พบผลลัพธ์ทั้งหมด 259 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6294/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินเนื่องจากถูกหลอกลวง เกินอายุความบอกล้าง
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมขายที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าโจทก์ทำนิติกรรมขายที่ดินพิพาทเพราะถูกจำเลยหลอก ลวงให้หลงเชื่อว่าน้ำจะท่วมที่ดินพิพาทจากการสร้างเขื่อนอันเป็นการอ้างเหตุว่าจำเลยใช้กลฉ้อฉลโจทก์ เป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 121แต่โจทก์มิได้บอกล้างและฟ้องคดีเมื่อเวลาได้ล่วงไปเกิน 10 ปีแล้วนับแต่เมื่อโจทก์ทำนิติกรรมขายที่ดินพิพาทให้จำเลย โจทก์จึงบอกล้างไม่ได้และไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 143.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5973/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาหมั้นและความรับผิดชอบในการจดทะเบียนสมรส หากฝ่ายหนึ่งหลีกเลี่ยงการอยู่กินฉันสามีภรรยา
การที่โจทก์หมั้นและแต่งงานตามประเพณีกับจำเลยที่ 1 โจทก์ย่อมต้องการอยู่กินฉันสามีภรรยากับจำเลยที่ 1 โดยชอบด้วยกฎหมาย แม้จะไม่ปรากฏว่าได้พูดกันถึงเรื่องการจดทะเบียนสมรสก็ตาม เมื่อจำเลยที่ 1 อยู่กับโจทก์เพียงคืนเดียว โดยโจทก์ไม่ได้ร่วมประเวณีกับจำเลยที่ 1 เพราะจำเลยที่ 1 อ้างว่าเหนื่อยขอผัดเป็นวันรุ่งขึ้นครั้นวันรุ่งขึ้นโจทก์ต้องช่วยนำสิ่งของที่ใช้ในงานแต่งงานส่งคืนเจ้าของ ไม่มีเวลาว่าง จึงให้จำเลยที่ 1 นำชุดสากลไปคืนที่ร้านในเมือง จำเลยที่ 1 ออกจากบ้านไปแล้วไม่กลับมาอยู่กินกับโจทก์อีกโดยไม่ปรากฏสาเหตุโจทก์ได้ออกตามหาตลอดมา แต่ไม่พบจำเลยที่ 1 ทั้งจำเลยที่ 1 เคยแสดงท่าทีไม่อยากกลับไปแต่งงานกับโจทก์พฤติการณ์แสดงว่าจำเลยที่ 1 หลบหนีไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับโจทก์และไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ไม่นำพาต่อการจดทะเบียนสมรสกับจำเลยที่ 1จำเลยทั้งสามจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้น ต้องคืนของหมั้นและสินสอดแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5973/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาหมั้นและการไม่จดทะเบียนสมรส: จำเลยผิดสัญญาหมั้นหรือไม่ พิจารณาจากพฤติการณ์และเจตนาของคู่สมรส
การที่โจทก์หมั้นและแต่งงานตามประเพณีกับจำเลยที่ 1 โจทก์ย่อมต้องการอยู่กินฉันสามีภรรยากับจำเลยที่ 1 โดยชอบด้วยกฎหมายแม้จะไม่ปรากฏว่าได้พูดกันถึงเรื่องการจดทะเบียนสมรสก็ตาม เมื่อจำเลยที่ 1 อยู่กับโจทก์เพียงคืนเดียว โดยโจทก์ไม่ได้ร่วมประเวณีกับจำเลยที่ 1 เพราะจำเลยที่ 1 อ้างว่าเหนื่อยขอผัดเป็นวันรุ่งขึ้นครั้นวันรุ่งขึ้นโจทก์ต้องช่วยนำสิ่งของที่ใช้ในงานแต่งงานส่งคืนเจ้าของ ไม่มีเวลาว่าง จึงให้จำเลยที่ 1 นำชุดสากลไปคืนที่ร้านในเมือง จำเลยที่ 1 ออกจากบ้านไปแล้วไม่กลับมาอยู่กินกับโจทก์อีกโดยไม่ปรากฏสาเหตุโจทก์ได้ออกตามหาตลอดมา แต่ไม่พบจำเลยที่ 1 ทั้งจำเลยที่ 1 เคยแสดงท่าทีไม่อยากกลับไปแต่งงานกับโจทก์พฤติการณ์แสดงว่าจำเลยที่ 1 หลบหนีไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับโจทก์และไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ไม่นำพาต่อการจดทะเบียนสมรสกับจำเลยที่ 1จำเลยทั้งสามจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้น ต้องคืนของหมั้นและสินสอดแก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5930/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบต่างจากฟ้องทำให้ศาลไม่รับฟังพยานหลักฐาน แม้โจทก์จะรับช่วงสิทธิ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยความเสียหายที่เกิดแก่บริษัท อ. เนื่องจากการทุจริตต่อหน้าที่ของพนักงาน จำเลยที่ 1 เป็นพนักงานรักษาเงินของบริษัท อ. ระหว่างปี 2525-2527จำเลยที่ 1 ยักยอกเงินของบริษัท อ. ไปจำนวน 424,783.22 บาท โจทก์ได้ชำระค่าสินไหมทดแทนให้แก่บริษัท อ. แล้วจึงรับช่วงสิทธิมาฟ้องแต่ทางพิจารณาโจทก์กลับนำสืบว่าโจทก์เป็นผู้รับประกันความเสียหายอันเกิดจากการทำงานของพนักงานบริษัท อ.และบริษัทฟ. จำเลยที่ 1ยักยอกเงินของบริษัท ฟ. เป็นการนำสืบต่างกับฟ้อง พยานหลักฐานโจทก์จึงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ยักยอกเงินของบริษัท อ.ตามฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5930/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบต้องตรงกับฟ้อง แม้โจทก์จะรับช่วงสิทธิจากผู้เสียหาย แต่การเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงในคำฟ้องเป็นเหตุให้รับฟังพยานหลักฐานไม่ได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยความเสียหายที่เกิดแก่บริษัท อ. เนื่องจากการทุจริตต่อหน้าที่ของพนักงาน จำเลยที่ 1 เป็นพนักงานรักษาเงินของบริษัท อ. ระหว่างปี 2525 - 2527 จำเลยที่ 1 ยักยอกเงินของบริษัท อ. ไปจำนวน 424,783.22 บาท โจทก์ได้ชำระค่าสินไหมทดแทนให้แก่บริษัท อ. แล้วจึงรับช่วงสิทธิมาฟ้องแต่ทางพิจารณาโจทก์กลับนำสืบว่าโจทก์เป็นผู้รับประกันความเสียหายอันเกิดจากการ ทำงานของพนักงานบริษัท อ. และบริษัท ฟ. จำเลยที่ 1ยักยอกเงินของบริษัท ฟ. เป็นการนำสืบต่างกับฟ้อง พยานหลักฐานโจทก์จึงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ยักยอกเงินของบริษัท อ.ตามฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5799/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายที่มีเงื่อนไขอนุมัติจากผู้จัดการมรดก หากเงื่อนไขไม่สำเร็จ สัญญาเป็นโมฆะ
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันเป็นทรัพย์มรดกจากจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 โดยจำเลยที่ 4 และที่ 5 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ ว.ร่วมกันมิได้เป็นคู่สัญญาด้วย เมื่อสัญญาดังกล่าวมีข้อตกลงว่า ผู้ซื้อจะชำระเงินมัดจำให้ภายใน 15 วันนับแต่วันที่คณะผู้จัดการมรดกของ ว.ทั้ง 5 คน อนุมัติหรือให้สัตยาบันเป็นลายลักษณ์อักษร หรือนับแต่วันที่ผู้ขายแจ้งให้ผู้ซื้อทราบว่าศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้จัดการมรดกทำนิติกรรมรายนี้แก่ผู้ซื้อ ดังนี้เป็นการตกลงให้สัญญามีผลบังคับต่อเมื่อเงื่อนไขดังกล่าวเป็นผลสำเร็จอันเป็นสาระสำคัญในการก่อให้เกิดความผูกพันแก่ทั้งสองฝ่าย ในคดีที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ขอให้ศาลชี้ขาดในการทำสัญญาจะซื้อขายที่พิพาทกับโจทก์ จำเลยทั้งห้าแถลงต่อศาลว่าหากมีผู้เสนอราคาให้สูงกว่าโจทก์ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ก็พร้อมจะเลิกสัญญากับโจทก์ โดยจำเลยที่ 4 และที่ 5 รับจะหาผู้ซื้อรายใหม่ภายในกำหนด ถ้าหาผู้ซื้อไม่ได้ ขอให้ปรับปรุงแก้ไขสัญญานั้นถือไม่ได้ว่าเป็นการอนุมัติหรือให้สัตยาบันกลับแสดงว่าจำเลยที่ 4และที่ 5 ไม่เห็นชอบ เพราะราคาที่ตกลงขายยังต่ำไป ทั้งการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องในคดีดังกล่าว และคดีถึงที่สุดแล้วย่อมทำให้เงื่อนไขตามที่กำหนดไว้ไม่สำเร็จ โจทก์จะบังคับให้จำเลยทั้งห้าต้องปฏิบัติตามสัญญาในฐานะผู้จัดการมรดกไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5799/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงื่อนไขสัญญาซื้อขายที่ดิน: การอนุมัติจากผู้จัดการมรดกทั้งหมดเป็นสาระสำคัญของสัญญา
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันเป็นทรัพย์มรดกจากจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 โดยจำเลยที่ 4 และที่ 5 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ ว.ร่วมกันมิได้เป็นคู่สัญญาด้วย เมื่อสัญญาดังกล่าวมีข้อตกลงว่า ผู้ซื้อจะชำระเงินมัดจำให้ภายใน 15 วันนับแต่วันที่คณะผู้จัดการมรดกของ ว.ทั้ง 5 คน อนุมัติหรือให้สัตยาบันเป็นลายลักษณ์อักษร หรือนับแต่วันที่ผู้ขายแจ้งให้ผู้ซื้อทราบว่าศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้จัดการมรดกทำนิติกรรมรายนี้แก่ผู้ซื้อ ดังนี้เป็นการตกลงให้สัญญามีผลบังคับต่อเมื่อเงื่อนไขดังกล่าวเป็นผลสำเร็จอันเป็นสาระสำคัญในการก่อให้เกิดความผูกพันแก่ทั้งสองฝ่าย
ในคดีที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ขอให้ศาลชี้ขาดในการทำสัญญาจะซื้อขายที่พิพาทกับโจทก์ จำเลยทั้งห้าแถลงต่อศาลว่าหากมีผู้เสนอราคาให้สูงกว่าโจทก์ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ก็พร้อมจะเลิกสัญญากับโจทก์ โดยจำเลยที่ 4 และที่ 5 รับจะหาผู้ซื้อรายใหม่ภายในกำหนด ถ้าหาผู้ซื้อไม่ได้ ขอให้ปรับปรุงแก้ไขสัญญานั้นถือไม่ได้ว่าเป็นการอนุมัติหรือให้สัตยาบันกลับแสดงว่าจำเลยที่ 4และที่ 5 ไม่เห็นชอบ เพราะราคาที่ตกลงขายยังต่ำไป ทั้งการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องในคดีดังกล่าว และคดีถึงที่สุดแล้วย่อมทำให้เงื่อนไขตามที่กำหนดไว้ไม่สำเร็จ โจทก์จะบังคับให้จำเลยทั้งห้าต้องปฏิบัติตามสัญญาในฐานะผู้จัดการมรดกไม่ได้.
ในคดีที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ขอให้ศาลชี้ขาดในการทำสัญญาจะซื้อขายที่พิพาทกับโจทก์ จำเลยทั้งห้าแถลงต่อศาลว่าหากมีผู้เสนอราคาให้สูงกว่าโจทก์ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ก็พร้อมจะเลิกสัญญากับโจทก์ โดยจำเลยที่ 4 และที่ 5 รับจะหาผู้ซื้อรายใหม่ภายในกำหนด ถ้าหาผู้ซื้อไม่ได้ ขอให้ปรับปรุงแก้ไขสัญญานั้นถือไม่ได้ว่าเป็นการอนุมัติหรือให้สัตยาบันกลับแสดงว่าจำเลยที่ 4และที่ 5 ไม่เห็นชอบ เพราะราคาที่ตกลงขายยังต่ำไป ทั้งการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องในคดีดังกล่าว และคดีถึงที่สุดแล้วย่อมทำให้เงื่อนไขตามที่กำหนดไว้ไม่สำเร็จ โจทก์จะบังคับให้จำเลยทั้งห้าต้องปฏิบัติตามสัญญาในฐานะผู้จัดการมรดกไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5754/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิครอบครองที่ดิน การซื้อขายที่ดิน และอายุความฟ้องร้องคดีครอบครองปรปักษ์
ห.บิดาจำเลยได้ขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินของตนให้แก่ ล. ภริยาน้อยของ ห. คือที่ดินพิพาทคดีนี้ ต่อมา ล.ได้ทำหนังสือสัญญาขายที่ดินพิพาทให้แก่ค.มารดาของโจทก์ทั้งสามโดยห.รู้เห็นยินยอมด้วย การที่ล.ขายที่ดินพิพาทให้แก่ ค.ย่อมมีผลสมบูรณ์และผูกพันห.ด้วยดังนั้น การที่จำเลยครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิของ ห.และเป็นการครอบครองแทนห.เมื่อห.และ ล. ได้โอนการครอบครองที่ดินพิพาทแก่ ค.แล้ว และไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือเป็นเจตนายึดถือ เพื่อตนอันเป็นการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาท จำเลยจึงไม่อาจอ้างระยะเวลาการฟ้องเอาคืนการครอบครองภายใน 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ขึ้นต่อสู้โจทก์ทั้งสามผู้รับโอนมรดกที่ดินพิพาทจาก ค.ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5754/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิครอบครองที่ดินจากการซื้อขายและการครอบครองแทนเจ้าของเดิม การฟ้องคืนสิทธิไม่ขาดอายุความ
ห.บิดาจำเลยได้ขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินของตนให้แก่ ล. ภริยาน้อยของ ห. คือที่ดินพิพาทคดีนี้ ต่อมา ล.ได้ทำหนังสือสัญญาขายที่ดินพิพาทให้แก่ค.มารดาของโจทก์ทั้งสาม โดย ห.รู้เห็นยินยอมด้วย การที่ล.ขายที่ดินพิพาทให้แก่ ค. ย่อมมีผลสมบูรณ์และผูกพัน ห.ด้วยดังนั้น การที่จำเลยครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิของ ห.และเป็นการครอบครองแทน ห.เมื่อ ห.และ ล. ได้โอนการครอบครองที่ดินพิพาทแก่ ค.แล้ว และไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือเป็นเจตนายึดถือ เพื่อตนอันเป็นการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาท จำเลยจึงไม่อาจอ้างระยะเวลาการฟ้องเอาคืนการครอบครองภายใน 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ขึ้นต่อสู้โจทก์ทั้งสามผู้รับโอนมรดกที่ดินพิพาทจาก ค.ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5673/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงื่อนไขบังคับก่อนในสัญญา, การบรรลุวัตถุประสงค์สัญญา, สิทธิเรียกร้องค่าบำเหน็จค่านายหน้า
สัญญาร่วมงานขายไม้ซุงสัก ระหว่างบริษัท ก. กับจำเลยทั้งสองระบุว่า ในการแบ่งกำไรการร่วมงานขายไม้ซุงสัก จำเลยที่ 2 จะได้รับส่วนแบ่งเป็นเงินสด 15 ล้านบาท ไม่ว่ากิจการจะขาดทุนหรือไม่และบริษัท ก. จะต้องจ่ายเงินคืนแก่จำเลยที่ 2 ในยอดเงินลงทุนทั้งหมดของจำเลยที่ 2 ส่วนสัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 กับ ส. ในฐานะส่วนตัวและผู้รับสัญญาแทน ล. ระบุว่า ตามสัญญาร่วมงานดังกล่าวส. และ ล. เป็นผู้ชักนำกิจการร่วมงานขายไม้ซุงสัก มาเสนอจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงให้สัญญาว่า ในยอดเงิน 15 ล้านบาทที่จำเลยที่ 2จะพึงได้รับจากบริษัท ก. จำเลยที่ 2 จะแบ่งจ่ายให้ ส. 2 ล้านบาทและ ล. 1 ล้านบาท ส่วนกำไรอีก 10 เปอร์เซ็นต์ที่จะพึงได้จากสัญญาดังกล่าว จำเลยที่ 2 จะแบ่งให้แก่ ส. และ ล. ตามอัตราส่วนคือของจำเลยที่ 2 จำนวน 12 ส่วน ของ ส. 2 ส่วน และของ ล. 1 ส่วนสัญญาทั้ง 2 ฉบับดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องกันซึ่งมีความหมายว่าบริษัท ก. จะต้องชำระเงินให้แก่จำเลยที่ 2 เมื่อได้ร่วมดำเนินงานกับจำเลยที่ 2 ส่งไม้ซุงสัก ไปจำหน่ายต่างประเทศหรือภายในประเทศแล้วและจำเลยที่ 2 ต้องจ่ายเงินบำเหน็จค่านายหน้า 1 ล้านบาทให้แก่ล. ต่อเมื่อจำเลยที่ 2 ได้รับเงิน 15 ล้านบาทจากบริษัท ก. แล้วการได้รับเงินจำนวน 15 ล้านบาทของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวจึงเป็นเงื่อนไขบังคับก่อนในการจ่ายบำเหน็จค่านายหน้าให้แก่ ล. ดังนั้นเงินจำนวน 15 ล้านบาทที่จำเลยที่ 2 จะพึงได้รับจากบริษัท ก.ตามหนังสือให้สัญญาจึงหมายถึงเงินตามสัญญาร่วมงาน เมื่อต่อมาก่อนที่บริษัท ก. และจำเลยที่ 2 ส่งไม้ซุงสัก ไปจำหน่ายต่างประเทศได้มีมติคณะรัฐมนตรีห้ามมิให้ส่งไม้ซุงสัก ไปจำหน่ายต่างประเทศทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 และบริษัท ก. สามารถจำหน่ายไม้ซุงสักได้ภายในประเทศอันจะถือได้ว่าเป็นการบรรลุวัตถุประสงค์ของสัญญาร่วมงาน จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินส่วนแบ่งกำไรจำนวน 15 ล้านบาทตามสัญญาร่วมงานจากบริษัท ก. ถือได้ว่าเงื่อนไขบังคับก่อนในการจ่ายบำเหน็จค่านายหน้าให้แก่ ล. ยังไม่สำเร็จจำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องแบ่งเงิน 1 ล้านบาทจ่ายเป็นบำเหน็จค่านายหน้าให้แก่ ล. สามีโจทก์ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินจำนวนดังกล่าวจากจำเลยทั้งสอง.