พบผลลัพธ์ทั้งหมด 237 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1379/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลลดค่าปรับสัญญา: ศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับหากสูงเกินส่วน แม้โจทก์ฟ้องขอคืนค่าปรับ
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่า โจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยคืนค่าปรับหรือชดใช้เงินค่าจ้างให้โจทก์เพียงใดหรือไม่ ดังนั้นค่าปรับหรือเบี้ยปรับจึงเป็นประเด็นโดยตรง เมื่อศาลชั้นต้นพิจารณาเห็นว่าค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้านั้นสูงเกินไป และกำหนดลดลงบางส่วน จึงไม่ใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอและไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น ทั้งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 383 ให้อำนาจศาลที่จะใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับลงได้หากเห็นว่าเบี้ยปรับนั้นสูงเกินส่วน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1368/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรองบุตรนอกกฎหมายและสิทธิในการเป็นผู้จัดการมรดก
การที่ ค. เจ้าบ้านแจ้งย้ายผู้คัดค้านเข้ามาอยู่ในบ้านต่อนายทะเบียนในฐานะบุตรของตน ถือได้ว่าผู้คัดค้านเป็นบุตรนอกกฎหมายที่ ค. บิดารับรองแล้ว ผู้คัดค้านจึงเป็นผู้สืบสันดานของ ค. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1627 มีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกในฐานะทายาทของ ค. ตามมาตรา 1713 เมื่อผู้คัดค้านบรรลุนิติภาวะแล้ว มีอาชีพรับราชการและไม่เป็นบุคคลต้องห้ามตามมาตรา 1718 จึงมีเหตุสมควรตั้งผู้ร้องกับผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของ ค. ร่วมกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1310/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดิน: จำเลยฎีกาประเด็นสุจริต แต่ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเพราะไม่ได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในศาลชั้นต้น
จำเลยให้การว่ามิได้รุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์มิได้ให้การถึงประเด็นว่าจำเลยสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์โดยสุจริต ประเด็นดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 927/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายไม้และการพิสูจน์เจตนาฉ้อโกง ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานไม่เพียงพอ
โจทก์ร่วมติดต่อค้าขายกับห้าง ส. ซึ่งมีจำเลยเป็นหุ้นส่วนเป็นเวลานานเกือบ 1 ปี การซื้อขายครั้งแรก ๆ โจทก์ร่วมก็ได้รับชำระหนี้แล้ว ส่วนการซื้อขายสองครั้งหลังที่เกิดเหตุ จำเลยก็มิได้ปฎิเสธ ว่ามิได้ซื้อหรือมิได้เป็นหนี้โจทก์ร่วมโดยรับว่าเป็นหนี้อยู่จริง แต่ขอประนอมหนี้โดยขอชำระหนี้เพียงร้อยละ 15โจทก์ร่วมเองก็ยอมรับว่าห้าง ส. เป็นหนี้ซื้อไม้จากโจทก์ร่วมซึ่งเป็นนิติสัมพันธ์ในทางแพ่ง ดังนั้น การที่ห้าง ส. ซื้อไม้ครั้งเกิดเหตุแล้วไม่ชำระราคาแก่โจทก์ร่วมจึงเป็นเพียงการผิดสัญญาในทางแพ่งเท่านั้น ไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 898/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดนายจ้างต่อละเมิดของลูกจ้าง: รายงานประจำวันไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ
จำเลยที่ 2 ขับรถสองแถวของจำเลยที่ 1 ไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 โดยประมาทเลินเล่อชนรถยนต์ของโจทก์ได้รับความเสียหายแล้วโจทก์กับจำเลยที่ 2 ได้ลงลายมือชื่อในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีซึ่งมีข้อความว่า จำเลยที่ 2 ยินยอมชดใช้ค่าซ่อมรถตามที่โจทก์เรียกร้อง คู่กรณีตกลงไม่ติดใจเอาความในทางอาญาอีกต่อไปข้อความดังกล่าวเป็นเรื่องที่โจทก์ในฐานะผู้เสียหายไม่ติดใจจะดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยที่ 2 เพื่อพนักงานสอบสวนจะได้เปรียบเทียบปรับจำเลยที่ 2 เท่านั้น ส่วนข้อความที่จำเลยที่ 2 ยอมรับผิดชดใช้ค่าซ่อมรถตามที่โจทก์เรียกร้องนั้น ไม่มีรายละเอียดหรือข้อตกลงที่แน่นอนเกี่ยวกับจำนวนเงินที่ต้องชำระ วิธีการชำระอันจะทำให้ปราศจากการโต้แย้งกันอีก ข้อความในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีดังกล่าวมิใช่เป็นการระงับข้อพิพาทในมูลละเมิดจึงมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความอันจะทำให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายจ้างหลุดพ้นความรับผิดในมูลละเมิด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 898/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นายจ้างต้องรับผิดต่อละเมิดของลูกจ้าง และสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ครอบคลุมความรับผิดของนายจ้าง
พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 เจ้าของรถสองแถวคันเกิดเหตุ มิได้ปฎิเสธ ว่าไม่ได้เกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 2 ผู้ขับรถสองแถว ขณะเจรจาเรื่องค่าเสียหายต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ จำเลยที่ 1 ก็ไม่ได้อ้างว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้เช่ารถสองแถวคันเกิดเหตุของตนและมาร่วมในการเจรจาเรื่องค่าเสียหายให้แก่โจทก์ทุกครั้งที่มีการเจรจากันดุจ จำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างของตน แสดงว่าจำเลยที่ 1 ยอมรับว่าจำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างและปฎิบัติ หน้าที่ในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 ในขณะเกิดเหตุ จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 2 ได้กระทำไป สำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี มีข้อความเพียงว่าจำเลยที่ 2 ยินยอมชดใช้ค่าซ่อมรถตามที่โจทก์เรียกร้อง คู่กรณีไม่ติดใจเอาความทางอาญาอีกต่อไป ดังนี้เป็นเรื่องโจทก์ในฐานะผู้เสียหายไม่ติดใจดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยที่ 2 เพื่อให้พนักงานสอบสวนเปรียบเทียบปรับเท่านั้น ส่วนข้อความยอมรับผิดชดใช้ค่าซ่อมรถนั้นไม่มีรายละเอียดหรือข้อตกลงที่แน่นอนเกี่ยวกับจำนวนเงินที่ต้องชำระวิธีการชำระ อันจะทำให้ปราศจากการโต้แย้งกันอีก ข้อความในสำเนารายงานดังกล่าวมิใช่เป็นการระงับข้อพิพาทในมูลละเมิด จึงมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความอันจะทำให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายจ้างหลุดพ้นความรับผิดในมูลละเมิด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 879/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฉ้อโกงไม่ใช่การจัดหางานผิดกฎหมาย ศาลมีอำนาจวินิจฉัยแม้ไม่มีคู่ความอ้าง
โจทก์บรรยายฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกงว่า จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายว่าจำเลยสามารถจัดหาคนไปทำงานในประเทศสิงคโปร์ซึ่งเป็นความเท็จเพราะความจริงจำเลยไม่สามารถจัดหางานให้แก่คนงานในต่างประเทศได้ แสดงว่าจำเลยไม่ประสงค์จะจัดหางานให้ผู้เสียหาย จำเลยเพียงแต่อ้างการประกอบธุรกิจจัดหางานมาเป็นข้อหลอกลวงเพื่อให้ได้เงินค่าบริการจากผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์จึงไม่เป็นความผิดฐานจัดหางานโดยมิได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติ จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นว่ากล่าว ศาลก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 879/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลอกลวงจัดหางานต่างประเทศเพื่อเอาทรัพย์สิน ไม่เป็นความผิด พ.ร.บ. จัดหางานฯ หากเจตนาคือฉ้อโกง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายว่าจำเลยสามารถจัดหาคนไปทำงานในประเทศสิงคโปร์ได้ มีงานให้ทำจำนวนมาก รายได้และสวัสดิการดี หากประสงค์จะไปทำงานจะต้องเสียค่าบริการแก่จำเลยคนละ 15,000 บาท ซึ่งเป็นความเท็จ เพราะความจริงแล้วจำเลยไม่สามารถจัดหางานให้แก่คนงานในต่างประเทศได้ ทำให้ผู้เสียหายหลงเชื่อว่าเป็นความจริง จึงมอบเงินให้จำเลยไป และจำเลยไม่สามารถจัดหางานให้ผู้เสียหายทำได้ เป็นคำฟ้องที่แสดงว่าจำเลยไม่ประสงค์จะจัดหางานให้ผู้เสียหาย เพียงแต่อ้างการประกอบธุรกิจจัดหางานมาเป็นข้อหลอกลวงเพื่อให้ได้เงินค่าบริการจากผู้เสียหาย ไม่เป็นความผิดฐานจัดหางานโดยมิได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ. จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 823/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องและขอบเขตความรับผิดของผู้รับประกันภัยค้ำจุน กรณีละเมิดจากรถยนต์
คำให้การของจำเลยที่ต่อสู้เรื่องอำนาจฟ้องโจทก์ว่า โจทก์จะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย มีสาขาในประเทศไทย หรือไม่ และมอบอำนาจให้ พ. ฟ้องคดีนี้หรือไม่ ไม่รับรู้และรับรองนั้นคำให้การดังกล่าวมิได้ปฏิเสธไว้ชัดแจ้ง จึงไม่เป็นประเด็นพิพาท โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนแต่โจทก์มิได้บรรยายให้ปรากฏในคำฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ของ ล. ในฐานะอะไร และมีนิติสัมพันธ์ต่อกันอย่างไร จึงฟังไม่ได้ว่า ล. มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยที่ 1 อันจะเป็นเหตุให้ ล.ต้องร่วมรับผิดในการกระทำของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2ผู้รับประกันภัยค้ำจุนจะต้องใช้ค่าเสียหายในกรณี ล. ต้องรับผิดเมื่อ ล. ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 823/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของโจทก์และขอบเขตความรับผิดของผู้รับประกันภัยค้ำจุน กรณีความเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
การที่จำเลยให้การแต่เพียงว่า โจทก์จะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย มีสาขาในประเทศไทยหรือไม่และมอบอำนาจให้ พ. ฟ้องคดีหรือไม่ ไม่รับรู้และรับรอง เป็นคำให้การที่มิได้ปฏิเสธชัดแจ้งว่าโจทก์ไม่เป็นนิติบุคคลอย่างไร และไม่ได้คัดค้านความไม่ถูกต้องของหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดี คำให้การของจำเลยดังกล่าวจึงไม่เป็นประเด็นข้อพิพาท โจทก์นำสืบ ม. ซึ่งเป็นเพียงพนักงานประเมินความเสียหายของโจทก์รับรองหนังสือมอบอำนาจ ดังนี้รับฟังได้ว่าเป็นหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีที่ถูกต้องแท้จริง ไม่จำเป็นต้องนำสืบผู้รับมอบอำนาจ โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดในฐานะที่เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์คันที่ก่อให้เกิดความเสียหายโดยโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ของ ล. ในฐานะอะไร และมีนิติสัมพันธ์กันอย่างไรกับ ล. เจ้าของรถยนต์คันดังกล่าว อัน ล. ต้องร่วมรับผิดในการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 เมื่อ ล. ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนจึงไม่ต้องรับผิดด้วย.