พบผลลัพธ์ทั้งหมด 254 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3603/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: ค่าทดแทนต้องเป็นราคาตลาด ณ วันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 76 ที่กำหนดเงินค่าทดแทนเท่าราคาของทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับในกรณีที่ได้ตราพระราชกฤษฎีกาเช่นว่านั้น เมื่อพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม 2527 จึงต้องกำหนดเงินทดแทนให้เท่าราคาในวันดังกล่าว ดังนั้น การที่จำเลยกำหนดค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์โดยถือหลักเกณฑ์ตามบัญชีกำหนดจำนวนราคาที่ดินตามราคาตลาดซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2524 ให้มีผลใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2525 ถึงวันที่31 ธันวาคม 2527 เพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม จึงไม่ถูกต้อง และขัดกับประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวเพราะมิใช่ราคาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับ แม้จำเลยจะได้กำหนดค่าทดแทนที่ดินดังกล่าวให้โจทก์ตามมติของคณะกรรมการดำเนินงานก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสะพานพระรามหก ที่ได้รับแต่งตั้งจากคณะรัฐมนตรีก็ตามเงินค่าทดแทนที่จำเลยกำหนดให้โจทก์ดังกล่าวไม่ถูกต้องตามความเป็นธรรมโจทก์มีสิทธิที่จะฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3603/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน ค่าทดแทนต้องเป็นราคาซื้อขายจริงในวันพระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 76 ที่กำหนดเงินค่าทดแทนเท่าราคาของทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับในกรณีที่ได้ตราพระราชกฤษฎีกาเช่นว่านั้นเมื่อพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม 2527 จึงต้องกำหนดเงินทดแทนให้เท่าราคาในวันดังกล่าว ดังนั้น การที่จำเลยกำหนดค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์โดยถือหลักเกณฑ์ตามบัญชีกำหนดจำนวนราคาที่ดินตามราคาตลาดซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2524 ให้มีผลใช้ตั้งแต่วันที่1 มกราคม 2525 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2527 เพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม จึงไม่ถูกต้อง และขัดกับประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวเพราะมิใช่ราคาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับ แม้จำเลยจะได้กำหนดค่าตอบแทนที่ดินดังกล่าวให้โจทก์ตามมติของคณะกรรมการดำเนินงานก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสะพานพระรามหกที่ได้รับแต่งตั้งจากคณะรัฐมนตรีก็ตามเงินค่าทดแทนที่จำเลยกำหนดให้โจทก์ดังกล่าวไม่ถูกต้องตามความเป็นธรรมโจทก์มีสิทธิที่จะฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 632/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำทางภารจำยอม: ประเด็นต่างกัน แม้ใช้ที่ดินแปลงเดียวกัน ศาลล่างพิพากษาคลาด
คดีเดิมโจทก์ทั้งสี่ฟ้องจำเลยขอให้เปิดทางภารจำยอมอ้างว่าได้ภารจำยอมโดยอายุความเป็นทางรถยนต์กว้างประมาณ 4 เมตร แต่อ้างว่าทางพิพาทเดิมเป็นลำรางสาธารณะและตื้นเขินกลายเป็นทาง ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าเมื่อทางพิพาทเป็นลำรางสาธารณะซึ่งตื้นเขินจึงไม่อาจอ้างว่าได้ภารจำยอมคดีถึงที่สุด คดีนี้โจทก์ทั้งสี่ฟ้องจำเลยอ้างว่าทางสาธารณะซึ่งเดิมเป็นลำรางนั้นกว้างเพียง 1.80 เมตรแต่โจทก์ทั้งสี่และชาวบ้านได้ใช้รถยนต์ผ่านทางนั้นและรุกล้ำเข้าไปในที่ดินจำเลยอีกประมาณ 2 เมตร ยาวประมาณ18 เมตร โดยความสงบและโดยเปิดเผย ด้วยเจตนาใช้เป็นทางเข้าออกเป็นเวลากว่า 10 ปี ทางกว้าง 2 เมตรจึงเป็นทางภารจำยอม ดังนี้ประเด็นในคดีก่อนกับประเด็นในคดีนี้จึงต่างกัน คดีนี้มีประเด็นตามคำฟ้องว่า ทางกว้างประมาณ2 เมตร ยาวประมาณ 18 เมตร ในที่ดินจำเลยเป็นทางภารจำยอมหรือไม่ ส่วนปัญหาว่าคดีก่อนโจทก์ทั้งสี่อ้างว่าลำรางสาธารณะที่ตื้นเขินกลายเป็นทางกว้างประมาณ4 เมตร จะคลุมถึงทางรถยนต์ที่โจทก์ทั้งสี่ฟ้องคดีนี้ว่าอยู่ในที่ดินของจำเลยกว้างประมาณ 2 เมตร ยาวประมาณ18 เมตร หรือไม่นั้น จำเลยให้การในคดีก่อนว่าทางสาธารณะกว้างเพียง 1 เมตร เท่านั้น และโจทก์ทั้งสี่ใช้รถยนต์ผ่านทางเข้ามาในที่ของจำเลยกว้างประมาณ 1.80 เมตรจำเลยจึงสร้างกำแพงกั้น ดังนั้นประเด็นที่ว่าทางสาธารณะคลุมถึงทางที่โจทก์ทั้งสี่ฟ้องคดีนี้หรือไม่ ศาลยังมิได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับในคดีก่อนฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3590/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงวันที่เช็คหลังทวงหนี้โดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่ถือเป็นการกระทำที่ไม่สุจริต
มูลหนี้ที่จำเลยออกเช็คพิพาทให้แก่โจทก์เป็นหนี้เงินกู้และจากการเอาเช็คแลกเงินสด เมื่อไม่กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้โจทก์ย่อมทวงถามให้ชำระหนี้ได้โดยพลัน การที่โจทก์ลงวันที่สั่งจ่ายเงินในเช็คที่จำเลยมิได้ลงวันที่สั่งจ่ายไว้ภายหลังจากวันที่โจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้แล้ว ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมาย กระทำการโดยสุจริตจดวันสั่งจ่ายที่ถูกต้องแท้จริงลงในเช็ค ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 910 ประกอบด้วยมาตรา 989 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3489/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฝากเงินโดยนิติบุคคล แม้กรรมการจะทำธุรกรรมส่วนตัว หากสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ฝาก ย่อมผูกพันนิติบุคคลตามหลักตัวแทนเชิด
การที่โจทก์นำเช็คเงินสดจำนวน 2,000,000บาท ซึ่งต่อมาภายหลังได้มีการเรียกเก็บเงินแล้วไปที่บริษัทจำเลย พนักงานของจำเลยได้รับฝากเงินจำนวนดังกล่าวแล้วดำเนินการออกเช็คพิพาท ซึ่ง พ.กับง.กรรมการของบริษัทจำเลยร่วมกันลงลายมือชื่อเป็นผู้สั่งจ่ายพร้อมกับแจ้งให้โจทก์ทราบว่าจำเลยรับฝากเงินจำนวนดังกล่าวของโจทก์มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี และโจทก์ได้รับของขวัญและของที่ระลึกต่าง ๆมีชื่อบริษัทจำเลยพร้อมตราประทับจากบริษัทจำเลย ทั้งจำเลยเป็นนิติบุคคลมีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการเงินทุนเพื่อการพัฒนาและเพื่อการเคหะ จำเลยสามารถกู้ยืมเงินและรับเงินจากประชาชนโดยตกลงจ่ายดอกเบี้ยไม่เกินอัตราตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยอันเป็นวิธีการจัดหามาซึ่งเงินทุนของจำเลย พฤติการณ์ดังกล่าวย่อมทำให้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตหลงเข้าใจได้ว่าการรับฝากเงินเป็นกิจการของจำเลยและอยู่ในวัตถุประสงค์ข้อบังคับของจำเลย ถือได้ว่าจำเลยรับฝากเงินและรู้เห็นเอง โดยจำเลยเชิดพ.และง. เป็นตัวแทน จำเลยต้องผูกพันรับผลการกระทำของพ.และง. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3096/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะพนักงานสอบสวนมีตลอดเวลา แม้ไม่ได้เข้าเวร การสอบสวนจึงชอบด้วยกฎหมาย
เจ้าพนักงานตำรวจในตำแหน่งที่กฎหมายบัญญัติว่ามีฐานะเป็นพนักงานสอบสวนย่อมมีฐานะเป็นพนักงานสอบสวนตลอดเวลาที่ยังดำรงตำแหน่งดังกล่าว ส่วนการที่จะต้องเข้าเวรปฏิบัติหน้าที่พนักงานสอบสวนในวันเวลาใดเป็นเพียงระเบียบหรือข้อบังคับภายในของหน่วยราชการซึ่งไม่มีผลทำให้เจ้าพนักงานตำรวจในตำแหน่งพนักงานสอบสวน ในขณะที่ไม่ได้เข้าเวรปฏิบัติหน้าที่พนักงานสอบสวนไม่มีฐานะเป็นพนักงานสอบสวน ดังนั้น การที่ร้อยตำรวจเอก ป. รับแจ้งความร้องทุกข์จากโจทก์ร่วมในขณะที่ยังไม่ได้เข้าเวรปฏิบัติหน้าที่พนักงานสอบสวน ก็ต้องถือว่าร้อยตำรวจเอก ป. มีฐานะเป็นพนักงาน-สอบสวนในขณะที่รับแจ้งความร้องทุกข์ การสอบสวนของร้อยตำรวจเอก ป.ย่อมชอบด้วยกฎหมายพนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้องคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3096/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะพนักงานสอบสวนมีตลอดเวลาที่ดำรงตำแหน่ง แม้ไม่ได้เข้าเวร ย่อมมีอำนาจสอบสวน
เจ้าพนักงานตำรวจในตำแหน่งที่กฎหมายบัญญัติว่ามีฐานะเป็นพนักงานสอบสวนย่อมมีฐานะเป็น พนักงานสอบสวนตลอดเวลาที่ยังดำรงตำแหน่งดังกล่าว ส่วนการที่จะต้องเข้าเวรปฏิบัติหน้าที่พนักงานสอบสวนในวันเวลาใดเป็นเพียงระเบียบหรือข้อบังคับภายในของหน่วยราชการซึ่งไม่มีผลทำให้เจ้าพนักงานตำรวจในตำแหน่งพนักงานสอบสวน ในขณะที่ไม่ได้เข้าเวรปฏิบัติหน้าที่พนักงานสอบสวนไม่มีฐานะเป็นพนักงานสอบสวน ดังนั้น การที่ร้อยตำรวจเอก ป. รับแจ้งความร้องทุกข์จากโจทก์ร่วมในขณะที่ยังไม่ได้เข้าเวรปฏิบัติหน้าที่พนักงานสอบสวน ก็ต้องถือว่าร้อยตำรวจเอก ป. มีฐานะเป็นพนักงานสอบสวนในขณะที่รับแจ้งความร้องทุกข์ การสอบสวนของร้อยตำรวจเอก ป. ย่อมชอบด้วยกฎหมายพนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้องคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3096/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฐานะพนักงานสอบสวน: การมีอำนาจสอบสวนไม่ขึ้นอยู่กับ 'การเข้าเวร' แต่ขึ้นอยู่กับ 'ตำแหน่ง'
เจ้าพนักงานตำรวจในตำแหน่งที่กฎหมายบัญญัติว่ามีฐานะเป็นพนักงานสอบสวน ย่อมมีฐานะเป็นพนักงานสอบสวนตลอดเวลาที่เจ้าพนักงานตำรวจผู้นั้นยังดำรงตำแหน่ง ดังกล่าว การที่เจ้าพนักงานตำรวจในตำแหน่งพนักงานสอบสวนผู้ใดจะต้องเข้าเวรปฏิบัติหน้าที่พนักงานสอบสวนในวันเวลาใดเป็นเพียงระเบียบหรือข้อบังคับภายในของหน่วยราชการที่ผู้นั้นสังกัดอยู่ ไม่มีผลทำให้เจ้าพนักงานตำรวจในตำแหน่งพนักงานสอบสวนในขณะที่ไม่ได้เข้าเวรปฏิบัติหน้าที่พนักงานสอบสวนไม่มีฐานเป็นพนักงานสอบสวน ดังนั้นแม้ในขณะที่ร้อยตำรวจเอก ป. รับแจ้งความร้องทุกข์จากโจทก์ร่วม ร้อยตำรวจเอก ป. ยังไม่ได้เข้าเวรปฏิบัติหน้าที่พนักงานสอบสวน ก็ต้องถือว่าร้อยตำรวจเอก ป.มีฐานะเป็นพนักงานสอบสวนในขณะที่รับแจ้งความร้องทุกข์จากโจทก์ร่วมการสอบสวนของร้อยตำรวจเอก ป. เป็นการสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3011/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจในหนังสือมอบอำนาจ: การฟ้องคดีละเมิดทรัพย์สิน
หนังสือมอบอำนาจข้อ 6 ระบุว่า ให้ผู้รับมอบอำนาจเรียกร้องทวงถามให้ชำระหนี้ แจ้งบังคับจำนองหรือจำนำ ดำเนินคดี ฟ้องร้อง แก้ต่างทั้งคดีแพ่งคดีอาญา ฯลฯ เพื่อประโยชน์ในกิจการดังกล่าวให้ผู้รับมอบอำนาจกระทำได้ซึ่งสาขาที่กล่าวข้างต้นมีส่วนได้เสียหรือเกี่ยวข้องอยู่ และข้อ 9 ระบุว่าให้มีอำนาจดูแลและรักษาผลประโยชน์และทรัพย์สินทุกอย่างของผู้มอบอำนาจ จึงเป็นการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีเกี่ยวกับการกระทำละเมิดต่อทรัพย์สินของผู้มอบอำนาจที่อยู่ในความดูแลรักษาของผู้รับมอบอำนาจด้วย หาใช่เพียงมอบอำนาจให้ดำเนินกิจการสาขาเฉพาะการธนาคารพาณิชย์ตามที่ระบุไว้ในข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 3 ไม่ ผู้รับมอบอำนาจจึงใช้หนังสือมอบอำนาจนี้ฟ้องคดีละเมิดต่อทรัพย์สินดังกล่าวแทนผู้มอบอำนาจได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3011/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจฟ้องจากหนังสือมอบอำนาจ: การฟ้องคดีละเมิดทรัพย์สิน
หนังสือมอบอำนาจข้อ 6 ระบุว่า ให้ผู้รับมอบอำนาจเรียกร้องทวงถามให้ชำระหนี้ แจ้งบังคับจำนองหรือจำนำดำเนินคดี ฟ้องร้อง แก้ต่างทั้งคดีแพ่งคดีอาญา ฯลฯ เพื่อประโยชน์ในกิจการดังกล่าวให้ผู้รับมอบอำนาจกระทำได้ซึ่งสาขาที่กล่าวข้างต้นมีส่วนได้เสียหรือเกี่ยวข้องอยู่ และข้อ 9ระบุว่าให้มีอำนาจดูแลและรักษาผลประโยชน์และทรัพย์สินทุกอย่างของผู้มอบอำนาจ จึงเป็นการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีเกี่ยวกับการกระทำละเมิดต่อทรัพย์สินของผู้มอบอำนาจที่อยู่ในความดูแลรักษาของผู้รับมอบอำนาจด้วย หาใช่เพียงมอบอำนาจให้ดำเนินการสาขาเฉพาะการธนาคารพาณิชย์ตามที่ระบุไว้ในข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 3 ไม่ ผู้รับมอบอำนาจจึงใช้หนังสือมอบอำนาจนี้ฟ้องคดีละเมิดต่อทรัพย์สินดังกล่าวแทนผู้มอบอำนาจได้