คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประศาสน์ ธำรงกาญจน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 259 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5012/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินความผิดกรรมเดียวในคดีขับรถประมาท และอำนาจการเป็นโจทก์ร่วม
เมื่อพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องคดีนี้อยู่แล้ว การที่โจทก์ร่วมที่ 1 จะเข้าเป็นโจทก์ร่วมได้หรือไม่ ไม่มีผลทำให้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์เปลี่ยนแปลงไปเป็นประการอื่นได้ จึงไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาข้อที่ว่าโจทก์ร่วมที่ 1 ไม่ใช่ผู้เสียหายเพราะมีส่วนประมาทด้วย การที่จำเลยขับรถจะเลี้ยวซ้าย แต่ไม่นำรถเข้าชิด ขอบทางเดินรถด้านซ้าย กลับเลี้ยวรถโดยตัดหน้ารถโจทก์ร่วมที่ 1 ในระยะกระชั้นชิดจนเป็นเหตุให้รถทั้งสองคันชนกัน ทำให้โจทก์ร่วมทั้งสามได้รับอันตรายสาหัสและรถที่โจทก์ร่วมที่ 1 ขับไปรับความเสียหาย ถือได้ว่าเป็นการกระทำในครั้งคราวเดียวที่ต่อเนื่องเกี่ยวพันกันอันเป็นการกระทำความผิดกรรมเดียว หาใช่เป็นการกระทำผิดสำเร็จแต่ละตอนแยกจากกันเป็นความผิดต่างกรรมกันไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5012/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลี้ยวรถตัดหน้าประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตราย: ความผิดกรรมเดียว
จำเลยขับรถยนต์จะเลี้ยวซ้ายแต่ไม่นำรถเข้าชิดขอบทางเดินรถด้านซ้ายกลับเลี้ยวรถตัดหน้ารถที่โจทก์ร่วมขับใน ระยะกระชั้นชิดในลักษณะเป็นการกีดขวางการจราจร และเป็นการกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้รถทั้งสองคันชนกัน ทำให้โจทก์ร่วมได้รับอันตรายสาหัสและรถที่โจทก์ร่วมขับได้รับความเสียหาย ถือได้ว่าเป็นการกระทำผิดในครั้งคราวเดียวที่ต่อเนื่องเกี่ยวพันกัน อันเป็นการกระทำผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4845/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจัดการทรัพย์สินของผู้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด: การแต่งตั้งทนายความแทนจำเลยที่เป็นนิติบุคคล
บทบัญญัติมาตรา 24 พระราชบัญญัติล้มละลาย ไม่ได้บัญญัติห้ามผู้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจัดการทรัพย์สินของผู้อื่นหรือกระทำกิจการแทนผู้อื่น จำเลยที่ 2 ผู้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจึงมีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 แต่งตั้งทนายความแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4845/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจัดการทรัพย์สินของผู้อื่นของผู้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดภายใต้ พ.ร.บ.ล้มละลาย
บทบัญญัติมาตรา 24 พระราชบัญญัติล้มละลาย ไม่ได้บัญญัติห้ามผู้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจัดการทรัพย์สินของผู้อื่นหรือกระทำกิจการแทนผู้อื่น จำเลยที่ 2 ผู้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจึงมีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 แต่งตั้งทนายความแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4845/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งทนายความหลังพิทักษ์ทรัพย์: อำนาจของนิติบุคคลแยกจากลูกหนี้
การห้ามลูกหนี้กระทำการตามมาตรา 24 แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลายพ.ศ. 2483 ไม่มีความหมายรวมถึงการจัดการทรัพย์สินของผู้อื่นหรือทำกิจการแทนผู้อื่นด้วย ดังนั้นการที่จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อประทับตราของบริษัทจำเลยที่ 1 แต่งตั้งทนายความยื่นคำร้องต่อศาลจึงเป็นการกระทำแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลแยกออกไปอีกส่วนหนึ่งจากจำเลยที่ 2 นั้น ย่อมมีอำนาจกระทำได้ไม่ต้องห้ามตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4822/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง: โจทก์ต้องพิสูจน์สถานะและอำนาจของผู้ลงชื่อฟ้อง หากจำเลยปฏิเสธ
จำเลยทั้งสองได้ปฏิเสธไว้โดยชัดแจ้งในคำให้การแล้วว่า ว.ไม่ใช่อธิบดีโจทก์ในขณะฟ้องคดี และมิใช่ผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ซึ่งศาลได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้แล้วข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์จะต้องนำสืบ มิใช่เป็นข้อเท็จจริงที่รู้กันอยู่ทั่วไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4822/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องขึ้นอยู่กับการพิสูจน์สถานะผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ในขณะฟ้องคดี
จำเลยทั้งสองได้ปฏิเสธไว้โดยชัดแจ้งในคำให้การแล้วว่า ว.ไม่ใช่อธิบดีโจทก์ในขณะฟ้องคดี และมิใช่ผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ ซึ่งศาลได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้แล้วข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์จะต้องนำสืบ มิใช่เป็นข้อเท็จจริงที่รู้กันอยู่ทั่วไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4793/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทหย่า: การทำร้ายร่างกาย, การคบชู้, ค่าทดแทน, ค่าเลี้ยงชีพ และสินสมรส
จำเลยที่ 1 ใช้เท้าเตะโจทก์ได้รับบาดเจ็บถึงกระดูดแขนหัก เป็นการทำร้ายร่างกายที่เข้าลักษณะร้ายแรงเป็นเหตุฟ้องหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1516(3) จำเลยที่ 1 อุปการะเลี้ยงดูยกย่องจำเลยที่ 2 ฉันภริยาต่อเนื่องกันตลอดมา โจทก์เพิ่งรู้การกระทำของจำเลยที่ 1ที่อยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลยที่ 2 ก่อนฟ้องยังไม่ล่วงพ้นกำหนด 1 ปี สิทธิฟ้องหย่าจึงยังไม่ระงับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1529 วรรคแรก โจทก์มิได้ฟ้องหย่าเพราะเหตุไม่อาจทนอยู่กับจำเลยที่ 1เนื่องจากเหตุทำร้ายร่างกายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1516(3) จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าทดแทนส่วนนี้ตามมาตรา 1524 ระหว่างอยู่กินกับจำเลยที่ 1 โจทก์ประกอบอาชีพค้าขายเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อหารายได้มาจุนเจือครอบครัว และสำหรับเรื่องเงินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่เคยเกี่ยวข้องกัน ทั้งโจทก์ยังช่วยออกค่าใช้จ่ายภายในบ้านอีกด้วย ฟังไม่ได้ว่าการหย่าทำให้โจทก์ยากจนลงในอันที่จะมีสิทธิเรียกค่าเลี้ยงชีพตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1526 เงินบริจาคที่จำเลยที่ 1 ได้รับเป็นค่าตอบแทนการรับทรงเจ้าเป็นเงินรายได้ที่จำเลยที่ 1 ได้มาระหว่างสมรสเมื่อจำเลยที่ 1 นำไปซื้อที่ดินและปลูกอาคาร ที่ดินและอาคารดังกล่าวจึงเป็นสินสมรส การจดทะเบียนหย่าโดยคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1531 วรรคสอง คู่สมรสไม่จำต้องไปแสดงเจตนาขอจดทะเบียนหย่าต่อนายทะเบียนอีกทั้งตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478 มาตรา 16ก็บัญญัติให้ผู้มีส่วนได้เสียเพียงแต่ยืนสำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุดที่รับรองถูกต้องแล้วต่อนายทะเบียน และขอให้นายทะเบียนบันทึกการหย่าไว้ในทะเบียนเท่านั้น จึงไม่จำต้องสั่งให้จำเลยจดทะเบียนหย่ากับโจทก์ตามที่โจทก์ขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4766/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คดีอาญาและข้อจำกัดในการฎีกาเมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาตรงกัน รวมถึงข้อยกเว้นเรื่องอัตราโทษ
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องในข้อหาความผิดตาม ป.อ. มาตรา 177 และมาตรา 180 ข้อหาดังกล่าวจึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220 แม้ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องความผิดฐานนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 180 ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสามปี ปรับไม่เกินหกพันบาท อันจะต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 193 ทวิ ก็ตาม แต่ความผิดดังกล่าวเป็นกรรมเดียวกันกับความผิดฐานเบิกความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177 ซึ่งมีอัตราโทษอันเป็นบทหนัก จำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ ดังนั้นความผิดฐานนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานเท็จจึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4760/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษความผิดหลายกรรมต่างกันในคดีพรากผู้เยาว์ หน่วงเหนี่ยวกักขัง และข่มขืน ศาลฎีกาปรับบทลงโทษให้ถูกต้อง
แม้โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแต่ที่ศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานพรากผู้เยาว์กับฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทลงโทษฐานพรากผู้เยาว์บทหนักนั้น ยังไม่ถูกต้อง เนื่องจากกรณีเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ต้องลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ศาลฎีกาปรับบทลงโทษให้ถูกต้องได้.
of 26