คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
มานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 254 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3317/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: การซื้อขายฝากและโมฆะสัญญาที่ดิน - จำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นคู่ความในคดีก่อน
ในคดีก่อนจำเลยที่ 2 เป็นโจทก์ฟ้องขับไล่โจทก์ในคดีนี้ออกจากที่พิพาท จำเลย (โจทก์ในคดีนี้) ให้การต่อสู้คดีโดยยกเหตุผลอย่างเดียวกับที่ฟ้องคดีนี้ ในที่สุดคู่ความได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยโจทก์คดีนี้ยอมซื้อที่พิพาทคืนจากจำเลยที่ 2 ในคดีดังกล่าวจำเลยที่ 1 ไม่ได้เข้ามาเป็นคู่ความด้วย ฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3271/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ และหน้าที่การวางเงินประกันตามมาตรา 234 ว.พ.พ. กรณีศาลรับอุทธรณ์บางส่วน
เมื่อจำเลยที่ 3 ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งไม่รับอุทธรณ์ จำเลยที่ 3 มีหน้าที่ต้องนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาล ซึ่งเป็นกรณีที่จำเลยที่ 3 ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 โดยจะนำวิธีการขอทุเลาการบังคับดังเช่นการยื่นอุทธรณ์คำพิพากษามาใช้บังคับเพื่อให้มีผลว่าจำเลยที่ 3 ไม่ต้องนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลไม่ได้ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 เป็นบทบังคับในกรณีที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์ของผู้อุทธรณ์ทั้งหมดแล้วผู้อุทธรณ์ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งนั้น ผู้อุทธรณ์จึงต้องนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาล แต่ถ้าศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 ไว้บางข้อและไม่รับอุทธรณ์บางข้อ กรณีก็ไม่ต้องด้วยบทกฎหมายดังกล่าว จำเลยที่ 3 จึงยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นได้ โดยไม่จำต้องนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3270/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการพิจารณาคดีเยาวชน กระทำผิดพ.ร.บ.สารระเหย ต้องใช้บทเฉพาะใน พ.ร.บ.นั้น
จำเลยกระทำผิดพระราชกำหนดป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ. 2533มาตรา 17 มีอายุไม่เกิน 17 ปี และไม่ปรากฏว่าเป็นผู้ติดสารระเหยในกรณีเช่นนี้พระราชกำหนดดังกล่าว มาตรา 26(1) ให้ศาลมีอำนาจว่ากล่าวตักเตือนจำเลยแล้วปล่อยตัวไป และถ้าศาลเห็นสมควรจะเรียกบิดามารดา ผู้ปกครองหรือบุคคลที่จำเลยอาศัยอยู่มาตักเตือนด้วยก็ได้ต้องถือว่าพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติวิธีที่จะให้ศาลดำเนินการกับจำเลยไว้โดยเฉพาะแล้ว ศาลจึงนำประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 17,74,75มาใช้บังคับ โดยพิพากษาให้ส่งตัวไปฝึกอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3270/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการดำเนินคดีกับเด็กที่กระทำผิด พ.ร.บ.สารระเหย ต้องเป็นไปตามที่กฎหมายเฉพาะบัญญัติไว้
จำเลยซึ่งกระทำความผิดตามพระราชกำหนดป้องกันการใช้สารระเหยพ.ศ. 2533 มาตรา 17 มีอายุไม่เกิน 17 ปี และไม่ปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้ติดสารระเหย ในกรณีเช่นนี้พระราชกำหนดดังกล่าวมาตรา 26(1) บัญญัติว่า ให้ศาลมีอำนาจดำเนินการคือ ให้ว่ากล่าวตักเตือนจำเลยแล้วปล่อยตัวไป และถ้าศาลเห็นสมควรจะเรียกบิดามารดาผู้ปกครองหรือบุคคลที่จำเลยอาศัยอยู่มาตักเตือนด้วยก็ได้ ดังนี้ต้องถือว่าพระราชกำหนดดังกล่าวได้บัญญัติวิธีที่จะให้ศาลดำเนินการกับจำเลยไว้โดยเฉพาะแล้ว ศาลจึงนำประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 17,74,75 มาใช้บังคับโดยพิพากษาให้ส่งตัวจำเลยไปฝึกอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กมีกำหนด 1 ปีไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3094/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้เช่ารถแท็กซี่กับเจ้าของรถ: ไม่ถือเป็นลูกจ้างหรือตัวแทน
จำเลยที่ 1 เป็นผู้เช่ารถยนต์แท็กซี่คันเกิดเหตุของจำเลยที่ 2ไปรับจ้างผู้โดยสารเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 1 จึงมิใช่ลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 2 ส่วนที่มีกฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 22(พ.ศ. 2527) ออกตามความในพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ข้อ 5(8)บัญญัติว่า ต้องไม่นำรถยนต์รับจ้างของบริษัทจำกัด ไปให้บุคคลอื่นยืมเช่า หรือเช่าซื้อ เว้นแต่ให้เช่าเพื่อประกอบการรับจ้างบรรทุกคนโดยสารนั้นกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวก็มีไว้ใช้บังคับแก่บริษัทจำกัดที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบการรับจ้างบรรทุกคนโดยสารโดยใช้รถยนต์รับจ้าง ไม่ได้ใช้บังคับแก่บุคคลทั่วไป และไม่ใช่เป็นบทบัญญัติที่จะบังคับให้ผู้เช่ารถยนต์ของบริษัทต้องกลายเป็นลูกจ้างของบริษัท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3055/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาต่างตอบแทนการปลูกสร้างอาคารและโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน: สิทธิในอาคารยังเป็นของผู้ปลูกสร้างจนกว่าจะมีการโอนกรรมสิทธิ์ตามสัญญา
ข้อสัญญาระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 ที่ตกลงให้จำเลยที่ 1ปลูกสร้างอาคารในที่ดินของผู้ร้องรวม 4 คูหา เมื่อปลูกสร้างเสร็จแล้วผู้ร้องจะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้จำเลยที่ 1 รวม 3 โฉนดและจำเลยที่ 1 จะยกอาคารที่ปลูกสร้างเสร็จแล้วให้ผู้ร้องจำนวน 1 คูหานั้น เป็นสัญญาต่างตอบแทน มีผลทำให้จำเลยที่ 1มีสิทธิปลูกสร้างอาคารพิพาทลงในที่ดินของผู้ร้อง โดยไม่ถือว่าอาคารพิพาทเป็นส่วนควบของที่ดินของผู้ร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 109 ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1ปลูกสร้างอาคารไม่เสร็จและไม่ได้ยกกรรมสิทธิ์อาคารพิพาทให้ผู้ร้อง ทั้งผู้ร้องก็ไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่แบ่งแยกแล้วจำนวน 3 โฉนดให้จำเลยที่ 1 ตามข้อสัญญาระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 อาคารพิพาทจึงไม่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้อง แต่ยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 ผู้ปลูกสร้าง ส่วนที่ผู้ร้องได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพาทต่อจนเสร็จบริบูรณ์ สมประโยชน์ของจำเลยที่ 1 เพียงใด เป็นเรื่องผู้ร้องไปว่ากล่าวตามสิทธิต่อไป ไม่อาจมาร้องขอให้ปล่อยทรัพย์อาคารพิพาทจากการยึดในคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2921/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน การครอบครองแทนผู้ชนะคดี และอำนาจฟ้องจากการมอบอำนาจ
บุตรและภรรยาของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ครอบครองที่ดินพิพาทในระหว่างที่โจทก์ดำเนินคดีอาญากล่าวหาว่า จำเลยบุกรุกครอบครองที่พิพาทของโจทก์ก็ไม่ถือว่าเป็นการครอบครองโดยเจตนายึดถือเพื่อตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1367 เพราะเป็นเพียงการครอบครองแทนผู้ชนะคดี เมื่อโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยที่ 1 ยังไม่เกิน 1 ปีจำเลยที่ 1 จึงไม่ได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท เมื่อหนังสือมอบอำนาจของ ก. ระบุไว้ชัดแจ้งว่า ก.มอบอำนาจให้โจทก์เป็นผู้มีอำนาจจัดการยื่นคำขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ตลอดจนให้ถ้อยคำต่าง ๆต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ถือได้ว่า ก. ได้สละการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์แล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1377 และ 1378.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2921/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์: การครอบครองแทนผู้ชนะคดี ไม่ถือเป็นการครอบครองโดยเจตนายึดถือเพื่อตน
จำเลยทั้งสองบุกรุกเข้าครอบครองที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ของโจทก์ โจทก์ได้ร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสอง ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คดีถึงที่สุด ในระหว่างที่จำเลยที่ 1 ถูกจำคุกอยู่นั้นภริยาและบุตรของจำเลยที่ 1 ยังคงอยู่ในบ้านและทำไร่ทำนาในที่ดินพิพาทตลอดมา แม้ภริยาและบุตรของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1จะได้ครอบครองที่ดินพิพาทในระหว่างที่โจทก์ดำเนินคดีอาญาต่อจำเลยที่ 1 ก็ตามจะถือว่าเป็นการครอบครองโดยเจตนายึดถือเพื่อตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1367 หาได้ไม่ เพราะเป็นเพียงการครอบครองแทนผู้ชนะคดีเท่านั้น เมื่อโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยที่ 1 ภายหลังที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ยังไม่เกิน1 ปี จำเลยที่ 1 จึงไม่ได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2414/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ผู้ควบคุมงานก่อสร้างอาคาร การละเลยควบคุมงานทำให้เกิดการก่อสร้างผิดแบบ ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
จำเลยทั้งสองได้ทำหนังสือแสดงความยินยอมเป็นผู้ควบคุมงานตามใบอนุญาตก่อสร้างที่ ว. ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ทำการก่อสร้างอาคารเพื่อพาณิชยกรรม จึงมีหน้าที่ต้องไปควบคุมการก่อสร้าง แต่ละเลยไม่ไปควบคุมการก่อสร้างจนเป็นเหตุให้มีการก่อสร้างอาคารผิดไปจากแผนผังบริเวณและแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตจะถือว่าการก่อสร้างอาคารที่ผิดไปจากแผนผังบริเวณและแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตดังกล่าว เป็นการกระทำของผู้อื่นมิใช่เป็นการกระทำของจำเลยทั้งสองตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 31วรรคสองตอนท้ายไม่ได้ แต่ต้องถือว่าเป็นการกระทำของจำเลยทั้งสองตามมาตรา 31 วรรคสองตอนแรก จึงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองได้ร่วมกระทำความผิดฐานจัดให้มีการก่อสร้างอาคารให้ผิดไปจากแผนผังบริเวณและแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต ตามหนังสือขอก่อสร้างอาคาร หนังสือแสดงความยินยอมเป็นผู้ควบคุมงานของจำเลยทั้งสองและใบอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารระบุว่าเพื่อใช้เป็นอาคารพาณิชย์-พักอาศัย และอาคารที่เกิดเหตุเป็นตึกแถวสามชั้นซึ่งปกติใช้เพื่อการพาณิชยกรรมได้ ถือได้ว่าอาคารที่เกิดเหตุเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรม การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2414/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ควบคุมงานละเลยหน้าที่ก่อสร้างผิดแผน ทำให้มีความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
จำเลยทั้งสองได้ทำหนังสือแสดงความยินยอมเป็นผู้ควบคุมงานเจ้าพนักงานท้องถิ่นอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารได้โดยระบุว่ามีจำเลยทั้งสองเป็นผู้ควบคุมงาน จำเลยทั้งสองจึงมีหน้าที่ต้องไปควบคุมการก่อสร้าง แต่ละเลยไม่ไปควบคุมการก่อสร้างจนเป็นเหตุให้มีการก่อสร้างอาคารผิดไปจากแผนผังบริเวณและแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตจะถือว่าการก่อสร้างอาคารที่ผิดไปจากแผนผังบริเวณและแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตดังกล่าว มิใช่เป็นการกระทำของจำเลยทั้งสองตามพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 31 วรรคสองตอนท้ายไม่ได้ แต่ต้องถือว่าเป็นการกระทำของจำเลยทั้งสองตามมาตรา31 วรรคสองตอนแรก ถือว่าจำเลยทั้งสองได้ร่วมกระทำความผิดฐานจัดให้มีการก่อสร้างอาคารให้ผิดไปจากแผนผังบริเวณและแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตดังฟ้อง ตามหนังสือขอก่อสร้างอาคาร หนังสือแสดงความยินยอมเป็นผู้ควบคุมงานของจำเลยทั้งสองและใบอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารระบุว่าเพื่อใช้เป็นอาคารพาณิชย์-พักอาศัยและอาคารที่เกิดเหตุเป็นตึกแถวสามชั้นซึ่งปกติใช้เพื่อการพาณิชยกรรมได้ ถือได้ว่าอาคารที่เกิดเหตุเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรม การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรม.
of 26