คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประศาสน์ ธำรงกาญจน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 259 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 309/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้อำนาจวินัยทางราชการหลังคำพิพากษาศาลฎีกายกฟ้อง การพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยต้องคำนึงถึงคำพิพากษา
การสอบสวนทางวินัยโจทก์เกี่ยวกับเรื่องที่กล่าวหาว่าโจทก์ร่วมกับพวกทำหลักฐานเท็จว่ามีผู้แจ้งความนำจับสินค้าหลบเลี่ยงภาษีศุลกากรและขอรับเงินสินบนนำจับจากกรมศุลกากรไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวนั้น คณะกรรมการที่จำเลยที่ 1 แต่งตั้งสอบสวนได้ความจากพยานหลักฐานว่า การจับกุมสินค้าหนีภาษีรายนี้ไม่มีสายลับแจ้งความนำจับ ประกอบกับรูปคดีมีพิรุธไม่น่าเชื่อว่าภรรยาของผู้จับกุมจะเป็นสายลับแจ้งความนำจับเสียเอง แม้ในคดีอาญาที่โจทก์ถูกฟ้องว่าร่วมกันฉ้อโกง และทำหลักฐานเท็จ ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้อง แต่คณะกรรมการสอบสวนและจำเลยทั้งสอง ก็อาจเห็นว่าโจทก์ยังมีมลทินมัวหมองตามความเห็นเดิม ได้ การที่จำเลยทั้งสองใช้ดุลพินิจ เสนอความเห็นไปยังนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีก็โดยมีพยานหลักฐานปรากฏตามสำนวนการสอบสวน ดังนี้การกระทำของจำเลยทั้งสองดังกล่าวไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 309/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้อำนาจวินัยและการพิจารณาอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหลังศาลฎีกามีคำพิพากษาคดีอาญา
แม้คดีอาญาที่โจทก์ถูกฟ้อง ศาลฎีกาจะได้พิพากษายกฟ้องโดยอาศัยข้อเท็จจริงแล้วจำเลยทั้งสองก็อาจมีความเห็นว่า โจทก์ยังมีมลทินมัวหมองในกรณีที่ถูกสอบสวนทางวินัย และใช้ดุลพินิจเสนอความเห็นไปยังนายกรัฐมนตรีโดยมีพยานหลักฐานปรากฏตามสำนวนการสอบสวน จนเป็นเหตุให้คณะรัฐมนตรีมีมติให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์ซึ่งอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ 1 ที่ให้โจทก์พักราชการและปลดโจทก์ออกจากราชการ การกระทำของจำเลยทั้งสองดังกล่าวไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 232/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทำร้ายร่างกาย vs. พยายามฆ่า: การพิจารณาจากลักษณะบาดแผลและพฤติการณ์
จำเลยและผู้เสียหายเป็นพี่น้องร่วมมารดาเดียวกัน จำเลยโมโหเรื่องที่ถูกผู้เสียหายทวงเงินและเรื่องที่ผู้เสียหายให้เครื่องบันทึกเสียงแล้วเอาคืน วันเกิดเหตุจำเลยเมาสุราได้ใช้อาวุธมีดขอ ตัวมีดยาวประมาณ 17 นิ้ว ด้ามมีดยาวประมาณ 7 นิ้วฟันผู้เสียหายสามครั้ง ครั้งแรกฟันผู้เสียหายขณะหันหลัง คมมีดถูกเสาประตูรั้ว ผู้เสียหายหันมาเห็นจึงเข้าประชิดจำเลย จำเลยจึงฟันไปอีกถูกต้นแขนซ้าย ผู้เสียหายวิ่งไปแอบที่เสาบ้าน จำเลยเข้าไปฟันเป็นครั้งที่สามคมมีดถูกเสาบ้าน ดังนี้ เห็นได้ว่าจำเลยไม่มีเจตนาฆ่า เพราะในการฟันครั้งแรกผู้เสียหายกับจำเลยยืนเหลื่อมกันอยู่ในลักษณะมีเสาประตูรั้วคั่น ถ้ามีเจตนาฆ่าจำเลยซึ่งมีอาวุธมีด ผู้เสียหายมือเปล่า จำเลยต้องเลือกฟันอวัยวะสำคัญส่วนอื่นที่ไม่มีเสาประตูรั้วบัง การฟันครั้งที่สองถูกผู้เสียหายเป็นบาดแผลก็รักษาเพียง 10 วันหาย ส่วนการฟันครั้งที่สามก็เช่นเดียวกับการฟันครั้งแรกโดยมีเสาบ้านคั่นอยู่มีดจึงฟันถูกเสาบ้าน จากลักษณะบาดแผลและพฤติการณ์ของจำเลย จำเลยมีความผิดเพียงฐานทำร้ายร่างกายเท่านั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 147/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์สัญชาติไทยโดยการเกิด: หลักฐานภาพถ่าย, พยานเบิกความ, และการพิจารณาความจำเป็นในการแสดงหลักฐานเท็จในต่างประเทศ
ผู้ร้องมีสำเนาทะเบียนนักเรียนว่าผู้ร้องเป็นบุตร ส. กับผ.อยู่ที่ตำบลบ้านใหม่ อำเภอกรุงเก่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และเกิดวันที่ 30 มีนาคม 2481 และมีบุคคลหลายคนรู้จักผู้ร้องตั้งแต่ผู้ร้องยังเป็นเด็กว่าผู้ร้องเกิดในประเทศไทย ขณะ ผ. จะคลอดผู้ร้องนั้น ล. เป็นคนตามแพทย์มาทำคลอด และเห็นผู้ร้องวิ่งเล่นที่บ้านของ ล.เป็นประจำ จนกระทั่งผู้ร้องอายุ 8 ขวบ ป. เจ้าของร้านถ่าย รูปฉายาธงชัย กับ บ. ผู้ล้างและอัดรูปของร้านดังกล่าวยืนยันว่ารูปถ่าย หมาย ร.12,13,14ถ่ายที่ร้านฉายาธงชัย(ถ่าย ก่อนผู้ร้องเดินทางออกจากประเทศไทย) ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนิติเวช มีความเห็นว่า น่าเชื่อว่าบุคคลตามภาพถ่ายหมาย ร.12 ถึงร.21เป็นบุคคลคนเดียวกันภาพถ่ายหมายร.21 เป็นภาพถ่ายของผู้ร้องซึ่งถ่าย ในประเทศไทย เมื่อ 2526 ดังนั้น จึงน่าเชื่อว่า ผู้ร้องเกิดในประเทศไทย ส่วนหลักฐานต่าง ๆ ที่ผู้ร้องทำขึ้นในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนนั้นก็เพราะความจำเป็นเพื่อความปลอดภัยและประโยชน์ของผู้ร้องขณะที่อยู่ในประเทศนั้น เมื่อผู้ร้องเป็นคนเกิดในประเทศไทยย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตาม พ.ร.บ. สัญชาติฯ มาตรา 3(3).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 129/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อเมื่อมีการโอนสิทธิและส่งมอบรถยนต์คืน สัญญาเป็นอันเลิกกันตามมาตรา 573
การที่จำเลยผู้เช่าซื้อส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อเนื่องจากได้โอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อให้แก่ ด.โดยโจทก์ยินยอมแล้วนั้น ถือได้ว่าจำเลยได้บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อแก่โจทก์แล้ว ดังนั้น ไม่ว่าการแปลงหนี้ใหม่ระหว่างโจทก์กับจำเลยจะได้ทำถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ สัญญาเช่าซื้อก็เป็นอันเลิกกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 573 นับแต่วันที่จำเลยส่งมอบรถยนต์คืนโจทก์แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 129/2534 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อโดยการส่งมอบรถยนต์คืน ถือเป็นการระงับสัญญา แม้จะมีการแปลงหนี้
จำเลยที่ 1 ติดต่อกับโจทก์เพื่อขอโอนสิทธิการเช่าซื้อรถยนต์พิพาทให้แก่ ด. ได้มีการทำหนังสือโอนสัญญาเช่าซื้อโดยโจทก์ให้ใช้แบบพิมพ์ของโจทก์ และโจทก์ยังได้ให้ ด.ลงลายมือชื่อในแบบพิมพ์สัญญาเช่าซื้อโดยไม่มีการกรอกข้อความ ทั้งในวันดังกล่าวจำเลยที่ 1 ได้ชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างและค่าเช่าซื้อล่วงหน้าของผู้รับโอนสัญญาเช่าซื้ออีก 1 งวดด้วยเช็คของ ด.รวมทั้งค่าธรรมเนียมการโอนสัญญาเช่าซื้อกับค่าอากรให้แก่โจทก์รับไปถูกต้องตามประเพณีปฏิบัติในการโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อของโจทก์แล้ว ประกอบกับในวันเดียวกันนั้น ด.ได้ทำแบบยื่นขอทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์พิพาทกับโจทก์โจทก์ก็รับไว้ พฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์ ซึ่งเป็นการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อแก่โจทก์แล้ว ดังนั้นไม่ว่าการแปลงหนี้ใหม่ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จะได้ทำถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ สัญญาเช่าซื้อก็เป็นอันเลิกกันแล้วนับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ส่งมอบรถยนต์พิพาทคืนโจทก์ จำเลยไม่ต้องรับผิดชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างและค่าเสียหายให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 129/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อโดยการส่งมอบรถคืน และผลกระทบต่อการฟ้องเรียกค่าเสียหาย
จำเลยที่ 1 ติดต่อกับโจทก์เพื่อขอโอนสิทธิการเช่าซื้อรถยนต์พิพาทให้แก่ด. ได้มีการทำหนังสือโอนสัญญาเช่าซื้อโดยโจทก์ให้ใช้แบบพิมพ์ของโจทก์ และโจทก์ยังได้ให้ ด.ลงลายมือชื่อในแบบพิมพ์สัญญาเช่าซื้อโดยไม่มีการกรอกข้อความ ทั้งในวันดังกล่าวจำเลยที่ 1 ได้ชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างและค่าเช่าซื้อล่วงหน้าของผู้รับโอนสัญญาเช่าซื้ออีก 1 งวดด้วยเช็คของ ด. รวมทั้งค่าธรรมเนียมการโอนสัญญาเช่าซื้อกับค่าอากรให้แก่โจทก์รับไปถูกต้องตามประเพณีปฏิบัติในการโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อของโจทก์แล้ว ประกอบกับในวันเดียวกันนั้น ด. ได้ทำแบบยื่นขอทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์พิพาทกับโจทก์ โจทก์ก็รับไว้ พฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์ซึ่งเป็นการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อแก่โจทก์แล้ว ดังนั้นไม่ว่าการแปลงหนี้ใหม่ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จะได้ทำถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ สัญญาเช่าซื้อก็เป็นอันเลิกกันแล้วนับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ส่งมอบรถยนต์พิพาทคืนโจทก์ จำเลยไม่ต้องรับผิดชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างและค่าเสียหายให้แก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 129/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อโดยการส่งมอบรถคืน ถือเป็นการเลิกสัญญาทันทีตามกฎหมาย
เมื่อจำเลยส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อกลับคืนให้แก่โจทก์แล้วถือว่าจำเลยบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์ ดังนั้น ไม่ว่าการแปลงหนี้ใหม่ระหว่างโจทก์กับจำเลย จะทำถูกต้องหรือไม่ สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยก็เป็นอันเลิกกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 573.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 124/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาเลิกสัญญาสัญญาเช่าซื้อ: การยอมรับชำระหนี้หลังผิดนัดถือเป็นการระงับข้อผูกพันเดิม
จำเลยเช่าซื้อรถยนต์ไปจากโจทก์และได้ออกเช็คลงวันที่ล่วงหน้า12 ฉบับ เพื่อชำระค่าเช่าซื้อที่ต้องผ่อนชำระ 12 งวด เมื่อเช็คงวดที่ 9 ถึงงวดที่ 12 เรียกเก็บเงินไม่ได้ จำเลยย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดซึ่งโจทก์ชอบที่จะใช้สิทธิเลิกสัญญาตามสัญญาเช่าซื้อข้อ 8แต่ปรากฏว่าโจทก์มิได้ถือเอาการไม่ชำระหนี้ตามกำหนดเป็นสาระสำคัญกลับยังคงรับชำระหนี้ต่อมา แม้สัญญาข้อ 10 จะกำหนดว่าในกรณีที่ผู้เช่าซื้อผิดนัดและเจ้าของยอมผ่อนผันการผิดนัดครั้งใดไม่ให้ถือว่าเป็นการผ่อนผันการผิดนัดครั้งอื่นก็ตาม แต่การที่โจทก์ยอมรับเงินตามเช็คค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระจากจำเลยอีก ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยต่างมีเจตนามุ่งหมายระงับข้อผูกพันเดิม ไม่ถือว่าการไม่ชำระหนี้ตามกำหนดในสัญญาเป็นการผิดสัญญาและไม่ประสงค์จะเลิกสัญญา การที่จำเลยไม่ชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดที่ 9 เป็นต้นมาจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 100/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสซ้อนเป็นโมฆะ ผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิร้องขอให้ศาลพิพากษาเป็นโมฆะได้
ส. จดทะเบียนสมรสกับหญิงอื่นอยู่ก่อนแล้ว จึงมาจดทะเบียนสมรสซ้อนกับ จ. จ. จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิร้องขอให้อัยการร้องขอต่อศาลให้พิพากษาว่าการสมรสระหว่าง ส.กับ จ. เป็นโมฆะได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1497.
of 26