พบผลลัพธ์ทั้งหมด 259 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4760/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพรากผู้เยาว์ หน่วงเหนี่ยว กักขัง และข่มขืน ศาลฎีกาปรับบทลงโทษให้ถูกต้องตามหลักกรรมต่างกัน
แม้โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแต่ที่ศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษจำเลยทั้งสองใน ความผิดฐานพรากผู้เยาว์กับฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทลงโทษฐาน พรากผู้เยาว์บทหนักนั้น ยังไม่ถูกต้อง เนื่องจากกรณีเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ต้องลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ศาลฎีกาปรับบทลงโทษให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4708/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อฝากโดยสุจริตและผลกระทบของลายมือชื่อที่ไม่สมบูรณ์ต่อสิทธิของบุคคลภายนอก
ตามคำฟ้องและทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่า โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 2ที่ 3 รับซื้อฝากที่พิพาทโดยทุจริตแต่อย่างใด โจทก์อ้างเพียงว่า สัญญาขายฝากระหว่างจำเลยที่ 1และจำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นโมฆะ เพราะจำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจขายฝากที่พิพาทเท่านั้น จำเลยที่ 2ที่ 3 จึงได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่า รับซื้อฝากที่พิพาทไว้โดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 6
การที่ตัวการลงลายมือชื่อไว้ในหนังสือมอบอำนาจโดยไม่กรอกข้อความไว้ ภายหลังจำเลยที่ 1 โดยทุจริตได้นำใบมอบอำนาจดังกล่าวไปกรอกข้อความแล้วขายฝากที่พิพาทให้จำเลยที่ 2ที่ 3 เป็นกรณีเข้าลักษณะความรับผิดของตัวการต่อบุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 822 ซึ่งเป็นเรื่องที่ตัวแทนคือจำเลยที่ 1 ทำการเกินอำนาจตัวแทน แต่ทางปฏิบัติของตัวการทำให้บุคคลภายนอกมีมูลเหตุอันสมควรจะเชื่อว่า การอันนั้นอยู่ภายในขอบอำนาจของตัวแทน ตัวการจึงต้องรับผิดต่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริต โจทก์ซึ่งเป็นทายาทของตัวการย่อมไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการขายฝากดังกล่าว
การที่ตัวการลงลายมือชื่อไว้ในหนังสือมอบอำนาจโดยไม่กรอกข้อความไว้ ภายหลังจำเลยที่ 1 โดยทุจริตได้นำใบมอบอำนาจดังกล่าวไปกรอกข้อความแล้วขายฝากที่พิพาทให้จำเลยที่ 2ที่ 3 เป็นกรณีเข้าลักษณะความรับผิดของตัวการต่อบุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 822 ซึ่งเป็นเรื่องที่ตัวแทนคือจำเลยที่ 1 ทำการเกินอำนาจตัวแทน แต่ทางปฏิบัติของตัวการทำให้บุคคลภายนอกมีมูลเหตุอันสมควรจะเชื่อว่า การอันนั้นอยู่ภายในขอบอำนาจของตัวแทน ตัวการจึงต้องรับผิดต่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริต โจทก์ซึ่งเป็นทายาทของตัวการย่อมไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการขายฝากดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4708/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของตัวการต่อบุคคลภายนอกจากการกระทำเกินอำนาจของตัวแทน และผลกระทบต่อสิทธิของผู้รับซื้อโดยสุจริต
ตามคำฟ้องและทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฎว่า โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 รับซื้อฝากที่พิพาทโดยทุจริตแต่อย่างใด โจทก์อ้างเพียงว่า สัญญาขายฝากระหว่างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นโมฆะ เพราะจำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจขายฝากที่พิพาทเท่านั้น จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่า รับซื้อฝากที่พิพาทไว้โดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 6 การที่ตัวการลงลายมือชื่อไว้ในหนังสือมอบอำนาจโดยไม่กรอกข้อความไว้ ภายหลังจำเลยที่ 1 โดยทุจริตได้นำใบมอบอำนาจดังกล่าวไปกรอกข้อความแล้วขายฝากที่พิพาทให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นกรณีเข้าลักษณะความรับผิดของตัวการต่อบุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 822 ซึ่งเป็นเรื่องที่ตัวแทนคือจำเลยที่ 1 ทำการเกินอำนาจตัวแทน แต่ทางปฏิบัติของตัวการทำให้บุคคลภายนอกมีมูลเหตุอันสมควรจะเชื่อว่า การอันนั้นอยู่ภายในขอบอำนาจของตัวแทน ตัวการจึงต้องรับผิดต่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริต โจทก์ซึ่งเป็นทายาทของตัวการย่อมไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการขายฝากดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4683/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์เรือนรื้อย้าย: ปัญหาความownership ของเรือนที่รื้อย้ายไปปลูกบนที่ดินของผู้อื่น มิใช่ประเด็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวเนื่องกับความสงบเรียบร้อย
ปัญหาว่า เรือนพิพาทตกเป็นส่วนควบของที่ดินหรือไม่นั้นมิใช่ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนเมื่อไม่เป็นประเด็นที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาจึงไม่วินิจฉัยให้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4683/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เรือนพิพาทเป็นส่วนควบของที่ดินหรือไม่ ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยหากมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้น
ปัญหาว่า เรือนพิพาทตกเป็นส่วนควบของที่ดินหรือไม่นั้นมิใช่ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของ ประชาชนเมื่อไม่เป็นประเด็นที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาจึงไม่วินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4674/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาชำระหนี้และโอนกรรมสิทธิ์ในสัญญาซื้อขายที่ดิน สิทธิริบเงินมัดจำเมื่อถึงกำหนด
ตามข้อตกลงในสัญญาระบุกำหนดเวลาการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่จะซื้อขายกันไว้ 2 ช่วง คือภายในวันที่ 2 มิถุนายน2528 ซึ่งเป็นกำหนดเวลาให้โจทก์ในฐานะผู้จะซื้อปฏิบัติชำระหนี้และจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กัน มิฉะนั้นโจทก์จะต้องชำระค่าเสียหายให้แก่จำเลยทั้งสองเป็นเงิน 11,200 บาท และภายในวันที่ 2 กรกฎาคม2528 ซึ่งเป็นกำหนดเวลาช่วงสุดท้ายที่จะโอนกรรมสิทธิ์กันหากโจทก์ไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้ จำเลยในฐานะผู้จะขายมีสิทธิริบเงินมัดจำจำนวน 50,000 บาท ดังนี้ จำเลยยังไม่มีสิทธิริบเงินมัดจำจนกว่าเวลาจะล่วงพ้นวันที่ 2 กรกฎาคม 2528 อันเป็นกำหนดเวลาช่วงสุดท้ายที่ทั้งสองฝ่ายจะต้องปฏิบัติชำระหนี้ต่อกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4674/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาชำระหนี้และโอนกรรมสิทธิ์ในสัญญาจะซื้อจะขาย สิทธิริบเงินมัดจำเมื่อพ้นกำหนด
ตามข้อตกลงในสัญญาระบุกำหนดเวลาการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่จะซื้อขายกันไว้ 2 ช่วง คือภายในวันที่ 2 มิถุนายน2528 ซึ่งเป็นกำหนดเวลาให้โจทก์ในฐานะผู้จะซื้อปฏิบัติชำระหนี้และจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กัน มิฉะนั้นโจทก์จะต้องชำระค่าเสียหายให้แก่จำเลยทั้งสองเป็นเงิน 11,200 บาท และภายในวันที่ 2 กรกฎาคม2528 ซึ่งเป็นกำหนดเวลาช่วงสุดท้ายที่จะโอนกรรมสิทธิ์กันหากโจทก์ไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้ จำเลยในฐานะผู้จะขายมีสิทธิริบเงินมัดจำจำนวน 50,000 บาท ดังนี้ จำเลยยังไม่มีสิทธิริบเงินมัดจำจนกว่าเวลาจะล่วงพ้นวันที่ 2 กรกฎาคม 2528 อันเป็นกำหนดเวลาช่วงสุดท้ายที่ทั้งสองฝ่ายจะต้องปฏิบัติชำระหนี้ต่อกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3789/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พนักงานทราบการหลอกลวง แต่ยังรับสมัครงานต่อ เข้าข่ายสนับสนุนการฉ้อโกง
จำเลยที่ 4 เป็นพนักงานของบริษัทจำเลยที่ 1 สาขาลำพูนทราบดีว่า สำนักงานสาขาลำพูนของบริษัทจำเลยที่ 1ไม่มีเงินทุนดำเนินการ ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ได้นำเงินค้ำประกันการเข้าทำงาน ของพนักงานมาจ่าย แต่จำเลยที่ 4 ก็ยังดำเนินการรับสมัครงานตลอดมาตามพฤติการณ์จำเลยที่ 4ย่อมทราบดีว่าบริษัทจำเลยที่ 1 ไม่มีงานการรับสมัครพนักงานของบริษัทจำเลยที่ 1 สาขาลำพูนดังกล่าวเป็นการหลอกลวงประชาชนเพื่อให้ได้เงินประกันการเข้าทำงาน ซึ่งจำเลยที่ 4ก็ยังคงดำเนินการให้การหลอกลวงนั้นบรรลุผล เป็นการช่วยเหลือและให้ความสะดวกแก่บริษัทจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 กระทำผิดจำเลยที่ 4 เป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3784/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสนับสนุนการหลอกลวงประชาชนเพื่อเงินประกันการเข้าทำงาน จำเลย 4 มีความผิดฐานสนับสนุน
จำเลยที่ 4 เป็นพนักงานของบริษัทจำเลยที่ 1 ทราบดีว่า สำนักงานสาขาลำพูนของบริษัทจำเลยที่ 1 ไม่มีเงินทุนดำเนินการ ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ได้นำเงินค้ำประกันการเข้าทำงานของพนักงานมาจ่าย แต่จำเลยที่ 4 ก็ยังดำเนินการรับสมัครงานตลอดมา ตามพฤติการณ์จำเลยที่ 4 ย่อมทราบดีว่าบริษัทจำเลยที่ 1 ไม่มีงาน การรับสมัครพนักงานของบริษัทจำเลยที่ 1 สาขาลำพูนดังกล่าวเป็นการหลอกลวงประชาชนเพื่อให้ได้เงินประกันการเข้าทำงาน ซึ่งจำเลยที่ 4 ก็ยังคงดำเนินการให้การหลอกลวงนั้นบรรลุผล เป็นการช่วยเหลือและให้ความสะดวกแก่บริษัทจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 6 กระทำผิด จำเลยที่ 4 เป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3783/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดความรับผิดของนายคลังสินค้า: ข้อบังคับต้องได้รับการตกลงชัดแจ้งจากเจ้าของสินค้า
พระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 มาตรา 29(1)และ มาตรา 9(4) ให้คณะกรรมการจำเลยมีอำนาจวางข้อบังคับและระเบียบตามที่ระบุไว้ในมาตรา 9(4) คือ จัดระเบียบว่าด้วยความปลอดภัย การใช้ท่าเรือ บริการและความสะดวกต่าง ๆ ของกิจการท่าเรือเท่านั้น ไม่ได้ให้อำนาจคณะกรรมการออกข้อบังคับจำกัดความรับผิดค่าเสียหายที่จำเลยจักต้องรับผิด เมื่อจำเลยออกข้อบังคับจำกัดความรับผิดค่าเสียหายที่ให้ผู้ฝากสินค้ากับจำเลยต้องเสนอข้อเรียกร้องค่าเสียหายภายในกำหนด 7 วันนับแต่วันรับมอบสินค้าขึ้นฝ่ายเดียว โดยไม่ปรากฏว่าเจ้าของสินค้าได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในข้อจำกัดความรับผิดดังกล่าวจำเลยจึงไม่อาจยกข้อบังคับที่จำเลยกำหนดขึ้นมาอ้างให้พ้นความรับผิดได้