คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
มานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 254 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2055/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: การจำกัดสิทธิการโอนเช็คโดยผู้สั่งจ่าย และผลต่อการเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบ
เช็คพิพาทจำเลยที่ 1 สั่งธนาคารคือจำเลยที่ 4 ให้จ่ายเงินแก่จำเลยที่ 2 หรือผู้ถือ โดยจำเลยที่ 1 ได้ขีดคร่อมและพิมพ์ข้อความว่าA/CPAYEEONLY อันได้ความเป็นทำนองเดียวกับเปลี่ยนมือไม่ได้ลงไว้ที่ด้านหน้าเช็ค แม้จำเลยที่ 1 ไม่ได้ขีดฆ่าคำว่า หรือผู้ถือ ออกจำเลยที่ 2 ซึ่งมีชื่อเป็นผู้รับเงินหรือผู้ทรงก็จะต้องผูกพันตามข้อกำหนดของจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 917วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 989 จำเลยที่ 2 จะโอนเช็คพิพาทให้โจทก์ด้วยการสลักหลังและส่งมอบในฐานะเป็นผู้รับเงินหรือโอนโดยการส่งมอบในฐานะผู้ถือไม่ได้เพราะมาตรา 917 วรรคสอง บัญญัติให้โอนกันได้แต่โดยรูปการและด้วยผลอย่างการโอนสามัญเพียงวิธีเดียวเพื่อการโอนไม่สมบูรณ์โจทก์จึงไม่ใช่ผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมายที่จะใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่าย โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1993/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายลดเช็คทางวาจาผูกพันจำเลย, อำนาจฟ้องอยู่ที่การรับซื้อ, ดอกเบี้ยเกินกฎหมายต้องมีข้อกฎหมายอ้าง
สัญญาขายลดเช็คกฎหมายมิได้บังคับให้ทำหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ การที่จำเลยที่ 2 กรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 เจรจาตกลงขายลดเช็คแก่โจทก์ในนามของจำเลยที่ 1 ด้วยวาจาย่อมมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 โจทก์รับซื้อลดเช็คจากจำเลยที่ 1 อำนาจฟ้องของโจทก์จึงอยู่ที่ว่าโจทก์มีวัตถุประสงค์ในการรับซื้อลดเช็คหรือไม่ ข้อฎีกาของจำเลยที่ 3 ที่ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะโจทก์มีวัตถุประสงค์ในการขายลดเช็คไม่อาจนำมาปรับแก่กรณีตามคำฟ้องของโจทก์ได้จึงเป็นข้อฎีกาที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ ที่จำเลยที่ 3 ฎีกาว่าอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 21 ต่อปี ที่กำหนดไว้ในสัญญาขายลดเช็คเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้จึงเสียเปล่าบังคับไม่ได้ แต่จำเลยที่ 3 มิได้ยกบทบัญญัติแห่งกฎหมายมาแสดงโดยชัดแจ้งในฎีกาว่าเป็นกฎหมายอะไร บัญญัติไว้ว่าอย่างไร ฎีกาของจำเลยที่ 3 จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง แม้จำเลยที่ 3 จะฎีกาว่าโจทก์รับซื้อลดเช็คเป็นการประกอบกิจการลักษณะบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์จะคิดดอกเบี้ยเกินอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ไม่ได้ก็เป็นข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1789/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดครองก่อนเป็นป่าสงวนฯ และอำนาจศาลสั่งขับไล่ตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนฯ
จำเลยที่ 1 เข้ายึดถือที่พิพาทก่อนที่ทางราชการจะกำหนดให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติ จำเลยที่ 1 จึงไม่มีเจตนากระทำผิด คำขอให้จำเลยที่ 1 และบริวารออกจากเขตป่าสงวนแห่งชาติ ที่ยึดถือครอบครองเป็นคำขอในวิธีการอุปกรณ์ของโทษ ตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 31 วรรคท้าย เมื่อศาลมิได้พิพากษาว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดตามบทมาตราดังกล่าว ศาลจึงไม่มีอำนาจสั่งตามที่โจทก์ขอได้ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 1 ไม่ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1767/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรังวัดที่ดินตามสัญญาประนีประนอมยอมความต้องอาศัยแผนที่พิพาทเป็นหลัก แม้มีการกันที่ดินเป็นทางสาธารณประโยชน์
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความระบุว่าโจทก์จำเลยตกลงกันให้ถือเอาแผนที่พิพาทเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาประนีประนอมยอมความนี้ด้วยดังนั้นการรังวัดแบ่งที่พิพาท จึงต้องปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวโดยอาศัยแผนที่พิพาทเป็นหลักในการรังวัด สัญญาประนีประนอมยอมความระบุว่า จำเลยยอมแบ่งแยกที่ดินพิพาทตามเส้นประสีม่วงทั้งหมด กับส่วนที่เป็นเครื่องหมาย////// ที่ปรากฏในแผนที่พิพาทแก่โจทก์ แต่มิได้กำหนดในสัญญาประนีประนอมยอมความให้ชัดว่าจะต้องวัดจากตรงจุดใดของเครื่องหมายดังกล่าว ทั้งมิได้กำหนดว่าต้องวัดจากทางทิศใดไปทิศใดและมีความยาวเท่าใด ครั้นโจทก์จำเลยนำเจ้าพนักงานที่ดินไปทำการรังวัดตามคำสั่งศาล จึงปรากฏว่าเจ้าพนักงานที่ดินได้กันที่ดินส่วนหนึ่งซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของที่พิพาทไว้เป็นทางสาธารณประโยชน์ โจทก์จึงนำรังวัดจากจุดที่เจ้าพนักงานที่ดินกันไว้ไปทางทิศเหนือ มีความยาว 15.16 เมตรเป็นเหตุให้จำเลยไม่ยินยอม ศาลชั้นต้นนัดโจทก์จำเลยมาสอบถามโจทก์ยอมรับว่าได้นำเจ้าพนักงานที่ดินทำการรังวัดจากจุดดังกล่าวซึ่งไม่ตรงตามแผนที่พิพาทจริง และโจทก์จำเลยยอมรับกันว่าความจริงต้องวัดจากจุดซึ่งเป็นเสาหน้าบ้านต้นแรกซึ่งอยู่ริมทางสาธารณประโยชน์ไปทางทิศเหนือ 15.16 เมตร และโจทก์จำเลยได้ตกลงกันนำเจ้าพนักงานที่ดินไปทำการรังวัดใหม่ให้ตรงตามแผนที่พิพาทข้อตกลงของโจทก์จำเลยเช่นนี้เป็นที่เห็นได้ว่าเป็นการเน้นเพื่อให้ทราบแน่ว่าการรังวัดใหม่จะต้องเริ่มวัดจากจุดใดไปทางทิศใดและมีความยาวเท่าใด ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นนัดโจทก์จำเลยมาสอบถามและตกลงกันดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นการทำความเข้าใจระหว่างโจทก์จำเลยให้ถูกต้องตรงต่อความเป็นจริงในสัญญาประนีประนอมยอมความหาใช่เป็นข้อตกลงใหม่หรือเพิ่มเติมแก้ไขสัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลพิพากษาตามยอมแล้วไม่ และแม้เจ้าพนักงานที่ดินได้กันที่ดินทางด้านทิศใต้ไว้เป็นทางสาธารณประโยชน์อย่างไรก็ไม่ผูกพันคู่ความคดีนี้และไม่มีผลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลพิพากษาคดีไปตามยอมแล้วได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1543/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวมในที่ดินมรดก การเพิกถอนสัญญาเช่าซื้อที่ไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวม
เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่กรรมที่ดินเฉพาะส่วนของเจ้ามรดกจึงเป็นมรดกตกแก่โจทก์ทั้งสองและจำเลยที่ 1 กับบุตรคนอื่นรวม 8 คนซึ่งเป็นทายาท การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของรวมในที่ดินโฉนดดังกล่าวครอบครองที่ดินต่อมา ต้องถือว่าครอบครองแทนโจทก์ทั้งสองและทายาทคนอื่น จะครอบครองนานเท่าใดก็หาตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 แต่ผู้เดียวไม่ คำสั่งศาลในคดีแพ่งที่แสดงว่าจำเลยที่ 1 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินเฉพาะส่วนของเจ้ามรดกไม่ผูกพันโจทก์ทั้งสอง ฉะนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 นำที่ดินโฉนดดังกล่าวทั้งแปลงไปให้จำเลยที่ 2 เช่าซื้อ โดยโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าของรวมมิได้ยินยอมด้วยจึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1361 วรรคสอง แม้จำเลยที่ 2 จะทำสัญญาเช่าซื้อกับจำเลยที่ 1 โดยสุจริตสัญญานั้นก็ไม่ผูกพันโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาเช่าซื้อในส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ของตนได้ แม้โจทก์ทั้งสองกำลังฟ้องเรียกที่ดินจากจำเลยที่ 1 และศาลยังมิได้มีคำพิพากษาในขณะที่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้ก็ตามแต่ที่ดินเฉพาะส่วนของเจ้ามรดกย่อมตกทอดแก่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทนับแต่เวลาที่เจ้ามรดกตาย โจทก์ทั้งสองจึงได้กรรมสิทธิ์รวมในที่ดินดังกล่าวนับแต่เวลานั้นเป็นต้นมาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599 มิใช่นับแต่วันมีคำพิพากษาโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1543/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวมในมรดก การเพิกถอนสัญญาเช่าซื้อที่ดินเฉพาะส่วนของเจ้ามรดก
เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่กรรมที่ดินเฉพาะส่วนของเจ้ามรดกจึงเป็นมรดกตกแก่โจทก์ทั้งสองและจำเลยที่ 1 กับบุตรคนอื่นรวม 8 คน ซึ่งเป็นทายาทการที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของรวมในที่ดินดังกล่าวครอบครองที่ดินต่อมา ถือว่าครอบครองแทนโจทก์ทั้งสองและทายาทคนอื่น แม้จะครอบครองนานเท่าใดก็หาตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 แต่ผู้เดียวไม่ คำสั่งศาลในคดีแพ่งที่แสดงว่าจำเลยที่ 1 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินเฉพาะส่วนของเจ้ามรดกไม่ผูกพันโจทก์ทั้งสองฉะนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 นำที่ดินดังกล่าวทั้งแปลงไปให้จำเลยที่ 2 เช่าซื้อ โดยโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าของรวมมิได้ยินยอมด้วยจึงเป็นการไม่ชอบด้วย ป.พ.พ.มาตรา 1361 วรรคสอง แม้จำเลยที่ 2 จะทำสัญญาเช่าซื้อกับจำเลยที่ 1 โดยสุจริตสัญญานั้นก็ไม่ผูกพันโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาเช่าซื้อในส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ของตนได้ แม้โจทก์ทั้งสองกำลังฟ้องเรียกที่ดินจากจำเลยที่ 1และศาลยังมิได้มีคำพิพากษาในขณะที่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้ก็ตาม แต่ที่ดินเฉพาะส่วนของเจ้ามรดกย่อมตกทอดแก่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทนับแต่เวลาที่เจ้ามรดกตายโจทก์ทั้งสองจึงได้กรรมสิทธิ์รวมในที่ดินดังกล่าวนับแต่เวลานั้นเป็นต้นมาตาม ป.พ.พ.มาตรา 1599 มิใช่นับแต่วันมีคำพิพากษา โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1542/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวมในที่ดินมรดก: การครอบครองแทนทายาทอื่นไม่อาจทำให้กรรมสิทธิ์ตกเป็นของตนได้
จ.มิได้ยกที่ดินมีโฉนดเฉพาะส่วนของตนให้จำเลย เมื่อ จ.ถึงแก่กรรมที่ดินดังกล่าวจึงเป็นมรดกตกได้แก่ทายาทคือ โจทก์ทั้งสองและจำเลยกับบุตรคนอื่นรวม 8 คน การที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมในที่ดินโฉนดดังกล่าวได้ครอบครองที่ดินแปลงนั้นต่อมาหลังจาก จ.ถึงแก่กรรม ถือได้ว่าจำเลยได้ครอบครองแทนโจทก์ทั้งสองและทายาทคนอื่นของ จ.ด้วย แม้จำเลยจะครอบครองที่ดินแปลงนั้นมานานเท่าใด ที่ดินแปลงนั้นก็หาได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยแต่ผู้เดียวไม่ โจทก์ทั้งสองและทายาทอื่นของ จ.ย่อมมีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินเฉพาะส่วนของ จ.อยู่คนละ 1 ใน 8 ส่วน คำสั่งศาลที่แสดงว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินเฉพาะส่วนของ จ. จึงไม่ผูกพันโจทก์ทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1542/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ มรดกตกทอดและการครอบครองแทนกัน: กรรมสิทธิ์รวมในที่ดินหลังการเสียชีวิตของผู้ให้
จ.มิได้ยกที่ดินมีโฉนดเฉพาะส่วนของตนให้จำเลยเมื่อจ.ถึงแก่กรรมที่ดินดังกล่าวจึงเป็นมรดกตกได้แก่ทายาทคือ โจทก์ทั้งสองและจำเลยกับบุตรคนอื่นรวม 8 คนการที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมในที่ดินโฉนดดังกล่าวได้ครอบครองที่ดินแปลงนั้นต่อมาหลังจากจ.ถึงแก่กรรมถือได้ว่าจำเลยได้ครอบครองแทนโจทก์ทั้งสองและทายาทคนอื่นของจ.ด้วย แม้จำเลยจะครอบครองที่ดินแปลงนั้นมานานเท่าใดที่ดินแปลงนั้นก็หาได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยแต่ผู้เดียวไม่โจทก์ทั้งสองและทายาทอื่นของ จ.ย่อมมีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินเฉพาะส่วนของจ.อยู่คนละ 1 ใน 8 ส่วน คำสั่งศาลที่แสดงว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินเฉพาะส่วนของ จ.จึงไม่ผูกพันโจทก์ทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1425/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโต้แย้งคำสั่งศาลกำหนดประเด็นข้อพิพาทและการกำหนดหน้าที่นำสืบ สิทธิอุทธรณ์มาตรา 226(2) มิใช่คำร้องมาตรา 27
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ โจทก์เห็นว่าศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไม่ถูกต้อง โจทก์จึงยื่นคำร้องโต้แย้งคัดค้านคำสั่งและขอให้กำหนดประเด็นข้อพิพาทและกำหนดหน้าที่นำสืบใหม่ คำร้องโต้แย้งคัดค้านของโจทก์ เป็นการโต้แย้งคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นเพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2)กรณีมิใช่คำร้องที่จะต้องยื่นภายใน 8 วัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1425/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโต้แย้งคำสั่งศาลชี้สองสถาน: คำร้องแก้ไขประเด็นข้อพิพาทไม่ใช่คำร้องตามมาตรา 27(2)
ศาลชั้นต้นชี้สองสถานกำหนดให้โจทก์มีหน้าที่นำสืบก่อนโดยไม่ชอบวันนัดสืบพยานโจทก์โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นกำหนดหน้าที่นำสืบใหม่โดยให้จำเลยเป็นฝ่ายนำสืบก่อน ดังนี้ ถือได้ว่าคำร้องของ โจทก์ดังกล่าวเป็นคำโต้แย้งคัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นที่กำหนดประเด็นข้อพิพาทโดยไม่ชอบตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 226(2) เพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์ มิใช่คำร้องที่จะต้องยื่นต่อศาลภายใน 8 วันตามมาตรา 27 วรรคสอง
of 26