พบผลลัพธ์ทั้งหมด 325 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 380/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข่มขืนกระทำชำเรา, พยานเบิกความยืนยัน, จำเลยร่วมกระทำความผิด, ศาลเชื่อถือพยานหลักฐาน
ผู้เสียหายเป็นหญิงอายุ 16 ปี ถูกคนร้ายหลายคนผลัดเปลี่ยนกันข่มขืนกระทำชำเรา โดยใช้อาวุธปืนขู่เข็ญและใช้กำลังประทุษร้ายชกต่อยให้ผู้เสียหายยินยอมให้กระทำชำเรา ในสภาพเช่นนั้นผู้เสียหายย่อมจำคนร้ายไม่ได้ทั้งหมด แต่เฉพาะจำเลยซึ่งเป็นคนร้ายที่คุมตัวผู้เสียหายลงไปปัสสาวะข้างล่างเมื่อผู้เสียหายวิ่งหนีได้ไล่จับเป็นคนร้ายที่จับผู้เสียหายกดน้ำ ต่อย ท้อง และเอาผู้เสียหายขึ้นไปข่มขืนกระทำชำเรา โดยในระหว่างข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย จำเลยยังได้ลุกจากตัวผู้เสียหายไปถีบ ด. ตก จากบันไดกระต๊อบด้วย การที่ผู้เสียหายจำจำเลยได้จึงมิใช่เรื่องผิดปกติวิสัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 334/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดสืบพยานที่ไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นคดี และการนำสืบปฏิเสธนอกคำให้การไม่อาจรับฟังได้
แม้จะให้จำเลยสืบพยานไปและได้ความตามที่จำเลยอ้าง ก็ไม่เกี่ยวกับประเด็นโดยตรงในคดีกับเป็นเพียงพยานบอกเล่าซึ่งมีน้ำหนักน้อย หากจะให้นำเข้าสืบ ก็ไม่ทำให้การวินิจฉัยข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลงไป ดังนี้ ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งงดสืบพยานดังกล่าวเสียได้ จำเลยให้การว่า ไม่เคยกู้และรับเงินจากโจทก์ โจทก์สมคบกับบุคคลอื่นทำสัญญากู้เงินขึ้นและลงลายมือชื่อของจำเลย แต่กลับนำสืบว่าลายมือชื่อในช่องผู้กู้ตามสัญญากู้เงินเป็นลายมือชื่อจำเลยที่ลงไว้ในกระดาษเปล่าตอนกู้เงินจากบุคคลอื่นเป็นการนำสืบปฏิเสธนอกคำให้การ ไม่อาจรับฟังได้ ข้อที่จำเลยฎีกาว่าลายมือเขียนในสำเนาเอกสารแนบท้ายฎีกาเป็นลายมือเขียนของโจทก์แตกต่างกับลายมือเขียนในสัญญากู้เงินซึ่งโจทก์นำสืบว่าโจทก์เป็นผู้เขียนนั้นเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 320/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักฐานการกู้ยืมไม่จำเป็นต้องระบุคำว่า 'กู้ยืม' หรือรายละเอียดครบถ้วน สามารถรวบรวมจากเอกสารหลายฉบับได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่ง มิได้บังคับว่าหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือต้องมีข้อความว่า ใครเป็นผู้ให้กู้ ใครเป็นผู้กู้ กู้ยืมกันเมื่อไรกำหนดชำระเงินกันอย่างไร อีกทั้งหาได้มีความหมายเคร่งครัดว่าต้องมีถ้อยคำว่า กู้ยืม เป็นหลักฐานในเอกสารนั้นไม่ และข้อความที่จะรับฟังเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมได้นั้นไม่จำต้องมีบรรจุอยู่ในเอกสารฉบับเดียวกัน อาจรวบรวมจากเอกสารหลายฉบับที่เกี่ยวโยงเป็นเรื่องเดียวกันก็ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 320/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักฐานการกู้ยืม - เอกสารหลายฉบับประกอบกันได้ - ไม่ต้องมีคำว่า 'กู้ยืม' ระบุชัดเจน
ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง มิได้บังคับว่า หลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือต้องมีข้อความว่า ใครเป็นผู้ให้กู้ ใครเป็นผู้กู้กู้ยืมกันเมื่อไร กำหนดชำระเงินกันอย่างไร อีกทั้งตามมาตราดังกล่าวที่ว่าถ้า มิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ นั้น หาได้มีความหมายเคร่งครัดว่าจะต้องมีถ้อยคำว่ากู้ยืมปรากฏอยู่ในเอกสารนั้นไม่ และข้อความที่จะรับฟังเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมได้นั้นไม่จำต้องมีบรรจุอยู่ในเอกสารฉบับเดียวกัน อาจรวบรวมจากเอกสารหลายฉบับที่เกี่ยวโยงเป็นเรื่องเดียวกัน และรับฟังประกอบกันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 309/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้อำนาจวินัยและการพิจารณาอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหลังศาลฎีกามีคำพิพากษาคดีอาญา
แม้คดีอาญาที่โจทก์ถูกฟ้อง ศาลฎีกาจะได้พิพากษายกฟ้องโดยอาศัยข้อเท็จจริงแล้วจำเลยทั้งสองก็อาจมีความเห็นว่า โจทก์ยังมีมลทินมัวหมองในกรณีที่ถูกสอบสวนทางวินัย และใช้ดุลพินิจเสนอความเห็นไปยังนายกรัฐมนตรีโดยมีพยานหลักฐานปรากฏตามสำนวนการสอบสวน จนเป็นเหตุให้คณะรัฐมนตรีมีมติให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์ซึ่งอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ 1 ที่ให้โจทก์พักราชการและปลดโจทก์ออกจากราชการ การกระทำของจำเลยทั้งสองดังกล่าวไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 309/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้อำนาจวินัยทางราชการหลังคำพิพากษาศาลฎีกายกฟ้อง การพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยต้องคำนึงถึงคำพิพากษา
การสอบสวนทางวินัยโจทก์เกี่ยวกับเรื่องที่กล่าวหาว่าโจทก์ร่วมกับพวกทำหลักฐานเท็จว่ามีผู้แจ้งความนำจับสินค้าหลบเลี่ยงภาษีศุลกากรและขอรับเงินสินบนนำจับจากกรมศุลกากรไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวนั้น คณะกรรมการที่จำเลยที่ 1 แต่งตั้งสอบสวนได้ความจากพยานหลักฐานว่า การจับกุมสินค้าหนีภาษีรายนี้ไม่มีสายลับแจ้งความนำจับ ประกอบกับรูปคดีมีพิรุธไม่น่าเชื่อว่าภรรยาของผู้จับกุมจะเป็นสายลับแจ้งความนำจับเสียเอง แม้ในคดีอาญาที่โจทก์ถูกฟ้องว่าร่วมกันฉ้อโกง และทำหลักฐานเท็จ ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้อง แต่คณะกรรมการสอบสวนและจำเลยทั้งสอง ก็อาจเห็นว่าโจทก์ยังมีมลทินมัวหมองตามความเห็นเดิม ได้ การที่จำเลยทั้งสองใช้ดุลพินิจ เสนอความเห็นไปยังนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีก็โดยมีพยานหลักฐานปรากฏตามสำนวนการสอบสวน ดังนี้การกระทำของจำเลยทั้งสองดังกล่าวไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 232/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทำร้ายร่างกาย vs. พยายามฆ่า: การพิจารณาจากลักษณะบาดแผลและพฤติการณ์
จำเลยและผู้เสียหายเป็นพี่น้องร่วมมารดาเดียวกัน จำเลยโมโหเรื่องที่ถูกผู้เสียหายทวงเงินและเรื่องที่ผู้เสียหายให้เครื่องบันทึกเสียงแล้วเอาคืน วันเกิดเหตุจำเลยเมาสุราได้ใช้อาวุธมีดขอ ตัวมีดยาวประมาณ 17 นิ้ว ด้ามมีดยาวประมาณ 7 นิ้วฟันผู้เสียหายสามครั้ง ครั้งแรกฟันผู้เสียหายขณะหันหลัง คมมีดถูกเสาประตูรั้ว ผู้เสียหายหันมาเห็นจึงเข้าประชิดจำเลย จำเลยจึงฟันไปอีกถูกต้นแขนซ้าย ผู้เสียหายวิ่งไปแอบที่เสาบ้าน จำเลยเข้าไปฟันเป็นครั้งที่สามคมมีดถูกเสาบ้าน ดังนี้ เห็นได้ว่าจำเลยไม่มีเจตนาฆ่า เพราะในการฟันครั้งแรกผู้เสียหายกับจำเลยยืนเหลื่อมกันอยู่ในลักษณะมีเสาประตูรั้วคั่น ถ้ามีเจตนาฆ่าจำเลยซึ่งมีอาวุธมีด ผู้เสียหายมือเปล่า จำเลยต้องเลือกฟันอวัยวะสำคัญส่วนอื่นที่ไม่มีเสาประตูรั้วบัง การฟันครั้งที่สองถูกผู้เสียหายเป็นบาดแผลก็รักษาเพียง 10 วันหาย ส่วนการฟันครั้งที่สามก็เช่นเดียวกับการฟันครั้งแรกโดยมีเสาบ้านคั่นอยู่มีดจึงฟันถูกเสาบ้าน จากลักษณะบาดแผลและพฤติการณ์ของจำเลย จำเลยมีความผิดเพียงฐานทำร้ายร่างกายเท่านั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 224/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิลูกจ้าง-อายุงานต่อเนื่อง-เงินสงเคราะห์-การเลิกจ้าง-สิทธิลูกจ้าง
การที่จำเลยดำเนินกิจการจัดให้มีซึ่งเคหะเพื่อให้ประชาชนได้เช่าซื้อหรือซื้อเป็นของตนเอง ตลอดจนให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับกิจการดังกล่าวโดยมิใช่กิจการที่ให้เปล่า แม้จำเลยจะเป็นหน่วยงานของรัฐ ก็จะถือว่าจำเลยมิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจยังไม่ได้ การจ้างงานของจำเลยจึงไม่เข้าข้อยกเว้นที่ไม่ต้องอยู่ภายใต้บังคับของประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานพระราชบัญญัติ ญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 มาตรา 9 และมาตรา 11 บัญญัติให้พนักงานรัฐวิสาหกิจพ้นจากตำแหน่งเมื่อมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ โดยมีจุดมุ่งหมายกำหนดคุณสมบัติของพนักงานรัฐวิสาหกิจให้ถือปฏิบัติเป็นอย่างเดียวกันในวงการรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ เมื่อจำเลยให้โจทก์ออกจากงานเพราะเหตุดังกล่าวโดยโจทก์มิได้กระทำความผิดจึงถือว่าเป็นการเลิกจ้างตามความหมายในข้อ 46 ของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน แล้ว ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46วรรคท้าย แก้ไขใหม่โดยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 11) ข้อ 7 กำหนด กรณีที่นายจ้าง ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง นอกจากสัญญาจ้างระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างจะเป็นสัญญาที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนแล้ว ต้องเป็นการจ้างเพื่อทำงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวเป็นการจร เป็นไปตามฤดูกาล หรือเป็นงานตามโครงการด้วย จำเลยเลิกจ้างโจทก์หลังจากประกาศดังกล่าวมีผลใช้บังคับ ผลของการเลิกจ้างจึงต้องบังคับและเป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 ที่แก้ไขใหม่ แต่จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ถึงลักษณะงานว่าเป็นการจ้างเพื่อทำงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราว เป็นการจร เป็นไปตามฤดูกาล หรือเป็นงานตามโครงการดังนั้น ปัญหาว่าการจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นการจ้างที่มีกำหนดเวลาไว้แน่นอนหรือไม่ จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย โจทก์มาทำงานกับจำเลยเพราะผลของการโอนกิจการ ทรัพย์สินสิทธิ หนี้ และความรับผิดของธนาคารอาคารสงเคราะห์ให้แก่จำเลยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 316 ข้อ 5 มิใช่โจทก์ลาออกจากหน่วยงานเดิมมาสมัครเข้าทำงานกับจำเลยใหม่ และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 577 ก็บัญญัติให้นายจ้างโอนสิทธิของตนให้แก่บุคคลภายนอกได้เมื่อลูกจ้างยินยอมด้วยการโอนสิทธิการจ้างเช่นนี้ฐานะความเป็นลูกจ้างของลูกจ้างย่อมไม่สิ้นสุดลง ซึ่งต่างกับกรณีการเลิกจ้าง เมื่อไม่ได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น การนับอายุการทำงานของโจทก์จึงต้องนับต่อเนื่องกันไป การที่โจทก์มีฐานะเป็นลูกจ้างประจำของธนาคารอาคารสงเคราะห์อยู่แล้ว เมื่อโอนมาเป็นลูกจ้างประจำของจำเลยสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับเงินสงเคราะห์จากจำเลยตามข้อบังคับการเคหะแห่งชาติ ฉบับที่ 32 จึงต้องคำนวณโดยนำอายุการทำงานของโจทก์จากธนาคารอาคารสงเคราะห์มารวมกับอายุการทำงานกับจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 183/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเกษียณอายุเป็นเหตุให้เกิดสิทธิค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน แม้มีเงินสงเคราะห์และบำนาญ
พระราชบัญญัติ ญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 มาตรา 9 และมาตรา 11 เป็นเพียงบทบัญญัติกำหนดคุณสมบัติและเหตุที่พนักงานรัฐวิสาหกิจจะต้องพ้นจากตำแหน่งเพื่อให้รัฐวิสาหกิจถือเป็นแนวเดียวกัน มิได้หมายความว่าเมื่อพนักงานรัฐวิสาหกิจผู้ใดอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์การจ้างเป็นอันระงับไปทันที แต่รัฐวิสาหกิจผู้เป็นนายจ้างจะต้องดำเนินการให้ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งไปด้วย ซึ่งถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46 เงินกองทุนสงเคราะห์และดอกเบี้ย จำเลยจัดให้มีขึ้นต่างหากจากค่าชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานและมีวัตถุประสงค์ในทางสงเคราะห์พนักงานและทายาท เงินจำนวนนี้ส่วนหนึ่งเรียกเก็บจากพนักงานเป็นรายเดือน ส่วนเงินบำนาญเป็นเงินตอบแทนแก่ลูกจ้างที่ทำงานมาด้วยดีจนถึงวันออกจากงาน ซึ่งจำเลยจ่ายโดยอาศัยหลักเกณฑ์และใช้วิธีคำนวณทำนองเดียวกับกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญของข้าราชการ อันแตกต่างไปจากวิธีการคำนวณค่าชดเชยเงินกองทุนสงเคราะห์และดอกเบี้ยกับเงินบำนาญจึงมิใช่ค่าชดเชยแม้มากกว่าค่าชดเชยก็ไม่ตัดสิทธิโจทก์ฟ้องเรียกค่าชดเชยอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 157/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเกษียณอายุของพนักงานรัฐวิสาหกิจ: การพิจารณาว่าเป็นเลิกจ้างตามกฎหมายแรงงาน
พระราชบัญญัติ ญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 มาตรา 11 ที่บัญญัติให้พนักงานรัฐวิสาหกิจซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์พ้นจากตำแหน่งนั้นมีความหมายว่าเมื่อพนักงานรัฐวิสาหกิจผู้ใดมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์อันเป็นการขาดคุณสมบัติแล้วก็ให้รัฐวิสาหกิจนั้นดำเนินการให้ผู้นั้นออกจากงาน มิได้หมายความว่าพนักงานผู้นั้นต้องพ้นจากตำแหน่งในทันที เมื่อจำเลยดำเนินการให้โจทก์ทั้งยี่สิบหกคนออกจากงานเพื่อให้เป็นไปตามบทกฎหมายดังกล่าวจึงเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46 หาใช่เป็นการออกจากงานโดยผลของกฎหมายไม่