คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุเทพ กิจสวัสดิ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 325 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6462/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างต้องใช้เหตุตามหนังสือเลิกจ้างเท่านั้น แม้มีการกระทำผิดอื่น ก็ใช้เป็นเหตุเลิกจ้างเพิ่มเติมไม่ได้
จำเลยเลิกจ้างลูกจ้างโดยทำเป็นหนังสือ และระบุเหตุเลิกจ้างไว้ชัดแจ้งเมื่อจำเลยถูกลูกจ้างฟ้องร้องต่อศาล จำเลยจะยกเอาเหตุเลิกจ้างอื่นนอกเหนือจากหนังสือเลิกจ้างเป็นข้อต่อสู้หาได้ไม่เมื่อเหตุเลิกจ้างตามหนังสือเลิกจ้างไม่ต้องด้วย ข้อ 47 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน และป.พ.พ.มาตรา 583 จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแก่โจทก์ จำเลยเลิกจ้างโจทก์ เพราะโจทก์ลักสีที่ใช้ทาผนังโรงงานของจำเลย ย่อมเป็นพฤติการณ์ที่น่าระแวงสงสัยและไม่เป็นที่ไว้วางใจจึงเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควรไม่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6251/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือตักเตือนมีผลเมื่อแจ้งให้ลูกจ้างทราบ แม้ลูกจ้างไม่ลงชื่อรับทราบ
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน มิได้กำหนดวิธีการแจ้งหนังสือตักเตือนให้ลูกจ้างทราบ ว่าต้องให้ลูกจ้างลงชื่อรับทราบในหนังสือตักเตือนหรือต้องแจ้งให้ลูกจ้างทราบด้วยวิธีการอย่างใด ดังนั้น การที่นายจ้างออกหนังสือตักเตือนและแจ้งให้ลูกจ้างทราบแล้ว แม้ลูกจ้างไม่ได้ลงชื่อรับทราบในหนังสือตักเตือน ก็ถือว่าลูกจ้างได้รับทราบหนังสือตักเตือนซึ่งทำให้หนังสือตักเตือนมีผลใช้บังคับแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6251/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตักเตือนลูกจ้างและการเลิกจ้างซ้ำซ้อน นายจ้างไม่สามารถเลิกจ้างโดยอ้างเหตุเดิมหลังตักเตือนแล้วได้
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน มิได้กำหนดว่าเมื่อนายจ้างออกหนังสือตักเตือนลูกจ้างแล้ว นายจ้างต้องแจ้งหนังสือตักเตือนให้ลูกจ้างทราบโดยต้องให้ลูกจ้างลงชื่อรับทราบในหนังสือตักเตือน หรือต้องแจ้งให้ลูกจ้างทราบโดยวิธีการอย่างใดการที่จำเลยออกหนังสือตักเตือน และแจ้งให้โจทก์ทราบ แม้โจทก์จะไม่ได้ลงชื่อรับทราบในหนังสือตักเตือน ก็ถือได้ว่าโจทก์ได้ทราบหนังสือตักเตือน ซึ่งทำให้หนังสือตักเตือนมีผลใช้บังคับแล้วและเมื่อจำเลยได้สั่งลงโทษการกระทำความผิดของโจทก์ โดยการตักเตือนมีหนังสือแล้ว จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์โดยอ้างเหตุแห่งการกระทำผิดของโจทก์ดังกล่าวอีกไม่ได้ เพราะเป็นการซ้ำซ้อนกับการกระทำผิดของโจทก์ในคราวเดียวกัน จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6129/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลแรงงานมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานที่ยื่นฝ่าฝืนข้อกำหนด หากเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมและเกี่ยวข้องกับประเด็นสำคัญในคดี
กรณีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมและจำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี ศาลแรงงานมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานซึ่งยื่นฝ่าฝืน ป.วิ.พ. มาตรา 88 ได้ตามป.วิ.พ. มาตรา 87(2) ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 31.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5920/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำทุจริตและการขัดคำสั่งนายจ้างเป็นเหตุเลิกจ้างได้
การที่โจทก์เอาใบเตือนไปจากการครอบครองของจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างโดยมิได้รับอนุญาต เป็นการเอาทรัพย์ของนายจ้างไปโดยพลการอันส่อให้เห็นเจตนาทุจริต และเมื่อจำเลยสั่งให้โจทก์นำใบเตือนมาคืน โจทก์ไม่ยอมนำมาคืนจึงเป็นเรื่องที่โจทก์ขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างอันเป็นกรณีที่ร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5851/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปีเป็นค่าจ้าง นายจ้างต้องจ่ายตามส่วน หากเลิกจ้างโดยมิได้มีความผิด และมิได้ใช้สิทธิลาหยุด
ค่าจ้างหมายความรวมถึงเงินที่จ่ายให้ในวันหยุดซึ่งลูกจ้างไม่ได้ทำงานด้วย และถ้านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยลูกจ้างมิได้มีความผิด ให้จ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามส่วนที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ โดยให้จ่ายเท่ากับค่าจ้างในวันทำงาน ดังนั้นค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีจึงเป็นค่าจ้าง ลูกจ้างทำงานมานาน 1 ปี 8 เดือนครึ่ง แล้วถูกเลิกจ้าง โดยมิได้มีความผิด เมื่อยังมิได้ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี จึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามส่วน ที่มีสิทธิได้รับโดยสำหรับปีแรกเต็มปีจำนวน 6 วันทำงาน และอีก 8 เดือนครึ่งจำนวน 4 วันทำงาน รวมเป็น 10 วันทำงาน เมื่อนายจ้างเลิกจ้างก็ได้จ่ายเงินค่าจ้าง เงินค่าสินจ้าง แทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและเงินค่าชดเชยให้ครบถ้วนแล้ว คงมีปัญหาเฉพาะเรื่องค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีโดยนายจ้าง อ้างว่าลูกจ้างใช้สิทธิลาหยุดด้วยวาจาไปครบถ้วนแล้วซึ่ง ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าในฐานะที่นายจ้างประกอบกิจการโรงพยาบาล ก็น่าจะมีวิธีการจดแจ้งหรือบันทึกเรื่องการลาหยุดไว้ จึงฟังได้ว่า ลูกจ้างยังมิได้ใช้สิทธิลาหยุด พฤติการณ์ที่ปรากฏยังไม่เพียงพอว่า นายจ้างจงใจผิดนัดในการจ่ายโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร จึง ไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม โจทก์ฟ้องขอให้ชำระเงินเพิ่มเติมของเงินค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปีจำนวน 68,400 บาท และให้ชำระเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 15ของเงินค้างจ่ายทุกระยะเวลา 7 วันนับแต่วันฟ้อง โดยมิได้มีคำขอให้ชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ดังนั้น อุทธรณ์ของโจทก์ที่ขอให้ชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี จึงเป็นข้อมิได้ยกขึ้นว่ากล่าว ในศาลแรงงานกลาง และคำขอนี้ก็มิได้ระบุไว้ในคำขอท้ายฟ้อง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5776/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยหลังเสียชีวิต: สิทธิและหน้าที่ของผู้จัดการมรดก vs. ทายาท
โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ก. ขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จำเลยถึงแก่กรรม จึงเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ที่จะมีคำสั่งเกี่ยวกับการเข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ ส.เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่จำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์มิได้มีคำสั่งในเรื่องที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ส.เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่จำเลยโดยไม่ชอบ แต่เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาโดยวินิจฉัยว่าผู้เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยซึ่ง ถึงแก่กรรมมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามพินัยกรรมแทนจำเลยต่อไป ถือได้ว่าศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ ส.เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยแล้ว เมื่อจำเลยถึงแก่กรรม สิทธิและหน้าที่ของจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกย่อมสิ้นสุดลงเพราะเป็นเรื่องเฉพาะตัวของ ผู้จัดการมรดกหาได้ตกทอดไปยังทายาทของจำเลยไม่ และข้อเท็จจริง ตามคำร้องของโจทก์และคำแถลงของ ส.คงได้ความแต่เพียงว่าส.เป็นทายาทของจำเลยเท่านั้น ไม่ปรากฏว่า ส.เป็นผู้ปกครอง ทรัพย์มรดกหรือมีอำนาจในการจัดการทรัพย์มรดกของ ก.แต่อย่างใดส.จึงไม่สามารถจะปฏิบัติตามคำพิพากษาได้หากในที่สุดจำเลยเป็นฝ่ายแพ้คดี ส.ย่อมไม่อาจเข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยได้การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีไปโดยที่ไม่มีผู้เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลย จึงเป็นการไม่ชอบ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5739/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเข้าว่าคดีแทนจำเลยโดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ทำให้จำเลยไม่มีอำนาจฎีกา
ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์คดีนี้ จำเลยที่ 1 ถูกศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีล้มละลายอีกคดีหนึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอเข้าว่าคดีแทนจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ แต่ศาลอุทธรณ์มิได้สั่งคำร้องของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โดยพิพากษาคดีไปเลย ถือได้ว่าศาลอุทธรณ์อนุญาตให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าว่าคดีแทนจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5630/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลไม่อาจบังคับบุคคลภายนอกที่ไม่ใช่คู่ความได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ใช้สิทธิบังคับผู้ร้อง ตาม สัญญาประนีประนอมยอมความในคดีอื่นจดทะเบียนให้ถนนเข้าออก หมู่บ้านเป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินพิพาท เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ใช้สิทธิ บังคับผู้ร้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว เป็นเรื่องที่ โจทก์ จะต้องขอให้ศาลบังคับคดีเอากับจำเลยที่ 1 ให้ปฏิบัติตาม คำพิพากษาโจทก์จะยื่นคำร้องขอให้ศาลบังคับผู้ร้องซึ่งเป็น บุคคลภายนอก ให้ให้ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวหาได้ไม่ เพราะผู้ร้องมิได้เป็นคู่ความในคดีนี้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5630/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบังคับตามสัญญาประนีประนอม ผู้ร้องไม่ใช่คู่ความ ศาลไม่สามารถบังคับได้โดยตรง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ใช้สิทธิบังคับผู้ร้องจดทะเบียนทางภาระจำยอมตามสัญญาประนีประนอมยอมความ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ใช้สิทธิบังคับผู้ร้องตามสัญญาดังกล่าวเป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องขอให้ศาลบังคับคดีเอากับจำเลยที่ 1 ให้ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์จะยื่นคำร้องขอให้ศาลบังคับผู้ร้องที่เป็นบุคคลภายนอกปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลพิพากษาตามยอมดังกล่าวหาได้ไม่ เพราะผู้ร้องมิได้เป็นคู่ความ.
of 33