คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.รัษฎากร ม. 10

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1207/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกอบธุรกิจโฆษณา: ลักษณะการรับจ้างทำของ vs. นายหน้าและตัวแทน เพื่อการเสียภาษีที่ถูกต้อง
การรับจ้างโฆษณาของโจทก์ โจทก์จะให้ความคิดในการออกแบบโฆษณาให้ลูกค้า เมื่อลูกค้าพอใจ โจทก์จะติดต่อกับสื่อ โฆษณาอันได้แก่วิทยุ โทรทัศน์ และภาพยนตร์เอง โจทก์หาได้ทำหน้าที่เป็นคนกลางช่วย ชี้ ช่องให้ลูกค้าของโจทก์กับสื่อ โฆษณา ได้เข้าทำสัญญากันอันเป็นการกระทำของนายหน้าไม่ แต่โจทก์ได้ดำเนินการตามความคิดของโจทก์ โจทก์เป็นฝ่ายลงทุนเองตลอดจนเป็นคู่สัญญากับสื่อ โฆษณา หาใช่เป็นเรื่องออกเงินทดรองหรือค่าใช้จ่ายแทนตัวการดัง ที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 816 ไม่ โจทก์จึงมิใช่ตัวแทนหรือนายหน้า ทั้งไม่ใช่การรับจัดธุรกิจให้ผู้อื่นตามความหมายของประเภทการค้า 10 แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้า แต่เป็นเรื่องรับทำการงานโฆษณาโดยถือผลสำเร็จของงานเป็นสาระสำคัญ จึงเป็นการรับจ้างทำของประเภทการค้า 4 ชนิด 1(ฉ) แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้าซึ่งขณะพิพาทต้องเสียภาษีการค้าเพียงร้อยละ 2 ของรายรับ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 899/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีการค้าข้าว: หลักฐานการซื้อจากโรงสี ต้องแสดงได้ว่าเป็นผู้ประกอบการค้าจริง
โจทก์ประกอบการค้าข้าวโดยซื้อข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศในปี พ.ศ.2509 และ 2510 โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบการค้าตามประเภทการค้า 2 ชนิด 1(ข) แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้า มีหน้าที่เสียภาษีการค้าจากรายรับของทุกเดือนภาษีตามอัตราในบัญชี และรายรับจากการค้าประเภทการค้าข้าวหมายความรวมถึงเงินที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการขายข้าวซึ่งไม่มีหลักฐานแสดงว่าเป็นข้าวที่ได้มาหรือได้รับช่วงมาจากผู้ประกอบกิจการตามประเภทการค้า 2 ชนิด 1(ก) แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้า (การสีข้าวทุกชนิด)
โจทก์อ้างว่าข้าวที่โจทก์ส่งไปจำหน่ายเป็นข้าวที่โจทก์ซื้อจากบรรดาโรงสีต่างๆ ทั่วราชอาณาจักร มีใบเสร็จรับเงินที่โรงสีข้าวนั้นๆ ออกให้เป็นหลักฐานเมื่อทางนำสืบรับฟังได้ว่าผู้ที่ขายข้าวให้โจทก์ตามใบเสร็จดังกล่าวมิใช่ผู้ประกอบการค้าประเภทการค้า 2 ชนิด1(ก) ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าจึงถือไม่ได้ว่าใบเสร็จนั้นเป็นหลักฐานที่แสดงว่าโจทก์ซื้อข้าวจากผู้ประกอบการค้าตามประเภทการค้า 2 ชนิด 1(ก) แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้า (การสีข้าวทุกชนิด) โจทก์จึงต้องมีหน้าที่เสียภาษีการค้าจากรายรับในการที่ขายข้าวที่ซื้อมาดังกล่าว