คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุเทพ กิจสวัสดิ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 325 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 156/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างป่วย: ค่าชดเชยและการแยกแยะเงินบำเหน็จ
การที่ ม. เจ็บป่วยทำให้ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่การงานได้ตามปกติ เป็นเหตุที่เกิดขึ้นตามสภาพของร่างกายโดยธรรมชาติไม่ใช่เกิดจากการกระทำของ ม. แม้ระเบียบการธนาคารออมสินฉบับที่ 121 ว่าด้วยการแต่งตั้งและการถอนจากตำแหน่งพนักงานธนาคารออมสิน ข้อ 6.1 จะให้อำนาจจำเลยสั่งให้ ม. ออกจากงานหรือสัญญาของผู้เข้าทำงานธนาคารออมสินซึ่ง ม. ทำกับจำเลยข้อ 7. ให้อำนาจจำเลยที่จะถอดถอน ม. ออกจากงานได้ก็ตาม ก็เป็นเพียงข้อกำหนดให้จำเลยเลิกจ้าง ม. ได้เท่านั้น ไม่ใช่ข้อกำหนดว่าม. กระทำความผิด ดังนั้น การที่ ม. ป่วยดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อระเบียบข้อบังคับหรือสัญญาจ้างของจำเลยเมื่อจำเลยเลิกจ้าง ม. จึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ ม. เงินบำเหน็จที่จำเลยจ่ายให้แก่ ม. ตามระเบียบการธนาคารออมสินฉบับที่ 67 ว่าด้วยเงินทุนเลี้ยงชีพของพนักงานธนาคารออมสินหมวด 2 มีหลักเกณฑ์ในการคำนวณและการจ่ายเงินบำเหน็จแตกต่างจากค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46 ไม่อาจปรับเป็นเงินประเภทหรือจำนวนเดียวกันได้ โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ม. จึงมีสิทธิเรียกค่าชดเชยจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 124/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาเลิกสัญญาสัญญาเช่าซื้อ: การยอมรับชำระหนี้หลังผิดนัดถือเป็นการระงับข้อผูกพันเดิม
จำเลยเช่าซื้อรถยนต์ไปจากโจทก์และได้ออกเช็คลงวันที่ล่วงหน้า12 ฉบับ เพื่อชำระค่าเช่าซื้อที่ต้องผ่อนชำระ 12 งวด เมื่อเช็คงวดที่ 9 ถึงงวดที่ 12 เรียกเก็บเงินไม่ได้ จำเลยย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดซึ่งโจทก์ชอบที่จะใช้สิทธิเลิกสัญญาตามสัญญาเช่าซื้อข้อ 8แต่ปรากฏว่าโจทก์มิได้ถือเอาการไม่ชำระหนี้ตามกำหนดเป็นสาระสำคัญกลับยังคงรับชำระหนี้ต่อมา แม้สัญญาข้อ 10 จะกำหนดว่าในกรณีที่ผู้เช่าซื้อผิดนัดและเจ้าของยอมผ่อนผันการผิดนัดครั้งใดไม่ให้ถือว่าเป็นการผ่อนผันการผิดนัดครั้งอื่นก็ตาม แต่การที่โจทก์ยอมรับเงินตามเช็คค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระจากจำเลยอีก ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยต่างมีเจตนามุ่งหมายระงับข้อผูกพันเดิม ไม่ถือว่าการไม่ชำระหนี้ตามกำหนดในสัญญาเป็นการผิดสัญญาและไม่ประสงค์จะเลิกสัญญา การที่จำเลยไม่ชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดที่ 9 เป็นต้นมาจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 120/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินพิพาท การเพิกถอนนิติกรรมโอนมรดก และอำนาจของศาลในการบังคับเจ้าพนักงานที่ดิน
ที่โจทก์ฟ้องขอให้ใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองแต่ผู้เดียวใน น.ส.3 ที่พิพาทเป็นคำขอเพื่อให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนที่พิพาทเป็นของโจทก์ แต่เจ้าพนักงานที่ดินเป็นบุคคลภายนอก และกรณีไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่ให้คำพิพากษาของศาลมีผลผูกพันบุคคลภายนอกที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145 ศาลจึงไม่อาจสั่งเพื่อบังคับเจ้าพนักงานที่ดินให้กระทำการตามที่โจทก์ประสงค์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 100/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสซ้อนเป็นโมฆะ ผู้มีส่วนได้เสียร้องขอได้
เมื่อข้อเท็จจริงตามคำร้องปรากฏว่านาง จ. ได้รับความเสียหายจากการที่นาย ส. จดทะเบียนสมรสกับหญิงอื่นแล้วมาจดทะเบียนสมรสซ้อนกับนาง จ. อีก นาง จ. จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้อัยการเป็นผู้ร้องขอต่อศาลว่าการสมรสระหว่างนาย ส. กับนาง จ. เป็นโมฆะ โดยทำเป็นคำร้องขอได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1497

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 100/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสซ้อนเป็นโมฆะ ผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิร้องขอให้ศาลพิพากษา
จ. ได้รับความเสียหายจากการที่ ส. จดทะเบียนสมรสกับหญิงอื่นแล้วมาจดทะเบียนสมรสซ้อน กับ จ. อีก จ. จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้อัยการเป็นผู้ร้องต่อศาลให้พิพากษาว่าการสมรสระหว่าง ส. กับ จ. เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 1497 ส.จดทะเบียนสมรสกับจ.ร.มาก่อนตั้งแต่ พ.ศ. 2515ต่อมา ส. จดทะเบียนสมรสซ้อน กับนาง จ. อีก เมื่อวันที่ 22มกราคม 2523 การกระทำของ ส. จึงเป็นการฝ่าฝืน ป.พ.พ.มาตรา 1452 การสมรสครั้งหลังจึงเป็นโมฆะตามมาตรา 1496.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 100/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสซ้อนเป็นโมฆะ ผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิร้องขอให้ศาลพิพากษาเป็นโมฆะได้
ส. จดทะเบียนสมรสกับหญิงอื่นอยู่ก่อนแล้ว จึงมาจดทะเบียนสมรสซ้อนกับ จ. จ. จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิร้องขอให้อัยการร้องขอต่อศาลให้พิพากษาว่าการสมรสระหว่าง ส.กับ จ. เป็นโมฆะได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1497.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 91/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอดถอนผู้จัดการมรดกที่จงใจละเลยหน้าที่ และการแต่งตั้งบุตรผู้ตายเป็นผู้จัดการมรดกแทน
การที่ผู้คัดค้านจงใจไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดก ภายในระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนดโดยมีพฤติการณ์ที่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่กองมรดกและทายาทอื่น ดังนี้เป็นเหตุสมควรถอดถอนผู้คัดค้านจากการเป็นผู้จัดการมรดก เมื่อยังมีทรัพย์มรดกของผู้ตาย เพื่อจัดการต่อไปภายหลังที่เพิกถอนผู้จัดการมรดกแล้ว เมื่อปรากฏว่าผู้ร้องทั้งสองเป็นบุตรของผู้ตายทั้งไม่เป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติต้องห้ามในการเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1718 ผู้ร้องทั้งสองจึงสมควรเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 87/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดุลพินิจทางปกครอง: การไม่อนุญาตตั้งสถานบริการไม่ขัดรัฐธรรมนูญหากใช้ดุลพินิจชอบธรรมตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. 2509 มาตรา 4 และมาตรา 11บัญญัติให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่และปลัดกระทรวงมหาดไทยใช้ดุลพินิจพิจารณาอนุญาตให้ตั้งสถานบริการประเภทสถานอาบน้ำ นวด หรืออบตัวซึ่งมีหญิงบริการแก่ลูกค้าชายหรือไม่ก็ได้ การที่บุคคลดังกล่าวใช้ดุลพินิจไม่อนุญาตให้โจทก์ตั้งสถานบริการนวดแผนโบราณโดยยึดถือนโยบายของกระทรวงมหาดไทย ย่อมเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2521 คำฟ้องของโจทก์มิได้กล่าวว่า พนักงานเจ้าหน้าที่และปลัดกระทรวงมหาดไทยใช้ดุลพินิจพิจารณาไม่อนุญาตโดยไม่สุจริต หรือขัดต่อพยานหลักฐาน หรือฝ่าฝืนพระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. 2509ประการใด บุคคลดังกล่าวจึงมิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ ศาลชอบที่จะพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยพิจารณาจากคำฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 64/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากเกษียณอายุเป็นเหตุเลิกจ้างตามกฎหมายแรงงาน และสิทธิในการได้รับค่าชดเชยและค่าจ้างวันหยุดพักผ่อน
พระราชบัญญัติ ญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 เป็นเพียงบทบัญญัติกำหนดคุณสมบัติและเหตุที่พนักงานจะต้องพ้นจากตำแหน่ง มิได้หมายความว่า เมื่อพนักงานผู้ใดขาดคุณสมบัติเนื่องจากอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ การจ้างเป็นอันระงับไปทันที แต่รัฐวิสาหกิจจะต้องดำเนินการให้พนักงานผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งไปด้วย ซึ่งถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 แล้ว โจทก์ทั้งสิบสี่จึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชย เงินกองทุนสงเคราะห์และดอกเบี้ยส่วนหนึ่งนั้นเรียกเก็บจากพนักงานเป็นรายเดือนไป จำเลยจัดให้มีขึ้นต่างหากจากค่าชดเชยเพื่อสงเคราะห์พนักงานและทายาท ส่วนเงินบำนาญนั้นเป็นเงินตอบแทนแก่ลูกจ้างที่ทำงานด้วยดีจนถึงวันออกจากงาน ซึ่งจำเลยจ่ายโดยอาศัยหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณอันแตกต่างไปจากวิธีการคำนวณค่าชดเชย เงินกองทุนสงเคราะห์และดอกเบี้ยกับเงินบำนาญจึงมิใช่ค่าชดเชย ดังนั้น แม้จะมากกว่าค่าชดเชยก็ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องเรียกค่าชดเชยจากจำเลย จำเลยมิได้กำหนดล่วงหน้าให้โจทก์ลาหยุดพักผ่อนประจำปีตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 10 จำเลยจึงไม่อาจอ้างได้ว่าโจทก์ไม่ใช้สิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีเอง เมื่อจำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์มิได้กระทำผิด จำเลยจึงต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 34/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ - หน้าที่ศาลในการพิจารณามูลค่าความเสียหายและหลักประกัน
จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์โดยมิได้นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาล การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยโดยยังไม่ได้สั่งเกี่ยวกับเรื่องที่จำเลยไม่วางเงินหรือหาประกันมาวางเพื่อใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและหนี้ตามคำพิพากษา โดยไม่ได้ส่งไปให้ศาลอุทธรณ์สั่งย่อมเป็นการไม่ชอบเพราะเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลอุทธรณ์ และถือว่าจำเลยไม่มีเจตนาฝ่าฝืนไม่นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมและเงินที่ต้องชำระตามคำพิพากษามาวางศาลหรือหาประกันให้ต่อศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 จึงชอบที่จะสั่งให้จำเลยนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมและเงินที่จะต้องชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนดเวลาที่ศาลเห็นสมควร
of 33