คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุเทพ กิจสวัสดิ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 325 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3553/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันที่มีข้อตกลงพิเศษให้ผู้ค้ำประกันรับผิดทันทีโดยไม่ต้องเรียกร้องจากลูกหนี้ก่อน ถือเป็นผลผูกพันและทำให้ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดร่วมกับลูกหนี้
สัญญาค้ำประกันมีข้อความว่า จำเลยที่ 2 ยอมรับผิดชดใช้เงินแทนจำเลยที่ 1 ในทันทีที่ได้รับการทวงถามโดยมิพักต้องเรียกร้องเอาจากจำเลยที่ 1 ก่อน ข้อตกลงดังกล่าวไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ย่อมมีผล ผูกพันคู่สัญญา ทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1หรือที่ 2 คนใดคนหนึ่งชำระหนี้สิ้นเชิง โดยจำเลยที่ 1และที่ 2 ยังคงต้องรับผิดต่อโจทก์จนกว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้เสร็จสิ้น จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 อย่างลูกหนี้ร่วม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3551/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกระทำการแทนบริษัทตามหนังสือรับรอง: การลงลายมือชื่อร่วมกับกรรมการและการประทับตรา
หนังสือรับรองของบริษัทโจทก์ระบุว่า จ. หรือ ช.ลงลายมือชื่อร่วมกับกรรมการคนใดคนหนึ่งรวมเป็นสองคนและประทับตราสำคัญของบริษัท มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ดังนั้น เมื่อ จ. ลงลายมือชื่อร่วมกับ ช. ซึ่งเป็นกรรมการคนหนึ่งของบริษัท และประทับตราสำคัญของบริษัทในหนังสือมอบอำนาจ หนังสือมอบอำนาจย่อมใช้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3470/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์เกินกำหนด & คำสั่งยืนยันเดิม - ไม่อุทธรณ์ได้
การอุทธรณ์นั้นต้องทำเป็นหนังสือยื่นต่อศาลชั้นต้นซึ่งมีคำพิพากษาหรือคำสั่งภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น เมื่อจำเลยยื่นอุทธรณ์เกินกำหนดเวลาดังกล่าวอุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การที่จำเลยอุทธรณ์ขอให้กลับคำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งในครั้งหลัง เมื่อคำสั่งในครั้งหลังเพียงแต่ยืนยันว่าคำสั่งเดิมชอบด้วยกฎหมาย ถือว่าเป็นการยืนยันตามคำสั่งเดิม เมื่อคำสั่งเดิมจำเลยไม่อุทธรณ์ขอให้เพิกถอนได้ เพราะเหตุอื่นเกินกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์แล้ว อุทธรณ์ของจำเลยในส่วนที่โต้เถียงคำสั่งในครั้งหลัง จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3455/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับเงินจากผู้อื่นโดยไม่มีมูลทางกฎหมาย และสิทธิในการเรียกคืนเงิน
ม. ขายฝากรถยนต์พิพาทให้แก่โจทก์ในวันที่ 5 พฤศจิกายน2526 ก่อนนำไปขายให้แก่บริษัทบ. จำกัด ในวันที่ 1 ธันวาคม2526 ดังนั้นขณะขายฝาก ม. ยังเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาทอยู่ การที่จำเลยรับเงินจำนวน 56,440 บาท จากโจทก์ โดยอ้างว่าเป็นเงินค่าเช่าซื้อที่ ม. ค้างชำระบริษัท บ. จำกัดนั้น เมื่อโจทก์มิได้มีนิติสัมพันธ์ด้วยกับ ม. ผู้เช่าซื้อและบริษัท บ. จำกัด ผู้ให้เช่าซื้อ โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินจำนวนนี้ และจำเลยก็ไม่มีสิทธิ์รับเงินจำนวนดังกล่าวด้วยการที่จำเลยทั้งสองรับเอาเงินของโจทก์ไป จึงเป็นการได้มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบดังนี้ โจทก์มีสิทธิ์เรียกเงินนั้นคืนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3276/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรมต้องมีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ ไม่ใช่แค่ น.ส.3
การได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพย์สินอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสอง นั้น ต้องเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ จะนำมาใช้กับที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมือเปล่า และมีเพียงหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) หาได้ไม่ หากจำเลยได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทโดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม แม้ยังมิได้จดทะเบียนก็สามารถยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ร่วมผู้ซื้อ และได้จดทะเบียนโดยสุจริตได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3276/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรมต้องมีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ จึงใช้กับที่ดินที่มีโฉนดเท่านั้น
การได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพย์สินอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสอง นั้น ต้องเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ จะนำมาใช้กับที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมือเปล่า และมีเพียงหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) หาได้ไม่ หากจำเลยได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทโดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม แม้ยังมิได้จดทะเบียนก็สามารถยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ร่วมผู้ซื้อ และได้จดทะเบียนโดยสุจริตได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3258/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการบอกเลิกสัญญาซื้อขายและการริบหลักประกัน กรณีสินค้าไม่ตรงตามคุณสมบัติ สิทธิปรับเป็นรายวันมิอาจใช้ได้
จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่สามารถส่งมอบสิ่งของลวดห้ามที่มีคุณสมบัติตามข้อกำหนดในสัญญาให้แก่โจทก์ทั้ง ๆ ที่โจทก์ให้โอกาสจำเลยส่งมอบสิ่งของที่มีคุณสมบัติถูกต้องแล้ว โจทก์จึงบอกเลิกสัญญา ดังนี้โจทก์คงมีสิทธิริบหลักประกันและเรียกราคาที่เพิ่มขึ้นได้ตามสัญญาข้อ 8 วรรคสองเท่านั้น หาใช่กรณีที่จะมีสิทธิปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.2 นับแต่วันครบกำหนดจนถึงวันบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 9 ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3254/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมตัดมรดก: ทายาทโดยธรรมถูกตัดสิทธิในการจัดการมรดก
แม้ผู้ร้องเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายและเป็นผู้ไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย แต่เมื่อผู้ตายได้ทำพินัยกรรมจำหน่ายทรัพย์มรดกทั้งหมดให้ผู้คัดค้านแล้ว ถือได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1608 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องต่อศาล ขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3254/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถูกตัดสิทธิรับมรดกจากพินัยกรรม
แม้ผู้ร้องเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายและเป็นผู้ไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย แต่เมื่อผู้ตายได้ทำพินัยกรรมจำหน่ายทรัพย์มรดกทั้งหมดให้ผู้คัดค้านแล้ว ถือได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1608 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องต่อศาล ขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3254/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมตัดมรดก: ทายาทโดยธรรมถูกตัดสิทธิจากการรับมรดกตามพ.ร.บ.แพ่งและพาณิชย์
แม้ผู้ร้องเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายและเป็นผู้ไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย แต่เมื่อผู้ตายได้ทำพินัยกรรมจำหน่ายทรัพย์มรดกทั้งหมดให้ผู้คัดค้านแล้ว ถือได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดกตามป.พ.พ. มาตรา 1608 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย.
of 33