คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
มานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 254 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1928/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รับของโจรสุจริต - ไม่ต้องคืนทรัพย์สิน - ผู้เสียหายไม่เสนอราคา
พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานรับของโจรและให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์แก่โจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหาย เมื่อศาลฟังว่าจำเลยรับซื้อสินค้าไว้โดยสุจริตไม่รู้ว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำผิดฐานฉ้อโกงและพิพากษายกฟ้อง โจทก์ร่วมมิได้เสนอราคาสินค้าให้จำเลย จำเลยจึงไม่ต้องคืนหรือใช้ราคาสินค้านั้นแก่โจทก์ร่วมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1332

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1928/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รับของโจร – สุจริต – ไม่รู้ว่าเป็นของชำรุด – ไม่ต้องคืนของ
จำเลยรับซื้อสินค้าไว้โดยไม่มีพฤติการณ์ใดส่อให้เห็นว่าเป็นการรับซื้อไว้โดยรู้ว่าเป็นสินค้าที่ ร. ฉ้อโกงมาจากโจทก์ร่วม เป็นการซื้อไว้โดยสุจริตย่อมไม่เป็นความผิดฐานรับของโจร การที่จำเลยรับซื้อสินค้าของโจทก์ร่วมไว้จาก ร.พนักงานขายของโจทก์ร่วมถือได้ว่าเป็นการซื้อสินค้าไว้จาก ร.ผู้ขายสินค้าชนิดนั้น เมื่อจำเลยซื้อมาโดยสุจริตและไม่ปรากฎว่าโจทก์ร่วมเสนอชดใช้ราคาให้ จำเลยจึงไม่จำต้องคืนสินค้าของกลางหรือชดใช้ราคาสินค้านั้นให้แก่โจทก์ร่วม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1691/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกเงินค่าซื้อข้าว: การฟ้องเรียกเงินคืนเนื่องจากส่งมอบข้าวน้อยกว่าจำนวนที่ตกลงกัน ไม่ใช่ข้อบกพร่องของทรัพย์
โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าซื้อข้าวบางส่วนคืนโดยอ้างว่าจำเลยส่งมอบข้าวน้อยกว่าจำนวนที่ตกลงกัน มิใช่ฟ้องในข้อรับผิดเพื่อการที่ทรัพย์ขาดตกบกพร่องหรือล้ำจำนวน ดังนั้นจึงนำอายุความตามมาตรา 467 มาปรับมิได้ การฟ้องเรียกเงินคืนในกรณีนี้มิได้มีอายุความกำหนดไว้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1675/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกาให้แบ่งทรัพย์มรดกโดยการขายทอดตลาด แม้ผู้จัดการมรดกจะคัดค้าน
ศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดให้แบ่งทรัพย์มรดกที่พิพาทถ้าตกลงแบ่งกันไม่ได้ให้ประมูลขายระหว่างทายาทหรือขายทอดตลาด เอาเงินแบ่งกันตามส่วน คำพิพากษาของศาลฎีกาย่อมผูกพันโจทก์ เมื่อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันเป็นทรัพย์มรดกที่พิพาท ไม่สามารถตกลงแบ่งกันได้ ดังนี้กรณีต้องบังคับคดีต่อไปตาม คำพิพากษาศาลฎีกานั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1641/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเช็ค: ผู้รับเช็คในฐานะผู้แทนห้างหุ้นส่วน ไม่มีอำนาจเป็นผู้เสียหาย
โจทก์ร่วมได้รับเช็คพิพาทจากจำเลยในฐานะเป็นผู้แทน ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ไม่ใช่ฐานะส่วนตัว โจทก์ร่วมในฐานะส่วนตัวจึงไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจร้องทุกข์พนักงานอัยการโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง และโจทก์ร่วมไม่มีอำนาจเข้าร่วมเป็นโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1554/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีค้ำประกัน เริ่มนับจากวันผิดนัดของผู้ค้ำประกัน
จำเลยที่ 1 ทุจริตยักยอกเงินของโจทก์ที่จำเลยที่ 1 ไปเก็บจากลูกค้าเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2526 วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2526 และวันที่ 6 กรกฎาคม 2526 รวมเป็นเงิน 28,989.20 บาท จำเลยที่ 1ได้ชื่อว่าผิดนัดตั้งแต่วันดังกล่าว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 206 โจทก์จึงอาจเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1ต่อโจทก์รับผิดใช้เงินดังกล่าวนับแต่วันเกิดเหตุตามมาตรา 686อันเป็นวันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ อายุความจึงเริ่มนับแต่วันนั้นมิใช่เริ่มนับตั้งวันที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์เมื่อนับถึงวันฟ้องยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1360/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขาดนัดพิจารณาคดี: ศาลจำหน่ายคดีถูกต้อง โจทก์ขอพิจารณาใหม่มิได้ มีสิทธิฟ้องใหม่เท่านั้น
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเพราะเหตุที่คู่ความทั้งสองฝ่ายขาดนัดพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 200 การที่โจทก์ร้องขอให้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปหรือขอให้ศาลนัดสืบพยานจำเลยต่อไป โดยอ้างเหตุว่าโจทก์ไม่จงใจขาดนัดก็คือการขอให้ศาลพิจารณาคดีใหม่นั่นเอง คำว่า "ขาดนัดพิจารณา" ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 200 ต้องถือตามมาตรา 197 วรรคสอง ถ้าคู่ความไม่มาศาลในวันสืบพยานโดยมิได้ขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องเสียก่อนลงมือสืบพยานมาตรา 197 วรรคสอง ให้ถือว่าคู่ความฝ่ายนั้นขาดนัดพิจารณาโดยไม่มีข้อที่ศาลจะต้องพิจารณาว่าคู่ความฝ่ายนั้นขาดนัดพิจารณาโดยจงใจหรือไม่ เพราะการขาดนัดโดยจงใจหรือไม่ จะกล่าวอ้างได้เฉพาะเมื่อมีการพิจารณาฝ่ายเดียวและมีการขอให้พิจารณาคดีใหม่เท่านั้น เมื่อโจทก์และจำเลยขาดนัดพิจารณาตามมาตรา 197 วรรคสองและศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีตามมาตรา 200 เสร็จสิ้นไปแล้วย่อมไม่มีการพิจารณาฝ่ายเดียวอันจะทำให้โจทก์มีสิทธิขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้ สิทธิของโจทก์มีอยู่ทางเดียวตามมาตรา 200 วรรคสอง คือฟ้องคดีใหม่ภายในอายุความเท่านั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1057/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกอบธุรกิจจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต: โจทก์ต้องพิสูจน์การกระทำที่เป็นธุรกิจจัดหางาน
โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันประกอบธุรกิจจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาตโจทก์ต้องนำพยานหลักฐานมาสืบให้ศาลเห็นว่าจำเลยทั้งสองกระทำการอันเป็นการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการจัดหางาน เช่น หนังสือติดต่อกับผู้ว่าจ้างในต่างประเทศหรือตัวแทน หรือดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อส่งคนหางานไปทำงานในต่างประเทศ เมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานดังกล่าวมาสืบก็ฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 951/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องอาญาที่อ้างกฎกระทรวงผิดฉบับ ไม่ทำให้ฟ้องไม่สมบูรณ์ ศาลมีอำนาจแก้ไขได้
การที่โจทก์อ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดมาถูกต้อง แต่อ้างกฎกระทรวงฉบับที่ถูกยกเลิกมาในคำขอท้ายฟ้องนั้น เป็นเรื่องที่โจทก์อ้างกฎกระทรวงผิดฉบับไปเท่านั้นกฎกระทรวงฉบับต่าง ๆ มิใช่มาตราในกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(6) ฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 894/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำพินัยกรรมโดยพิมพ์ลายนิ้วมือ พยานต้องลงลายมือชื่อต่อหน้าผู้ทำพินัยกรรม เพื่อให้พินัยกรรมมีผลสมบูรณ์
อ.ทำพินัยกรรมโดยพิมพ์ลายนิ้วมือต่อหน้าค. และ ล.พร้อมกัน ส่วน บ. ลงชื่อเป็นพยานในพินัยกรรมภายหลัง เมื่อ ค.และ ล. ลงลายมือชื่อในฐานะพยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือของ อ.ในขณะที่ทำพินัยกรรมแล้ว พินัยกรรมจึงมีพยานครบ 2 คน มีผลสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1656.
of 26