คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
มานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 254 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3896/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับในสัญญาจะซื้อขาย: สิทธิของเจ้าหนี้ในการเรียกร้องค่าเสียหายเพิ่มเติมจากเบี้ยปรับ
จำเลยที่ 1 ที่ 2 ทำสัญญาจะขายที่ดินให้โจทก์ โดยมีข้อตกลงว่าถ้าจำเลยผิดสัญญายอมให้โจทก์ฟ้องศาลบังคับให้เป็นไปตามสัญญา กับยอมใช้ค่าเสียหายให้โจทก์เป็นเงินจำนวนหนึ่งอีกส่วนหนึ่งด้วย ค่าเสียหายเช่นนี้ถือได้ว่าเป็นเบี้ยปรับซึ่งกำหนดไว้ในสัญญา และเป็นเบี้ยปรับซึ่งลูกหนี้สัญญาจะให้เมื่อตนไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควร เมื่อจำเลยทั้งสองผิดสัญญาโอนที่ดินให้แก่จำเลยที่ 3 ไป นอกจากโจทก์จะเรียกให้โอนที่ดินเป็นการชำระหนี้ได้แล้ว โจทก์ยังมีสิทธิเรียกเอาเบี้ยปรับตามสัญญาจากจำเลยได้ด้วย ทั้งหากโจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในมูลชำระหนี้ไม่ถูกต้องสมควร โจทก์จะเรียกเอาเบี้ยปรับอันจะพึงริบในฐานเป็นจำนวนน้อยที่สุดแห่งค่าเสียหายกับมีสิทธิพิสูจน์ค่าเสียหายยิ่งกว่านั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3717/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดในการเปลี่ยนแปลงฐานแห่งข้อฟ้องในชั้นฎีกา: สิทธิภารจำยอมโดยอายุความ
โจทก์บรรยายฟ้องโดยมีข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเพียงว่าจำเลยยินยอมให้โจทก์ใช้ที่ดินเป็นทางภารจำยอมไปสู่ทางสาธารณะแล้วต่อมาจำเลยปิดกั้นทางเดิน ขอให้บังคับจำเลยเปิดทางและจดทะเบียนเป็นภารจำยอมเท่านั้น ฉะนั้น การที่โจทก์ฎีกาว่าได้สิทธิภารจำยอมมาโดยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401 จึงเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3704/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ ผู้ครอบครองมีสิทธิเหนือทายาทเจ้าของเดิม แม้มีการจดทะเบียนโอน
เจ้าของเดิมยกที่พิพาทให้ผู้ร้องทั้งสอง ผู้ร้องทั้งสองเข้าครอบครองโดยเจตนายึดถือเพื่อตนมิใช่ในฐานะผู้อาศัย จึงไม่จำต้องบอกกล่าวแสดงเจตนาเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือไปยังเจ้าของเดิม เมื่อผู้ร้องทั้งสองได้เข้าครอบครองโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตั้งแต่ พ.ศ.2503 ติดต่อกันตลอดมา ถือได้ว่าเป็นการครอบครองปรปักษ์ในที่พิพาท นับแต่นั้นจนถึงวันยื่นคำร้องขอรวมเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี แล้ว ย่อมได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ส่วนผู้คัดค้านเป็นทายาทผู้รับโอนมรดกที่พิพาท มิใช่บุคคลภายนอกผู้ได้รับกรรมสิทธิ์มาโดยเสียค่าตอบแทน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสองการจดทะเบียนรับโอนที่พิพาทของผู้คัดค้าน จึงไม่เป็นการตัดสิทธิการได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทของผู้ร้องทั้งสอง และแม้ผู้ร้องทั้งสองมิได้คัดค้านการจดทะเบียนรับโอนมรดกที่พิพาท แต่ไม่ปรากฏว่าผู้ร้องทั้งสองได้ทราบหรือให้ความยินยอมด้วย จะถือว่าผู้ร้องทั้งสองรับรองกรรมสิทธิ์ของผู้คัดค้านแล้วย่อมมิได้ ผู้ร้องทั้งสองมีสิทธิในที่พิพาทดีกว่าผู้คัดค้าน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3704/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ แม้ผู้รับโอนมรดกจดทะเบียน แต่สิทธิครอบครองเดิมยังคงอยู่
เจ้าของเดิมยกที่พิพาทให้ผู้ร้องทั้งสอง ผู้ร้องทั้งสองเข้าครอบครองโดยเจตนายึดถือเพื่อตนมิใช่ในฐานะผู้อาศัย จึงไม่จำต้องบอกกล่าวแสดงเจตนาเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือไปยังเจ้าของเดิม เมื่อผู้ร้องทั้งสองได้เข้าครอบครองโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตั้งแต่ พ.ศ. 2503 ติดต่อกันตลอดมา ถือได้ว่าเป็นการครอบครองปรปักษ์ในที่พิพาท นับแต่นั้นจนถึงวันยื่นคำร้องขอรวมเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี แล้ว ย่อมได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 ส่วนผู้คัดค้านเป็นทายาทผู้รับโอนมรดกที่พิพาทมิใช่บุคคลภายนอกผู้ได้รับกรรมสิทธิ์มาโดยเสียค่าตอบแทน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสอง การจดทะเบียนรับโอนที่พิพาทของผู้คัดค้าน จึงไม่เป็นการตัดสิทธิการได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทของผู้ร้องทั้งสอง และแม้ผู้ร้องทั้งสองมิได้คัดค้านการจดทะเบียนรับโอนมรดกที่พิพาท แต่ไม่ปรากฏว่าผู้ร้องทั้งสองได้ทราบหรือให้ความยินยอมด้วย จะถือว่าผู้ร้องทั้งสองรับรองกรรมสิทธิ์ของผู้คัดค้านแล้วย่อมมิได้ ผู้ร้องทั้งสองมีสิทธิในที่พิพาทดีกว่าผู้คัดค้าน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3554/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เพิกถอนนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินหลังมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ คดีไม่ขาดอายุความ
เดิมศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาคดีถึงที่สุดให้จำเลยที่ 1จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ หากไม่ปฏิบัติให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 1 ในกรณีที่ไม่อาจจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านได้เพราะสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้กระทำได้โดยเหตุสุดวิสัย ให้จำเลยที่ 1 คืนเงิน 30,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยให้โจทก์ ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้ขอวางเงินจำนวน 30,000บาท พร้อมดอกเบี้ยต่อศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวแทนการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ แล้วจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทให้จำเลยที่ 2 โจทก์จึงฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 ถือได้ว่าเป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 โดยโจทก์เป็นผู้ที่อยู่ในฐานะอันจะให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทให้โจทก์ได้ก่อนตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นในคดีนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 ถึงแม้โจทก์จะฟ้องคดีนี้เกิน 1 ปี ก็ไม่อยู่ในบังคับอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 240 คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ คดีเดิมศาลชั้นต้นได้พิพากษาคดีถึงที่สุดแล้วว่า ให้จำเลยที่ 1จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทให้โจทก์ ดังนั้น โจทก์จะขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาดังกล่าวได้เพียงใดหรือไม่ เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องไปร้องขอให้บังคับคดีในคดีนั้น จะมาร้องขอให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทให้โจทก์ในคดีนี้ซ้ำอีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3545/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการขายฝากที่ดิน: เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริงและผลของการบังคับคดีที่ถูกต้อง
ศ. ปลูกสร้างตึกแถวพิพาทในที่ดินโดยมีข้อสัญญากับ น.ว่าเมื่อก่อสร้างเสร็จและ ศ. ได้รับเงินช่วยค่าก่อสร้างจากผู้เช่า ศ. จะยกตึกแถวพิพาทให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่ น.เมื่อขณะปลูกสร้างจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินร่วมกับ น.ในขณะนั้น รู้เห็นยินยอมให้ น. ทำสัญญาดังกล่าว ต้องถือว่า น.มีสิทธิที่จะให้ก่อสร้างตึกแถวในที่ดินส่วนที่เป็นของจำเลยที่ 1ได้โดยไม่ถือว่าตึกแถวพิพาทเป็นส่วนควบของที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 109 เมื่อ ศ. ก่อสร้างตึกแถวพิพาทเสร็จและจดทะเบียนยกกรรมสิทธิ์ให้ น. น.จึงเป็นเจ้าของตึกแถวพิพาทแต่เพียงผู้เดียว เมื่อ น. ถึงแก่กรรมและทำพินัยกรรมยกตึกแถวพิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์ในตึกแถวพิพาท และจำเลยที่ 1 ซึ่งไม่ใช่เจ้าของตึกแถวพิพาทไม่มีอำนาจทำสัญญาขายฝากนิติกรรมขายฝากตึกแถวพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยร่วมจึงไม่มีผลบังคับ จำเลยร่วมไม่ได้กรรมสิทธิ์ในตึกแถวพิพาท ศาลย่อมมีอำนาจเพิกถอนนิติกรรมขายฝากตึกแถวพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยร่วมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3488/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วัตถุประสงค์ของห้างหุ้นส่วนกับการขายลดเช็ค: การกระทำไม่เกินขอบเขตทางธุรกิจ
ตามหนังสือรับรองการเป็นนิติบุคคลของห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลจำเลยที่ 1 ระบุว่าจำเลยที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบกิจการค้า คือ ขายน้ำมันเบนซิน น้ำมันเครื่อง ฯลฯ การขายลดเช็คเป็นรูปแบบหนึ่งของสัญญาที่เกี่ยวข้องกับการค้าในการหาเงินทุนหมุนเวียนเพื่อใช้จ่ายในกิจการค้า จึงไม่เป็นการนอกเหนือวัตถุประสงค์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3429/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในโฉนดที่ดิน: แม้มีข้ออ้างเป็นทรัพย์มรดก แต่เจ้าของกรรมสิทธิ์ตามโฉนดมีสิทธิเรียกคืนได้
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินมีโฉนดที่ดิน จำเลยเก็บรักษาโฉนดที่ดินไว้ โจทก์ขอโฉนดที่ดินคืน จำเลยไม่ยอมคืนขอให้บังคับจำเลยคืนโฉนดที่ดินให้โจทก์ ดังนี้ เมื่อโฉนดที่ดินมีชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ซึ่งจากข้อความที่ระบุในโฉนดที่ดินได้ความว่า ทางราชการออกโฉนดที่ดินให้ไว้แก่โจทก์ ถือได้ว่าโจทก์เป็นเจ้าของโฉนดที่ดินนั้น ส่วนที่จำเลยให้การว่าที่ดินตามโฉนดที่ดินเป็นทรัพย์มรดกของบิดาของโจทก์จำเลยตกได้แก่โจทก์จำเลยและทายาทอื่นนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกโฉนดที่ดินคืนโดยไม่ได้ขอให้บังคับคดีในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินตามโฉนดที่ดิน และจำเลยก็ไม่ได้ฟ้องแย้งขอให้บังคับคดีในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินตามโฉนดที่ดินนั้นคดีไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าที่ดินตามโฉนดที่ดินเป็นทรัพย์มรดกของบิดาของโจทก์จำเลยตกได้แก่โจทก์จำเลยและทายาทอื่นดังคำให้การของจำเลยหรือไม่ และแม้จะฟังข้อเท็จจริงว่าเป็นดังคำให้การของจำเลย ก็ไม่ทำให้จำเลยมีสิทธิยึดถือเอาโฉนดที่ดินของโจทก์ไว้ เพราะข้ออ้างดังกล่าวเป็นเพียงเหตุที่ทำให้คู่ความอาจไปใช้สิทธิดำเนินการเป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก โจทก์จึงมีสิทธิเรียกโฉนดที่ดินคืนจากจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1336 โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาว่า หากจำเลยไม่ยอมคืนโฉนดที่ดินให้โจทก์ภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งศาลหรือถ้าเป็นการพ้นวิสัยที่จะคืน ขอให้ศาลมีคำสั่งยกเลิกโฉนดที่ดินฉบับเจ้าของที่ดินเดิม แล้วมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนดที่ดินฉบับใหม่แทนให้โจทก์โดยคิดค่าใช้จ่ายจากจำเลยนั้น โจทก์จะขอให้บังคับคดีดังกล่าวไม่ได้เพราะเป็นการขอให้บังคับเจ้าพนักงานที่ดินซึ่งเป็นบุคคลนอกคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3429/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในโฉนดที่ดิน: แม้เป็นทรัพย์มรดก แต่เจ้าของสิทธิย่อมเรียกคืนได้หากไม่ได้ยินยอมให้ครอบครอง
โจทก์ฟ้องเรียกโฉนดที่ดินคืนจากจำเลย โดยไม่ได้ขอให้บังคับคดีในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินตามโฉนดที่ดินดังกล่าว และจำเลยก็ไม่ได้ฟ้องแย้งขอให้บังคับคดีในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินตามโฉนดที่ดินนั้นคดีจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าที่ดินตามโฉนดที่ดินเป็นทรัพย์มรดกของบิดาโจทก์จำเลยตกได้แก่โจทก์ จำเลยและทายาทอื่นดังคำให้การของจำเลย และแม้จะฟังข้อเท็จจริงว่าเป็นดังคำให้การของจำเลยก็ไม่ทำให้จำเลยมีสิทธิยึดถือเอาโฉนดที่ดินของโจทก์ไว้การที่ทางราชการออกโฉนดที่ดินดังกล่าวให้ไว้แก่โจทก์ ถือได้ว่าโจทก์เป็นเจ้าของโฉนดที่ดินนั้นโจทก์มีสิทธิเรียกโฉนดที่ดินคืนจากจำเลยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าหากจำเลยไม่ยอมคืนโฉนดที่ดินให้โจทก์ภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งศาล หรือถ้าเป็นการพ้นวิสัยที่จะคืนขอให้ศาลมีคำสั่งยกเลิกโฉนดฉบับเจ้าของที่ดินเดิมแล้วมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนดฉบับใหม่แทนให้โจทก์โดยคิดค่าใช้จ่ายจากจำเลยนั้นเป็นการขอให้บังคับเจ้าพนักงานที่ดินซึ่งเป็นบุคคลนอกคดี โจทก์ขอให้บังคับคดีดังกล่าวไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3429/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในโฉนดที่ดินเมื่อมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ แม้มีการอ้างเป็นทรัพย์มรดก
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินมีโฉนด จำเลยเก็บรักษาโฉนดไว้ โจทก์ขอโฉนดคืนจากจำเลย จำเลยไม่ยอมคืนให้ ขอให้บังคับจำเลยคืนโฉนดให้โจทก์ ดังนี้ เมื่อโฉนดมีชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ซึ่งจากข้อความที่ระบุในโฉนดได้ความว่า ทางราชการออกโฉนดให้ไว้แก่โจทก์ จึงถือได้ว่าโจทก์เป็นเจ้าของโฉนดนั้น ส่วนที่จำเลยให้การว่าที่ดินตามโฉนดเป็นทรัพย์มรดกของบิดาของโจทก์จำเลยตกได้แก่โจทก์จำเลยและทายาทอื่นนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกโฉนดคืนจากจำเลยโดยไม่ได้ขอให้บังคับคดีในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินตามโฉนด และจำเลยก็ไม่ได้ฟ้องแย้งขอให้บังคับคดีในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินตามโฉนดนั้น คดีไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าที่ดินตามโฉนดเป็นทรัพย์มรดกของบิดาของโจทก์จำเลยตกได้แก่โจทก์จำเลยและทายาทอื่นดังคำให้การของจำเลยหรือไม่ และแม้จะฟังข้อเท็จจริงว่าเป็นดังคำให้การของจำเลย ก็ไม่ทำให้จำเลยมีสิทธิยึดถือเอาโฉนดของโจทก์ไว้ เพราะข้ออ้างดังคำให้การของจำเลยเป็นเพียงเหตุที่ทำให้คู่ความอาจไปใช้สิทธิดำเนินการเป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก โจทก์จึงมีสิทธิเรียกโฉนดคืนจากจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336
โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาว่า หากจำเลยไม่ยอมคืนโฉนดให้โจทก์ภายในกำหนด7 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งศาล หรือถ้าเป็นการพ้นวิสัยที่จะคืน ขอให้ศาลมีคำสั่งยกเลิกโฉนดฉบับเจ้าของที่ดินเดิม แล้วมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนดฉบับใหม่แทนให้โจทก์ โดยคิดค่าใช้จ่ายจากจำเลยนั้น โจทก์จะขอให้บังคับคดีดังกล่าวไม่ได้ เพราะเป็นการขอให้บังคับเจ้าพนักงานที่ดินซึ่งเป็นบุคคลนอกคดี
of 26