คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 329

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 65 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1825/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับชำระหนี้จำนองหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์: ดอกเบี้ยถึงวันขายทอดตลาด, ผู้จำนองยังต้องรับผิด
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาด ผู้ร้องขอรับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้มีประกัน ศาลมีคำสั่งอนุญาตภายในเงื่อนไขว่าหากผู้ร้องได้รับชำระหนี้จากการบังคับจำนองไปแล้วเพียงใดก็ให้สิทธิของผู้ร้องที่จะได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยลดลงไปเพียงนั้น ดังนี้การที่ ฉ.จำนองทรัพย์สินของตนไว้เป็นประกันหนี้ของจำเลยต่อผู้ร้องทรัพย์สินซึ่งจำนองย่อมเป็นประกันเพื่อการชำระหนี้กับทั้งค่าอุปกรณ์อันได้แก่ดอกเบี้ยตามสัญญาจำนองด้วย เมื่อผู้ร้องฟ้อง ฉ.เพื่อบังคับจำนองและเงินได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองไม่เพียงพอปลดเปลื้องหนี้สินได้ทั้งหมด การจัดลำดับในการชำระหนี้ก่อนหลังจึงต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329 คือ จัดใช้เป็นค่าฤชาธรรมเนียมเสียก่อนแล้วจึงใช้ดอกเบี้ย และในที่สุดจึงให้ใช้ในการชำระหนี้อันเป็นประธานสำหรับดอกเบี้ยนั้นต้องใช้ถึงวันขายทอดตลาด กรณีนี้จะนำความในมาตรา 100แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาใช้บังคับ ซึ่งจะมีผลให้ไม่ต้องนำเงินสุทธิที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนอง มาหักชำระค่าดอกเบี้ยที่เกิดหลังจากวันที่ศาลมีคำสั่ง พิทักษ์ทรัพย์จำเลยแล้วไม่ได้ เพราะ ฉ. ผู้จำนองไม่ใช่ลูกหนี้ที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ จึงยังต้องรับผิดในดอกเบี้ย ที่เกิดหลังจากวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยอยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1825/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับชำระหนี้จำนอง: ดอกเบี้ยต้องจ่ายถึงวันขายทอดตลาด แม้จำเลยล้มละลาย ผู้จำนองยังต้องรับผิด
การที่ ฉ. จำนองทรัพย์สินของตนไว้เป็นประกันหนี้ของจำเลยผู้ล้มละลาย ทรัพย์สินที่จำนองย่อมเป็นประกันเพื่อการชำระหนี้กับทั้งค่าอุปกรณ์อันได้แก่ดอกเบี้ยตามสัญญาจำนอง เมื่อผู้ร้องฟ้องฉ. เพื่อบังคับจำนองและเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองไม่เพียงพอที่จะเปลื้องหนี้สินได้ทั้งหมด การจัดลำดับชำระหนี้ก่อนหลังต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329คือต้องจัดใช้เป็นค่าฤชาธรรมเนียมก่อนแล้วจึงใช้ดอกเบี้ย สุดท้ายจึงชำระหนี้อันเป็นประธานและดอกเบี้ยนั้นจะต้องใช้ถึงวันขายทอดตลาดเพราะ ฉ. ผู้จำนองมิใช่ลูกหนี้ที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์จึงนำมาตรา 100 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาใช้บังคับไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1825/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับชำระหนี้จากการบังคับจำนองหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: ดอกเบี้ยก่อนหนี้และข้อยกเว้น
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาด ผู้ร้องขอรับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้มีประกัน ศาลมีคำสั่งอนุญาตภายในเงื่อนไขว่าหากผู้ร้องได้รับชำระหนี้จากการบังคับจำนองไปแล้วเพียงใดก็ให้สิทธิของผู้ร้องที่จะได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยลดลงไปเพียงนั้น ดังนี้การที่ ฉ.จำนองทรัพย์สินของตนไว้เป็นประกันหนี้ของจำเลยต่อผู้ร้อง ทรัพย์สินซึ่งจำนองย่อมเป็นประกันเพื่อการชำระหนี้กับทั้งค่าอุปกรณ์อันได้แก่ดอกเบี้ยตามสัญญาจำนองด้วย เมื่อผู้ร้องฟ้อง ฉ.เพื่อบังคับจำนองและเงินได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองไม่เพียงพอปลดเปลื้องหนี้สินได้ทั้งหมด การจัดลำดับในการชำระหนี้ก่อนหลังจึงต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329 คือ จัดใช้เป็นค่าฤชาธรรมเนียมเสียก่อนแล้วจึงใช้ดอกเบี้ย และในที่สุดจึงให้ใช้ในการชำระหนี้อันเป็นประธานสำหรับดอกเบี้ยนั้นต้องใช้ถึงวันขายทอดตลาด กรณีนี้จะนำความในมาตรา 100แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาใช้บังคับ ซึ่งจะมีผลให้ไม่ต้องนำเงินสุทธิที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองมาหักชำระค่าดอกเบี้ยที่เกิดหลังจากวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยแล้วไม่ได้ เพราะ ฉ.ผู้จำนองไม่ใช่ลูกหนี้ที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ จึงยังต้องรับผิดในดอกเบี้ยที่เกิดหลังจากวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยอยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6320/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ภาษีอากร การระบุวัตถุประสงค์การชำระ และสิทธิในการได้รับประโยชน์จากประกาศขยายเวลาชำระ
แถลงการณ์กระทรวงการคลัง เรื่องเปิดโอกาสให้เสียภาษีอากรเพิ่มเติม ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2525 ข้อ 4 กำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรที่ได้รับแจ้งการประเมิน แต่ยังมิได้ชำระภาษีอากรให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลาในแบบแจ้งการประเมิน และพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วหากได้นำภาษีอากรที่ค้างชำระอยู่นั้นไปชำระภายในวันที่ 31พฤษภาคม 2525 ผู้นั้นไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่ม ดังนี้การที่โจทก์ชำระภาษีอากรให้แก่จำเลยด้วยเช็ค จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรคท้าย กล่าวคือหนี้ภาษีอากรจะระงับต่อเมื่อเช็คนั้นได้ใช้เงินแล้ว เมื่อปรากฏว่าธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค หนี้ภาษีอากรย่อมไม่ระงับสิ้นไปแม้ว่าต่อมาวันที่ 15 มิถุนายน 2525 โจทก์จะได้นำแคชเชียร์เช็คไปชำระหนี้ให้จำเลยแทนเช็คเดิมที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน และจำเลยได้รับชำระหนี้ตามแคชเชียร์เช็คนั้นก็ตามแต่ก็เป็นการล่วงเลยเวลาวันที่ 31 พฤษภาคม 2528 ตามแถลงการณ์กระทรวงการคลังเช่นว่านั้นแล้ว โจทก์จึงไม่ได้รับสิทธิที่จะไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มตามแถลงการณ์ฉบับดังกล่าว ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายเวลายื่นรายการการชำระหรือนำส่งภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 7 สิงหาคม 2528 ข้อ 3วรรคแรก กำหนดว่า ในกรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรได้รับแจ้งการประเมิน แต่ยังมิได้ชำระ หรือยังมิได้ชำระเฉพาะเบี้ยปรับและหรือเงินเพิ่มให้ครบถ้วน ตามกำหนดเวลาในแบบแจ้งการประเมินและพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วหากได้นำภาษีอากรที่ค้างอยู่นั้นไปชำระภายในวันที่ 15 สิงหาคม 2528 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2528 ผู้นั้นไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มใด ๆ สำหรับภาษีอากรส่วนที่ชำระนั้น และวรรคสองกำหนดว่ากรณีที่มีการชำระค่าภาษีอากรไว้แล้วคงค้างอยู่เฉพาะเบี้ยปรับและหรือเงินเพิ่ม ถ้าผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรยื่นคำร้องขอก็ให้ได้รับสิทธิตามประกาศนี้ด้วย ดังนี้เมื่อปรากฏว่าแคชเชียร์เช็คที่โจทก์ชำระค่าภาษีอากรให้จำเลยไม่เพียงพอที่จะปลดเปลื้องค่าภาษีอากร เบี้ยปรับ และเงินเพิ่มได้หมดทุกราย อีกทั้งเบี้ยปรับและเงินเพิ่มเป็นเงินที่ประมวลรัษฎากรกำหนดให้ผู้หลีกเลี่ยงภาษีอากรต้องเสียเป็นกรณีพิเศษ มิใช่เป็นค่าฤชาธรรมเนียมหรือดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 329 ซึ่งลูกหนี้จะต้องชำระก่อนหนี้ภาษีอากร การชำระหนี้รายนี้จึงอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 328วรรคแรก และการที่โจทก์มอบแคชเชียร์เช็คให้จำเลยเพื่อชำระหนี้ค่าภาษีอากร ย่อมแสดงว่าโจทก์ระบุชำระหนี้ค่าภาษีอากรก่อน หนี้ค่าภาษีอากรนั้นเป็นอันได้เปลื้องไป ตามมาตรา 328 วรรคแรก กรณีเช่นนี้จำเลยจะถือปฏิบัติตามระเบียบโดยให้เฉลี่ยชำระหนี้ทั้งค่าภาษีอากรเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ด้วยการจัดการแบ่งเฉลี่ยชำระเองตามที่ต้องการโดยโจทก์มิได้ยินยอมด้วยไม่ได้เมื่อมีการชำระค่าภาษีอากรแล้วคงค้างเฉพาะเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม และโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอตามประกาศกระทรวงการคลังเช่นว่านั้นแล้ว โจทก์ย่อมได้รับสิทธิไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มตามประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6320/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ภาษีอากรและการขยายเวลาไม่ต้องเสียเบี้ยปรับ/เงินเพิ่มตามประกาศกระทรวงการคลัง การเฉลี่ยชำระหนี้
แถลงการณ์กระทรวงการคลัง เรื่องเปิดโอกาสให้เสียภาษีอากรเพิ่มเติม ลงวันที่26 กุมภาพันธ์ 2525 ข้อ 4 กำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรที่ได้รับแจ้งการประเมิน แต่ยังมิได้ชำระภาษีอากรให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลาในแบบแจ้งการประเมิน และพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วหากได้นำภาษีอากรที่ค้างชำระอยู่นั้นไปชำระภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2525 ผู้นั้นไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่ม ดังนี้ การที่โจทก์ชำระภาษีอากรให้แก่จำเลยด้วยเช็ค จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ.มาตรา321 วรรคท้าย กล่าวคือหนี้ภาษีอากรจะระงับต่อเมื่อเช็คนั้นได้ใช้เงินแล้ว เมื่อปรากฏว่าธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค หนี้ภาษีอากรย่อมไม่ระงับสิ้นไป แม้ว่าต่อมาวันที่ 15 มิถุนายน 2525โจทก์จะได้นำแคชเชียร์เช็คไปชำระหนี้ให้จำเลยแทนเช็คเดิมที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน และจำเลยได้รับชำระหนี้ตามแคชเชียร์เช็คนั้นแล้วก็ตาม แต่ก็เป็นการล่วงเลยเวลาวันที่ 31 พฤษภาคม2528 ตามแถลงการณ์กระทรวงการคลังเช่นว่านั้นแล้ว โจทก์จึงไม่ได้รับสิทธิที่จะไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มตามแถลงการณ์ฉบับดังกล่าว
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายเวลายื่นรายการการชำระหรือนำส่งภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 7 สิงหาคม 2528 ข้อ 3 วรรคแรก กำหนดว่า ในกรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรได้รับแจ้งการประเมิน แต่ยังมิได้ชำระ หรือยังมิได้ชำระเฉพาะเบี้ยปรับและหรือเงินเพิ่มให้ครบถ้วน ตามกำหนดเวลาในแบบแจ้งการประเมินและพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วหากได้นำภาษีอากรที่ค้างอยู่นั้นไปชำระภายในวันที่ 15 สิงหาคม 2528 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2528ผู้นั้นไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มใด ๆ สำหรับภาษีอากรส่วนที่ชำระนั้น และวรรคสองกำหนดว่ากรณีที่มีการชำระค่าภาษีอากรไว้แล้ว คงค้างอยู่เฉพาะเบี้ยปรับและหรือเงินเพิ่ม ถ้าผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรยื่นคำร้องขอก็ให้ได้รับสิทธิตามประกาศนี้ด้วย ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าแคชเชียร์เช็คที่โจทก์ชำระค่าภาษีอากรให้จำเลยไม่เพียงพอที่จะปลดเปลื้องค่าภาษีอากร เบี้ยปรับ และเงินเพิ่มได้หมดทุกราย อีกทั้งเบี้ยปรับและเงินเพิ่มเป็นเงินที่ประมวลรัษฎากรกำหนดให้ผู้หลีกเลี่ยงภาษีอากรต้องเสียเป็นกรณีพิเศษ มิใช่เป็นค่าฤชาธรรมเนียมหรือดอกเบี้ยตาม ป.พ.พ. มาตรา 329ซึ่งลูกหนี้จะต้องชำระก่อนหนี้ภาษีอากร การชำระหนี้รายนี้จึงอยู่ในบังคับของ ป.พ.พ. มาตรา328 วรรคแรก และการที่โจทก์มอบแคชเชียร์เช็คให้จำเลยเพื่อชำระหนี้ค่าภาษีอากร ย่อมแสดงว่าโจทก์ระบุชำระหนี้ค่าภาษีอากรก่อน หนี้ค่าภาษีอากรนั้นเป็นอันได้เปลื้องไป ตามมาตรา 328วรรคแรก กรณีเช่นนี้จำเลยจะถือปฏิบัติตามระเบียบโดยให้เฉลี่ยชำระหนี้ทั้งค่าภาษีอากร เบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ด้วยการจัดการแบ่งเฉลี่ยชำระเองตามที่ต้องการโดยโจทก์มิได้ยินยอมด้วยไม่ได้เมื่อมีการชำระค่าภาษีอากรแล้ว คงค้างเฉพาะเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม และโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอตามประกาศกระทรวงการคลังเช่นว่านั้นแล้ว โจทก์ย่อมได้รับสิทธิไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มตามประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3876/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับการชำระหนี้ภาษีอากรและเงินเพิ่ม: หนี้เก่ากว่าปลดเปลื้องก่อน
ที่พระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 มาตรา 112 จัตวาบัญญัติว่า เมื่อผู้นำของเข้านำเงินมาชำระค่าภาษีอากรที่ต้องเสียหรือเสียเพิ่มให้เรียกเก็บเงินเพิ่มในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนของค่าอากรที่นำมาชำระจนถึงวันที่นำเงินมาชำระนั้น เห็นว่าเงินเพิ่มตามมาตรานี้ มิใช่ดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 329 โจทก์จึงจะนำเงินที่ธนาคารค้ำประกันมาหักชำระเงินเพิ่มค่าภาษีอากรก่อนไม่ได้ กรณีนี้เป็นเรื่องลูกหนี้ต้องผูกพันต่อเจ้าหนี้ในอันจะกระทำการเพื่อชำระหนี้เป็นการอย่างเดียวกันโดยมูลหนี้หลายราย หนี้ถึงกำหนดชำระพร้อมกัน หนี้รายที่เก่าที่สุดเป็นอันได้เปลื้องไปก่อน เมื่อหนี้ค่าภาษีอากรเป็นหนี้เก่ากว่าหนี้เงินเพิ่มค่าภาษีอากร ดังนี้ หนี้ค่าภาษีอากรย่อมได้รับการปลดเปลื้องไปก่อนหนี้เงินเพิ่มค่าภาษีอากรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 328

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3876/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับชำระหนี้ภาษีอากรและเงินเพิ่ม: หนี้เก่ากว่าปลดเปลื้องก่อน แม้ธนาคารค้ำประกันชำระเกิน
ที่พระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 มาตรา 112 จัตวา บัญญัติว่า เมื่อผู้นำของเข้านำเงินมาชำระค่าภาษีอากรที่ต้องเสียหรือเสียเพิ่มให้เรียกเก็บเงินเพิ่มในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนของค่าอากรที่นำมาชำระจนถึงวันที่นำเงินมาชำระนั้น เห็นว่า เงินเพิ่มตามมาตรานี้มิใช่ดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329 โจทก์จึงจะนำเงินที่ธนาคารค้ำประกันมาหักชำระเงินเพิ่มค่าภาษีอากรก่อนไม่ได้ กรณีนี้เป็นเรื่องลูกนี้ต้องผูกพันต่อเจ้าหนี้ในอันจะกระทำการเพื่อชำระหนี้เป็นการอย่างเดียวกันโดยมูลหนี้หลายราย หนี้ถึงกำหนดชำระพร้อมกัน หนี้รายที่เก่าที่สุดเป็นอันได้เปลื้องไปก่อน เมื่อหนี้ค่าภาษีอากรเป็นหนี้เก่ากว่าหนี้เงินเพิ่มค่าภาษีอากร ดังนี้หนี้ค่าภาษีอากรย่อมได้รับการปลดเปลื้องไปก่อนหนี้เงินเพิ่มค่าภาษีอากร ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 328

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2727/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้บางส่วนตามคำพิพากษา ผลกระทบต่อหนี้ที่เหลือ และการคิดดอกเบี้ย
โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหาอาจถูกบังคับให้ชำระหนี้แต่เพียงบางส่วนไม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 320 หากโจทก์เห็นว่าตนยังมิได้รับชำระหนี้สมดังสิทธิตามคำพิพากษาก็ชอบที่จะบอกปัดไม่ยอมรับ จนกว่าจำเลยจะชำระหนี้ตามคำพิพากษาโดยสิ้นเชิง แต่โจทก์กลับละเสียซึ่งประโยชน์ตามมาตราดังกล่าว โดยยอมรับเช็คที่จำเลยสั่งจ่ายชำระหนี้ตามคำพิพากษาบางส่วน ดังนั้น หนี้จำนวนนั้นจึงเป็นอันเปลื้องไป ทั้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 275 (2) ก็มีความหมายว่าลูกหนี้ตามคำพิพากษาอาจชำระหนี้แต่บางส่วนได้ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจึงมีสิทธิขอให้บังคับคดีเฉพาะแต่ส่วนที่เหลือเท่านั้น
จำเลยสั่งจ่ายเช็คชำระหนี้ตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง เท่าที่คิดว่าพอแก่จำนวนที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องโดยไม่ยอมรับผิดการวางเงินเช่นนี้ย่อมไม่เป็นเหตุระงับการเสียดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 136
จำเลยชำระหนี้ตามคำพิพากษาบางส่วนไม่เพียงพอจะเปลื้องหนี้สินได้ทั้งหมด จึงต้องใช้ดอกเบี้ยก่อนแล้วจึงชำระหนี้เงินต้นอันเป็นหนี้ประธานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329 หักแล้วจำเลยยังค้างชำระอยู่เท่าใดก็ต้องเสียดอกเบี้ยในเงินจำนวนนั้นจนถึงวันที่จำเลยชำระหนี้ครั้งต่อไป
โจทก์ขอเลื่อนนัดสอบถามของศาลแรงงานกลางเกี่ยวกับการรับชำระหนี้ของโจทก์ โดยอ้างว่าขาดการติดต่อทนายความจะขอปรึกษาทนายความโจทก์ก่อน เมื่อศาลฎีกาได้หยิบยกข้อเท็จจริงและพฤติการณ์แห่งคดีตามที่ปรากฏในท้องสำนวนขึ้นวินิจฉัยโดยละเอียดทุกถ้อยกระทงความแล้ว แม้โจทก์มีโอกาสปรึกษาหารือทนายโจทก์ก่อน ก็หาหยิบยกข้อเท็จจริง และพฤติการณ์แห่งคดีนอกเหนือไปจากท้องสำนวนให้เป็นอย่างอื่นได้ไม่ จะทำได้อย่างที่สุดก็เพียงแต่คำแถลงการณ์ ซึ่งไม่อาจเปลี่ยนแปลงคำวินิจฉัยให้เป็นอย่างอื่นได้ การที่จะขอปรึกษาทนายโจทก์ก่อน จึงไม่จำเป็นไม่เป็นประโยชน์แก่คดี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2727/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้บางส่วนตามคำพิพากษา, ผลของการรับชำระหนี้, และดอกเบี้ยค้างชำระ
โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหาอาจถูกบังคับให้ชำระหนี้แต่เพียงบางส่วนไม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 320หากโจทก์เห็นว่าตนยังมิได้รับชำระหนี้สมดังสิทธิตามคำพิพากษาก็ชอบที่จะบอกปัดไม่ยอมรับ จนกว่าจำเลยจะชำระหนี้ตามคำพิพากษาโดยสิ้นเชิง แต่โจทก์กลับละเสียซึ่งประโยชน์ตามมาตราดังกล่าว โดยยอมรับเช็คที่จำเลยสั่งจ่ายชำระหนี้ตามคำพิพากษาบางส่วน ดังนั้น หนี้จำนวนนั้นจึงเป็นอันเปลื้องไป ทั้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 275(2) ก็มีความหมายว่าลูกหนี้ตามคำพิพากษาอาจชำระหนี้แต่บางส่วนได้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจึงมีสิทธิขอให้บังคับคดีเฉพาะแต่ส่วนที่เหลือเท่านั้น
จำเลยสั่งจ่ายเช็คชำระหนี้ตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง เท่าที่คิดว่าพอแก่จำนวนที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องโดยไม่ยอมรับผิดการวางเงินเช่นนี้ย่อมไม่เป็นเหตุระงับการเสียดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 136
จำเลยชำระหนี้ตามคำพิพากษาบางส่วนไม่เพียงพอจะเปลื้องหนี้สินได้ทั้งหมด จึงต้องใช้ดอกเบี้ยก่อนแล้วจึงชำระหนี้เงินต้นอันเป็นหนี้ประธานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา329 หักแล้วจำเลยยังค้างชำระอยู่เท่าใดก็ต้องเสียดอกเบี้ยในเงินจำนวนนั้นจนถึงวันที่จำเลยชำระหนี้ครั้งต่อไป
โจทก์ขอเลื่อนนัดสอบถามของศาลแรงงานกลางเกี่ยวกับการรับชำระหนี้ของโจทก์ โดยอ้างว่าขาดการติดต่อทนายความจะขอปรึกษาทนายความโจทก์ก่อน เมื่อศาลฎีกาได้หยิบยกข้อเท็จจริงและพฤติการณ์แห่งคดีตามที่ปรากฏในท้องสำนวนขึ้นวินิจฉัยโดยละเอียดทุกถ้อยกระทงความแล้ว แม้โจทก์มีโอกาสปรึกษาหารือทนายโจทก์ก่อน ก็หาหยิบยกข้อเท็จจริง และพฤติการณ์แห่งคดีนอกเหนือไปจากท้องสำนวนให้เป็นอย่างอื่นได้ไม่ จะทำได้อย่างที่สุดก็เพียงแต่คำแถลงการณ์ ซึ่งไม่อาจเปลี่ยนแปลงคำวินิจฉัยให้เป็นอย่างอื่นได้ การที่จะขอปรึกษาทนายโจทก์ก่อน จึงไม่จำเป็นไม่เป็นประโยชน์แก่คดี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3055/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้, การชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ย, และการนำสืบพยานนอกประเด็น
คำให้การจำเลยได้แสดงโดยแจ้งชัดว่า หนี้ตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงินฉบับแรกได้หักกลบลบหนี้กับหนี้ค่าที่ดินที่จำเลยขายให้โจทก์ครั้งแรก แต่จำเลยกลับนำสืบว่าได้หักหนี้กับหนี้ค่าที่ดินที่จำเลยขายให้โจทก์ครั้งหลังที่ทำในรูปสัญญาเช่าซื้อซึ่งเป็นหนี้คนละรายกัน ข้อนำสืบของจำเลยดังกล่าวจึงรับฟังไม่ได้ เพราะเป็นข้อนำสืบนอกประเด็นที่ให้การไว้
ข้อที่ว่าจำเลยมิได้ยื่นต่อศาลและส่งให้แก่โจทก์ซึ่งสำเนาเอกสารก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าสามวันนั้น เมื่อโจทก์มิได้คัดค้านเสียภายในแปดวันนับแต่วันที่จำเลยส่งเอกสารดังกล่าวต่อศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 27 วรรคสอง โจทก์เพิ่งยกปัญหานี้ขึ้นมาโต้แย้งคัดค้านในชั้นฎีกา ศาลฎีกาจึงไม่วินิจฉัยให้
ในกรณีที่หนี้ที่ต้องชำระมีทั้งดอกเบี้ยและหนี้อันเป็นประธาน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329 มิได้บังคับว่าลูกหนี้จะขอชำระหนี้อันเป็นประธานโดยยังไม่ชำระดอกเบี้ยไม่ได้เสียเลย เพียงแต่เจ้าหนี้มีสิทธิบอกปัดไม่ยอมรับชำระหนี้ได้เท่านั้น เมื่อจำเลยขอชำระเงินต้นโดยไม่ชำระดอกเบี้ย โจทก์มิได้บอกปัดไม่ยอมรับชำระเงินต้น กลับยอมรับชำระหนี้ไว้ จึงถือว่าจำเลยชำระเงินต้นให้แก่โจทก์แล้ว คงค้างชำระเฉพาะดอกเบี้ย
of 7