พบผลลัพธ์ทั้งหมด 65 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5416/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย, สิทธิบังคับคดีจำนอง, ความรับผิดของผู้ค้ำประกันและผู้จำนอง
จำเลยที่ 2 และที่ 5 ให้การข้อ 2 ว่า จำเลยที่ 1ถึงที่ 5 ไม่เคยมีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับโจทก์ ไม่เคยกู้ยืมเงินโจทก์ และไม่เคยเข้าทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้เงินกู้ของจำเลยคนใดที่มีภาระจำต้องชำระหนี้แก่โจทก์ แม้จำเลยที่ 2 และที่ 5 จะมิได้ให้เหตุผลหรือรายละเอียดแห่งการปฏิเสธไว้แต่คำให้การของจำเลยที่ 2และที่ 5 ดังกล่าวก็ถือได้ว่าเป็นคำให้การที่ปฏิเสธคำฟ้องของโจทก์แล้ว ส่วนที่จำเลยที่ 2 และที่ 5 ให้การต่อไปในข้อที่ 9 ก็เป็นเพียงคำให้การที่หยิบยกข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายขึ้นต่อสู้ว่า หากจำเลยที่ 2 และที่ 5 ต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกัน จำเลยที่ 2 และที่ 5 ก็ยังหลุดพ้นจากความรับผิดต่อผู้ให้กู้ โดยเหตุที่ผู้ให้กู้ได้ปล่อยให้ทรัพย์จำนองหลุดพ้น มิใช่เป็นคำให้การที่ยอมรับ หรือถือว่าจำเลยที่ 2 และที่ 5 รับว่าได้ทำสัญญาค้ำประกันตามเอกสารท้ายฟ้องโจทก์ คำให้การของจำเลยที่ 2 และที่ 5 จึงมิได้ขัดแย้งกันเอง หรือไม่ชัดแจ้งว่ายอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างในคำฟ้องของโจทก์ และต้องถือว่าจำเลยที่ 2 และที่ 5 ให้การปฏิเสธในเรื่องการทำสัญญาค้ำประกันตามเอกสารท้ายฟ้องซึ่งเป็นประเด็นที่โจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบให้ได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 5ทำสัญญาค้ำประกัน สัญญาค้ำประกันที่โจทก์นำสืบเป็นพยานหลักฐานยังมิได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์ จึงไม่อาจใช้สัญญาค้ำประกันดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานฟังว่า จำเลยที่ 2 และที่ 5 เป็นผู้ค้ำประกันตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 เป็นผลให้คดีโจทก์ไม่มีหลักฐานแห่งการค้ำประกันเป็นหนังสือที่จะฟ้องร้องให้จำเลยที่ 2 และที่ 5 รับผิดในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680 ดังนี้คดีของโจทก์จึงไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือที่จำเลยที่ 2 และที่ 5 ได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญแสดง โจทก์จะฟ้องร้องให้บังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 และที่ 5 ให้รับผิดในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันไม่ได้ จำเลยที่ 2 และที่ 5 จึงไม่ต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกัน แม้ตามสัญญากู้เงินจะมีข้อความว่าผู้กู้ได้กู้เงินจากโจทก์จำนวน 3,000,000 บาท และในขณะทำหนังสือสัญญานี้ผู้กู้ได้รับเงินไปครบถ้วนและเรียกร้อยแล้ว และตามคำฟ้องโจทก์และที่โจทก์นำสืบได้ความว่า ในวันที่ทำสัญญากู้ยืมจำเลยที่ 1 ได้รับเงินไปจากโจทก์เพียง 2,000,000 บาทและหลังจากนั้นในวันที่ 20 มิถุนายน 2526 จำเลยที่ 1ได้รับเงินไปอีก 1,000,000 บาท กรณีหาจำเป็นที่โจทก์ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือมาแสดงว่าจำเลยที่ 1 ได้รับเงินจำนวน 1,000,000 บาท ในภายหลังอีกไม่ เพราะโจทก์มีหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือในจำนวนเงิน 3,000,000 บาทที่จำเลยที่ 1 ลงชื่อเป็นผู้กู้ยืมมาแสดงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 แล้ว โจทก์ย่อมนำสืบพยานบุคคลถึงการรับเงินตามจำนวนที่ระบุในสัญญากู้เงินได้ จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากู้ยืมจากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ส.ซึ่งมิได้เป็นบริษัทที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเงินทุนหรือธุรกิจหลักทรัพย์และเป็นสถาบันการเงินตามพระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2523อันจะมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากผู้กู้ยืมได้เป็นพิเศษจึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654ที่ห้ามคิดดอกเบี้ยเกินร้อยละ 14 ต่อปี มาปรับแก่คดี เมื่อสัญญากู้เงินระหว่างจำเลยที่ 1 กับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ส. ตามเอกสารหมาย จ.6 กำหนดดอกเบี้ยไว้ในอัตราร้อยละ19.5 ต่อปี เกินอัตราที่กฎหมายกำหนด เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 ข้อกำหนดอัตราดอกเบี้ยจึงตกเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะเรียกดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินจากจำเลยที่ 1 และไม่มีสิทธิที่จะเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 5 ในฐานะผู้จำนองในอัตราเดียวกันด้วยได้ แต่โจทก์ยังมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยโดยเหตุผิดนัดในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่เวลาผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 แม้ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยระหว่างจำเลยที่ 1 กับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ส.ตกเป็นโมฆะใช้บังคับไม่ได้ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ชำระเงินจำนวนหนึ่งแก่โจทก์และโจทก์ได้นำเงินจำนวนดังกล่าวไปชำระดอกเบี้ยเสร็จสิ้นแล้วจึงนำมาชำระต้นเงิน ซึ่งชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329 เช่นนี้ถือว่าจำเลยที่ 1 ได้ชำระดอกเบี้ยให้โจทก์แล้ว แม้ดอกเบี้ยนั้นจะเกินอัตราตามกฎหมายตกเป็นโมฆะ ก็มีผลเท่ากับว่าจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามอำเภอใจโดยที่รู้อยู่แล้วว่าตนไม่มีความผูกพันต้องชำระ ที่จำเลยที่ 5 อุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นรับฟังตารางคำนวณดอกเบี้ยเอกสารหมาย จ.13 มาวินิจฉัยเป็นคุณแก่ฝ่ายโจทก์ไม่ชอบ เพราะเป็นเอกสารที่ทำขึ้นลอย ๆ นั้น เมื่อศาลศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยในประเด็นที่จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยที่ 1ได้ชำระดอกเบี้ยไปแล้วเพียงใดหรือไม่ โดยมิได้นำเอกสารหมาย จ.13 มาวินิจฉัยให้เป็นคุณแก่โจทก์ ที่จำเลยที่ 5ฎีกาในข้อนี้ขึ้นมาอีก ศาลฎีกาจึงไม่จึงต้องวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6779/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดสรรชำระหนี้: ชำระหนี้อุปกรณ์ก่อนเมื่อไม่สามารถชำระหนี้ประธานได้ทั้งหมด
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 329 ในกรณีที่ลูกหนี้มีหนี้รายเดียวแต่ว่ามีทั้งหนี้ประธานและหนี้อุปกรณ์ เมื่อลูกหนี้ชำระหนี้โดยไม่สามารถชำระหนี้ได้ทั้งหมดจะต้องจัดสรรชำระหนี้อุปกรณ์ก่อน เมื่อตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลและใบเสร็จรับเงินมิได้ระบุให้จัดใช้เป็นการชำระหนี้ต้นเงินอันเป็นหนี้ประธานก่อน จึงต้องเอาเงินจำนวนดังกล่าวจัดใช้หนี้ดอกเบี้ยอันเป็นหนี้อุปกรณ์ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6779/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดสรรชำระหนี้: หนี้อุปกรณ์ต้องชำระก่อนหนี้ประธานเมื่อชำระไม่ครบ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา329ในกรณีที่ลูกหนี้มีหนี้รายเดียวแต่ว่ามีทั้งหนี้ประธานและหนี้อุปกรณ์เมื่อลูกหนี้ชำระหนี้โดยไม่สามารถชำระหนี้ได้ทั้งหมดจะต้องจัดสรรชำระหนี้อุปกรณ์ก่อนเมื่อตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลและใบเสร็จรับเงินมิได้ระบุให้จัดใช้เป็นการชำระหนี้ต้นเงินอันเป็นหนี้ประธานก่อนจึงต้องเอาเงินจำนวนดังกล่าวจัดใช้หนี้ดอกเบี้ยอันเป็นหนี้อุปกรณ์ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4643/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ด้วยการมอบบัตรเอทีเอ็มและการยอมรับการชำระหนี้โดยเจ้าหนี้
ล.ทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์รวม275,000บาทโดยมีจำเลยที่1ค้ำประกันและล. ได้มอบสมุดคู่ฝากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์และบัตรถอนเงินอัตโนมัติให้ไว้แก่โจทก์เพื่อให้โจทก์นำไปถอนเงินเดือนของล.จากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์โจทก์ถอนเงินจากเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติรวม345,000บาทจึงต้องนำเงินจำนวนนี้หักชำระหนี้จากเงินที่ล. กู้จากโจทก์จำนวน275,000บาทแต่เงินที่โจทก์ถอนมาทั้งหมดอันจะนำไปหักชำระหนี้นั้นเป็นการชำระทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยซึ่งไม่ได้ความว่าคงเหลือต้นเงินเท่าใดและโจทก์ก็อ้างว่าล. ไม่เคยชำระหนี้ให้โจทก์เลยดังนั้นจึงกำหนดต้นเงินตามที่จำเลยที่2และที่3ให้การยอมรับว่าโจทก์ได้รับชำระหนี้บางส่วนไปแล้วเป็นเงิน210,000บาท การที่ล. มอบสิทธิในการถอนเงินโดยมอบบัตรถอนเงินอัตโนมัติให้โจทก์ไปถอนเงินจากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของตนผ่านเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติถือว่าเป็นการชำระหนี้อย่างอื่นซึ่งโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ได้ยอมรับแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา321แม้ว่าจำเลยที่2ที่3ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดงหรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมได้เวนคืนแล้วหรือได้แทงเพิกถอนในเอกสารนั้นแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา653วรรคสองก็รับฟังได้ว่าล. ได้ชำระหนี้เงินกู้ให้โจทก์บางส่วนแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4643/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ด้วยการมอบสิทธิถอนเงินจากบัญชี และการรับชำระหนี้บางส่วนโดยเจ้าหนี้
ล.ทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์รวม 275,000 บาท โดยมีจำเลยที่ 1ค้ำประกัน และ ล.ได้มอบสมุดคู่ฝากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์และบัตรถอนเงินอัตโนมัติให้ไว้แก่โจทก์เพื่อให้โจทก์นำไปถอนเงินเดือนของ ล.จากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์โจทก์ถอนเงินจากเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติรวม 345,000 บาท จึงต้องนำเงินจำนวนนี้หักชำระหนี้จากเงินที่ ล.กู้จากโจทก์จำนวน 275,000 บาท แต่เงินที่โจทก์ถอนมาทั้งหมดอันจะนำไปหักชำระหนี้นั้นเป็นการชำระทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยซึ่งไม่ได้ความว่าคงเหลือต้นเงินเท่าใด และโจทก์ก็อ้างว่า ล.ไม่เคยชำระหนี้ให้โจทก์เลยดังนั้นจึงกำหนดต้นเงินตามที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้การยอมรับว่าโจทก์ได้รับชำระหนี้บางส่วนไปแล้วเป็นเงิน 210,000 บาท
การที่ ล.มอบสิทธิในการถอนเงินโดยมอบบัตรถอนเงินอัตโนมัติให้โจทก์ไปถอนเงินจากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของตนผ่านเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติถือว่าเป็นการชำระหนี้อย่างอื่นซึ่งโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ได้ยอมรับแล้ว ตาม ป.พ.พ.มาตรา 321 แม้ว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดงหรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมได้เวนคืนแล้วหรือได้แทงเพิกถอนในเอกสารนั้นแล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคสอง ก็รับฟังได้ว่า ล.ได้ชำระหนี้เงินกู้ให้โจทก์บางส่วนแล้ว
การที่ ล.มอบสิทธิในการถอนเงินโดยมอบบัตรถอนเงินอัตโนมัติให้โจทก์ไปถอนเงินจากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของตนผ่านเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติถือว่าเป็นการชำระหนี้อย่างอื่นซึ่งโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ได้ยอมรับแล้ว ตาม ป.พ.พ.มาตรา 321 แม้ว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดงหรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมได้เวนคืนแล้วหรือได้แทงเพิกถอนในเอกสารนั้นแล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคสอง ก็รับฟังได้ว่า ล.ได้ชำระหนี้เงินกู้ให้โจทก์บางส่วนแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1324/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงชำระหนี้ต้นเงินด้วยเช็ค ห้ามนำไปชำระดอกเบี้ย
การที่โจทก์ได้รับเช็คของ อ. ซึ่งเป็นภรรยาของจำเลยที่ 2จำนวน 37 ฉบับ ที่จำเลยที่ 1 นำไปมอบให้โจทก์เพื่อเป็นการชำระหนี้และโจทก์ได้ทำบันทึกไว้เป็นหลักฐานว่า "ข้าพเจ้าในนามบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทย จำกัด ได้รับเช็คจำนวน 37 ฉบับ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,875,557 บาท เพื่อชำระหนี้ต้นเงินทั้งหมดของห้างหุ้นส่วนจำกัด ป.วิศวกรรมการสร้าง สำหรับดอกเบี้ยทางห้างหุ้นส่วนจำกัด ป.วิศวกรรมการสร้างจะนำมาชำระให้ภายหลังโดยขอเวลาเจรจาอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งหนึ่ง" นั้น เมื่อโจทก์ตกลงกับจำเลยที่ 1 ว่าจะนำเช็ค 37 ฉบับไปหักต้นเงินเท่านั้นโจทก์ก็ต้องปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีสิทธินำเช็ค37 ฉบับไปชำระดอกเบี้ยแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5007/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับชำระหนี้และดอกเบี้ยในตั๋วสัญญาใช้เงิน การคิดดอกเบี้ยของสถาบันการเงิน
เมื่อสัญญาระบุลำดับการชำระหนี้ไว้โดยชัดแจ้งว่า ต้องชำระเงินต้นก่อน เมื่อชำระเงินต้นครบถ้วนแล้วจึงจะชำระดอกเบี้ย ดังนั้นเงินที่ชำระหนี้จึงต้องนำไปหักจากต้นเงินตามที่ได้ตกลงกันไว้ จะนำไปหักจากดอกเบี้ยที่ค้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329 ไม่ได้ เพราะบทบัญญัติดังกล่าวเป็นกรณีที่ไม่ได้ระบุลำดับการชำระหนี้กันไว้
ตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกตกลงคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19.5 และ 18 ต่อปี เป็นการตกลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและ-พาณิชย์ มาตรา 911, 968 (1) ประกอบด้วยมาตรา 985 ซึ่งกฎหมายไม่ได้วางข้อจำกัดอันใดไว้จึงแล้วแต่คู่กรณีจะตกลงกัน การที่จำเลยที่ 1 ยินยอมให้ดอกเบี้ยตามที่ระบุไว้ในตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นก็เป็นผลประโยชน์ที่จำเลยที่ 1 ลูกหนี้ยินยอมเพื่อตอบแทนการที่โจทก์ยอมให้กู้อันเป็นที่มาแห่งมูลหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน หาใช่เป็นการกู้ยืมเงินและเป็นการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทซึ่งมีรายการใช้เงินเป็นจำนวนแน่นอนพร้อมดอกเบี้ยจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นตามมาตรา 900 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โจทก์ในฐานะสถาบันการเงินมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากการให้กู้ยืมเงินในระหว่างอัตราร้อยละ 18.5 ถึง 19.5 ต่อปี ตามที่มีประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดไว้ ดังนั้นที่มีการตกลงเรื่องดอกเบี้ยกันไว้ในตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทในอัตราร้อยละ 19.5 และ 18 ต่อปี จึงเป็นไปตามสิทธิที่โจทก์จะเรียกดอกเบี้ยอัตราดังกล่าวได้จนกว่าจะชำระหนี้ให้โจทก์เสร็จสิ้น
ตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกตกลงคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19.5 และ 18 ต่อปี เป็นการตกลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและ-พาณิชย์ มาตรา 911, 968 (1) ประกอบด้วยมาตรา 985 ซึ่งกฎหมายไม่ได้วางข้อจำกัดอันใดไว้จึงแล้วแต่คู่กรณีจะตกลงกัน การที่จำเลยที่ 1 ยินยอมให้ดอกเบี้ยตามที่ระบุไว้ในตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นก็เป็นผลประโยชน์ที่จำเลยที่ 1 ลูกหนี้ยินยอมเพื่อตอบแทนการที่โจทก์ยอมให้กู้อันเป็นที่มาแห่งมูลหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน หาใช่เป็นการกู้ยืมเงินและเป็นการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทซึ่งมีรายการใช้เงินเป็นจำนวนแน่นอนพร้อมดอกเบี้ยจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นตามมาตรา 900 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โจทก์ในฐานะสถาบันการเงินมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากการให้กู้ยืมเงินในระหว่างอัตราร้อยละ 18.5 ถึง 19.5 ต่อปี ตามที่มีประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดไว้ ดังนั้นที่มีการตกลงเรื่องดอกเบี้ยกันไว้ในตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทในอัตราร้อยละ 19.5 และ 18 ต่อปี จึงเป็นไปตามสิทธิที่โจทก์จะเรียกดอกเบี้ยอัตราดังกล่าวได้จนกว่าจะชำระหนี้ให้โจทก์เสร็จสิ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5007/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับการชำระหนี้ & อัตราดอกเบี้ย: ตั๋วสัญญาใช้เงิน, การนำเงินชำระหนี้ไปหักต้นเงิน/ดอกเบี้ย, สิทธิคิดดอกเบี้ย
เมื่อสัญญาระบุลำดับการชำระหนี้ไว้โดยชัดแจ้งว่าต้องชำระเงินต้นก่อน เมื่อชำระเงินต้นครบถ้วนแล้วจึงจะชำระดอกเบี้ย ดังนั้นเงินที่ชำระหนี้จึงต้องนำไปหักจากต้นเงินตามที่ได้ตกลงกันไว้ จะนำไปหักจากดอกเบี้ยที่ค้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329 ไม่ได้ เพราะบทบัญญัติดังกล่าวเป็นกรณีที่ไม่ได้ระบุลำดับการชำระหนี้กันไว้ ตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกตกลงคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19.5 และ 18 ต่อปี เป็นการตกลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 911,968(1)ประกอบด้วยมาตรา 985 ซึ่งกฎหมายไม่ได้วางข้อจำกัดอันใดไว้จึงแล้วแต่คู่กรณีจะตกลงกัน การที่จำเลยที่ 1 ยินยอมให้ดอกเบี้ยตามที่ระบุไว้ในตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นก็เป็นผลประโยชน์ที่จำเลยที่ 1 ลูกหนี้ยินยอมเพื่อตอบแทนการที่โจทก์ยอมให้กู้อันเป็นที่มาแห่งมูลหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน หาใช่เป็นการกู้ยืมเงินและเป็นการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทซึ่งมีรายการใช้เงินเป็นจำนวนแน่นอนพร้อมดอกเบี้ย จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นตามมาตรา 900 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โจทก์ในฐานะสถาบันการเงินมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากการให้กู้ยืม เงินในระหว่างอัตราร้อยละ 18.5 ถึง 19.5 ต่อปีตามที่มีประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดไว้ ดังนั้นที่มีการตกลงเรื่องดอกเบี้ยกันไว้ในตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทในอัตราร้อยละ 19.5 และ 18 ต่อปี จึงเป็นไปตามสิทธิที่โจทก์จะเรียกดอกเบี้ยอัตราดังกล่าวได้จนกว่าจะชำระหนี้ให้โจทก์เสร็จสิ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4755/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ การหักชำระดอกเบี้ยออกจากต้นเงิน และการนำสืบพยานหลักฐานการชำระหนี้
การนำสืบถึงการชำระเงินที่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ให้กู้มาแสดง หรือมีการเวนคืนเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม หรือแทงเพิกถอนในเอกสารตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653 วรรคสอง หมายถึงการนำสืบถึงการชำระต้นเงินเท่านั้นไม่รวมถึงการชำระดอกเบี้ยด้วย จำเลยจึงมีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบถึงจำนวนดอกเบี้ยที่ชำระไปได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) เมื่อปรากฏว่าจำนวนดอกเบี้ยที่จำเลยชำระให้โจทก์ไปแล้ว มีจำนวนสูงกว่าจำนวนดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิจะได้ตามสัญญากู้และสัญญาจำนอง จึงต้องนำส่วนที่เกินไปชำระต้นเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา329 วรรคแรก และเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องคิดยอดเงินมาให้ถูกต้อง เมื่อโจทก์คิดยอดหนี้มาไม่ถูกต้อง จึงชอบที่จะยกฟ้องแต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะยื่นฟ้องใหม่ภายในอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4562/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันและการรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
การที่ ศ. ทำสัญญาค้ำประกันไว้กับเจ้าหนี้ซึ่งนอกจากจะมีข้อความระบุว่าเป็นการค้ำประกันหนี้เงินกู้ที่ลูกหนี้ที่ 1กู้ยืมเงินจากโจทก์ตามสัญญากู้ยืมและบันทึกข้อความต่อท้ายสัญญากู้ยืมแล้ว ตอนท้ายของสัญญาค้ำประกันดังกล่าวยังระบุด้วยว่าผู้ค้ำประกันสมัครใจค้ำประกันหนี้สินอื่น ๆ ทุกชนิด และทุกประเภทของผู้กู้ ทั้งที่มีอยู่แล้วหรือจะมีขึ้นในภายหน้าอันพึงมีต่อผู้ให้กู้ และ/หรือในนิติกรรมสัญญาใด ๆ ที่ผู้กู้ได้ทำไว้กับผู้ให้กู้ทั้งหมดจนกว่าผู้ให้กู้จะได้รับชำระหนี้ถูกต้องครบถ้วนด้วยดังนั้น เมื่อลูกหนี้ที่ 1 ได้ทำสัญญาค้ำประกันหนี้อันดับที่ 2และอันดับที่ 3 ไว้ต่อเจ้าหนี้ย่อมต้องถือว่า ศ. ตกลงเข้าค้ำประกันหนี้ตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าวด้วย เมื่อ ศ. นำเงินไปชำระหนี้แก่เจ้าหนี้โดยมิได้ระบุว่าชำระหนี้รายใด การที่เจ้าหนี้นำไปจัดสรรชำระดอกเบี้ยของหนี้ทั้งสามอันดับตามส่วน ย่อยชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 328และมาตรา 329 แล้ว การที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้อันดับที่ 3 โดยอ้างส่งแต่เฉพาะสำเนาเอกสารเกี่ยวกับหนี้ดังกล่าวเป็นพยาน แต่ไม่นำส่งต้นฉบับให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้หมายนัดให้เจ้าหนี้ทราบโดยชอบ ทั้งไม่แจ้งเหตุขัดข้องให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบ จึงต้องห้ามมิให้รับฟังสำเนาเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93 ประกอบพระราชบัญญัติ ล้มละลาย มาตรา 153