พบผลลัพธ์ทั้งหมด 254 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1985/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทดแทนการเวนคืนและค่าเสียหายจากประกาศคณะปฏิวัติ พิจารณาจากราคาตลาดจริงและสภาพทรัพย์สิน
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน2515 ข้อ 23 วรรคท้าย ประกอบด้วยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่28 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 76 ที่ได้กำหนดเงินค่าทดแทนให้เท่าราคาของทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดนั้น หมายถึงราคาธรรมดาของที่ดินแต่ละแปลงที่อ้างซื้อขายกันในท้องตลาดตามความเป็นจริง แต่ราคาที่ดินตามบัญชีกำหนดจำนวนราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจด-ทะเบียนสิทธิและนิติกรรม เป็นเพียงราคาปานกลางของที่ดินในแต่ละเขตท้องที่ ซึ่งที่ดินแต่ละแปลงในท้องที่เดียวกันและตามบัญชีดังกล่าวกำหนดไว้เป็นราคาเดียวกัน อาจมีราคาแตกต่างกันตามสภาพของที่ดินแต่ละแปลง และสำหรับที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนปรากฏว่าเป็นที่ดินที่อยู่ห่างจากถนนสายธนบุรี - ปากท่อ เพียงประมาณ 15 เมตรเป็นที่ดินที่ใช้สร้างโรงภาพยนตร์ มีทางเข้าออกเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก มีลานจอดรถและอาคารพาณิชย์โดยรอบ เชื่อได้ว่าที่ดินของโจทก์ดังกล่าวมีราคาธรรมดาที่อาจซื้อขายกันในท้องตลาดตามความเป็นจริงสูงกว่าราคาตามบัญชีกำหนดจำนวนราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
เครื่องปรับอากาศของโจทก์เป็นเครื่องปรับอากาศใช้สำหรับโรง-ภาพยนตร์เชื่อได้ว่าเป็นเครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่ การติดตั้งและรื้อถอนต้องเสียค่าแรงงานและอาจเกิดความเสียหายได้ จำเลยต้องใช้เงินค่าทดแทน
เก้าอี้นั่งชมภาพยนตร์ของโจทก์มีลักษณะที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้สำหรับโดยเฉพาะ และได้ติดตั้งยึดไว้กับพื้นของโรงภาพยนตร์ ซึ่งตามปกติโรงภาพยนตร์ต้องมีเก้าอี้เพื่อให้ผู้ชมได้นั่งชมภาพยนตร์ การรื้อถอนเก้าอี้ออกไปจะทำให้โรงภาพยนตร์เสียสภาพจากการเป็นโรงภาพยนตร์ ถือได้ว่าเก้าอี้นั่งชมภาพยนตร์ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของโรงภาพยนตร์ซึ่งเป็นสิ่งปลูกสร้าง จำเลยจึงต้องใช้เงินค่าทดแทนให้โจทก์
เมื่อมีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ที่คิดว่าจะเวนคืนเพื่อสร้างทางพิเศษ และรัฐมนตรีได้ประกาศให้ทางสายนั้นเป็นทางที่มีความจำเป็นต้องสร้างโดยเร่งด่วนแล้ว แม้จะยังไม่มีการออกพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ จำเลยก็มีหน้าที่ต้องใช้เงินค่าทดแทนหรือค่าเสียหายให้โจทก์ และเมื่อนำข้อ 67 วรรคสองแห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515 มาใช้บังคับโดยอนุโลม โดยอาศัยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน2515 ข้อ 23 วรรคสอง แล้ว มีความหมายว่าโจทก์มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับ
เครื่องปรับอากาศของโจทก์เป็นเครื่องปรับอากาศใช้สำหรับโรง-ภาพยนตร์เชื่อได้ว่าเป็นเครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่ การติดตั้งและรื้อถอนต้องเสียค่าแรงงานและอาจเกิดความเสียหายได้ จำเลยต้องใช้เงินค่าทดแทน
เก้าอี้นั่งชมภาพยนตร์ของโจทก์มีลักษณะที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้สำหรับโดยเฉพาะ และได้ติดตั้งยึดไว้กับพื้นของโรงภาพยนตร์ ซึ่งตามปกติโรงภาพยนตร์ต้องมีเก้าอี้เพื่อให้ผู้ชมได้นั่งชมภาพยนตร์ การรื้อถอนเก้าอี้ออกไปจะทำให้โรงภาพยนตร์เสียสภาพจากการเป็นโรงภาพยนตร์ ถือได้ว่าเก้าอี้นั่งชมภาพยนตร์ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของโรงภาพยนตร์ซึ่งเป็นสิ่งปลูกสร้าง จำเลยจึงต้องใช้เงินค่าทดแทนให้โจทก์
เมื่อมีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ที่คิดว่าจะเวนคืนเพื่อสร้างทางพิเศษ และรัฐมนตรีได้ประกาศให้ทางสายนั้นเป็นทางที่มีความจำเป็นต้องสร้างโดยเร่งด่วนแล้ว แม้จะยังไม่มีการออกพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ จำเลยก็มีหน้าที่ต้องใช้เงินค่าทดแทนหรือค่าเสียหายให้โจทก์ และเมื่อนำข้อ 67 วรรคสองแห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515 มาใช้บังคับโดยอนุโลม โดยอาศัยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน2515 ข้อ 23 วรรคสอง แล้ว มีความหมายว่าโจทก์มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1746/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขฟ้องคดีอาญาจากประมาททำให้บาดเจ็บสาหัสเป็นประมาททำให้ถึงแก่ความตาย ศาลอนุญาตได้หากมีเหตุอันควร
เดิมโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้เสียหายรับอันตรายสาหัส ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 300 ระหว่างพิจารณาโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องว่าผู้เสียหายถึงแก่ความตายในเวลาต่อมาอันเนื่องมาจากการขับรถโดยประมาทของจำเลย ขอให้ลงโทษฐานขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 โดยมีการสอบสวนเพิ่มเติมและแจ้งข้อหาขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายเพิ่มเติมจากที่ได้ทำการสอบสวนไว้แก่จำเลยแล้วจึงมีเหตุอันควรที่โจทก์จะขอแก้ไขเพิ่มเติมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1746/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขฟ้องคดีอาญาจากประมาททำให้บาดเจ็บสาหัส เป็นประมาททำให้ถึงแก่ความตาย ศาลมีอำนาจลงโทษได้
เดิมโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้เสียหายรับอันตรายสาหัส ตาม ป.อ. มาตรา 300ระหว่างพิจารณาโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องว่า ผู้เสียหายถึงแก่ความตาย ขอให้ลงโทษจำเลยฐานขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตาย ตาม ป.อ. มาตรา 291 เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้แจ้งข้อหาขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายเพิ่มเติมจากที่ได้ทำการสอบสวนจำเลยไว้แล้ว และจำเลยได้ทราบข้อหาแล้ว กรณีจึงมีเหตุอันควรให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมฟ้องในความผิดฐานขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1746/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขฟ้องเพิ่มข้อหาขับรถประมาทจนถึงแก่ความตาย และการโต้แย้งข้อเท็จจริงหลังรับสารภาพ
เดิมโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้เสียหายรับอันตรายสาหัส ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300ระหว่างพิจารณา โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องว่า ผู้เสียหายถึงแก่ความตายอันเนื่องมาจากการขับรถโดยประมาทของจำเลย ขอให้ลงโทษฐานขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 โดยมีเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการสอบสวนเพิ่มเติมมาท้ายฎีกาด้วยว่า เมื่อโจทก์ทราบว่าผู้เสียหายถึงแก่ความตายอันเป็นผลสืบเนื่องจากการขับโดยประมาทของจำเลยโจทก์ได้มีหนังสือลงวันที่ 10 มกราคม 2534 และแจ้งข้อหาขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย เพิ่มเติมจากที่ได้ทำการสอบสวนไว้แล้วแก่จำเลย และจำเลยได้ทราบข้อหาแล้วปรากฏตามบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมลงวันที่ 15 มกราคม 2534กรณีจึงมีเหตุอันควร โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องในความผิดฐานขับรถยนต์โดยประมาท เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 ได้ และศาลมีอำนาจที่จะลงโทษจำเลยในความผิดดังกล่าวได้ เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพว่าได้กระทำผิดตามฟ้องดังกล่าวข้างต้นแล้ว จำเลยจะฎีกาว่าผู้ตายถึงแก่ความตายด้วยโรคประจำตัวมิใช่เกิดจากการขับรถโดยประมาทของจำเลย ทั้งจำเลยมิได้ขับรถโดยประมาท แต่เหตุเกิดขึ้นเพราะความผิดของฝ่ายผู้ตายเองหาได้ไม่เพราะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การรับสารภาพไว้แล้วทั้งยังเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้น ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 149
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1746/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขฟ้องเพิ่มข้อหาขับรถประมาทจนผู้อื่นถึงแก่ความตาย และการรับสารภาพที่ผูกพันตามกฎหมาย
เดิมโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้เสียหายรับอันตรายสาหัส ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 ระหว่างพิจารณา โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องว่า ผู้เสียหายถึงแก่ความตายอันเนื่องมาจากการขับรถโดยประมาทของจำเลย ขอให้ลงโทษฐานขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตาย ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 291 โดยมีเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการสอบสวนเพิ่มเติมมาท้ายฎีกาด้วยว่า เมื่อโจทก์ทราบว่าผู้เสียหายถึงแก่ความตายอันเป็นผลสืบเนื่องจากการขับโดยประมาทของจำเลย โจทก์ได้มีหนังสือลงวันที่ 10 มกราคม 2534 และแจ้งข้อหาขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายเพิ่มเติมจากที่ได้ทำการสอบสวนไว้แล้วแก่จำเลย และจำเลยได้ทราบข้อหาแล้วปรากฏตามบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมลงวันที่ 15 มกราคม 2534 กรณีจึงมีเหตุอันควร โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องในความผิดฐานขับรถยนต์โดยประมาท เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 ได้ และศาลมีอำนาจที่จะลงโทษจำเลยในความผิดดังกล่าวได้
เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพว่าได้กระทำผิดตามฟ้องดังกล่าวข้างต้นแล้วจำเลยจะฎีกาว่าผู้ตายถึงแก่ความตายด้วยโรคประจำตัว มิใช่เกิดจากการขับรถโดยประมาทของจำเลย ทั้งจำเลยมิได้ขับรถโดยประมาท แต่เหตุเกิดขึ้นเพราะความผิดของฝ่ายผู้ตายเองหาได้ไม่เพราะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การรับสารภาพไว้แล้ว ทั้งยังเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้น ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249
เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพว่าได้กระทำผิดตามฟ้องดังกล่าวข้างต้นแล้วจำเลยจะฎีกาว่าผู้ตายถึงแก่ความตายด้วยโรคประจำตัว มิใช่เกิดจากการขับรถโดยประมาทของจำเลย ทั้งจำเลยมิได้ขับรถโดยประมาท แต่เหตุเกิดขึ้นเพราะความผิดของฝ่ายผู้ตายเองหาได้ไม่เพราะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การรับสารภาพไว้แล้ว ทั้งยังเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้น ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1744/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยเป็นเจ้าพนักงาน ไม่ใช่ 'พนักงาน' ตาม พ.ร.บ.ความผิดของพนักงานฯ จึงไม่อาจลงโทษได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นเจ้าพนักงานสงเคราะห์ตำแหน่งพนักงานสงเคราะห์ยางจังหวัดสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดตรัง ตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. 2503 ได้ยักยอกปุ๋ยของกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ซึ่งอยู่ในอำนาจจัดการดูแลรักษาของจำเลยตามหน้าที่ไปเป็นประโยชน์ของจำเลย ขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐพ.ศ. 2502 มาตรา 4 แต่ตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวให้บทวิเคราะห์ศัพท์คำว่า "พนักงาน" ไว้หมายถึง บุคคลต่าง ๆตามที่ระบุไว้ ทั้งนี้นอกจากผู้เป็นเจ้าพนักงานอยู่แล้วตามกฎหมายเมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานสงเคราะห์ตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. 2503 จำเลยย่อมเป็นเจ้าพนักงานอยู่แล้วตามกฎหมายจึงไม่เป็นพนักงานตามความหมายของพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐพ.ศ. 2502 ลงโทษจำเลยตามฟ้องไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1744/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงาน vs. พนักงาน: การพิจารณาความผิดตาม พ.ร.บ.พนักงานรัฐ การตีความคำว่า 'พนักงาน' ที่จำกัดเฉพาะผู้ไม่อยู่ในฐานะเจ้าพนักงาน
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานสงเคราะห์ตามพ.ร.บ. กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางฯ จำเลยย่อมเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย เมื่อโจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐฯ มาตรา 4 เพียงอย่างเดียวซึ่ง พ.ร.บ.ฉบับหลังนี้ให้บทวิเคราะห์ศัพท์คำว่า "พนักงาน" หมายถึงบุคคลต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ ทั้งนี้นอกจากผู้เป็นเจ้าพนักงานอยู่แล้วตามกฎหมาย เมื่อจำเลยเป็นเจ้าพนักงานอยู่แล้วตามกฎหมายจำเลยจึงไม่เป็นพนักงานตามความหมายของ พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐฯ จึงไม่อาจลงโทษจำเลยตามฟ้องได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1744/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดความ 'พนักงาน' ในความผิดของพนักงานรัฐ: เจ้าพนักงานไม่อยู่ในข่าย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นเจ้าพนักงานสงเคราะห์ตำแหน่งพนักงานสงเคราะห์ยางจังหวัด สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดตรัง ตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางพ.ศ. 2503 ได้ยักยอกปุ๋ยของกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางซึ่งอยู่ในอำนาจจัดการดูแลรักษาของจำเลยตามหน้าที่ไปเป็นประโยชน์ของจำเลย ขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 4 เพียงอย่างเดียว แต่ตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวให้บทวิเคราะห์ศัพท์คำว่า "พนักงาน" ไว้หมายถึง บุคคลต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ทั้งนี้นอกจากผู้เป็นเจ้าพนักงานอยู่แล้วตามกฎหมาย เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานสงเคราะห์ตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. 2503 จำเลยย่อมเป็นเจ้าพนักงานอยู่แล้วตามกฎหมาย จึงไม่เป็นพนักงานตามความหมายของพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 ดังนั้นจึงไม่อาจลงโทษจำเลยตามฟ้องของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1636/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการคิดดอกเบี้ยตามคำฟ้อง: ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาให้คิดดอกเบี้ยเฉพาะส่วนที่ฟ้องร้อง
จำเลยฎีกาว่า โจทก์ฟ้องขอคิดดอกเบี้ยจากจำเลยถึงวันฟ้องเพียง 5 ปีมิได้คิดเป็นเวลา 5 ปี 7 เดือนตามที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยชำระให้โจทก์ปัญหานี้แม้ว่าในชั้นอุทธรณ์จำเลยมิได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวไว้ ซึ่งถือเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ แต่เนื่องจากเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยจึงยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอ้างอิงในชั้นฎีกาได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 โจทก์ฟ้องขอเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยถึงวันฟ้องเพียง 5 ปีเป็นเงิน 90,000 บาท แต่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยให้โจทก์นับจากวันที่ 1 เมษายน 2535 จนกว่าจะชำระเงินให้โจทก์เสร็จ ซึ่งเมื่อนับถึงวันฟ้องเป็นระยะเวลาเกินกว่า5 ปีนั้น เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1410/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานปล้นทรัพย์หลายกรรมต่างกัน ร่วมกันกระทำความผิด มีอาวุธ ร่วมขู่เข็ญบังคับ
คนร้าย 5 คน มีปืนเป็นอาวุธเข้าทำการปล้นทรัพย์ของ ป.ที่บ้านพักของ ป. ได้เงินสดและทรัพย์สินไปจำนวนหนึ่ง แล้วคนร้ายขู่บังคับ ป. ให้เดินไปกับคนร้ายไปทำการปล้นทรัพย์ที่บ้านของ จ.ซึ่งอยู่ห่างบ้านของ ป.ประมาณ 3 เส้น ได้ทรัพย์ของ จ.ทั้งเงินสดและทรัพย์สินอื่น ๆ หลายรายการ แล้วคนร้ายพากันออกจากบ้านของ จ.ไปปล้นทรัพย์ของ ผ.ที่บ้านพักของผ.ได้เงินสดและทรัพย์สินอีกจำนวนหนึ่ง ดังนี้ การกระทำผิดของคนร้ายเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน