่วน แม้โจทก์มิได้ขอ
โจทก์ผิดสัญญาก่อสร้างส่งมอบงานแก่จำเลยล่าช้าเกินกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาจนถูกจำเลยปรับตามสัญญา แม้โจทก์ฟ้องเรียกค่าปรับคืนโดยอ้างว่ามิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาและมิได้ขอให้ศาลลดค่าปรับ ถ้าศาลเห็นว่าโจทก์ผิดสัญญา แต่ค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าเมื่อเปรียบเทียบกับความเสียหายที่แท้จริงแล้วสูงเกินไปศาลย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดค่าปรับลงแล้วคืนให้โจทก์บางส่วนได้ไม่ใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอและไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น
of 24