พบผลลัพธ์ทั้งหมด 65 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2080/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับการชำระหนี้อากรและภาษีมูลค่าเพิ่ม เงินเพิ่มเป็นส่วนหนึ่งของหนี้ภาษี, ป.พ.พ. มาตรา 328
ตาม พ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 112 จัตวา วรรคสาม กำหนดให้เงินเพิ่มถือเป็นเงินอากร และตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 89/2 กำหนดให้เงินเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม เงินเพิ่มดังกล่าวจึงมิใช่ดอกเบี้ยหรือค่าฤชาธรรมเนียมตาม ป.พ.พ. มาตรา 329 วรรคหนึ่ง และมาตราดังกล่าวก็มิใช่บทกฎหมายใกล้เคียงที่จะนำมาปรับใช้แก่คดีนี้ โจทก์จึงไม่อาจนำเงินค้ำประกันมาหักชำระหนี้เงินเพิ่มก่อน กรณีเป็นเรื่องลูกหนี้ต้องผูกพันต่อเจ้าหนี้ในอันจะกระทำการเพื่อชำระหนี้เป็นการอย่างเดียวกันโดยมูลหนี้หลายราย หนี้ถึงกำหนดชำระพร้อมกันหนี้สินรายที่ตกหนักที่สุดแก่ลูกหนี้ย่อมได้รับการปลดเปลื้องไปก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 328 วรรคสอง โจทก์ต้องนำเงินค้ำประกันมาชำระค่าอากร และภาษีมูลค่าเพิ่มก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 414/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ค่าอากรกับเงินเพิ่มอากรเป็นคนละมูลหนี้ เงินเพิ่มไม่ใช่ดอกเบี้ย ใช้มาตรา 328 พ.ร.บ.แพ่งฯ ได้
หนี้ค่าอากรเกิดจากการที่โจทก์นำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร ส่วนหนี้เงินเพิ่มเกิดจากการที่โจทก์มิได้ชำระค่าอากรภายในกำหนด กล่าวคือมิได้เสียในเวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบขนสินค้าให้ตาม พ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 10 วรรคหนึ่ง ซึ่งต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนของค่าอากรนับแต่วันที่พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจปล่อยสินค้าตามมาตรา 112 จัตวา หนี้ค่าอากรกับหนี้เงินเพิ่มจึงมิได้เป็นมูลหนี้รายเดียวกัน และเงินเพิ่มตามมาตรานี้มิใช่ดอกเบี้ยตาม ป.พ.พ. มาตรา 329 จึงไม่อาจนำมาตราดังกล่าวมาใช้บังคับได้ กรณีเป็นเรื่องลูกหนี้ต้องผูกพันต่อเจ้าหนี้ในอันจะกระทำการเพื่อชำระหนี้เป็นการอย่างเดียวกันโดยมูลหนี้หลายราย หนี้ถึงกำหนดชำระพร้อมกัน หนี้ค่าภาษีอากรเป็นรายที่ตกหนักที่สุดย่อมได้รับการปลดเปลื้องไปก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 328 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 307/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับชำระหนี้ค่าภาษีและเงินเพิ่ม: ค่าภาษีมีภาระเงินเพิ่มย่อมได้รับการปลดเปลื้องก่อน
เงินเพิ่มตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 จัตวา กับเงินเพิ่มภาษีการค้าตามมาตรา 89 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น และเงินเพิ่มภาษีส่วนท้องถิ่นมิใช่ดอกเบี้ยหรือค่าฤชาธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329 วรรคหนึ่ง ทั้งบทมาตราดังกล่าวมิใช่บทกฎหมายใกล้เคียงที่จะนำมาปรับใช้แก่คดี โจทก์ทั้งสองไม่อาจนำเงินที่ผู้ค้ำประกันชำระมาหักชำระหนี้เงินเพิ่มค่าภาษีก่อนได้ กรณีเป็นเรื่องลูกหนี้ต้องผูกพันต่อเจ้าหนี้ในอันจะกระทำการเพื่อชำระหนี้เป็นการอย่างเดียวกันโดยมูลหนี้หลายราย ในระหว่างหนี้สินหลายรายที่มีประกันเท่า ๆ กัน ให้รายที่ตกหนักที่สุดแก่ลูกหนี้เป็นอันได้เปลื้องไปก่อน เมื่อหนี้ค่าภาษีเป็นรายที่ตกหนักที่สุดแก่ลูกหนี้เพราะมีภาระเงินเพิ่มตามกฎหมายดังนี้ หนี้ค่าภาษีย่อมได้รับการปลดเปลื้องไปก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 328 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 307/2547 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับการชำระหนี้ภาษีและเงินเพิ่ม: ปลดเปลื้องหนี้ภาษีที่มีภาระเงินเพิ่มก่อน
เงินเพิ่มตาม พ.ร.บ.ศุลกากรฯ กับเงินเพิ่มภาษีการค้าตาม ป.รัษฎากรฯ และเงินเพิ่มภาษีส่วนท้องถิ่น มิใช่ดอกเบี้ยหรือค่าฤชาธรรมเนียมตาม ป.พ.พ. มาตรา 329 วรรคหนึ่ง ทั้งบทบัญญัติดังกล่าวหาใช่บทกฎหมายใกล้เคียงที่จะนำมาปรับใช้แก่คดีนี้ กรณีเป็นเรื่องลูกหนี้ต้องผูกพันต่อเจ้าหนี้ในอันจะกระทำการเพื่อชำระหนี้เป็นอย่างเดียวกันโดยมูลหนี้หลายราย ในระหว่างหนี้สินหลายรายที่มีประกันเท่าๆ กัน ให้รายที่ตกหนักที่สุดแก่ลูกหนี้เป็นอันได้เปลื้องไปก่อน เมื่อหนี้ค่าภาษีเป็นรายที่ตกหนักที่สุดแก่ลูกหนี้ เพราะมีภาระเงินเพิ่มตามกฎหมาย หนี้ค่าภาษีย่อมได้รับการปลดเปลื้องไปก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 328 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7673/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับการชำระหนี้ค่าอากรและเงินเพิ่มศุลกากร: หนี้เก่ากว่าต้องชำระก่อน
การชำระหนี้สินหลายรายที่ถึงกำหนดชำระพร้อมกัน ต้องให้รายที่เก่าที่สุดเป็นอันได้ปลดเปลื้องไปก่อน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 328 วรรคสอง แม้ตาม พ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 112 จัตวา วรรคสาม จะบัญญัติให้ถือว่าเงินเพิ่ม เป็นเงินอากร แต่หนี้ค่าอากรเป็นหนี้ที่มีมาก่อนเงินเพิ่ม จึงเป็นหนี้เก่ากว่าหนี้เงินเพิ่ม หนี้ค่าอากรย่อมได้รับการปลดเปลื้อง ไปก่อนหนี้เงินเพิ่ม
เงินเพิ่มตาม พ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 112 จัตวา วรรคหนึ่ง มิใช่ดอกเบี้ยและไม่อาจถือเป็นดอกเบี้ย จึงไม่อาจนำ ป.พ.พ. มาตรา 329 มาใช้บังคับได้ โจทก์จึงไม่อาจนำเงินที่ผู้ค้ำประกันนำมาชำระ มาหักจากหนี้เงินเพิ่มก่อนหนี้ค่าอากรได้
เงินเพิ่มตาม พ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 112 จัตวา วรรคหนึ่ง มิใช่ดอกเบี้ยและไม่อาจถือเป็นดอกเบี้ย จึงไม่อาจนำ ป.พ.พ. มาตรา 329 มาใช้บังคับได้ โจทก์จึงไม่อาจนำเงินที่ผู้ค้ำประกันนำมาชำระ มาหักจากหนี้เงินเพิ่มก่อนหนี้ค่าอากรได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7673/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับการชำระหนี้ค่าอากรและเงินเพิ่มทางภาษีอากร: ค่าอากรเป็นหนี้เก่ากว่าเงินเพิ่ม
จำเลยสั่งซื้อและนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อผลิตและส่งออกภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันนำเข้าโดยแสดงความจำนงจะขอคนอากรตามพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 มาตรา 19 ทวิ โดยวิธีค้ำประกันรวม44 ครั้ง จำเลยนำหนังสือค้ำประกันของธนาคารมาวางเป็นประกัน เมื่อครบกำหนด1 ปี นับแต่วันที่จำเลยนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร จำเลยนำสินค้ามาผลิตและส่งออกไปเพียงบางส่วนเป็นการผิดเงื่อนไขเจ้าพนักงานของกรมศุลกากรโจทก์ที่ 1 ได้ประเมินค่าอากรขาเข้าของสินค้าคงเหลือกับเงินเพิ่มและแจ้งให้ผู้ค้ำประกันนำเงินมาชำระผู้ค้ำประกันได้ชำระเงินตามสัญญาค้ำประกันแล้วซึ่งเงินตามสัญญาค้ำประกันแต่ละฉบับมีจำนวนสูงกว่าค่าอากรขาเข้าที่จำเลยต้องชำระแต่น้อยกว่าค่าอากรและเงินเพิ่มรวมกัน ในการชำระหนี้สินหลายรายที่ถึงกำหนดชำระพร้อมกันดังกล่าวต้องให้รายที่เก่าที่สุดเป็นอันได้ปลดเปลื้องไปก่อน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 328 วรรคสอง แม้พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 จัตวาวรรคสาม จะบัญญัติให้ถือว่าเงินเพิ่มเป็นเงินอากรแต่หนี้ค่าอากรก็เป็นหนี้ที่มีมาก่อนเงินเพิ่มจึงเป็นหนี้เก่ากว่าหนี้เงินเพิ่ม ดังนี้ หนี้ค่าอากรย่อมได้รับการปลดเปลื้องไปก่อนหนี้เงินเพิ่ม
เงินเพิ่มที่เกิดขึ้นตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 จัตวา วรรคหนึ่ง มิใช่ดอกเบี้ยและไม่อาจถือเป็นดอกเบี้ยได้ จึงไม่อาจนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329 มาบังคับได้
เงินเพิ่มที่เกิดขึ้นตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 จัตวา วรรคหนึ่ง มิใช่ดอกเบี้ยและไม่อาจถือเป็นดอกเบี้ยได้ จึงไม่อาจนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329 มาบังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 266/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยตั๋วแลกเงิน, ดอกเบี้ยผิดนัด, การคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย, การชำระหนี้ที่มีดอกเบี้ย
ธนาคารโจทก์เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตให้แก่จำเลยที่ 1 ก็เพื่อให้ความคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ซื้อสินค้า ขณะเดียวกันก็เป็นการรับรองต่อผู้ขายสินค้าว่าผู้ขายสินค้าจะได้รับการชำระเงินอย่างแน่นอน ถ้าผู้ขายสินค้าได้ปฏิบัติถูกต้องตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในเลตเตอร์ออฟเครดิต โจทก์จึงมิใช่ผู้ประกอบธุรกิจรับทำการงานต่าง ๆ ให้จำเลยที่ 1 แล้วเรียกเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับรวมทั้งเงินที่โจทก์ได้ออกทดรองไปก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(7) การฟ้องร้องให้รับผิดตามสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิต ไม่มีกฎหมายบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 กับโจทก์ เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์อยู่ตามสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิต การที่โจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1รับเอาไม้ไปขายก่อนก็เพื่อนำเงินมาชำระให้แก่โจทก์ ไม่ทำให้หนี้ตามสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตระงับ จำเลยที่ 2 จึงยังคงต้องรับผิดต่อโจทก์ในหนี้ดังกล่าว
หากก่อนผิดนัดลูกหนี้ตกลงให้เจ้าหนี้คิดดอกเบี้ยได้สูงกว่าอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีแล้ว เมื่อลูกหนี้ผิดนัดก็ย่อมถือว่ามีเหตุอันชอบด้วยกฎหมายที่เจ้าหนี้จะเรียกดอกเบี้ยจากลูกหนี้ได้ตามอัตราที่ตกลงกันก่อนผิดนัดนั้น ข้อตกลงต่อท้ายคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตไม่ชัดเจนเพียงพอให้เข้าใจได้ว่าจำเลยที่ 1 ตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราใดอย่างแน่ชัด และแม้ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ประกาศอัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บจากลูกค้าได้เอง แต่ก็เป็นเพียงกรอบอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์จะต้องนำไปตกลงกับลูกค้าแต่ละรายต่อไป โดยต้องไม่เกินอัตราตามที่ประกาศไว้เท่านั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิจะนำอัตราดอกเบี้ยตามประกาศของโจทก์นั้นมาใช้บังคับผูกพันจำเลยที่ 1 อย่างไรก็ตาม เมื่อโจทก์จ่ายเงินแก่ผู้ขายสินค้าตามเลตเตอร์ออฟเครดิตแล้ว และโจทก์ได้ออกตั๋วแลกเงินสั่งให้จำเลยที่ 1 จ่ายเงินจำนวนตามเลตเตอร์ออฟเครดิตให้แก่โจทก์ โดยกำหนดให้จำเลยที่ 1 ชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 9 ต่อปี และจำเลยที่ 1 ได้ลงชื่อรับรองตั๋วไว้ ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัด ย่อมมีเหตุอันชอบด้วยกฎหมายให้โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 9 ต่อปี ต่อไปจนกว่าจำเลยที่ 1 จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์เสร็จสิ้น จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันจึงต้องรับผิดในดอกเบี้ยตามอัตราดังกล่าวเช่นเดียวกัน
โจทก์คิดดอกเบี้ยของต้นเงินแล้วนำต้นเงินและดอกเบี้ยดังกล่าวมาเป็นต้นเงินในการคิดดอกเบี้ยต่อไป มีผลเป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายปัญหานี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 2 ไม่อุทธรณ์ ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 กับโจทก์ เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์อยู่ตามสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิต การที่โจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1รับเอาไม้ไปขายก่อนก็เพื่อนำเงินมาชำระให้แก่โจทก์ ไม่ทำให้หนี้ตามสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตระงับ จำเลยที่ 2 จึงยังคงต้องรับผิดต่อโจทก์ในหนี้ดังกล่าว
หากก่อนผิดนัดลูกหนี้ตกลงให้เจ้าหนี้คิดดอกเบี้ยได้สูงกว่าอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีแล้ว เมื่อลูกหนี้ผิดนัดก็ย่อมถือว่ามีเหตุอันชอบด้วยกฎหมายที่เจ้าหนี้จะเรียกดอกเบี้ยจากลูกหนี้ได้ตามอัตราที่ตกลงกันก่อนผิดนัดนั้น ข้อตกลงต่อท้ายคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตไม่ชัดเจนเพียงพอให้เข้าใจได้ว่าจำเลยที่ 1 ตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราใดอย่างแน่ชัด และแม้ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ประกาศอัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บจากลูกค้าได้เอง แต่ก็เป็นเพียงกรอบอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์จะต้องนำไปตกลงกับลูกค้าแต่ละรายต่อไป โดยต้องไม่เกินอัตราตามที่ประกาศไว้เท่านั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิจะนำอัตราดอกเบี้ยตามประกาศของโจทก์นั้นมาใช้บังคับผูกพันจำเลยที่ 1 อย่างไรก็ตาม เมื่อโจทก์จ่ายเงินแก่ผู้ขายสินค้าตามเลตเตอร์ออฟเครดิตแล้ว และโจทก์ได้ออกตั๋วแลกเงินสั่งให้จำเลยที่ 1 จ่ายเงินจำนวนตามเลตเตอร์ออฟเครดิตให้แก่โจทก์ โดยกำหนดให้จำเลยที่ 1 ชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 9 ต่อปี และจำเลยที่ 1 ได้ลงชื่อรับรองตั๋วไว้ ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัด ย่อมมีเหตุอันชอบด้วยกฎหมายให้โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 9 ต่อปี ต่อไปจนกว่าจำเลยที่ 1 จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์เสร็จสิ้น จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันจึงต้องรับผิดในดอกเบี้ยตามอัตราดังกล่าวเช่นเดียวกัน
โจทก์คิดดอกเบี้ยของต้นเงินแล้วนำต้นเงินและดอกเบี้ยดังกล่าวมาเป็นต้นเงินในการคิดดอกเบี้ยต่อไป มีผลเป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายปัญหานี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 2 ไม่อุทธรณ์ ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3801-3802/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ ดอกเบี้ยต้องชำระก่อนเงินต้น และการบังคับจำนองเกินคำฟ้อง
ในการชำระหนี้แต่ละครั้งนั้นเมื่อไม่มีการตกลงเป็นอย่างอื่นต้องชำระดอกเบี้ยที่ค้างอยู่เสียก่อน หลังจากนั้นเหลือเงินเท่าใดจึงนำไปชำระเงินต้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329 วรรคหนึ่ง การที่จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ให้โจทก์แต่ละคราวจึงต้องคำนวณเสียก่อนว่ามีดอกเบี้ยที่ค้างชำระมาจนถึงวันชำระเป็นเงินเท่าใด เมื่อมีเงินเหลือจากการชำระดอกเบี้ยแล้วก็นำไปชำระเงินต้นซึ่งอาจทำให้เงินต้นเหลือลดลงไปและดอกเบี้ยต่อจากนั้นก็ลดลงไปด้วยเช่นเดียวกัน
จำเลยที่ 1 ผ่อนชำระหนี้ด้วยการออกและโอนเช็คให้โจทก์รวม 20 ครั้ง ต้องถือว่าหนี้ส่วนที่ชำระด้วยเช็คระงับสิ้นไปเมื่อเช็คได้ใช้เงินแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรคสาม เช็คดังกล่าว จึงถือเป็นการชำระหนี้ให้แก่โจทก์ในวันที่เรียกเก็บเงินจากธนาคาร
คดีสำหรับจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 โจทก์แยกฟ้องมาเป็นคนละสำนวนซึ่งมีคำขอบังคับจำเลยแต่ละคนแยกต่างหากจากกัน แม้ศาลชั้นต้นจะรวมพิจารณาเข้าด้วยกันแล้ว เมื่อจะพิจารณาคดีรวมกันก็ต้องคำนึงถึงคำขอของแต่ละสำนวนด้วยว่ามีอยู่อย่างไร คดีสำนวนของจำเลยที่ 1 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชำระเงินให้โจทก์เพียงอย่างเดียว ไม่ได้มีคำขอบังคับจำนองด้วย ส่วนคดีสำนวนของจำเลยที่ 2 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ชำระเงินให้โจทก์ ถ้าไม่ชำระจึงขอให้บังคับจำนอง เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ผู้เดียวเท่านั้นที่กู้ยืมเงินจากโจทก์ แต่จำเลยที่ 2 มิได้กู้ยืมเงินจากโจทก์ ย่อมไม่มีกรณีที่จะต้องบังคับจำนองแก่ที่ดินของจำเลยที่ 2 การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้แก่โจทก์ หากไม่ชำระให้บังคับจำนองแก่ที่ดินของจำเลยที่ 2 และศาลอุทธรณ์มิได้แก้ไขจึงเป็นการพิพาทเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้องสำนวนคดีของจำเลยที่ 1 อันเป็นการมิชอบ กรณีเช่นนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอุทธรณ์หรือฎีกา
จำเลยที่ 1 ผ่อนชำระหนี้ด้วยการออกและโอนเช็คให้โจทก์รวม 20 ครั้ง ต้องถือว่าหนี้ส่วนที่ชำระด้วยเช็คระงับสิ้นไปเมื่อเช็คได้ใช้เงินแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรคสาม เช็คดังกล่าว จึงถือเป็นการชำระหนี้ให้แก่โจทก์ในวันที่เรียกเก็บเงินจากธนาคาร
คดีสำหรับจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 โจทก์แยกฟ้องมาเป็นคนละสำนวนซึ่งมีคำขอบังคับจำเลยแต่ละคนแยกต่างหากจากกัน แม้ศาลชั้นต้นจะรวมพิจารณาเข้าด้วยกันแล้ว เมื่อจะพิจารณาคดีรวมกันก็ต้องคำนึงถึงคำขอของแต่ละสำนวนด้วยว่ามีอยู่อย่างไร คดีสำนวนของจำเลยที่ 1 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชำระเงินให้โจทก์เพียงอย่างเดียว ไม่ได้มีคำขอบังคับจำนองด้วย ส่วนคดีสำนวนของจำเลยที่ 2 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ชำระเงินให้โจทก์ ถ้าไม่ชำระจึงขอให้บังคับจำนอง เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ผู้เดียวเท่านั้นที่กู้ยืมเงินจากโจทก์ แต่จำเลยที่ 2 มิได้กู้ยืมเงินจากโจทก์ ย่อมไม่มีกรณีที่จะต้องบังคับจำนองแก่ที่ดินของจำเลยที่ 2 การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้แก่โจทก์ หากไม่ชำระให้บังคับจำนองแก่ที่ดินของจำเลยที่ 2 และศาลอุทธรณ์มิได้แก้ไขจึงเป็นการพิพาทเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้องสำนวนคดีของจำเลยที่ 1 อันเป็นการมิชอบ กรณีเช่นนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอุทธรณ์หรือฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3801-3802/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ ดอกเบี้ย และการหักกลบลบหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
การชำระหนี้แต่ละครั้งเมื่อไม่มีการตกลงเป็นอย่างอื่นต้องชำระดอกเบี้ยที่ค้างอยู่เสียก่อน หลังจากนั้นเหลือเงินเท่าใดจึงนำไปชำระต้นเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329 วรรคหนึ่ง จำเลยผ่อนชำระหนี้ด้วยการออกและโอนเช็คให้โจทก์รวม 20 ครั้ง ซึ่งต้องถือว่าหนี้ส่วนที่ชำระด้วยเช็คระงับสิ้นไปเมื่อเช็คได้ใช้เงินแล้วตามมาตรา 321 วรรคสาม โดยถือเป็นการชำระหนี้ในวันที่เรียกเก็บเงินจากธนาคารและต้องชำระดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นก่อนวันชำระหากมีเงินเหลือก็นำไปชำระต้นเงิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3701/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ค่าอากรและเงินเพิ่มตามหนังสือค้ำประกัน การตีความการหักชำระหนี้ และข้อจำกัดการคิดดอกเบี้ยเงินเพิ่ม
ตามใบขนสินค้าขาเข้าฉบับหลัง โจทก์นำเงินที่ได้รับจากธนาคารชำระหนี้ค่าอากรขาเข้าก่อน แล้วจึงนำส่วนที่เหลือไปชำระเงินเพิ่ม ส่วนกรณีตามใบขนสินค้าขาเข้า 2 ฉบับแรก มีข้อสงสัยว่า โจทก์นำเงินที่ได้จากธนาคารไปชำระหนี้ค่าอากรขาเข้าก่อนหรือชำระเงินเพิ่มก่อน จึงตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่จำเลยซึ่งเป็นคู่กรณีฝ่ายซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 11 ว่าโจทก์นำเงินที่ได้รับจากธนาคารไปหักชำระเงินค่าอากรขาเข้าก่อน
โจทก์แจ้งให้จำเลยชำระค่าอากรขาเข้าตามใบขนสินค้าขาเข้าทั้งสามฉบับ แต่จำเลยไม่ชำระ และมิได้อุทธรณ์การประเมิน โจทก์จึงเรียกให้ธนาคารผู้ค้ำประกันชำระเงินตามจำนวนที่ค้ำประกันไว้ ปรากฏว่าเงินที่ธนาคารส่งให้โจทก์มีจำนวนมากกว่าอากรขาเข้า ดังนั้น เมื่อโจทก์นำไปชำระค่าอากรขาเข้าก่อน จึงไม่มีอากรขาเข้าที่ค้างชำระอีกต่อไป เงินที่ขาดจำนวนอีก 345,890.88 บาท จึงเป็นเงินเพิ่มที่จำเลยยังค้างชำระ แม้ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 จัตวา วรรคสาม จะบัญญัติให้ถือว่าเงินเพิ่มเป็นเงินอากร แต่มาตรา 112 จัตวา วรรคหนึ่ง บัญญัติ "...ให้เรียกเก็บเงินเพิ่มในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนของค่าอากรที่นำมาชำระโดยไม่คิดทบต้น..." ดังนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเก็บเงินเพิ่มในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนจากเงินเพิ่มที่ค้างชำระจำนวน 345,890.88 บาท เพราะเป็นการคิดเงินเพิ่มทบต้น ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
โจทก์แจ้งให้จำเลยชำระค่าอากรขาเข้าตามใบขนสินค้าขาเข้าทั้งสามฉบับ แต่จำเลยไม่ชำระ และมิได้อุทธรณ์การประเมิน โจทก์จึงเรียกให้ธนาคารผู้ค้ำประกันชำระเงินตามจำนวนที่ค้ำประกันไว้ ปรากฏว่าเงินที่ธนาคารส่งให้โจทก์มีจำนวนมากกว่าอากรขาเข้า ดังนั้น เมื่อโจทก์นำไปชำระค่าอากรขาเข้าก่อน จึงไม่มีอากรขาเข้าที่ค้างชำระอีกต่อไป เงินที่ขาดจำนวนอีก 345,890.88 บาท จึงเป็นเงินเพิ่มที่จำเลยยังค้างชำระ แม้ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 จัตวา วรรคสาม จะบัญญัติให้ถือว่าเงินเพิ่มเป็นเงินอากร แต่มาตรา 112 จัตวา วรรคหนึ่ง บัญญัติ "...ให้เรียกเก็บเงินเพิ่มในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนของค่าอากรที่นำมาชำระโดยไม่คิดทบต้น..." ดังนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเก็บเงินเพิ่มในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนจากเงินเพิ่มที่ค้างชำระจำนวน 345,890.88 บาท เพราะเป็นการคิดเงินเพิ่มทบต้น ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว