คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประศาสน์ ธำรงกาญจน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 259 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 927/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายไม้และการพิสูจน์เจตนาฉ้อโกง ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานไม่เพียงพอ
โจทก์ร่วมติดต่อค้าขายกับห้าง ส. ซึ่งมีจำเลยเป็นหุ้นส่วนเป็นเวลานานเกือบ 1 ปี การซื้อขายครั้งแรก ๆ โจทก์ร่วมก็ได้รับชำระหนี้แล้ว ส่วนการซื้อขายสองครั้งหลังที่เกิดเหตุ จำเลยก็มิได้ปฎิเสธ ว่ามิได้ซื้อหรือมิได้เป็นหนี้โจทก์ร่วมโดยรับว่าเป็นหนี้อยู่จริง แต่ขอประนอมหนี้โดยขอชำระหนี้เพียงร้อยละ 15โจทก์ร่วมเองก็ยอมรับว่าห้าง ส. เป็นหนี้ซื้อไม้จากโจทก์ร่วมซึ่งเป็นนิติสัมพันธ์ในทางแพ่ง ดังนั้น การที่ห้าง ส. ซื้อไม้ครั้งเกิดเหตุแล้วไม่ชำระราคาแก่โจทก์ร่วมจึงเป็นเพียงการผิดสัญญาในทางแพ่งเท่านั้น ไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 917/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องค่าจ้างทำของและการติดตามทรัพย์คืน: ศาลวินิจฉัยอายุความ 2 ปีสำหรับค่าจ้าง และไม่มีอายุความสำหรับติดตามทรัพย์
การฟ้องเรียกค่าจ้างทำของตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 มีกำหนดอายุความ2 ปี นับแต่วันรับมอบงาน โจทก์สร้างบ้านและรั้วพิพาทเสร็จส่งมอบให้จำเลยเมื่อเดือนตุลาคม 2526 และจำเลยได้เข้าไปอยู่ในบ้านพิพาทเมื่อปลายเดือนตุลาคม 2526 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2528 ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ส่วนที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเอาไม้แบบพิพาทของโจทก์ไปทำสะพานทางเดินและเรียกทรัพย์หรือราคาทรัพย์ดังกล่าวคืนนั้นเป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิติดตามเรียกเอาทรัพย์คืนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีอายุความบัญญัติห้ามไว้ ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 871/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องฎีกาเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการนำส่งเอกสารให้คู่ความ
จำเลยยื่นฎีกาวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2533 เจ้าหน้าที่ศาลชั้นต้นนัดให้จำเลยมาทราบคำสั่งวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2533 ถ้าไม่มาถือว่าทราบคำสั่งแล้ว ทนายจำเลยลงชื่อทราบนัด ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2533 ให้รับฎีกาจำเลย สำเนาให้โจทก์ ให้จำเลยนำส่งใน 7 วัน เมื่อทนายจำเลยได้ลงชื่อทราบนัดฟังคำสั่งไว้ก่อนแล้ว กรณีถือว่าจำเลยทราบคำสั่งนั้นโดยชอบ การที่จำเลยมิได้นำส่งหมายนัดและสำเนาฎีกาให้โจทก์ภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ถือว่าจำเลยทิ้งฟ้องฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 745/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฎีกาของโจทก์ร่วม: เมื่อไม่เคยอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น ย่อมหมดสิทธิฎีกา แม้ผู้พิพากษาอนุญาต
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง หมายถึงยกฟ้องโจทก์ร่วมด้วย เมื่อโจทก์ร่วมมิได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น คดีของโจทก์ร่วมจึงยุติ โจทก์ร่วมไม่มีสิทธิฎีกา แม้ผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จะอนุญาตให้ฎีกาก็ตาม ฎีกาของโจทก์ร่วมเป็นฎีกาที่ไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 735/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนกระทำสัญญาเช่าโดยไม่ประทับตราบริษัท แต่มีการใช้ประโยชน์ร่วมกัน ถือเป็นสัตยาบัน
บริษัทจำเลยทั้งสองได้เข้าครอบครองใช้ประโยชน์ในตึกพิพาทแม้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนจำเลยทั้งสองได้ทำหนังสือสัญญาเช่าตึกพิพาทจากโจทก์ทั้งสองโดยมิได้ประทับตราสำคัญของจำเลยทั้งสองให้ถูกต้อง ก็ต้องถือว่าจำเลยที่ 3 กระทำไปในฐานะตัวแทนของจำเลยทั้งสอง โดยจำเลยทั้งสองได้ให้สัตยาบันแล้ว เมื่อจำเลยที่ 3 ผิดสัญญาไม่ชำระค่าเช่าล่วงหน้าให้โจทก์ทั้งสองตามกำหนด จำเลยทั้งสองจะปฏิเสธความรับผิดหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 735/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำของตัวแทนที่ผูกพันนายจ้าง แม้ไม่มีตราสำคัญ หากมีการให้สัตยาบันและการใช้ประโยชน์ร่วมกัน
จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการมีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ทำสัญญาเช่าตึกพิพาทจากโจทก์โดยมิได้ประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้เข้าครอบครองใช้ประโยชน์ในตึกพิพาท ก็ต้องถือว่าจำเลยที่ 3 กระทำไปในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ให้สัตยาบันแล้วจำเลยที่ 1 และที่ 2 จะปฏิเสธความรับผิดหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 594/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดบังคับคดี: ราคาเหมาะสมและดุลพินิจเจ้าพนักงานบังคับคดี
จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดโดยมิได้โต้แย้งว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ใช้ดุลพินิจในการขายโดยไม่สุจริตอย่างไร กรณีจึงต้องถือว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดทรัพย์ให้แก่ผู้ประมูลราคาสูงสุดโดยเห็นว่าเป็นราคาที่สมควรแล้ว จำเลยจะรื้อฟื้นขอให้ยกเลิกการขายทอดตลาดโดยอ้างว่าเป็นการขายในราคาต่ำหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 520/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทนายความประมาทเลินเล่อจำวันนัดสืบพยานคดีผิดพลาด ศาลฎีกาตัดสินให้รับผิดชอบความเสียหาย
ทนายความจะต้องจดวันนัดพิจารณาจากรายงานกระบวนพิจารณาของศาล การที่จำเลยซึ่งเป็นทนายความของโจทก์อ้างว่าจำวันนัดสืบพยานผิดพลาดตามที่ได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานศาล จึงเป็นความบกพร่องของจำเลยเอง หาใช่เหตุสุดวิสัยไม่และเมื่อจำเลยไม่ไปศาลในวันนัดสืบพยานจนศาลสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงฟ้องจำเลยได้โดยไม่ต้องบอกกล่าว เพราะกรณีแห่งคดีนี้ไม่มีบทกฎหมายใดบังคับให้โจทก์ต้องบอกกล่าวแก่จำเลยก่อนฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 520/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของทนายความต่อความเสียหายจากความบกพร่องในการจดวันนัด และการไม่จำเป็นต้องบอกกล่าว ก่อนฟ้องคดี
โจทก์ว่าจ้างจำเลยที่ 1 เป็นทนายความว่าต่าง จำเลยที่ 1มอบหมายให้จำเลยที่ 2 เป็นทนายความดำเนินคดีแทน ถึงวันนัดจำเลยที่ 2 ไม่ไปศาลเพราะจดวันนัดผิด ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีดังนี้เพื่อความไม่ประมาท จำเลยที่ 2 จะต้องจดวันนัดสืบพยานจากรายงานกระบวนพิจารณาที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้ การที่จำเลยที่ 2 จำวันนัดสืบพยานผิดพลาดจึงเป็นความบกพร่องของจำเลยที่ 2เอง หาได้เกิดจากเหตุสุดวิสัยไม่ การฟ้องคดีนี้ไม่มีบทกฎหมายใดที่บังคับให้โจทก์ต้องบอกกล่าวแก่จำเลยก่อนฟ้อง ดังนั้น โจทก์จะบอกกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ ก็ไม่ทำให้ฟ้องของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 513/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จ-เบิกความเท็จ: การพิจารณาความผิดกรรมเดียว-หลายบท และอำนาจศาลฎีกาในการวินิจฉัยข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานแจ้งความเท็จ 2 กระทงฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม ฐานเบิกความเท็จอีก 2 กระทงฐานแจ้งความเท็จกระทงแรกจำคุก 1 ปี ฐานใช้เอกสารปลอมกับแจ้งความเท็จกระทงหลังให้ลงโทษฐานใช้เอกสารปลอมจำคุก 2 ปี ฐานเบิกความเท็จจำคุกกระทงละ 3 ปี รวมเป็นโทษจำคุก 9 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสามคงจำคุก 6 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ลงโทษจำเลยฐานใช้เอกสารปลอม กระทงหนึ่ง จำคุก 6 เดือน และจำเลยมีความผิดฐานเบิกความเท็จกระทงเดียวจำคุก 6 เดือน รวมเป็นจำคุก 1 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสาม คงลงโทษจำคุก 8 เดือน เป็นการแก้ไขเพียงเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี ความผิดฐานใช้เอกสารปลอมและเบิกความเท็จจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคแรก แม้ศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัยในความผิดฐานแจ้งความเท็จและยังไม่ได้ชี้ขาดข้อเท็จจริงว่าข้อความที่จำเลยแจ้งความต่อร้อยตำรวจโทป. เป็นเท็จหรือไม่ แต่ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณา การที่จำเลยไปแจ้งความว่าโจทก์ออกเช็คให้แก่จำเลยทั้งที่ความจริงโจทก์ออกเช็คให้แก่ ว. ทำให้จำเลยกลายเป็นผู้เสียหายมีอำนาจร้องทุกข์ การแจ้งความดังกล่าวจึงเป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ การที่จำเลยเบิกความสองครั้งในคดีเดียวกันคือในชั้นไต่สวนมูลฟ้องและชั้นพิจารณาแม้จะเป็นการเบิกความคนละคราว แต่ก็เป็นการนำสาระสำคัญของข้อความในเรื่องเดียวกัน มูลเหตุเดียวกันมากล่าวอีกครั้งโดยมีเจตนาให้โจทก์ต้องโทษในคดีเดียวกันเท่านั้น จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวแต่ผิดกฎหมายหลายบท.
of 26